Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Substances use disorder with induced psychotic disorder …
Substances use disorder with induced psychotic disorder
ภาวะติดสารเสพติดและโรคจิตจากการใช้สาร
การรักษา
การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ
การบำบัดด้วยยา
Haloperidol(5)2x1 oral pc (ก่อนนอน)
ออกฤทธิ์ที่ basal ganglia ซึ่งท าให้ เกิดอาการ เช่น กล้ามเนื้อหดเกร็ง กล้ามเนื้อแข็ง เกร็งและอาการของโรคปาร์กินสัน
ผลข้างเคียง : ลมพิษ ผื่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ปากบวม ริมฝีปากบวม หน้าหรือลิ้นบวม การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป หรือเห็นภาพไม่ชัด เจ็บหน้าอก
ยากลุ่ม Butyrophenone รักษาอาการทางจิตกลุ่มเดิม (FGAs) ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ Dopamine D2 receptor การออกฤทธิ์เป็นไปตาม dopamine pathway
Mesolimbic pathway = positive symptoms
Mesocortical pathway = negative symptoms
Nigrostriatal pathway เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการข้างเคียง extrapyramidal extrapyramidal side effects
Tuberoinfundibular pathway ทำให้ prolactin หลั่งมาก เกิด galactorrhea(น้ำนมไหลผิดปกติ)&gynecomastia(ภาวะเต้านมโต) ได้
ACA(2) 1x1 oral pc (เช้า)
ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ อาการปากคอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก
ACA(2) 1xprn oral pc if EPS q 6 hr.
CPZ(25) 1x1 oral pc (ก่อนนอน)
Chlorpromazine เป็นยาในกลุ่ม Phenothiazine(ฟีโนไทอาซีน) ใช้รักษาโรคทางจิตเป็นหลัก
ผลข้างเคียง : ปัญหาการเคลื่อนไหว อาการง่วงนอน ปากแห้ง ความดันโลหิตต่ำเมื่อยืน และน้ำหนักเพิ่มขึ้น
Haloperidol(5) IM prn
สำหรับการรักษาแบบประคับประคอง
Haloperidol(10) 1x2 oral pc
ยาที่นำมาใช้รักษาโรคทางจิตหรืออารมณ์ เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคจิตอารมณ์ (Schizoaffective Disorder) และกลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome) เป็นต้น โดยยาจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกกังวลน้อยลง สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ รวมไปถึงอาจช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะทำร้ายตัวเอง ช่วยลดความก้าวร้าว ความอยากทำร้ายผู้อื่น ความคิดในแง่ลบ และอาการหลอน
ผลข้างเคียง : หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น มึนงง หลงลืม กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย เลือดออกผิดปกติ
การรักษาทางด้านจิตใจ
กลุ่มหนังสือพิมพ์
กลุ่มนันทนาการ
กลุ่มศิลปะบำบัด
กลุ่มอาชีวบำบัด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการและระดับความรุนแรงของอาการหวาดระแวง โดยใช้แบบประเมิน OAS
สร้างความไว้วางใจในการติดต่อกับผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว (one to one ) โดยเน้นการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อถือ ทุกครั้งที่พบกับผู้ป่วย
ยอมรับผู้ป่วยโดยการเรียกชื่อให้ถูกต้อง รับฟังเรื่องราวอย่างสนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
การสื่อสารกับผู้ป่วยต้องเปิดเผยรักษาคำพูด ให้ข้อมูลอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการจ้องมอง
