Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคระบบทางเดินหายใจ, นางสาว วรินยุพา ตาคำ 6401210880 - Coggle Diagram
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคหอบหืดในสตรีตั้งครรภ์(asthma in pregnancy)
โรคหอบหืด (asthma) เป็นโรคของระบบทางเดินหายใจ ที่มีการอักเสบและอุดตันของทางเดินหายใจที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากเกินไป
สาเหตุ
สาเหตุสำคัญของอาการหอบหืดเกิดจากปัจจัยภายในเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และปัจจัยภายนอกที่เกิดจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น เกสรดอกไม้ ไรฝุ่น เชื้อรา ควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM2.5 สารเคมี การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ยาบาง
ชนิด รวมถึงการออกำลังกายหักโหม อากาศเย็น และความเครียด เป็นต้น โดยการสัมผัสอาจเป็นการสัมผัสกับตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้หลายชนิดในปริมาณไม่มาก แต่สัมผัสเป็นเวลานาน หรือสัมผัสกับ
ตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้เพียงชนิดเดียวแต่ปริมาณมาก
อาการและอาการแสดง
เมื่อมีอาการมากขึ้น
- หอบ
- หายใจมีเสียง wheezing โดยเฉพาะขณะหายใจออกจะได้ยินเสียงชัดเจน
- หายใจออกลำบากกว่าจะหายใจเข้า
- มีเสมหะเป็นฟองสีขาว ลักษณะอาจเหนียวใสเป็นวุ้น
- รู้สึกกระวนกระวาย กลัว
- หายใจไม่ทัน
ในรายที่มีอาการรุนแรง
- มีอาการเขียวบริเวณริมฝีปาก ปลายมือ และปลายเท้า
- หายใจเข้าออกเบา และสั้นลง
- มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์มาก เกิดภาวะพร่องออกซิเจน จากภาวะความเป็นกรดเนื่องจากการหายใจ ทำให้อาจเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดงในระยะแรก อาจมีเพียง
- อาการรู้สึกแน่นหน้าอก
- อึดอัด
- ไอ
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นหอบหืดรุนแรงมากก่อนการตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่อาการจะรุนแรงมากขึ้นโดยอาการมักจะกำเริบในช่วงสัปดาห์ที่ 24-36 ของการตั้งครรภ์ ในรายที่เป็นหอบหืดเพียงเล็กน้อยมีแนวโน้มว่าอาการจะดีขึ้น ในรายที่ควบคุมโรคไม่ได้จะมีผลกระทบ ได้แก่ เสี่ยงต่อการแท้ง
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อ pneumothorax, pneumomediastinum cardiac arrhythmias และเสียชีวิตจากภาวะ status asthmaticus
ผลต่อทารก
ในรายที่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ การเป็นโรคหอบหืดจะไม่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ แต่หากควบคุมโรคไม่ดี จะมีผลกระทบต่อทารก ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ทารกแรกเกิดขาดออกซิเจน
และหากรุนแรงมาก ทารกอาจเสียชีวิตได
การประเมิน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจดูสมรรถภาพของปอดโดยใช้ spirometry หรือ peak flow meter เพื่อวัดแรงดันลมขณะหายใจออก เพื่อยืนยันว่ามี airflow limitation โดยในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีแรงดันลมขณะหายใจออกที่ 1 นาทีต่ำกว่า 80 % ของค่าปกติ
การตรวจพิเศษ
ได้แก่ การตรวจภาพถ่ายทางรังสีเพื่อวินิจฉัยแยกโรคหอบหืดออกจากโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกัน และการตรวจ arterial blood gas (ABGs) เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia)
การตรวจร่างกาย
พบหายใจลำบาก หายใจมีเสียง wheezing หอบเหนื่อย หายใจเร็ว ชีพจรเร็ว เหงื่อออก อาจพบอาการเขียวบริเวณริมฝีปากและปลายมือปลายเท้า
การซักประวัติ
เกี่ยวกับประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว การสัมผัสสิ่งที่ก่อให้เกิดหอบหืด อาการและอาการแสดงเมื่อเกิดหอบหืด รวมทั้งการรักษาที่เคยได้รับ
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง
โดยหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นทุกชนิดที่ทำให้โรคกำเริบ และอาจให้ออกซิเจนในกรณีที่พบว่าเหนื่อยหอบมากหรือค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำ หลีกเลี่ยงการใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกกลุ่ม ergometrine จะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น โดยเปลี่ยนมาเป็นยากลุ่ม oxytocin หรือ prostaglandin แทน หลีกเลี่ยงการใช้ analgesia
โดยเฉพาะยา meperidine หรือ morphine จะกระตุ้นให้อาการหืดกำเริบได้ ในรายที่ต้องผ่าตัดคลอดให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาระงับความรู้สึกชนิด general anesthesia เนื่องจากการใส่ท่อหายใจอาจกระตุ้นให้หลอดลมหดเกร็ง (bronchospasm) ควรใช้วิธี epidural block แทน
