Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์ อายุ 38 ปี GA 38+2 wks by U/S - Coggle Diagram
กรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์ อายุ 38 ปี GA 38+2 wks by U/S
6.อาการผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์
ปวดหลังเมื่ออายุครรภ์ 38+2 สัปดาห์
นอนไม่หลับเมื่ออายุครรภ์ 38+2 สัปดาห์
การได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
ก่อนตั้งครรภ์เคยฉีด 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายวันที่ 25 กรกฎา 2552 ระหว่างการตั้งครรภ์ ครั้งที่ 4 วันที่ 12 ธันวาคม 2566
ประวัติการตั้งครรภ์ในปัจจุบัน
G6P3A2
วันแรกของของประจำเดือนครั้งสุดท้าย(LMP) : 23 กันยายน 2566
กำหกำหนดวันคลอด(EDC): 30 มิถุนายน 2567
ทารกเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 22 สัปดาห์
ประวัติการเจ็บป่วย
ปฏิเสธความเจ็บป่วยในอดีตของหญิงตั้งครรภ์
ปฏิเสธโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และโรคติดต่อของบุคคลในครอบครัว
ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอด
G6P3A2
ประวัติการมีประจำเดือน
ประจำเดือนครั้งแรกอายุ 15 ปี
:รอบของการมีประจำเดือน 28 วัน :
ระยะเวลาที่เลือดประจำเดือนมา 7 วัน
อาการระหว่างมีประจำเดือน:ปวดท้อง 2 วันก่อนประจำเดือนมาแนวทางแก้ไขปัญหา:ประคบน้ำร้อน
ข้อมูลส่วนตัวของหญิงตั้งครรภ์
G6P3A2
GA 38+2 was by U/S
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สุขสบายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายในช่วงไตรมาสที่ 3 (นอนไม่หลับเนื่องจากปวดท้องจากท้องแข็ง)
ข้อมูลสนับสนุน
S : “ท้องแข็ง 3-4 ครั้ง/คืน”
S : “นอนได้ประมาณ 3-4 ชม./วัน
O : มีอาการง่วงนอนขณะซักประวัติ
O : หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 38+2 wks
วัตถุประสงค์
นอนหลับอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประเมิน
นอนหลับเพียงพอ 8-10 ชม./วัน
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำให้นอนชดเชยในช่วงกลางวัน 1-2 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกว่ากลางคืนไม่สามารถนอนติดต่อยาวนานได้
2.แนะนำการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจก่อนนอน ดังนี้
2.1อาบน้ำอุ่น หรือดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ ช่วยให้หลับสบายขึ้น
2.2 แนะนำให้นอนตะแคงซ้าย ใช้หมอนข้างหนุนท้อง และให้วางขาบนหมอนทเพื่อให้กล้ามเนื้อหย่อนตัว
2.3 ฝึกสมาธิก่อนนอน โดยเพ่งความสนใจไปที่ลมหายใจเข้าออกยาวๆลึกๆ
2.4 กินกล้วยหอม เพราะผิวของกล้วยหอมมีฤทธิ์เหมือนยานอนหลับ และมีกรดอะมิโนที่ชื่อว่าทริปโตฟานซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสารซิโรโทนีนช่วยให้ง่วงนอนรู้สึกคลายเครียด คลายกังวล และทำให้หลับสบาย
แนะนำให้ประคบอุ่นหรือเย็นบริเวณหน้าท้อง หรือบริเวณหลังซึ่งจะช่วยผ่อนคลายเมื่อท้องแข็ง
วิตกกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เนื่องจากเคยมีประวัติการแท้ง
วัตถุประสงค์
มารดามีความวิตกกังวลลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
S : “ กลัวลูกจะออกมาไม่ครบ 32 เพราะเคยมีประวัติแทงมาแล้ว 2 ครั้ง”
O : สีหน้าดูเศร้า วิตกกังวล หน้านิ่ว คิ้วขมวด
O : หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 38+2 wks
เกณฑ์การประเมิน
-ผู้รับบริการมีสีหน้าสดชื่นคลายความวิตกกังวล
-ผู้รับบริการบอกว่ามีความวิตกกังวลลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
พูดคุยสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ โดยการแสดงความเป็นมิตรปลอบโยนใช้มือสัมผัส พูดคุยให้กำลังใจเพื่อให้เกิดความสบายใจและเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและความวิตกกังวลได้
เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกเล่าถึงความกลัว สาเหตุที่ทำให้เกิด เพื่อให้เกิดความสบายใจร่วมกับให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่อาจส่งผลกับแม่ และลูกตามความเป็นจริง พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหาอื่นๆร่วมกัน
อธิบายให้มารดาทราบแนวทางการสังเกตอาการผิดปกติอื่นๆที่ควรนำส่งโรงพยาบาล เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด การดิ้นของลูกน้อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน อาการใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
สร้างความเชื่อมั่นกับมารดาว่าทีมสุขภาพจะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และมารดาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดูแลตนเอง
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ให้มาตามนัด และสังเกตอาการเจ็บครรภ์เตือน ซึ่งอายุครรภ์มากกว่า 38 สัปดาห์โดยมีอาการท้องแข็ง เจ็บครรภ์ไม่สม่ำเสมอ ห่างกัน ปวดบริเวณท้องน้อยเป็นส่วนใหญ่ มีอาการเจ็บครรภ์จริงเกิดขึ้นเสมอ ระยะห่างถี่ขึ้น ความแรงแรงขึ้น รู้สึกปวดบริเวณหลังและท้อง หากมีอาการเจ็บครรภ์ให้รีบมาพบแพทย์
เปิดโอกาสให้มารดาได้พูดคุยกับบุคคลรอบข้างในครอบครัว สนับสนุนให้ครอบครัวให้กำลังใจมารดาเพื่อให้เกิดความมั่นคง(วิลาสินี และอัญสุรีย์,2563)
ส่งเสริมให้มารดากระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ไตรมาสที่3
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3ได้ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมิน
-หญิงตั้งครรภ์สามารถบอกถึงการดูแลน้ำนมได้ 3 ใน 4 ข้อ
-หญิงตั้ งครรภ์สามารถยกตัวอย่างอาหารได้ครบทั้ง5หมู่
-หญิงตั้งครรภ์สามารถบอกถึงอาการเจ็บครรภ์ได้ครบทั้ง2แบบ
กิจกรรมการพยาบาล
พูดคุยและสร้างสัมพันธภาพกับหญิงตั้งครรภ์ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล อ่อนโยน เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในการให้ข้อมูล