แสดงการยอมรับอาการประสาทหลอน หรือหวาดระแวงของผู้ป่วย โดยไม่โต้แย้งหรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าไม่เป็นความจริง แต่แสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งได้โดยใช้เทคนิคการให้ความจริง (presenting reality) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจว่าความคิดที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นและหวาดระแวงน้อยลง
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคการใช้สารเสพติดตาม DSM-5
ผู้ป่วยเสพสารจนเกิดความผิดปกติของพฤติกรรม โดยมีอาการต่อไปนี้ 2อย่างหรือมากกว่า ในช่วง 12เดือน
มีการใช้สารเสพติดซ้ำๆจนเกิดความบกพร่องในการทำงาน การเรียนและครอบครัว
มีการใช้สารเสพติดซ้ำๆในสถานการณ์ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย
เอามีดขู่ทำร้ายคนอื่น ระแวงคนจะมาทำร้าย
ยังคงใช้สารเสพติดต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกิดปัญหาทางสังคมหรือมนุษยสัมพันธ์
2สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล เริ่มก้าวร้าว หงุดหงิด โวยวายคนในครอบครัวและคนนอกบ้าน ด่าลูกค้าที่มาซื้อของ
มีอาการดื้อยา(Tolerance) โดยมีอาการต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
เพิ่มปริมาณของสารเพื่อให้เกิดความมึนเมา หรือผลที่คาดหวังไว้
ผลของสารลดลงอย่างมาก แม้จะเสพอย่างต่อเนื่องในปริมาณเท่าเดิม
มีอาการถอนยา (Withdrawal) โดยมีอาการต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
มีอาการซึ่งลักษณะเฉพาะเจาะจงของการขาดสารนั้นๆ
เสพสารเพื่อให้อาการขาดยาลดน้อยลงหรือไม่มีอาการ
ใช้สารในปริมาณที่มากกว่าหรือนานกว่าที่ตั้งใจไว้
7.มีความตั้งใจอยู่เสมอที่จะลดปริมาณการเสพลง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
ใช้เวลานานหมดไปกับการได้สารมา การเสพ หรือการฟื้นให้หายจากฤทธิ์ของสารนั้น
มีการลดลงหรือบกพร่องกิจกรรมหลักที่เกี่ยวกับสังคม อาชีพการงาน หรือพักผ่อนหย่อนใจ
ผู้ป่วยเคยทำงานที่ได้งานได้ประมาณ1เดือนก่อนลาออกจากงาน และทำงานเป็นแมสเซนเจอร์ประมาณ6เดือนก่อนจะกลับไปเล่นสารเสพติดเพิ่มขึ้น จนทำงานไปทำงานไม่ไหว
ยังเสพอย่างต่อเนื่อง แม้จะทราบว่าเกิดปัญหาต่อร่างกายหรือจิตใจ
มีความอยากหรือต้องการเสพสารนั้นเป็นอย่างมาก (Craving)
Substance ITEM
Marijuana/Cannabinoid = Positive มีการใช้สารเสพติดจากสารกัญชา
การวินิจฉัยแยกโรค
1.Delusion
2.Hallucinations
Disorganized speech
Grossly disorganized
Negative symptoms
เกิดอาการ 1 วัน ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 1เดือน
ผู้ป่วย
1.Delusions: มีอาการระแวงว่าคนจะมาทำร้าย
Disorganized speech : พูดคุยเดียว พูดไปเรื่อยผู้อื่นฟังไม่รู้เรื่อง
Negative symptoms คือ มีปัญหาหาด้านสังคม ไม่สามารถทำงานได้ ลาออกอยู่บ้าน
พยาธิสรีรวิทยา
Psychotic disorder
