Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขั้นตอนการทำโครงงานออกแบบและเทคโนโลยี ทั้ง 6 ขั้นตอน - Coggle Diagram
ขั้นตอนการทำโครงงานออกแบบและเทคโนโลยี ทั้ง 6 ขั้นตอน
1.การเลือกหัวข้อโครงงาน
กำหนดโครงงานให้เหมาะสมและตรงต่อความต้องการของผู้ทำโครงงานให้มากที่สุด โดยจะกำหนดหัวข้อโครงงานเป็นชื่อหรือสิ่งบ่งชี้ลักษณะของโครงงาน ซึ่งผู้ทำโครงงานควรพิจารณาเลือกโครงงานจากปัจจัยทั่วไป รูปแบบของสื่อการเรียนรู้
2.การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารเเละเเหล่งข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้ได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม
3.การจัดทำข้อเสนอโครงสร้าง
โดยทั่วไป การทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
3.1กำหนดขอบเขตงาน
3.2การออกเเบบการพัฒนา
3.3 พัฒนาโครงงานชั้นต้น
3.4จัดทำเเละเสนอโครงงานคอมะิวเตอร์
4.การลงมือพัฒนาโครงงาน
เมื่อข้อเสนอโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนถัดไปจะเป็นการลงมือพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
การเตรียมการ โดยการจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์และวัสดุอื่นๆ พร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่สำหรับใช้ในการพัฒนา ตลอดจนกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคนในกรณีทำโครงงานเป็นกลุ่ม
การลงมือพัฒนา ด้วยการปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครงแต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ในช่วงแรกอาจเป็นการพัฒนาโครงงานขั้นต้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ก่อน โดยทำการพัฒนาส่วนงานย่อยๆ บางส่วนแล้วนำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงให้หมาะสมมากยิ่งขึ้น ในระหว่างนี้จะต้องสรุปรายงานความก้าวหน้าพร้อมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงงานในแต่ละครั้ง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
การทดสอบและแก้ไข โดยต้องมีการทดสอบความถูกต้องของผลงาน และปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้อย่างถูกต้องตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ และเมื่อนำไปใช้จริงอาจมีการติดตามและประเมินการทำงานทุกสัปดาห์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการทำงาน
5.การจัดทำรางงาน
การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน เรียงลำดับตามนี้
มี 10 ส่วนประกอบ
หน้าปก
หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
คำนำ
สารบัญ
เนื้อเรื่อง
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
หน้าปกหลัง
ส่วนเนื้อเรื่อง
ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่
ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ
• อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง
• เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง
6.การนำเสนอเเละการเเสดงผลของโครงงาน
การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทและเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น