แนะนำให้สังเกตการดิ้นอย่างน้อย 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง หลังอาหารแต่ละมื้อ อย่างน้อย 10 ครั้ง/นาที หากรู้สึกดิ้นน้อยกว่าปกติให้รับมาโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการป้องกันทารกเสียชีวิตในครรภ์
3.การดูแลน้ำนม
3.1 การใส่เสื้อพยุงทรงที่เหมาะสมกับขนาดของเต้านมที่เพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์การใส่ยกทรงที่ดีจะต้องเด้านมไร้ทั้งหมด และปรับสายรัตให้พอเหมาะไม่ยืดยาวหรือดึงทิ้งจนเกินไป เพื่อป้องกันการสูญเสียทรงของเต้านมในระยะหลังคลอด
3.2 อาบน้ำทุกครั้งใช้นิ้วมือลูบเบา 1 ที่บริเวณผิวหัวนม เพื่อช่วยขจัต น้ำนมที่ช่มแห้งที่รูเปิดของท่อน้ำนม และแห้งเป็นสะเก็ดห้ามแกะหรือแรงเกินไป
3.3 ใช้ครีมบำรุงผิวทาบริเวณต้านมหรือหัวนมเห็ดป้องกันหรือแก้ไขอาการผิวหนังแตก
3.4 ในกรณีที่มีน้ำนมหลมออกทางหัวหน้าใช้ผ้าเช็ตดูดชับ รองรับตามความเหมาะสมห้ามปั๊มหรือผิวน้ำนม ในขณะตั้งครรภ์
แนะนำให้สวมเสื้อผ้าหลวมหลวมหรือสวมกางเกงสำหรัลหญิงตั้งครรภ์ชนิดมีพุงหน้าท้อง เพื่อให้รู้สึกสบายไม่อึดอัดกระโปรงหรือเสื้อ
ส่งเสริมการปฏิบัติตัวตามหลักความเชื่อและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์
ปฏิบัติตามความเชื่อและความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างถูกต้อง
ข้อมูลสนับสนุน
S : “ เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างอัลลอฮ์เป็นผู้กำหนด”
S : “ เมื่อมีเรื่องไม่สบายใจก็จะขอดูอาจารย์อัลลอฮ์”
O : หญิงตั้งครรภ์นับถือศาสนาอิสลาม
O : หญิงตั้งครรภ์มีการกลัดเข็มกลัดที่เสื้อบริเวณหน้าท้อง
เกณฑ์การประเมิน
-มีความรู้ความเข้าใจตามความเชื่อและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
-สามารถบอกวิธีการปฏิบัติตัวตามความเชื่อและความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้
กิจกรรมการพยาบาล
พูดคุยและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการที่มีความเชื่อในทางวัฒนธรรมในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ซึ่งสอดคล้องกับบทความวิชาการของ ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ และปรางทิพย์ ท.เอลเทอร์ ปีพ.ศ.2559 เรื่องบทบาทพยาบาลในการดูแลมารดาและทารกที่มีความต่างวัฒนธรรมที่ว่าพยาบาลจะต้องเข้าใจหลักการพยาบาลต่างวัฒนธรรมปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วย
ให้คำปรึกษาแก่สตรีตั้งครรภ์ทันทีที่ต้องการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าพยาบาลสามารถเป็นที่พึ่งได้ในยามมีทุกข์
พูดคุยเรื่องศาสนาและความเชื่อของผู้รับบริการ
ให้หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตามความเชื่อของตนเองเพื่อที่จะให้เกิดความสบายใจในการดำเนินชีวิต
4.1 การกัดเข็มกลัดที่หน้าท้อง จากความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์ เมื่อกลัดเข็มกลัดแล้วจะทำให้รู้สึกว่าตนเองปลอดภัย ป้องกันการแท้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรระมัดระวังเพราะอาจทำให้เกิดการทิ่มแทงผิวหนังได้