สภาวะที่ผู้ป่วยไม่อยู่บนโลกแห่งความจริง(out of reality) ซึ่งจะมีอาการสำคัญ ได้แก่ A.มีอาการอย่างน้อย 2 ข้อ และนานเกิน 1 เดือน และต้องมีอาการในข้อ 1-3 อยู่อย่างน้อย 1 อาการ 1. delusion : อาการหลงผิด เช่น มีความเชื่อในเรื่องที่ผิด ไม่สอดคล้องกับความจริง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเหตุผล อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการหวาดระแวงว่ามีคนจะมาทำร้ายตนเอง 2. Hallucination : อาการประสาทหลอน การรับรู้โดยปราศจากสิ่งกระตุ้น หรือมีสิ่งกระตุ้น 3. Disorganized speech พูดไม่ต่อเนื่อง ฟังไม่เข้าใจว่าผู้ป่วยพูดหรือต้องการสื่อสารอะไร 4. Disorganized behavior พฤติกรรมไม่อยู่กับร่องกับรอย อาจพบกอาการวุ่นวาย ก้าวร้าว ตาขวาง 5. Negative symptoms เช่น affective flattening , alogia abolition B.มีอาการบกพร่องทางสังคมหรือการทำงาน C. มีอาการผิดปกตินานต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 เดือน
เปรียบเทียบกับเคส
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 30 ปี มาด้วยอาการก้าวร้าว เอามีดขู่ทำร้ายผู้อื่น 2 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล บุคคลิกเป็นคนนิ่งเงียบ ชอบดูภาพยนต์อาชญากรรมและการต่อสู้
เริ่มสูบบุหรี่
ครั้งแรกอายุ 15 ปี และดื่มสุราตั้งแต่อายุ17ปี และเลิกไปไม่นาน ก็กลับมาทำอีกครั้ง เนื่องถูกพ่อต่อว่าเรื่องการเรียนบ่อยครั้งจึงมีความเครียด อายุ19ปีเล่นสารเสพติดเนื่องจาก เพื่อนชวนให้เล่นสารเสพติด และอยู่ในชุมชนมีแหล่งค้าขายยาเสพติดที่เข้าถึงง่าย เคยได้รับการรักษาที่วัดท่าพุ จากนั้นกลับมาเสพต่อเนื่องจากเจอเพื่อนและอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ผู้มีอาการเริ่มก้าวร้าว หงุดหงิด โวยวายคนในครอบครัวและคนนอกบ้าน ด่าลูกค้าที่มาซื้อของ เอามีดขู่ทำร้ายคนอื่น พูดคนเดียว พูดไปเรื่องร่วมคุยไม่รู้เรื่อง ระแวงว่าคนจะมาทำร้าย หัวเราะไม่มีเหตุผล พยายามทำร้ายร่างกาย
จึงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น substances use disorder with psychotic disorder
ซึ่งได้รับการรักษาด้วยยา และจิตสังคม
อาการและอาการแสดง
Delusions(อาการหลงผิด)
: ความคิดหรือความเชื่อผิดๆไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ได้แก่ อาการหวาดระแวงว่ามีคนปองร้ายตนเอง
Hallucinations(อาการประสาทหลอน)
: ผู้ป่วยมีการรับรู้โดยปราศจากสิ่งกระตุ้น ได้แก่ อาการหูแว่ว ได้ยินเสียงคนที่คนอื่นไม่ได้ยิน
Disorganized speech
: วลี ประโยค หรือหัวข้อการพูดไม่ต่อเนื่องหรือไม่เกี่ยวข้องกัน ทำให้ฟังไม่เข้าใจว่าต้องการสื่ออะไร
Disorganized behavior
: พฤติกรรมไม่อยู่กับร่องกับรอย อาจมีอาการสับสน วุ่นวาย
ผู้ป่วย
1.Delusions: มีอาการระแวงว่าคนจะมาทำร้าย
Disorganized speech : พูดคุยเดียว พูดไปเรื่อยผู้อื่นฟังไม่รู้เรื่อง
Disorganized behavior: มีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิด เดินไปเดินมา ไม่ยอมนอน มีเรื่องทะเลาะกับคนแถวบ้าน
รายงานประวัติ
Chief complaint
ก้าวร้าว เอามีดขู่ทำร้ายผู้อื่น 2 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล
การเจ็บป่วยในปัจจุบัน(present illness)
-2 ปีก่อนมารพ. รักษาตัวที่วัดท่าพุ รักษาด้วยธรรมมะ ไม่ได้รับประทานยา ญาติไปเยี่ยม 3 ครั้ง/ปี อาการปกติ
-4 เดือนก่อนมารพ. วัดท่าพุปิด กลับมาอยู่บ้าน ไม่ได้ทำงาน ไม่ได้ช่วยงานที่ร้านอาหารที่บ้าน ชอบกลับมานอนกลางวันคนเดียว บิดาไม่แน่ใจเรื่องการใช้สารเสพติด
-2 สัปดาห์ก่อนมารพ.เริ่มก้าวร้าว หงุดหงิด โวยวายในคนครอบครัวและคนนอกบ้าน ด่าลูกค้าที่มาซื้อของ มีการเอามีดมาขู่ทำร้ายคนอื่น มีอาการพูดคนเดียว พูดไปเรื่อยคุยไม่รู้เรื่อง ระแวงว่ามีคนจะมาทำร้าย หัวเราะไม่มีเหตุผล ไม่ยอมนอน เดินไปเดินมา มีเรื่องทะเลาะกับคนแถวบ้าน พยายามทำร้ายร่างกาย บิดาจึงพามารพ.
