Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาพรวมของการออกแบบ (Landscape of Design) - Coggle Diagram
ภาพรวมของการออกแบบ
(Landscape of Design)
“การออกแบบที่ดีนั้นทําให้บางอย่างเป็นที่เข้าใจและน่าจดใจ
การออกแบบที่ยอดเยี่ยมทําให้บางอย่างที่เป็นจดจําและมความหมายตราตรึง
วัตถุประสงค์
เพื่อเข้าใจถึงความเป็นมาของการออกแบบ
เพื่อเข้าใจความหมายของออกแบบ
เพื่อตระหนักถึงบทบาทและคุณค่าของการออกแบบ
บทนํา
“การออกแบบ” ความหมายกว้าง ๆ คือ การสร้างแผน(plan) หรือ รูปแบบ
(convention) เพื่อนําไปสู่การสร้างวัตถุ (object) ระบบ (system) หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่ชี้วัดได้ซึ่งปรากฏใน ภาพร่างเชิงสถาปัตยกรรม การเขียนแบบเชิงวิศวกรรมกระบวนการธุรกิจ แผงผังวงจร รูปแบบการปักเย็บ
ตัวอย่างความหมายของ
การออกแบบ
การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุ
การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงแบบ ผลงานหรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม และดูมีความแปลก
ใหม่ขึ้น
การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติและ 3 มิติเข้าด้วยกันอย่างมี
หลักเกณฑ์การนําองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการที่สนองความต้องการในสิ่งใหม่ๆของมนุษย์ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อการ
ดํารงชีวิตให้อยู่รอด และสร้างความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
การออกแบบ (Design) คือศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์และการแก้ไข
นิยามของการออกแบบ
คําว่า "การออกแบบ" นั้นพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพ.ศ.2554 ไม่ได้ให้ความหมายไว้สําหรับ
ภาษาอังกฤษ ได้มีการนิยามความหมายของ Design ไว้อย่างเป็นทางการเพื่อให้ครอบคลุมความหมายในวงกว้างดังนี้
Design คือ แผน (roadmap) หรือแนวทางเชิงยุทธวิธี (strategic approach)เพื่อให้บุคคลสามารถบรรลุความคาดหวังที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีการระบุข้อกําหนด (specifications), แผน (plans),ตัวแปรเสริม (parameters), ต้นทุน (costs), กิจกรรม (activities)และกระบวนการ (processes)
คนที่ทําหน้าที่ออกแบบคือ “นักออกแบบ (Designer)” ซึ่งมักถูกใช้ในความหมายที่หมายถึงบุคคลที่มีทํางานออกแบบ ซึ่งปรากฏอยู่ในหลายสาขา เช่น นักออกแบบแฟชั่น นักออกแบบแนวคิด นักออกแบบเว็บไซต์หรือนักออกแบบตกแต่งภายใน
การออกแบบในฐานะที่เป็นกระบวนการ
มุมมองหลัก: “แบบจําลองเชิงเหตุผล (Rational Model)”
มุมมองทางเลือก: “ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระทํา (Reflection-in-Action)”
แบบจําลองเชิงเหตุผล (Rational Model)
นักออกแบบพยายามที่จะสร้างตัวเลือกในการออกแบบที่มีความเหมาะสมที่สุด (optimize) ภายใต้ข้อจํากัด
และวัตถุประสงค์ที่ทราบแน่ชัด
กระบวนการออกแบบถูกขับเคลื่อนโดยการวางแผน
กระบวนการออกแบบสามารถอธิบายได้ด้วยขั้นตอนที่แยกออกจากกันได้อย่างชัดเจนตามลําดับ
ตัวอย่างลำดับขั้นตอนของการออกแบบ
การออกแบบในช่วงก่อนการผลิต (Pre-production design)
สรุปย่อการออกแบบ (Design brief) – สรุปหลักการ เหตุผลและเป้าหมายของการออกแบบ
การวิเคราะห์ (Analysis) – วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการออกแบบ
การวิจัย (Research) – แสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในสาขานั้นๆหรือ
หัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้อง
การระบบข้อกําหนด (Specification) – กําหนดเงื่อนไขที่จําเป็นสําหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาสําหรับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
การแก้ไขปัญหา (Problem solving) – สรุปแนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแนวทางแก้ไข
การนําเสนอ (Presentation) – นําเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา
การออกแบบระหว่างการผลิต
การพัฒนา (Development) – ปรับปรุงแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง
การทดสอบ (Testing) – ทดสอบแนวทางในการแก้ปัญหา
การออกแบบในช่วงหลังการผลิต (Post-production design)
การนําไปใช้ (Implementation) – นําแนวทางการแก้ไขเข้าสู่สภาพแวดล้อมจริง
การประเมินและสรุปผล (Evaluation and conclusion) – สรุปกระบวนการและผลลัพธ์รวมถึงคํา
วิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์และคําแนะนําเพื่อการปรับปรุงในอนาคต
การออกแบบซ้ํา (Redesign) – ทํากระบวนการออกแบบซ้ําทั้งหมดหรือว่าแค่บางส่วน โดยมีการปรับปรุงให้ดี
ขึ้น
คําวิจารณ์ต่อแบบจําลองเชิงเหตุผล
ในทางปฏิบัตินักออกแบบไม่ได้ทํางานในลักษณะนี้
สมมติฐานที่ไม่สมจริง
มุมมองที่เน้นการกระทําเป็นศูนย์กลาง
( Action-Centric Perspective)
นักออกแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ในการสร้างงานออกแบบ
กระบวนการออกแบบมีลักษณะด้นสด (Improvise)
ไม่มีขั้นตอนมาตรฐานสําหรับการออกแบบอย่างชัดเจน
แนวทางในการออกแบบ
การออกแบบเชิงวิพากษ์ (Critical Design)
การออกแบบโดยให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม (Participatory design)
การออกแบบเชิงการกําเนิด (Generative design)
การออกแบบโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Design หรือ User-Centered Design)
การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับมนุษย์และการยศาสตร์ (Human factors and ergonomics)
การศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณนาประยุกต์ (Applied ethnography)
นวัตกรรมโดยผู้ใช้นํา (Lead User Innovation)
การทดสอบการใช้งาน (Usability Testing)
การออกแบบและอารมณ์ (Design and Emotion)