-
การใช้ยาเพื่อรักษาและป้องกันอาการหอบหืด ได้แก่
- ยาขยายหลอดลม ซึ่งยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยากลุ่ม sympathomimetics เช่น terbutalines, albuterol เป็นต้น
- ส่วนยากลุ่ม xanthine ได้แก่ aminophylline, theophylline ปัจจุบันไม่นิยมใช้ในการรักษาเนื่องจากอาจเกิดการสะสมของพิษยา นอกจากนี้ยังมียาแก้อักเสบที่ใช้ลดอาการหอบหืดที่เกิดจากการอักเสบที่เกิดในระยะหลัง ได้แก่ ยา กลุ่มสเตียรอยด์ เช่น bechomethasone, cromolyn sodium เป็นต้น
วัณโรคปอดในสตรีตั้งครรภ์(pulmonary tuberculosis in pregnancy)
วัณโรค (pulmonary tuberculosis) เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจแบบairborne-transmitted infection disease
สาเหตุ
วัณโรคปอดเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย genus mycobacterium ซึ่งมีหลาย species ซึ่งร้อยละ 80 ของการติดเชื้อในคนเกิดจากเชื้อ mycobacterium tuberculosis (M.TB) การติดเชื้อวัณโรคสามารถเกิดได้กับทุกอวัยวะของร่างกาย แต่จะพบการติดเชื้อบ่อยที่สุดที่ปอด และสำคัญมากที่สุดเนื่องจากเชื้อสามารถแพร่กระจายจากปอด หลอดลม หรือกล่องเสียงของผู้ป่วยไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านการไอ จาม ตะโกน พูดเสียงดัง หรือหัวเราะ เชื้อที่อยู่ในละอองฝอย (droplets) ของเสมหะหรือละอองน้ำลายจะออกมาสู่ภายนอก ถ้าละอองฝอยมีขนาดใหญ่เมื่ออกมาสู่ภายนอกจะตกลงสู่พื้นดินและแห้งไป แต่หากเป็นละอองฝอยขนาดเล็กเมื่อออกมาสู่ภายนอกจะสามารถกระจายอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง ติดต่อจากคนสู่คนได้โดยการสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรคที่ปนออกมากับละอองฝอยเข้าไป
อาการและอาการแสดง
โดยผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรค จะสามารถแพร่กระจายเชื้อไปให้ผู้อื่นได้ และ
จะมีอาการแสดงของวัณโรค ได้แก่
- ไอเรื้อรัง (มากกว่า 2 สัปดาห์)
- เจ็บหน้าอก
- ไอมีเลือดหรือมีเสมหะปน
- น้ำหนักลด
- มีไข้
- เหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืน
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
ผลกระทบ
-
ผลต่อทารก
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกน้ำหนักตัวน้อย หรืออาจเสียชีวิตในครรภ์ รวมถึงอาจเกิดการสำลักสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อเข้าไปขณะคลอด หากสตรีตั้งครรภ์ได้รับการรักษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนคลอด หรือตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคในเสมหะของสตรีตั้งครรภ์ ทารกก็จะมีโอกาสติดเชื้อน้อย
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
- เกี่ยวกับการสัมผัสกับเชื้อ
- การเป็นโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อวัณโรค เช่น การติดเชื้อเอชไอวี เบาหวาน การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
- ซักประวัติอาการแสดงของวัณโรค ได้แก่ อาการไอเรื้อรังติดต่อนานเกิน 2 สัปดาห์ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้ และเหงื่อออกตอนกลางคืนหลังไข้ลด
การตรวจร่างกาย จะพบ
- อาการไอเรื้อรัง
- ไอมีเลือดปน
- เจ็บหน้าอก
- หายใจขัด
- อ่อนเพลีย
- มีไข้ต่ำ ๆ ซึ่งมักจะเป็นตอนบ่าย เย็น หรือตอนกลางคืน
- ฟังปอดอาจได้ยินเสียง rales ขณะหายใจเข้า
แต่ในรายที่เป็นวัณโรคในระยะเริ่มต้นอาจตรวจไม่พบอาการผิดปกติ
-
การรักษา
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด ก่อนเริ่มการรักษาจะต้องตรวจหาเชื้อ HIV ในผู้ป่วยทุกราย พร้อมทั้งตรวจการทำงานของตับ และการทำงานของไต
แนวทางการรักษาวัณโรค
ของ WHO ได้แนะนำสูตรยามาตรฐานสำหรับผู้ป่วยใหม่ที่เชื้อไวต่อยา หรือผู้ป่วยที่ยังไม่เคยรับการรักษามาก่อน หรือรักษามาไม่เกิน 1 เดือน ให้ใช้ยาสูตร 2HRZE/4HR
ใน 2 เดือนแรกใช้ยา isoniazid (H) + rifampicin (R) + pyrazinamide (Z) + ethambutol (E) หลังจากนั้นใช้ isoniazid (H) + rifampicin (R) ต่ออีก 4 เดือน และแนะนำให้เสริมวิตามินบี 6 วันละ 50-100 mg. ให้กับสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับยา isoniazid เนื่องจากยา isoniazid มีผลยับยั้งการสร้างวิตามินบี 6
ขณะรักษาจะต้องติดตามดูเชื้อวัณโรคเป็นระยะ โดยการย้อมเสมหะร่วมกับการประเมินลักษณะอาการทางคลินิก ในรายที่การตอบสนองการรักษาไม่ดี เช่น ตรวจ AFB smear และการเพาะเชื้อ วัณโรคใน เดือนที่ 2 หรือ 3 หลังการรักษายังให้ผลเป็นบวก และผลทดสอบความไวไม่พบเชื้อดื้อยาสามารถยืดระยะเวลาในการรักษา 4HR จาก 4 เดือนเป็น 7 เดือนได้ ในกรณีที่เป็น latent TB infection
-
-