Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หญิงตั้งครรภ์อายุ 25 ปี G3P2A0 GA 40+6 wks by LMP - Coggle Diagram
หญิงตั้งครรภ์อายุ 25 ปี G3P2A0 GA 40+6 wks by LMP
ประวัติเเบบเเผนสุขภาพ 11 เเบบเเผน
การรับรู้ เเละการดูเเลสุขภาพ
การตั้งครรภ์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2
ตนเองมาประจำเดือนวันเเรกของเดือนสุดท้ายวันที่ 27/07/2566
ช่วง1-3 เดือนเเรกของการตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
-หญิงตั้งครรภ์รับรู้การตั้งครรภ์ รู้สึกดีใจ ตื่นเต้น
อาหาร เเละการเผาผลาญสารอาหาร
รับประทานอาหารวัลนะ 3 มื้อดื่มน้ำวันละ 7-8 เเก้ว -ชอบทานผัก เเกงกะทิ
1-3เดืนอเเรกขณะตั้งครรภ์มีอาการเบื่ออาหาร อาการคลื่นไส้ อาเจียน
กิจกรรม เเละการออกกำลังกาย
หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้ออกกำลังกาย โดยถือว่าการเดินเป็นการออกกำลังกายเเล้ว
การขับถ่าย
ถ่ายปัสสาวะ 6-7 ครั้ง/วัน - อุจจาระ1-2วัน/ครั้ง
การนอนหลับ พักผ่อน
ก่อนตั้งครรภ์จะเข้านอนเวลา 21.00น. ตื่นนอน เวลา 08.22 นอนหลับสนิท ไม่สะดุ้งตื่นปัสสาวะในตอนกลางคืน
ขณะตั้งครรภ์จะเข้านอนเวลา 22.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. มีสะดุ้งตื่นปัสสาวะในตอนกลางคืน ในช่วงกลางวันจะนอนประมาณ 2-3 ชั่วโมง
สติปัญญา เเละการรับรู้
หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่าจะมีอาการปวดหลังเมื่อนั่งเป็นเวลานาน ๆ เมื่อมีอาการจะพิงผนัง เเละตอนตะเเคงซ้าย เเละขวาสลับไปมา
มีการรับรู้ บุคคล วัน เวลา สถานที่ ตอบคำถามตรงคำถาม
การรับรู้ตนเอง เเละอัตมโนทัศน์
หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่าตนรับรู้การเปลี่ยนเเปลงของร่างกาย คือท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น ร่างกายอ้วนขึ้น เเต่ไม่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์
การปรับตัวบทบาท เเละสัมพันธภาพ
หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่าสัมพันธภาพภายในครอบครัวรักใคร่กันดี มีการดูเเลเอาใจใส่ ช่วยเหลือกัน ไม่มีการทะเลาะเบาะเเว้ง
เพศ เเละการเจริญพันธุ์
หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่ามีประจำเดือนครั้งเเรกอายุ 14 ปี ระยะเวลามาประจำเดือน 7 วัน รอบประจำเดือน 27 วัน มีอาการปวดท้องน้อยในช่วงเเรกของการมีประจำเดือน มีการคุมกำเนิดเเบบธรรมชาติ ไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์
การปรับตัว เเละทนทานต่อความเครียด
หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่าตนกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในครั้งนี้ เนื่องจากเลยวัน เวลา กำหนดคลอด กลัวว่าจะต้องผ่าคลอด
เมื่อมีความกัวล จะพูดคุยกับสามี เเละขอดุอาร์จากพระองค์อัลลอฮ.
คุณค่า เเละความเชื่อ
หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่าตนนับถือศาสนาอิสลาม ปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด ละหมาดครบ 5 เวลา สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจคือ พระองค์อัลลอฮ.
ตนเชื่อว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้เป็นไปตามกำหนด
ของอัลลอฮ.
ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารโดยเชื่อว่าการรับประทานสับปะรดในขณะตั้งครรภ์ทำให้เลือดออก เเละตกเลือดได้ เเละรับประทานน้ำเเข็งหลังคลอดทำให้เกิดอาการหนาวสั่น
ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์
ประวัติหลังคลอดในอดีต
หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า มีประวัติการคลอด 1 ครั้ง ไม่มีประวัติตกเลือดหลังคลอด และไม่มีการติดเชื้อหลังคลอด
ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด
ครรภ์ที่ 1 อายุครรภ์ 40+6 wks. วันที่คลอด 13 มิถุนายน 2561 คลอดธรรมชาติ ที่โรงพยาลบาเจาะ ทารกเพศหญิง น้ำหนัก 3,675 กรัม สภาพเด็กแรกคลอดปกติ มารดาหลังคลอดปกติ ปัจจุบันเด็กแข็งแรงดี
ประวัติการมีประจำเดือน
มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี รอบของการมีประจำเดือน 27 วัน ระยะเวลาที่มีเลือดประจำเดือน 7 วัน
หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า ตนมักมีอาการปวดท้องน้อยในช่วงแรกของการมีประจำเดือน ซึ่งจะแก้ไขด้วยวิธีการรับประทานยาลดปวด คือยาพาราเซตามอล ที่ได้รับจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลอแระ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ
นางสาว ก. อายุ 25 ปีสถานภาพสมรส อาชีพ เเม่บ้าน อาชีพสามี รับจ้างทั่วไป รายได้ 10000/เดือน อายุครรภ์ 40+6 wks.By LMP
ประวัติการเจ็บป่วย
ปฏิเสธโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและโรคติดต่อของบุคคลในครอบครัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การตั้งครรภ์แฝด วัณโรค โรคเลือด กามโรค - ปฏิเสธความเจ็บป่วยในอดีตของหญิงตั้งครรภ์
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
Gravidaty 2 Parity 1 Abortion 0 วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย 27 กรกฎาคม 2566 กำหนดวันคลอด 3 พฤษภาคม 2567 ทารกในครรภ์เริ่มดิ้น อายุครรภ์ประมาณ 17+6 สัปดาห์
อาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์
คลื่นไส้อาเจียน อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ - อึดอัดแน่นท้อง อายุครรภ์ 32 สัปดาห์
ปวดหลัง อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
การได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
ฉีดวัคซีนครบ 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560 ในระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เพราะได้รับครบ 3 เข็ม หรือได้รับเข้มกระตุ้นมาไม่เกิน10ปี
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ครั้งที่1 วันที่ 10 ตุลาคม 2566
Blood group = A
Rh = Positive
Hct. = 41.7%
Hb. = 13.2 g/dl
OF= Negative
MCV=90 fl DCIP= Negative
ไวรัสตับอักเสบบี = Negative
ซิฟิลิส= Negative
Anti HIV= Negative
ครั้งที่2 วันที่ 12 มีนาคม 2567
Blood group = A Rh + Hct. = 38.9%
Hb. = 12.0 g/dlOF= Negative
MCV=96.3 fl
DCIP= Negative
ไวรัสตับอักเสบบี = Negative
ซิฟิลิส= Negative
Anti HIV= Negative
ตรวจร่างกาย
Neck : ลำคอตรงปกติ การเคลื่อนไหวปกติ ไม่พบคอแข็ง หลอดลมตั้งตรง ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ตรวจไม่พบการโป่งพองของเส้นเลือดดำที่คอ คลำไม่พบก้อนบวม ไม่พบต่อมน้ำเหลืองโต ไม่มีการอักเสบ ไม่พบต่อมไทรอยด์โต
Face : ใบหน้าทั้งสองข้างสมมาตรกัน ไม่พบรอยโรค ไม่มีผื่นคันบริเวณใบหน้า ไม่มีอาการบวม ไม่พบฝ้า ไม่มีการกดเจ็บ
Eye : ตาทั้งสองข้างอยู่ในระดับเดียวกัน หางตาทั้งสองข้างอยู่ในระดับใบหูทั้งสองข้าง ตาทั้งสองสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะปกติ เยื่อบุตาไม่ซีด เปลือกตาไม่บวมแดง ไม่มีตุ่มหนอง แผล หรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ สามารถกลอกตาไปมาได้ ไม่มีสิ่งคัดหลั่งออกจากตาได้
Ear : ใบหูทั้งสองข้างได้ยินชัดเจนปกติ ใบหูสะอาด กดไม่เจ็บ ไม่มีสิ่งคัดหลั่งไหลออกมาจากใบหูทั้งสองข้าง คลำไม่พบก้อนบริเวณใบหูทั้งสองข้าง
