Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Musicals(การแสดงดนตรี) จัดทำโดย GGM - Coggle Diagram
Musicals(การแสดงดนตรี) จัดทำโดย GGM
ประวัติละครเพลงสากล
ละครเพลงบรอดเวย์ (Broadway Musicals)
เป็นการแสดงละครเพลงเวทีที่กำเนิดขึ้นในโรงละครและโรงภาพยนตร์ บนถนนบรอดเวย์ใน
นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับแบบอย่างมาจากโอเปราชวนหัวหรือ Operetta แบบยุโรป แล้วพัฒนาองค์ประกอบต่าง ๆ ของละครให้เป็นลักษณะ
ของอเมริกา ซึ่งจะกล่าวถึงเรื่องพื้น ๆ แบบชาวบ้านหรือชาวเมือง
บุคคลสำคัญ
พรานบูรพ์ หรือ
นายจวงจันทร์ จันทร์คณา
ได้ดัดแปลงเพลงไทยเดิมที่มีลูกคู่ร้องรับ มาสู่แบบสากล โดยที่ทำนองเพลงที่ใช้กับบทละครร้องยุดนั้น มีลูกคู่ยืดยาดเกินควร จึงใส่เนื้อร้องเต็มหรือตัดให้กระชับแทนลูกคู่ใช้ดนตรีคลอ โดยใช้เครื่องดนตรีฝรั่งบรรเลงแทนเครื่องพิณพาทย์ลาดตะโพนฉับแกระ
พรานบูรพ์ เป้นผู้ริเริ่มทำบทพากย์ภาพยนต์การพากย์ในยุดแรกเป็นการเล่าเรื่องหน้าจอให้คนฟังก่อนหนังฉาย ต่อมาเป็นการพากย์แบบโขน ให้แก่หนังเรื่องรามเกียรติ์ หนังอินเดีย และต่อมาก็เป็นการพากย์แบบปัจจุบัน มีดนตรีประกอบ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่พากย์แบบปัจจุบัน คือเรื่อง "อาบูหะซัน" มีทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง) เป็นผู้พากย์
ละครเพลงในประเทศไทย
พ.ศ. 2474 – 2532 เน้นความสำคัญของการศึกษาละครเพลง
ในปี พ.ศ. 2490 – 2496 ซึ่ง เป็นยุคทองของการแสดงละครเพลงของไทย และนำการแสดงละครเพลงเรื่อง ความพยาบาท ของคณะผกาวลีมาเป็นกรณีศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์บุคคลที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงละครเพลงของไทย เช่น ผู้กำกับการแสดง นักดนตรี นักแสดง ผู้เขียนบท ผู้ชม และข้อมูลจากการฝึกภาคปฏิบัติการแสดงละคร
ของผู้วิจัยกับครูลัดดา ศิลปะบรรเลง อดีตผู้กำกับการแสดงเรื่อง ความพยาบาท ผลการวิจัยพบว่า ละครเพลงพัฒนามาจาก
การแสดงละครร้องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 และมีการพัฒนารูปแบบการแสดงจนสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2490
ในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นปีที่การแสดงละครเพลงของไทยเริ่มได้รับความนิยมสูงสุดเรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2490 – 2496 ต่อมาการแสดงละครเพลงของไทยจึงค่อย ๆ เริ่มเสื่อมความนิยมลงจากอิทธิพลของภาพยนตร์ การแสดงละครเพลงปรากฏขึ้นอีกครั้งทางสถานีโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2499 – 2513 และ ปรากฏ
การแสดงละครเพลงครั้งสุดท้าย ในปี พ.ศ. 2532
เป็นละครของเอกชนที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ละครที่มีชื่อเสียงนี้คือ “คณะจันทโรภาส” เป็นละครของนายจวงจันทน์ จันทร์คณา (พรานบูรณ์) เป็นหลักคือ ปรับปรุงเพลงไทยเดิมที่มีทำนองร้องเอื้อน มาเป็นเพลงไทยสากลที่ไม่มีทำนองเอื้อน นับเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงเพลงไทยเดิมมากทีเดียว
Musical Theatre (Thai)
ผู้แสดง จะใช้ผู้แสดงที่เป็นทั้งผู้ชายและผู้หญิง แสดงจริงตามบทบาทในเรื่อง
การแต่งกาย แต่งกายตามสภาพความเป็นจริงของเนื้อเรื่อง
เรื่องที่แสดง ได้แก่ จันทร์เจ้าขา โจ๊ะโจ้ซัง ฝนสั่งฟ้า คืนหนึ่งยังจำได้
ดนตรี นิยมบรรเลงด้วยวงดนตรีสากล
เพลงร้อง จะเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยประยุกต์จากเพลงไทยเดิมมาเป็นเพลงไทยสากลตามจังหวะและทำนอง ที่ผู้ประพันธ์กำหนดขึ้นให้กับผู้แสดงได้ขับร้องในระหว่างแสดง
สถานที่แสดง แสดงบนเวที มีการจัดฉากเหมือนละครหลวงวิจิตรวาทการ
ละครเพลงปัจจุบัน
ยุคการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ของละครเพลง (2563-2565) การวิวัฒน์ของละครเพลงในแต่ละยุคสมัยนั้นมีปัจจัยสำคัญคือ วิกฤติการณ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สภาพการณ์สังคมในแต่ละยุคสมัย และวิกฤติโรคระบาดอย่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โควิด-19 (Covid-19) องค์ประกอบที่มีความต่อเนื่องในพัฒนาการของละครเพลงตลอดเก้าทศวรรษคือ ชนชั้นกลางเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารที่ผสมผสานวัฒนธรรมโลกกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อยึดโยงชนชั้นของตัวเองกับสังคม ส่วนองค์ประกอบของการสื่อสารที่มีความผันผวนแปรเปลี่ยนไปตามวิกฤติการณ์ของโลกมากที่สุดคือ ช่องทางการเผยแพร่ ซึ่งมีสถานะที่ไหลเลื่อนไปตามวิกฤติและโอกาสในแต่ละยุคสมัย
ลักษณะละครเพลงทั่วไป
Musical Theatre เป็นรูปแบบของละครที่นำดนตรี เพลง คำพูด และการเต้นรำ รวมเข้าด้วยกัน การแสดงอารมณ์ ความสงสาร ความรัก ความโกรธ รวมไปถึงเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านละคร ผ่านคำพูด ดนตรี การเคลื่อนไหว เทคนิคต่าง ๆ ให้เกิดความบันเทิงโดยรวม ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 การแสดงละครเพลงบนเวทีจะเรียกง่าย ๆ ว่า
มิวสิคัล (musicals)
ความแตกต่างระหว่างละครเวทีกับละครเพลง
ละครเพลงเป็นรูปแบบหนึ่งของละครเวที เพียงแต่ว่านอกจากการแสดงแล้ว ละครเวทีใช้ไดอะล้อก คือ บทพูด เป็นตัวดำเนินเรื่อง แต่ละครเพลง จะใช้ทั้งบทเพลงที่ขับร้องและบทพูดเป็นการดำเนินเรื่องราว