Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - Coggle Diagram
การแสดงพื้นบ้านอาเซียนในโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศสิงคโปร์
การแสดงงิ้วฮกเกี้ยนเรื่อง Panji หรืออิเหนา มาจากเค้าโครงนิทานพื้นบ้านของอินโดนีเซียเป็นเรื่องราวของเจ้าชายที่ชื่อ Panji อาศัยอยู่ในเขตชวาตะวันออก เรื่องราวในนิทานพูดถึงผู้ปกครองในอาณาจักร Kediri ที่ต้องการนำเจ้าชายอิเหนากลับมาแต่งงานกับพระชายาที่เลือกไว้ให้แล้ว
📍ลักษะะการแสดง
การเล่า/แสดงนิทานการแสดงประกอบกับการ
เล่นละครออกมาเป็นเพลงด้วยตัวของนักแสดง
ประเทศมาเลเซีย
ชาวเล Bajau อาศัยอยู่ในเขตชายฝั่งทะเลตะวันออกของเกาะซาบาฮ์ ภาคตะวันออกของมาเลเชีย ปัจจุบันยังคง
ดำรงชีพอยู่กับทะเลและมีโลกทัศน์ตามประเพณีดั้งเดิมชาวเล
📍ลักษณะการแสดง/เครื่องดนตรี แสดงการฟ้อนรำ โดยอาศัยเครื่องดนตรีประเภทฆ้องและฆ้องวง การฟ้อนรำมี
หลายประเภท ซึ่งจะใช้ผู้ชายเป็นผู้แสดงเท่านั้น การฟ้อนรำนี้จะเกิดขึ้นในพิธีกรรมและงานทางสังคม
ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
อะได-อะได (Adai-adai) เป็นการเต้นรำพื้นเมืองประกอบการร้องและบรรเลงดนตรีของประเทศบรูไน มีต้นกำเนิดมาจากชาวประมงพื้นเมืองในหมู่บ้านกัมปงอาเยอร์ (Kampong Ayer ) ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวประมง การแสดงพื้นเมือง อะได-อะได้ จึงมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลินระหว่างออกหาปลาโดยเนื้อหาของเพลงจะบอกเล่าถึงวิถีชีวิตของชาวประมง
📍เครื่องดนตรีหลักที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเต้นรำ คือ กัมบุส (Gambus) กลองดมบัค (Dombak)
รำมะนา ฆ้อง และไว โอลิน
📍นักแสดงจะมีทั้งหญิงและชาย เต้นรำคู่กัน
ประเทศฟิลิปปินส์
การแสดงพื้นบ้านชื่อ “วิถีชีวิตของชาวคาลิงก้า”ล เป็นการแสดงเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองของชนเผ่าสองกลุ่มเพื่อสร้างสายสัมพันธ์และสันติภาพ ในพิธีนี้จะมีหนุ่มสาวทั้งสองชุมชนออกมาเกี้ยวพาราสี
กันในการจัดพิธีแต่งงานซึ่งจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่และสงบสุข
📍ลักษณะการแสดง/ดนตรี : การแสดงชุดนี้จะนำเสนอบทเพลง การเต้นรำท้องถิ่น มีการใช้เครื่องดนตรีทำจากไม้ไผ่ โดยเฉพาะน้องที่เป็นเครื่องดนตรีที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตประจำวันของชาวคาลิงก้า
ประเทศเวียดนาม
พิธีเลนดุง เป็นพิธีของร่างทรงที่มีอยู่ในความเชื่อเรื่องวิญญาณของชาเวียดนาม เป็นพิธีกรรมบูชาเจ้าแม่ที่สำคัญ ประกอบด้วยการเชิญเจ้าแม่มาประทับร่าง และการถวายเครื่องบูชาต่างๆแก่เจ้าแม่เพื่อขอพร พิธีเลนดุงจะมีการเล่นดนตรี การร้องและการเต้น
📍การแต่งกาย : ร่างทรงจะสวมชุดที่มีสีสันสวยงาม ผู้ชมและผู้
แสดงในพิธีจะมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ เมื่อร่างทรงประทับร่างแล้วจะเต้นด้วยท่าทางต่างๆเหมือนกับบุคลิกของวิญญาณที่ล่วงลับ พร้อมกับให้พรแก่ผู้ร่วมพิธี ในปี 2012 พิธีเลนดุงได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของเวียดนาม
ประเทศอินโดนีเซีย
การแสดงนี้ได้แรงบันดาลใจจากลักษณะท่าทางของพระอรรธนารีศวร ซึ่งเป็นปางหนึ่งของพระศิวะที่มีร่างกึ่งชายกึ่งหญิง เป็นสัญลักษณ์ของความสมดุล การแสดงชุดนี้ใช้นักแสดงเพศชาย
📍ลักษณะการแสดง : มีการนำเอาท่าร่ายรำมาจากศาสนาที่งดงาม พริ้วไหว การแสดงจะเริ่มต้นด้วยการ
