Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นิชคุณ กงเหิน, สรุป - Coggle Diagram
นิชคุณ กงเหิน
ข้อมูลทุติยภูมิ
-
-
-
ข้อมูลทุติยภูมิ
ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบไว้แล้วโดยหน่วยงานหรือนักวิจัยคนก่อนหน้า สามารถนำไปใช้งานต่อยอด หรือใช้อ้างอิงได้เลยโดยไม่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ด้วยตัวเอง
ข้อมูลปฐมภูมิ
-
ประโยชน์ของข้อมูลปฐมภูมิ
ข้อมูลปฐมภูมิจะมีความเฉพาะเจาะจงต่อความต้องการของผู้วิจัย ทำให้ผู้วิจัยสามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้การออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบใด
ข้อมูลปฐมภูมิจะมีความถูกต้องแม่นยำกว่าเมื่อเทียบกับข้อมูลทุติยภูมิ เนื่องจากข้อมูลจะไม่อยู่ภายใต้อคติส่วนบุคคลจึงทำให้สามารถเชื่อถือได้
ผู้วิจัยสามารถแสดงความเป็นเจ้าของข้อมูลที่รวบรวมผ่านการวิจัยได้ โดยอาจเลือกที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นข้อมูลเปิด จดสิทธิบัตร หรือแม้แต่ขายมันได้
ข้อมูลปฐมภูมิมักจะเป็น “ข้อมูลล่าสุด” เนื่องจากรวบรวมข้อมูลตามเวลาจริงและไม่ได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเก่
ข้อมูลปฐมภูมิ
ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง หรือแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น “ข้อมูลดิบ” ซึ่งถ้าเป็นมุมมองของการทำงานวิจัยจะหมายถึง ข้อมูลที่นักวิจัยไปเก็บมาด้วยตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสำรวจ, การสัมภาษณ์,การสนทนากลุ่ม, การวัดจากอุปกรณ์ หรือการทดลอง
จุดด้อยของข้อมูลปฐมภูมิ
การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับข้อมูลทุติยภูมิ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรมากกว่า และใช้เวลานานกว่าในการเก็บรวบรวมข้อมูล
หลายครั้งก็อาจเป็นไปไม่ได้ที่จะรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิในบางกรณี เนื่องจากความซับซ้อนและข้อจำกัดของแหล่งข้อมูล
สรุป
เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลโดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นเกณฑ์ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) และ ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) โดยข้อมูลปฐมภูมิจะเป็นข้อมูลที่เก็บมาจากแหล่งข้อมูลดั้งเดิมโดยตรง ส่วนข้อมูลทุติยภูมิจะเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมและประมวลผลเอาไว้แล้ว
ซึ่งข้อมูลแต่ละประเภทจะมีทั้งประโยชน์และจุดด้อยที่ต่างกัน ควรตรวจสอบความถูกต้องให้ดีและเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน
-