การเจ็บป่วยในอดีต(Past illness)
Substance use disorder เมื่อ 21/07/2554
Multiple substance induce psychosis disorder เมื่อ 15/03/2555
Multiple substance induce psychosis disorder เมื่อ 08/07/2555
Multiple substance induce psychosis disorder เมื่อ 10/09/2555
Cannabis induce psychosis disorder เมื่อ 17/12/2555
Multiple substance induce psychosis disorder เมื่อ 13/07/2556
Cannabis induce psychosis disorder เมื่อ 22/11/2556
ประวัติการแพ้(Allergy)
ปฏิเสธการแพ้ยา แพ้อาหาร
ประวัติครอบครัว
ผู้ป่วยเป็นบุตรคนที่ 1 จากพี่น้องทั้งหมด 2 คน มีน้องชาย 1 คน อายุห่างกัน 3 ปี
การเลี้ยงดู
วัยเด็ก พัฒนาการเป็นไปตามวัยทบิดามารดาอยู่ด้วยกัน
วัยเรียน เป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียน มีประวัติโดดเรียน ไม่ตั้งใจเรียน ผลการเรียนไม่ดี แต่ไม่มีปัญหาเรื่องทะเลาะวิวาท ช่วงมัธยมปลายเรียนต่อปวช.เครื่องยนต์มีพฤติกรรมไม่เข้าเรียน ไม่ตั้งใจเรียน เรียนไม่จบ เพื่อนชวนสูบบหรี่และดื่มสุราหลังเลิกเรียน ขาดเรียนบ่อย เพื่อนสนิทชวนเสพกัญชา บารากุและใช้สารเสพติดชนิดอื่น มีประวัติทะเลาะวิวาท เคยถูกทำร้ายจากเพื่อนต่างสถาบัน
วัยทำงาน เคยทำงานที่โรงงานโทรศัพท์ได้ประมาณ 1 เดือนก่อนลาออกจากงาน และทำงานเป็นแมสเซนเจอร์ ประมาณ 6 เดือนก่อนจะกลับไปเล่นสารเสพติดเพิ่มขึ้นจนทำงานไม่ไหว จึงหยุดงานมาข่วยที่บ้านขายของ
ผู้ป่วยไม่มีคู่สมรส และไม่มีบุตร
สาเหตุ
วัยเรียน - ช่วงเรียนม.ต้น : มีประวัติโดดเรียน ไม่ตั้งใจเรียนผลการเรียนแย่ และถูกบิดาต่อว่าบ่อยเรื่องการเรียน - ปวช. : ผู้ป่วยมีเพื่อนสนิทที่ชักชวนให้เสพกัญชา บารากุมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นๆและชวนสูบบุหรี่ ดื่มสุราหลังเลิกเรียนเป็นประจำ