Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ขั้นตอนการทำโครงงานออกแบบและเทคโนโลยี - Coggle Diagram
ขั้นตอนการทำโครงงานออกแบบและเทคโนโลยี
1.การสำรวจสถานการณ์หรือปัญหาที่สนใจ
การระบุปัญหาเกี่ยวข้องกับทักษะเเละกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ได้เเก่ การสังเกต ซึ่งเป็นการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ สมบัติข้อมูลเชิงปริมาณ
2.รวบรวมข้อมูลเเละเเนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
หลังจากทำการกำหนดปัญหาขั้นตอนต่อไปนี้ การรวบรวมข้อมูลเเละเเนวคิดที่เกียวข้องกับปัญหา โดยการรวบรวมข้อมูล สามารถทำได้หลายวิธี
1.การสัมภาษณ์
2.การสังเกต
3.การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง
4.การรวสบรวมข้อมูลจากเอกสาร
3.ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
เป็นขั้น ของถ่ายทอดแนวคิดของการแก้ปัญหา ซึ่งสามารถ ทำได้ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบเพื่อสื่อสารแนวคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวนี้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยฝึกให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ในบางลักษณะ เช่น
1.ความคิดริเริ่ม สำหรับการคิดเพื่ออก แบบชิ้นงานให้มีความแปลกใหม่ไม่ซ้ าใคร และ สามารถใช้ประโยชน์หรือแก้ปัญหาได้
2.ความคิดยืดหยุ่น สำหรับการคิดหาสิ่ง ทดแทนเพื่อนำมาใช้ประกอบการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา
3.ความคิดละเอียดลออ สำหรับการคิดใน รายละเอียดรอบด้านเพื่อความสมบูรณ์ของชิ้นงาน หรือวิธีการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา
4.วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development)
เป็นการกำหนดลำดับขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานหรือวิธีการ แล้วลงมือสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
ขั้นตอนการสร้างต้นเเบบ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.กำหนดความต้องการ
2.ออกเเบบต้นเเบบ
3.นำต้นเเบบไปใช้
4.ปรับปรุงต้นเเบบ
5.ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธี
การแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement)
เป็นการทดสอบและประเมินการใช้งานของชิ้นงานหรือวิธีการ โดยผลที่ได้อาจนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด
6.นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน(Presentation)
เป็นการนำเสนอแนวคิดและขั้นตอนการแก้ปัญหาของการสร้างชิ้นงานหรือการพัฒนาวิธีการ ให้ผู้อื่นเข้าใจและได้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป
ซึ่งกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมจะช่วยให้ เกิดการฝึกทักษะการแก้ปัญหาได้ดังนี้
1) การฝึกทำความเข้าใจกับปัญหา เพื่อให้ทราบว่าปัญหาคืออะไร และมีเงื่อนไขของปัญหาตรงส่วนใด
2) การฝึกวางแผนและออกแบบการแก้ปัญหาโดยเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลที่ เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประกอบการ ตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา
3) การฝึกดำเนินการแก้ปัญหาตามแผนที่ ได้วางไว้ในแต่ละขั้น จากนั้นจึงทำการทดสอบผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ เช่น การทดสอบ
4) สรุปและประเมินผลการแก้ปัญหา โดย ประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการที่สร้าง ขึ้นมานั้นสามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่