4.2 ขอดุอาร์จากอัลลอฮ์ ซึ่งศาสนาศาสนาอิสลามเชื่อว่าลูกคือของขวัญที่พระเจ้าประทานให้จำเป็นต้องบำรุงดูแลให้ดีที่สุดจึงขอดูจากอัลลอฮ์ทุกวันเพื่อให้ลูกร่างกายแข็งแรง
เข้าใจและยอมรับในความแตกต่างในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้รับบริการ
สร้างความตระหนักถึงโทษจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง
ข้อมูลสนับสนุน
S: “สามีสูบบุหรี่วันละ 4-5 มวน“
S: “สามีสูบบุหรี่นอกบ้านไกลจ่กตน เรื่องจากป้องกันทารกในครรภ์
วัตถุประสงค์
-มีความตระหนักและเข้าใจเกี่ยวกับโทษจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง
เกณฑ์การประเมิน
-หญิงตั้งครรภ์สามารถอธิบายโทษจากการได้รับควันบุหรี่มือสองได้ถูกต้องร้อยละ 80
-สามีสูบบุหรี่ลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพและพูดคุยกับหญิงตั้งครรภ์ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล อ่อนโยน เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในการให้ข้อมูล
2.ให้ความรู้ในเรื่องควันบุหรี่มือสอง และโทษจากการได้รับควันบุหรี่
3.ให้คำแนะนำสามีเกี่ยวกับเทคนิคในการเลิกสูบบุหรี่ ด้วยเทคนิค 5D
3.1 Delay
3.2 Deep breath
3.3 Drink lots of water
3.4 Do something else
3.5 Destination
แนะนำหญิงตั้งครรภ์ให้กำลังใจสามีในการเลิกสูบบุหรี่เสมอ เพื่อมีแรงบันตาลใจและเป้าหมายในการเลิกสูบบุหรี่
แนะนำหญิงตั้งตรรภ์ในการหลีกเสี่ยงควันบุหรี่ เพื่อป้องกันทารกในครรภ์ไม่ให้เกิดอันตราย
1.ไม่สุขสบายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายในช่วงไตรมาสที่ 3 (ปวดหลัง)
ข้อมูลสนับสนุน
S: “ช่วงนี้ปวดหลังบ่อย เวลานั่งนานๆ“
O: “ Pain score 5 คะแนน“
O : หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 38+2 wks
วัตถุประสงค์
มีอาการปวดหลังลดลง
เกณฑ์การประเมิน
-หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลป้องกันการปวดหลังหญิงตั้งครรภ์
-รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
-ไม่มีอาการปวดหลังไม่มีสีหน้าคิ้วขมวดเวลาเคลื่อนไหว
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินลักษณะตำแหน่ง และความรุนแรงของอาการปวดหลัง เพื่อวางแผนการพยาบาล
อธิบายสาหตุของการปวดหลัง พร้อมแนะนำวิธีการบรรเทาอาการปวดหลัง ดังนี้
2.1 แนะนำการอยู่ท่าที่เหมาะสม
2.2 การยกของ
2.3 การนอน
2.4 รองเท้า
หากมีอาการปวดไปที่แก้มกัน และขาให้บีบนวดที่ก้น ถ้าอาการไม่ดี ขึ้นให้ยืนจับพนักก้าอี้แล้วแกว่งขาไปมาด้านข้างเฉียง 40 องศา ถ้าหาก อาการไม่ดีขึ้นให้มาพบแพทย์
แนะนำการบริหารกายที่ช่วยลดอาการ ปวดหลัง และทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง
7.ส่งเสริมการดูแลเต้านมในระยะตั้งครรภ์
วัตถุประสงค์
เพื่อดูแลเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
-หัวนมยาวขึ้นประมาณ 0.7-1cm.
-สามารถอธิบายการดูแลเต้านมได้
