Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบคอมพิวเตอร์, Capture, Capture, Capture, Capture, input-unit…
ระบบคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์คืออะไร
ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ชุดคำสั่ง เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล
ชนิดของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ช่วยในการดำเนินงานของซอฟต์แวร์ประยุกต์ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบ ได้แก่
– ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและส่งออก เช่นเครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด
– ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ (RAM) เมื่อใช้งานโปรแกรมประยุกต์ใดๆ ก็ตามโปรแกรมนั้นจะถูกโหลดและจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อส่งผ่านคำสั่งไปให้ ซีพียู (CPU) ทำการประมวลผล
– ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่าง ผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System) และตัวแปลภาษา (Translator)
1.1 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand – alone OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้รองรับการทำงานบางอย่าง
2.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi – user ) มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป
3.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (embedded OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน
1.2 ส่วนเชื่อมต่อผู้ใช้ของระบบปฏิบัติการ (OS User Interface)
แบบที่ใช้การพิมพ์ป้อนคำสั่ง หรือแบบ Command Line เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS
แบบที่ใช้รูปภาพมาเป็นตัวกลางในการสั่งงานที่เรียกว่า GUI : Graphic User Interface เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows, OSX และ Linux
1.3 Multitasking ต่างจาก Single tasking อย่างไร
ระบบปฏิบัติการที่รันได้ทีละโปรแกรม เราเรียกว่า Single tasking เช่น DOS
ระบบปฏิบัติการที่รันโปรแกรมได้พร้อมกันหลายๆ โปรแกรม เราเรียกว่า Multitasking เช่น Windows
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะประกอบด้วย การรับเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้สมบูรณ์ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์(Hardware) ซอฟต์แวร์(Software) และส่วนบุคลากร(Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางกายภาพที่สามารถมองเห็นเห็นและจับต้องได้
ซอฟท์แวร์ (Software) คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำตาม
พีเพิลแวร์ (Peopleware) คือบุคคลประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ผู้ใช้งานโปรแกรม ผู้เขียนโปรแกรม นักออกแบบระบบ เป็นต้น
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit ; CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมวลผลและควบคุมระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยงานทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กัน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยหน่วยย่อย ดังนี้
- หน่วยควบคุม (Control Unit)
- หน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)
- หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
มีองค์ประกอบหลัก 2 องค์ประกอบ ดังนี้
– หน่วยควบคุม (Control Unit) ติดต่อและควบคุมอุปกรณ์เชื่อมต่อ
ต่างๆ
– หน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU) คำนวณทางคณิตสาสตร์และเปรียบเทียบเชิงตรรกศาสตร์
ระบบปฏิบัติการแบบต่างๆ
DOS มีลักษณะการทำงานแบบงานเดียว (Single tasking) ใช้ Command Line Interface ในการสั่งงาน โดยเริ่มแรกบริษัท IBM ได้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า PC : Personal Computer โดยได้ว่าจ้างบริษัท Microsoft ในการออกแบบระบบปฏิบัติการให้ ระบบปฏิบัติการดังกล่าวมีชื่อว่า PC-DOS และต่อมาทางบริษัท Microsoft ออกแบบระบบปฏิบัติการใหม่ที่มีชื่อว่า MS-DOS
Windows ได้รับการพัฒนามาจาก DOS เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน (Multitasking) หน้าจอที่ติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบภาพกราฟิก และใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง วินโดวส์จึงได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบัน
Mac OS เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องตระกูลแม็ค (Macintosh) หน้าจอที่ติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบภาพกราฟิก และใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง
Linux การทำงานเหมือน UNIX(เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้หลายงานพร้อมกัน) มีลักษณะเป็น Open source software สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามต้องการ และยังสามารถแจกจ่ายไปให้ผู้อื่นใช้ได้อีกด้วย
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) หมายถึง โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (Application Software for Specific Surpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญงานในด้านนั้น หรือพัฒนาโดยบุคลากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรนี้ก็ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือสร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อน จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร โปรแกรมฝากถอนเงินของธนาคาร โปรแกรมระบบสินค้าของห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (General Purpose Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ การออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database Management Software)
2) ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software)
3) ซอฟต์แวร์ทำการคำนวณ (Caculation Software)
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล (Presentation Software)
5) ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software)
6) ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซต์และการติดต่อสื่อสาร (Web Site and Communications Software)
-
ระบบ (System)
หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่มีการกำหนดการปฏิบัติอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฏให้ทราบโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่นๆ
หน่อยรับข้อมูล (INPUT UNIT)
เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ดำการประมวลผล โดยอาศัยอุปกรณ์รับข้อมูลหลากรูปแบบ เช่น
– แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) บอลกลิ้ง (Track Ball)
– ก้านควบคุม (Joy Stick) ฯลฯ
ข้อมูลที่นำเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปทรง สี อุณหภูมเสียง ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่สามารถส่งเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล
หน่วยแสดงผล (OUTPUT UNIT)
หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่รับข้อมูลจากหน่วยความจำ ซึ่งผ่านการประมวลผลมาแล้ว แสดงในรูปแบบต่างๆ โดยอาศัยอุปกรณ์แสดงผล ได้แก่
– จอภาพ (Monitor)
– เครื่องพิมพ์ (Printer)
– เครื่องวาดภาพ (Plotter)
– ลำโพง (Speaker)
-
-
-
-
-
-