Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
HEENT, ตำ - Coggle Diagram
HEENT
การตรวจช่องปากเเละคอ
ทอลซิล และผนังคอ : ให้คนไข้งยหน้า และอ้าปากผู้ตรวจใช้ไฟฉายส่องดูและใช้ไม้กดลิ้นช่วยโดยกดไม้กดลิ้นตรงกลางใกล้
โคนลิ้นหรือประมาณ 1/3จากโคนลิ้นมต้องให้แลบลิ้น ให้สังเกต
ดูว่าทอลซิลโตหรือไม่
เยื่อบุปาก : ให้คนไข้เงยหน้าและอ้าปาก ผู้ตรวจใช้ไฟฉายส่องดูและอาจใช้ไม้กดลิ้นช่วยสังเกตดูว่ามีบาดแผลตุ่มหนอง สีซีดหรือไม่ปกติเยื่อบุปากมีสีชมพู ไม่มีแผล หรือตุ่ม
เหงือกและฟัน : ดูสี อาการบวม บาดแผล การหดร่นของเหงือกเลืออออกว่ามีหรือไม่สังเกตดูฟัน ว่ามีกี่ซี่ มีฟันผุ ฟันโยก ฟันปลอม มีหินปูนเกาะหรือไม่
ลิ้น:ขนาด สีเเละรอยโรค การเคลื่อนไหวของลิ้นโดยให้รับบริการเเลบลิ้นออกมาเต็มที่ สังเกตุ รูปร่างกาย การเอียง การสั่น การเหี่ยวฝ่อของลิ้น
การดู:ริมฝีปาก สังเกตดูสี ความชุ่มชื้น บาดแผล ตุ่ม บวมหรือไม่ ปกติ ริมฝีปากเป็นสีชมพู มีความชุ่มชื้น
ทดสอบการรับรส(Test Taste)
- บอกให้ผู้รับบริการหลับตาและอ้าปาก
- ผู้ตรวจใช้ไม้แตะเกลือหรือน้ำตาล วางบน บริเวณ 2 ใน 3
ส่วนทางด้านหน้าของลิ้น
- ผู้รับบริการบอกว่ารสเกลือหรือน้ำตาล
การตรวจหู
การดู:1 รูปร่าง ตำแหน่งและผิวหนัง ของใบหู และ
บริเวณใกล้เคียงมีก้อน ถุงน้ำ หรือ ตุ่มหนองหรือไม่
1.2 รูหู(Ear canals) ใช้อุปกรณ์ช่วยคือ ไฟฉาย โดย
ให้ผู้ใช้บริการเอียงศีรษะไปด้านตรงข้าม ผู้ตรวจดึงใบหู
เพื่อปรับรูหูให้อยู่ในแนวตรงทำให้เห็นรูหูชัดเจน ซึ่งใน
ผู้ใหญ่ให้จับใบหูดึงเฉียง ขึ้นด้านบนเปิดไฟฉาย ส่องดูในช่องหู สังเกตว่า มีขี้หูมีการอักเสบ หรือมีสิ่งคัดหลั่งหรือไม่
การคลำ:ผู้ตรวจใช้ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้คลำใบหู ทุกส่วน เพื่อประเมินว่ามีก้อน บวม กดเจ็บ หรือไม่
การทดสอบการได้ยิน:วิธีกระซิบ(Whispering test)
1)บอกผู้รับบริการว่าจะขอตรวจการได้ยิน หากได้ยินเสียงขอให้พูดตาม
2) ให้ผู้รับบริการใช้มือ อุดหูข้างที่ไม่ต้องการตรวจไว้
3) ผู้ตรวจยืนด้านหลังเยื้องห่างจากผู้ป่วย 2 ฟุต ด้านหูข้างที่
4 ) ผู้ตรวจพูดกระซิบ หรือพูดเป็นคำเบาๆ เช่น หนึ่ง สอง สาม
5) บอกให้ผู้รับบริการทวนคำพูดที่ได้ยิน
6) เริ่มตรวจการได้ยินของหูอีกข้างเช่นเดิม
วิธีการใช้ส้อมเสียง (tuning fork tests)
1) Weber test เป็นการตรวจสอบการได้ยิน ของหูทั้ง 2เสียง
ข้าง ว่าปกติหรือไม่ มีขั้นตอนดังนี้
- บอกผู้รับบริการให้ทราบว่าจะขอตรวจการ ได้ยิน
- เคาะส้อมเสียงให้สั่นแล้ววางลงบนแนว กึ่งกลางศีรษะ ให้
ส้อมเสียงอยู่ห่างจากหู ทั้ง 2 ข้างเท่ากัน
3.ถามผู้รับบริการว่ารู้สึกสั่นสะเทือนหรือได้ยิน เสียงจากหูข้างไหน เท่ากันไหม
4.ถ้าได้ยินเสียงไม่เท่ากันของหู 2 ข้างควรตรวจ การได้ยินของหูแต่ละข้างต่อไป