ร่ายรำแบบชวา ซึ่งเป็นการแสดงในราชสำนักของชวาภาคกลาง ผสมผสานกับท่ารำใหม่ จากนั้นจะเป็นการร่ายรำชุดต่างๆที่ได้ต้นแบบมาจากการรำทางศาสนาในอิน โดนีเชีย ช่วงท้ายของการแสดงจะเป็นการร่ายรำผสมผสานระหว่างอินเดียและอิน โดนีเชีย ซึ่งใช้เทคนิคที่รู้จักในนาม “ดวีมูกา”
ประเทศเมียนมาร์
โย่วเต หุ่นชักพม่าเป็นศิลปะที่นิยมในราชสำนักพม่า เป็นการแสดงที่สื่อถึงนัยยะสำคัญทางการเมือง เรื่องราวต่างๆ โดยนอกจากผู้ชักหุ่นแล้วยังมีนักร้องและนักดนตรีวงปี่พาทย์ เสียงและคารมของนักร้องนับเป็นจุดเด่นและปัจจัยวัดความสำเร็จของคณะหุ่นชัก นิยมเล่นกันในเมืองย่างกุ้ง เนื้อหาในการเล่นหุ่นมักเป็นชาดก นิทานพื้นบ้าน ตำนานเกี่ยวกับนัตหรือองค์เจดีย์ เรื่องราวบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์พม่าและรามายณะ ซึ่งแสดงผ่านหุ่นทั้งสิ้น 36 ตัว และในขณะที่ไม่มีการแสดง ทุ่นทุกตัวจะถูกเก็บรักษาไว้บนหิ้งเป็นอย่างดี
ประเทศกัมพูชา
การแสดงพื้นบ้านประกอบไปด้วย 4 1.ระบำวัว 2.ระบำเป๋าแคน 3.ระบำนกยูง 4.ระบำเป่าผีร้าย
📍ลักษณะการแสดง : 1. ระบำวัวจะถ่ายทอดท่าทางของวัวในจังหวะเชื่องช้า 2.ระบำเป๋าแคนมีความเป็นมา
จากตำนานของอินเดียที่เล่าถึงพืชนิดหนึ่งที่ช่วยสร้างอารยธรรม 3. ระบำานกยูง เป็นสัญลักณ์ของความสุข ผู้ฟ้อน
รำจะแสดงท่าทางเลียนแบบการเกี้ยวพาราสีของนกยูงตัวผู้และตัวเมีย ชาวบ้านเชื่อว่าระบำนกยูงจะนำความสุข
และความเจริญมาสู่หมู่บ้าน 4.ระบำปัดเป่าผีร้าย จะเกิดขึ้น ในพิธีกรรมบูชาวิญญาณซึ่งปรากฏอยู่ในหมู่บ้าน
📍ศิลปินผู้ทรงคุณค่าบุคคลสำคัญ : สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนรีรัตน์ พระราชมารดาของสมเด็จพระ
นโรดม สีหนุ พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ชาวกัมพูชายกย่องให้เปรียบเสมือนพระราชมารดาด้านนาฏศิลป์
ประเทศไทย
การแสดงพื้นบ้าน เป็นการแสดงที่แสดงออกถึงการสืบทอดทางศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่สืบทอด
กันต่อ ๆ การแสดงนั้นขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม
📍การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ศิลปะการแสดงทางภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชน
พื้นเมืองชาติต่างๆ ส่วนมากการแสดงพื้นบ้านภาคเหนือจะเป็นการฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
📍การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง ภาคกลางเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ การแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการ
ประกอบอาชีพ เช่น ร่ำกลองยาว เป็นการแสดงเพื่อความรื่นเริง ในขบวนแห่ต่างๆ ของไทยมีผู้แสดงทั้งชาย และ
หญิง ออกมรำเป็นคู่ๆ โดยมีผู้ตีกลองประกอบจังหวะ พร้อม ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
📍การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ศิลปะการแสดงภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายภาคเหนือ แสดงให้เห็นถึง พฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ เช่น เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการขอฝน
ประเทศลาว
ลำลาว (Lam Lao ) หรือหมอลำเป็นการแสดงดนตรีพื้นบ้านของลาวและอีสานของไทย มีนักร้องหรือผู้เล่าเรื่องและแคนเป็นองค์ประกอบ เป็นการโต้ตอบกันผ่าน โคลงกลอน หรือการร้องที่มีสัมผัสคล้องจองระหว่างนักร้องชายและหญิง การแสดงดำเนินไปด้วยท่ารำที่หลากหลายมุกตลกต่างๆ อันเกิดจากปฏิภาณไหวพริบของผู้ร้อง และการหยอกเย้ากันระหว่างผู้แสดงและผู้ชม