-สามารถอธิบายและสาธิตวิธีการแก้ไขความผิดปกติของหัวนมได้
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำให้เลือกเสื้อในที่มีขนาดพอดีกับขนาดของเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงเต้านมและการขยายตัวของเด้านมเป็นไปได้เต็มที่ ไม่รู้สึกอึดอัดหายใจไม่สะดวก ไม่กดรัดหัวนม และช่วยพยุงเต้านมป้องกันเต้านมหย่อนยาน และควรเลือกผ้าฝ้ายจะดีกว่าไนลอน เพราะขับเหงื่อได้ดี (ตศิรัตน์ สุวรรณสุจริต,2546)
2.อาบน้ำทุกครั้ง ใช้นิ้วมือลูบเบาๆ ที่บริเวณหัวนม เพื่อขจัดน้ำนมที่ซึมแห้งที่รูเปิดของท่อน้ำนม และแห้งเป็นสะเก็ ห้ามแกะหรือถูแรงเกินไป(ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์,2555)
3.ใช้ครีมบำรุงผิวทาบริเวณต้านมและลานหัวนม เพื่อป้องกันหรือแก้ใขอาการผิวหนังแห้งแตก (ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์,2555)
4.แนะวิชีแก้ใขความผิดปกติของหัวนม (ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์,2555)
4.1 วิธีโดยไมใช้อุปกรณ์
4.1.1 Hoffman Maneuver
(1) โดยใช้นิ้วหัวแม่มือของมือทั้งสองแตะที่รอยต่อระหว่างหัวนมกับลานหัวนมในต้านตรงข้ามกันของหัวนมข้างนั้น
(2) กดนิ้วทั้งสองและจุดแยกห่างกันไปทางข้างๆและตรงๆ
(3) ควรทำซ้ำกันเช่นนี้ในทิศทางต่างกันโดยรอบสัก 2-3 ครั้งหัวนมจะตั้งขึ้นมาได้
(4) ใช้นิ้วมือจับหัวนมที่ยื่นออกมานั้นตึงออกตรงๆเบาๆสัก 2-3 ครั้ง4.2วิธีการใช้อุปกรณ์
4.2.1 ใช้ nipple former ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำด้วยพลาสติกชนิดดี มีลักษณะเป็นสูญญากาศที่จะช่วยตึงหัวนมให้ยื่นออกมา หญิงตั้งครรภ์จะต้องใช้อุปกรณ์ที่ครอบหัวนมตลอดเวลา
4.2.2 แก้ไขโดยการใช้เครื่องปั๊มนม โตยใช้พลังสุญญากาศในการดูตหัวนมให้ซูชันเพิ่มขึ้น
ส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
วัตถุประสงค์
เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมมารดาได้ถูกต้อง
เกณฑ์กาประเมิน
-มีทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น สามารถอุ้มลูกดูดนมได้ถูกวิธีการบีบน้ำนมออกจากเต้า
-ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวนม แตก เต้านมคัด
-หลังคลอดประเมินLATCH Score มากกว่าหรือเท่ากับ 8 คะแนน
-จับบุตรเรอ สามารถ ไล่ลมหลังดูดนมได้ถูกต้อง
-บุตรไม่มีภาวะท้องอืด
กิจกรรมการพยาบาล
พูดคุยแนะนำถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อลูกและต่อแม่ แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมมารดามีประโยชน์ มีคุณค่าทางสารอาหารสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก สะอาด ประหยัด และมีภูมิต้านทานโรคเพื่อให้ความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของนมแม่