Rinne test เป็นการตรวจการได้ยินของหู แต่ละข้าง มี
ขั้นตอนดังนี
- บอกผู้รับบริการให้ทราบว่าจะขอตรวจการได้ยิน
- บอกผู้รับบริการว่าผู้ตรวจจะวางส้อมเสียงที่ เคาะแล้วไว้
หลังใบหูบริเวณกระดูกหลังหู (mastoid process) จะรู้สึก
สั่นสะเทือนถ้าความรู้สึกสันสะเทือนหยุดขอให้บอกผู้ตรวจ
- เมื่อผู้รับบริการบอกหยุดสั่นสะเทือน ให้ผู้ตรวจเอาส้อม
เสียงมาวางไว้หน้าหูผู้รับบริการ แล้วถามว่าผู้รับบริการด้ยินเสียงหรือไม่
4.ตรวจหูอีกข้างด้วยวิธีเดียวกัน
การตรวจตา
-
ตาขาว และเยื่อบุตา : ตรวจด้านบน โดยผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือวางบน
เปลือกตาบนแล้วดึงขึ้น ให้คนไข้เหลือบมองปลายเท้า ตรวจด้านล่าง ผู้ตรวจวางนิ้วหัวแม่มือบนเปลือกตาล่าง แล้วดึงลงให้คนไข้เหลือบมองขึ้น ข้างบน แล้วกลอกตามองข้ายขวา สังเกตตาขาว เยื่อบุตา
กระจกตา : โดยให้คนไข้มองตรง ผู้ตรวจใช้ไฟฉายส่อง
ด้านข้าง แล้วมองกระจกตาทางด้านหน้า สังเกตความใส
และรอยขีดข่วนบนกระจกตา
visual field (การตรวจลานสายตา)
1) ผู้ตรวจยืนห่างผู้รับบริการ 2 ฟุต
2) มองปลายจมูกของกันและกัน
3 ) ผู้ตรวจ เหยียดแขนออกไปด้านข้าง งอข้อมือ ให้นิ้วชี้และนิ้วกลางอยู่
ในระดับตา
4) ผู้ตรวจค่อยๆเลื่อนมือที่ขยับไปมา เข้าหา ผู้รับบริการ เมื่อผู้รับ
บริการเริ่มเห็นนิ้วมือของ ผู้ตรวจให้ผู้รับบริการพยักหน้า
5) ผู้ตรวจเปรียบเทียบว่า จุดที่ผู้รับบริการเห็นนิ้ว มือและพยักหน้านั้น
6) ผู้ตรวจยกแขนขึ้นสูงสุด และด้านล่าง ตามลำดับ
visual acuity ใช้วิธี reading test
- บอกให้ผู้รับบริการปิดตาทีละข้าง
- ผู้ตรวจวางกระดาษที่มีตัวหนังสือชนิดพิมพ์ ในระดับสายตา
และ ห่างตาประมาณ 14 นิ้ว
3.ผู้ตรวจชี้ตำแหน่งให้อ่าน
- เมื่ออ่านแล้วให้เปลี่ยนไปตรวจตาอีกข้าง
- ถ้าใช้แว่นตาหรือคอนแทกซ์เลนส์ ให้ใส่ ขณะตรวจด้วย
การตรวจเล็บเเละผิวหนัง
การดู:สีผิวปกติหรือไม่ เช่น ผิวซีด พบในโรคโลหิตจาง ผิวสีเหลือง พบในโรคตับเเละถุงน้ำดี
ผิวสีเขียวคล้ำ เเสดงการขาดออกซิเจน
ผิวสีเเดง พบในมีไข้ ดื่มสุรา
คลำ:ความตึงตัวของผิวหนัง = normal skin turgor
อุณหภูมิผิวหนัง ตรวจสอบความอุ่น ร้อน เย็น
ความชุ่มชื้น รอยโรคผิวหนัง
การบวม ใช้นิวใดก็ได้กดบนลงผิวหนังบริเวณประมาณ5-10วินาทีสังเกตุการบุ๋มลงไปหรือไม่ บวมกดบุ๋มพบในโรคหัวใจ
เล็บปกติประมาณ160องศา
นิ้วปุ้ม(clubbing of finger) มุมมากกว่า160องศา พบในผู้ป่วยที่ขาดออกซิเจนเรื้อรัง การตรวจเรียกว่า Schamroth's sign
การตรวจใบหน้า(face)
การดู: ความสมมาตร การเเสดงออกของใบหน้า รอยโรค การเคลื่อนไหว
ปกติ ใบหน้าทั้งสอง ด้านสมมาตรกัน ไม่บิดเบี้ยว ไม่มีกาเคลื่อนไหว ผิดปกติ ขนคิ้ว ขนตา กระจายปกติ สม่ำเสมอ สีผิวหน้าตามเชื้อชาติ ใบหน้าไม่บวม ร่องแก้ม จะเป็นร่อง ลึกเท่ากันทั้งสองข้าง