Body weight : น้ำหนัก 74 กิโลกรัม ส่วนสูง 157 เซนติเมตร BMI= 30.02 kg/m2
Mouth : ริมฝีปากไม่แห้ง ไม่มีแผลบริเวณมุมปาก เหงือกไม่บวม ไม่มีการอักเสบ พบฟันผุ 3 ซี่ ลิ้นไม่มีแผล รับรสได้ปกติ ไม่มีน้ำลายออกมามากกว่าปกติ ต่อมทอนซิลไม่บวมโต ไม่มีปัญหาการกลืน
Axillary : คลำไม่พบก้อนบริเวณรักแร้ทั้งสองข้าง ไม่พบต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โต กดไม่เจ็บ
Head : ศีรษะสมมาตรกับลำตัว ไม่มีการบิดเบี้ยวหรือบวม
Vital sign : BT=36.8 องศาเซลเซียส, BP=100/70 mmHg, PR=80 bpm, RR=20 bpm
Skin : ผิวสีแทน สะอาด มีความยืดหยุ่นดี ชุ่มชื่น ไม่แห้งกร้าน ความตึงตัวของผิวหนัง good skin turgor ไม่พบผื่น ไม่พบอาการบวม หน้าท้องมีการแตกลาย ไม่พบจุดจ้ำเลือด พบเส้นสีน้ำตาลผ่านสะดือกลางหน้าท้อง
Breast : เต้านมทั้งสองข้างสมมาตรกัน ไม่พบลักษณะผิดปกติของหัวนม เช่น หัวนมสั้น บอด บุ๋ม แบน ไม่มีการคัดตึงเต้านม ไม่พบก้อน ลานนมสีน้ำตาล หัวนมไม่มีสิ่งคัดหลั่งซึม ไม่พบหัวนมแตก หรือเป็นรอยแยก
Chest and lung : รูปร่างทรวงอกปกติ ทรวงอกสมมาตรกันทั้งสองข้าง การเคลื่อนไหวของทรวงอกสัมพันธ์กับการหายใจ อัตราการหายใจ 20 ครั้งต่อนาที
Heart : อัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ 80 ครั้งต่อนาที
Abdomen : หน้าท้องมีลักษณะกลมโต พบเส้นสีน้ำตาลผ่านกลางสะดือกลางท้อง พบรอยแตกลายบริเวณหน้าท้อง พบระดับยอดมดลูก 3/4 เหนือสะดือ ยาว 35 เซนติเมตร ท่า OR! Head float, FHS = 150 ครั้งต่อนาที ทารกในครรภ์ดิ้นดี ไม่พบหน้าท้องหย่อน
Neurologic system : หญิงตั้งครรภ์รู้สึกตัวดี พูดคุยรู้เรื่อง ทำตามคำสั่งได้ ให้ความร่วมมือในการซักประวัติอย่างดี สามารถมองเห็นได้ชัดเจน การได้ยินชัดเจน จมูกรับกลิ่นได้ดี การรับรสได้ตามปกติ ผิวหนังรับความรู้สึกร้อนเย้นได้ตามปกติ รับรู้ความรู้สึกปวดได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดหลัง
ข้อมูลสนับสนุน
S : หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า มีอาการปวดหลังบ่อยครั้ง S: หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า เมื่อปวดหลังจะนั่งพิงผนัง และะนอนตะแคงงสลัยซ้ายขวาไปมา
O : GA 40+6 wks.
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการปวดหลัง
หญิงตั้วครรภ์รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
ไม่พบสีหน้าคิ้วขวมด เวลาเคลื่อนไหว
การพยาบาล
ประเมินลักษณะตำแหน่งงความรุนแรงงของอาการปวดหลังเพื่อวางแผนนการพยาบาล
แนะนำการป้องกัน และะบรรเทาอาการปวดหลัง
2.1 แนะนำอยู่ในท่าที่เหมาะสม ขณะนั่งควรมีหมอนรองรับความโค้งบริเวณบั้นเอว ควรนอนตะแคง และะใช้หมอนหนุนรองใต้ข้อเข่า ท้อง คอ และะใช้มือหรือข้อศอกยันตัวก่อนลุกขึ้น หรือล้มตัวลงนอน หากต้องยืนนาน ๆ ควรหาเก้าอี้เตี้ย ๆ มารองรับเท้าข้างใด ข้างหนึ่ง
2.2 ไม่ยกของหนัก หากจำเป็นให้ย่อเข่า ใช้กล้ามเนื้อต้นขาทั้งสองดันตัวยืนก่อน
2.3 ควรนอนบนฟูก หรือที่นอนไม่อ่อนนุ่ม จนเกินไป
2.4 รองเท้า ควรใส่รองเท้าส้นเตี้ย
2.5 การยืน โดยการยืนเอาหลังแนบฝาผนังจะช่วยป้องกัน และะผ่อนคลายอาการปวดหลัง
วัตถุประสงค์ มีอาการปวดหลังลดลง
ส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
S: หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า ตนชอบลูบหน้าท้องบ่อยๆ
O: หญิงตั้งครรภ์ G2P1 GA 40+6 wks. by LMP
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
เกณฑ์การประเมิน
1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
2.อธิบายความสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์สามารถกระตุ้นได้ตั้งแต่ในครรภ์ เพื่อให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เป็นการเตรียมความพร้อมทารกก่อนคลอดตลอดจนถึงหลังคลอด
3.แนะนำการกระตุ้นพัฒนาการทารก4 ด้าน
3.1ด้านการมองเห็น
-การเคลื่อนไฟฉาย