หลังคลอดอธิบายให้มารดาทราบว่าน้ำนมใน 2-3 วันแรกจะเป็นหัวน้ำนมซึ่งมีจำนวนไม่มากแต่ก็เพียงพอสำหรับทารก ซึ่งน้ำนมจะมีลักษณะสีเหลือง มีสารอาหารครบถ้วน นอกจากนี้ในร่างกายทารกยังคงมีน้ำอยู่มากกว่าปกติ และมีการสำรองพลังงานอยู่แล้วใน 2-3 วันแรก ขณะเดียวกันถ้าทารกดูดนมได้อย่างถูกต้องและดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมงนาน 15 ถึง 20 นาทีสลับกัน 2 ข้าง ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้การอธิบายให้ทราบข้อเท็จจริงจะช่วยทำให้มารดามีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนม
อธิบายให้มารดาทราบว่าร่างกายหลังคลอดจำเป็นต้องได้รับพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการสูญเสียเลือดและพลังงานระหว่างคลอด ดังนั้น ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งไม่ขัดต่อความเชื่อของมารดา และไม่ขัดกับแผนการรักษาของแพทย์เพื่อจะได้รับสารอาหารครบถ้วน ทดแทนพลังงานที่สูญเสียไป จึงจะอยู่ในสภาพพร้อมที่จะสร้างน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของทารก
สอนและฝึกปฏิบัติการให้นมบุตรในท่าที่ถูกต้องเพื่อช่วยให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประสบผลสำเร็จ สอนวิธีการให้นมอย่างถูกวิธี โดยอุ้มให้ถูกต้อง ใช้มือจับเต้านม โดยใช้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน และนิ้วอื่นๆ รองรับเต้านม ปากทารกอยู่บริเวณลานหัวนม เพื่อให้ความรู้การปฏิบัติการให้นมบุตรได้ถูกวิธี
ให้สามีและญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตร เช่น การประคองหัวเด็กช่วยขณะมารดาให้นมบุตรเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
แนะนำวิธีการให้ทารกดูดนมอย่างถูกวิธีเพื่อช่วยในการสร้างร่วมกับหลั่งของน้ำนมให้ดีขึ้นโดยใช้เทคนิค 4 ดูด
6.1 ดูดเร็ว คือดูดทันที 30 นาทีหลังคลอด
6.2 ดูดบ่อย คือให้ดูดทุกครั้งเมื่อทารกต้องการหรือดูดทุก 2-3 ชั่วโมง
6.3 ดูดถูกวิธี คือทารกอมหัวนมจนถึงลานนมให้จมูกและคางชิดเต้านมแม่ เว้นปีกจมูกให้หายใจ
6.4 ดูดเกลี้ยงเต้า คือการดูดนมจนหมดเต้า และมารดารู้สึกว่าเต้านมนิ่มซึ่งต้องดูดข้างละ 15 ถึง 20 นาที
แนะนำให้มารดาสวมยกทรงขนาดพอดีเพื่อพยุงเต้านมไม่ให้ท่อน้ำนม พับงอส่งเสริมให้น้ำนมไหลได้เต็มที่
สอนและจัดท่านอนที่ถูกต้อง ได้แก่
8.1 ท่าลูกนอนขวาง ศีรษะลูกวางบนข้อศอกแม่ (Cradle Hold Position) อุ้มลูกไว้บนตัก ใช้มือกับแขนข้างเดียวกับเต้าที่จะให้ลูกดูด ประคองลูกไว้ ให้ลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวแม่ ศีรษะสูงเล็กน้อย ท้ายทอยลูกวางที่แขนของแม่ มืออีกข้างประคองเต้าหรือปล่อยสบาย ๆ ก็ได้
8.2 ท่าลูกนอนขวางบนตัก ใช้ฝ่ามือประคองศีรษะลูก (Modified Cradle Hold Position) คล้ายท่าแรก แต่เปลี่ยนมือที่ประคองลูกมาประคองเต้านม ส่วนมืออีกข้างประคองต้นคอและท้ายทอยลูกแทน
8.3 ท่าอุ้มด้านข้าง (Football Hold Position) กอดลูกให้กระชับกับสีข้างแม่ มือจับที่ต้นคอและท้ายทอยลูก และขาลูกชี้ไปทางด้านหลัง ลูกอยู่ในท่ากึ่งตะแคงกึ่งหงาย ลูกดูดนมจากเต้าข้างเดียวกับมือที่จับลูก มืออีกข้างประคองเต้านม เหมาะสำหรับแม่ที่ผ่าตัดคลอดลูกแฝด หรือแม่เต้านมใหญ่