-
ทดสอบเส้นประสาทสมอง: คู่ที่ 5ตรวจการรับความรู้สึกบริเวณ ใบหน้า 1)บอกให้ผู้รับบริการหลับตา ใช้สำลีและไม้ปลายแหลมแตะหน้าผาก แก้ม คาง ด้านซ้าย -ขวา 2) ถ้ารู้สึกให้บอกหรือพยักหน้า
ตรวจการงานของกล้ามเนื้อบด เคี้ยว
คู่ที่ 7 บอกใบหน้าการ เลิกคิ้ว หลับตาปี๋ ยิงฟัน ทำปากจู๋เป่าลม
การตรวจจมูก
ดู: ลักษณะภายนอก 1)ปีกจมูกมีการบานออกและหุบเข้า ในขณะหายใจๅ
เข้า -ออกไหม
2) รูจมูก : ให้ผู้ป่วยแหงนหน้าขึ้นเล็กน้อย ผู้ตรวจใช้นิ้วหัว
แม่มือแตะจมูกและนิ้วกลางแตะบริเวณศีรษะแล้วดึงรั้งจมูกขึ้น ขณะเดียวกันผู้ตรวจใช้ ไฟฉายส่องเข้าไปในรูจมูก - เยื่อบุจมูก(nasal mucosa) -ผนังกั้นช่องจมูก(septum)
การคลำ:ตรวจ Sinus tenderness
1)frontal sinuses ผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือกดและดันขึ้นเหนือลูกตา บริเวณหัวคิ้ว ดูว่าผู้รับบริการมีอาการกดเจ็บ ไหม
2)Maxillary sinuses ผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือกดและดันขึ้นที่โหนกแก้มระดับเดียวกับปีกจมูก ดูว่าผู้รับบริการมี
อาการกดเจ็บไหม
- ทดสอบการได้กลิ่น (Test Smelling)
1.ตรวจรูจมูก 2 ข้างไม่ตัน
- บอกให้หลับตา
- อุดจมูกทีละข้าง
- ผู้ตรวจเตรียมกลิ่นสิ่งของที่ผู้รับบริการรู้จัก เช่น สบู่ แอมโมเนีย และให้บอกว่ากลิ่น อะไร ที่สำคัญ คือ ผู้รับบริการต้องไม่เห็นสิ่งของ ก่อนทดสอบเพื่อการแปลผลที่ถูกต้อง
การตรวจคอ
ดู:ความสมมาตร รอยโรค ต่อมไทรอยด์
ตรวจNeck vein engorgement (เส้นเลือดดำข้างคอขยายใหญ่และ
มีเลือดคั่ง)ดูบริเวณข้างคอด้านขวาของผู้รับบริการในท่านั่งหรือท่ายืน พบเส้นเลือดดำข้างคอขยายและ มีเลือดคั่ง ไหม
คลำ: trachea(หลอดลม)ถ้าหลอดลมอยู่ศูนย์กลาง
แสดงว่าหลอดลมอยู่ใน ตำเเหน่งปกติเเสดงว่าอยู่ในตำเเหน่งปกติ
ถ้าหลอดลมไม่อยู่ในเเนวตรงมีการเอนเอียงไปด้านใดเเสดงว่าปอดด้านตรงข้ามมีพยาธิสภาพ
Lymph node (ต่อมน้ำเหลือง) บริเวณคอ
- Superficial cervical lymph node ส่วนบน ของกล้าม
- Posterior cervical chain lymph node ด้านหน้า ของกล้ามเนื้อTrapezius
- Deep cervical chain lymph node อยู่ลึก หลังกล้ามเนื้อSternocleidomastoid
- Supraclavicular lymph node เหนือ กระดูกไหปลาร้า
Head
การดู: ศรีษะ ดูรูปร่าง ขนาดเเละความสมมาตร
ผม ดูการกระจายของเส้นผม ดูลักษณะว่า แตกแห้ง กรอบ ขาด ร่วง มีเหาหรือไม่
หนังศีรษะ: ดูการอักเสบ มีแผล รังแค ก้อน หรือสิ่งผิดปกติ
การคลำ:ตรวจยืนด้านหน้าของผู้ใช้บริการ ใช้ปลาย นิ้วชี้ นิ้วต่าง ๆ โดยเริ่มจาก ด้านหน้า ไล่ไปจนทั่ว ถึงท้ายทอย และคลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณท้ายทอย
หนังศีรษะและกะโหลกศีรษะ(Scalp & skull) -กดเจ็บไหม(tenderness) - มีก้อนไหม( mass)
2.Occipital lymph node
-