3.2 ด้านการได้ยิน
1.การใช้เสียงที่เกิดจากธรรมชาติ
2.การใช้เสียงของมารดา
3.การใช้เสียงดนตรี
3.3 ด้านการสัมผัส
1.การลูบสัมผัส
3.4 ด้านการเคลื่อนไหว
ส่งเสริมการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3
เกณฑ์การประเมิน
มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
สามารถอธิบายการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในช่วงไตรมาสที่ 3
การพยาบาล
พูดคุยสร้างสัมพันธภาพกับหญิงตั้งครรภ์เพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ
แนะนำำหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับภาวะไม่สุขสบายในช่วงไตรมาสที่ 3
2.1 อาการเหนื่อย ลดการทำงาน กิจกรรมที่ทำให้เหนื่อย
2.2 อาการปวดหลัง หบีกเลี่ยงกิจกรรมที่เกินกำบัง ไม่ควรนั่งนาน ๆ
2.3 อาการท้องผูก รับประทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำอุ่นในช่วงเช้า ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว|วัน ฝึกขับถ่ายอุจจาระเป็นเวลา
2.4 อาการนอนไม่หลับ ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆอช่วยหลับสบายขึ้น นอนตะแคงงซ้ายในหมอนหนุนท้อง วางขาบนหมอน
2.5 อาการปัสสาวะบ่อย ลดปริมาณน้ำดื่มก่อนเข้านอน ถ่ายปัสสาวะก่อนนอน
แนะนำำรับประทานอาหารครบ 5 หมู่
แนะนำำรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก มีเเคลเซียมสูง
แนะนำำทำจิตใจให้สงบ ผ่อนคลาย นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ
แนะนำำการดูแลเต้านม ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมาก
แนะนำำให้สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ หรือใส่กางเกงชนิดมีพุงหน้าท้อง เพื่อให้รู้สึกสบาย ไม่อึดอัด
ปัสสาวะบ่อยเนื่องจากมดลูกมีการกดเบียดกระเพาะปัสสาวะจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ข้อมูลสนับสนุน
S: หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า ปัสสาวะบ่อยขึ้นจากเดิม 7-8 ครั้งต่อวัน
S: หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า ชอบสะดุ้งตื่นมาปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
O: G2P1 GA 40+6 wks. by LMP
วัตถุประสงค์
-อาการปัสสาวะบ่อยลดลง
-หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และปฏิบัติตัวได้เหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน
1.หญิงตั้งครรภ์เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะร้อยละ 80
2.หญิงตั้งครรภ์สามารถปฏิบัติตัวได้เหมาะสมเกี่ยวกับการปัสสาวะบ่อยในหญิงตั้งครรภ์
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปัสสาวะบ่อยในหญิงตั้งครรภ์
2.อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 คือ ความจุของกระเพาะปัสสาวะเป็นสองเท่า ความจุประมาณ 1,500 มล. จากการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบจากอิทธิพลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะบวมขึ้น จากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน การที่มีเลือดมาคั่งมากที่ฐานของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีการบวมง่ายต่อการฉีกขาด และติดเชื้อได้ง่าย นอกจากอิทธิพลของฮอร์โมนแล้ว ยังเกิดจากมดลูกกดทับกระเพาะปัสสาวะในไตรมาสที่1และ3 สำหรับ2 จำนวนครั้งของปัสสาวะลดลง
3.แนะนำลดปริมาณน้ำดื่มก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง และถ่ายปัสสาวะก่อนเข้านอน เพื่อลดปริมาณในกระเพาะปัสสาวะ
4.บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณเชิงกรานแข็งแรงขึ้น ป้องกันการเล็ดของปัสสาวะ โดยการบริหารอุ้งเขิงกรานวันละ 3 รอบ โดยการบริหารคล้ายกับการกลั้นปัสสาวะ ขมิบค้างไว้ 10 วินาที แล้วคลายออก ทำแบบนี้ให้ครบ15ครั้ง (15 ครั้ง นับเป็น 1 รอบ)
5.แนะนำหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ช่องคลอด
6.หากมีอาการปวดปัสสาวะ หรือปัสสาวะแสบขัด ควรมาพบแพทย์