8.4 ท่านอน (Side Lying Position) แม่ลูกนอนตะแคงเข้าหากัน แม่นอนศีรษะสูงเล็กน้อย หลังและสะโพกตรง ปากลูกอยู่ตรงหัวนมแม่ ใช้แขนข้างหนึ่งประคองตัวลูกให้ชิดแม่ หรือใช้หมอนหนุนหลังลูกแทนก็ได้ ท่านี้เหมาะสำหรับให้นมกลางคืน หรือหลังผ่าตัด หลังการดูดนม อุ้มทารกเรอ แล้ว 15 นาที จัดให้ทารกนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักนม และยก ศีรษะสูงเล็กน้อย
แนะนำให้มารดาดื่มน้ำให้มากๆ 8-10 แก้วต่อวันหรืออาจจะมากกว่า 12 แก้วต่อวันหลังการคลอด หรือดื่มในรูปแบบของนม น้ำซุป น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่ม 1 แก้ว หลังการให้นมบุตร เพื่อบำรุงร่างกายและทดแทน สารน้ำที่สูญเสียไป
นวดประคบเต้านมด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือประคบด้วยสมุนไพร ซึ่งการนวดช่วยกระตุ้นให้กลไกการหลั่งน้ำนมได้มากขึ้นและการประคบน้ำอุ่น
10.1 ใช้นิ้วมือนวดเบาๆ เป็นรูปก้นหอย นวดวนไปรอบๆ เต้านมข้างละ 5 นาที
10.2 ใช้นิ้วมือ/อุ้งมือลูบเต้านมจากด้านบนด้านข้างเเละด้านล่าง เข้าหา หัวนมเบาๆ ข้างละ 5 นาที
10.3
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ครั้งที่ 1 (21/11/67)
ไวรัสตับอักเสบ : Neg
ซิฟิลิส : Neg
DCIP : Neg
Anti-HIV : Neg
OF/MCV : Neg
Hct : 39.8%
Blood group ABO,Rh : O
ครั้งที่ 2 (9/04/67)
ไวรัสตับอักเสบบี : Neg
ซิฟิลิส : Neg
Hct : 37%
Anti-HIV : Neg
ตรวจร่างกาย
head:
ศีรษะทรงกลม ไม่มีการบิดเบี้ยวหรือบวม คลำไม่พบก้อน กดไม่เจ็บ ไม่พบรอยแตกร้าวของกะโหลกศีรษะ ผมยาวสีดำ
Neck:
ลำคอตั้งตรงปกติ (No torticollis) ไม่พบคอแข็ง หลอดลมตั้งตรง ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ไม่พบการโป่งพองของเส้นเลือดดำที่คอ (Jugular vein distention) คลำไม่พบก้อนบวม ไม่มีต่อมน้ำเหลืองโต (Lymphadenopathy) ไม่มีต่อมไทรอยด์โต (Goiter)
Skin:
ผิวหนังสีแทน สะอาด มีความยืดหยุ่นดี ชุ่มชื่น ไม่แห้งกร้าน ความตึงตัวของผิวหนัง good skin turgor ไม่พบผื่น ไม่พบอาการบวม หน้าท้องไม่มีการแตกลาย พบเส้นสีน้ำตาลผ่านสะดือกลางท้อง (linea nigra)
Face:
ใบหน้าทั้งสองข้าง สมมาตรกัน ไม่พบรอยโรค ไม่มีผื่นคันบริเวณใบหน้า ไม่มีอาการบวม ไม่พบฝ้า
Body weight:
BW = 60 kg, ส่วนสูง = 155 cm, BMI = 25.63 kg/m2
Eye:
ตาทั้งสองข้างอยู่ในระดับเดียวกัน หางตาทั้งสองข้างอยู่ในระดับใบหูทั้งสอง ตาทั้งสองสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ไม่มีตาพร่ามัว เยื่อบุตาซีดเล็กน้อย เปลือกตาไม่บวมแดง สามารถกลอกตาไปมาได้
Vital sign:
sign: BT = 36.6 C, PR = 80 bpm, RR = 20 bpm, BP = 116/72 mmHg
ear:
ใบหูทั้งสองข้างได้ยินปกติ ใบหูสะอาด กดไม่เจ็บ ไม่มี discharge ไหลออกจากใบหูทั้งสองข้าง คลำไม่พบก้อนบริเวณใบหูทั้งสองข้าง
General Appearance:
หญิงตั้งครรภ์ G6P3A2 อายุครรภ์ 38+2 wks by U/S อายุ 38 ปี นับถือศาสนาอิสลาม แต่งกายด้วยชุดสุภาพ สวมชุดไปรเวท สวมรองเท้าหัวปิดหน้าเท้า ส้นเตี้ย ลักษณะการเดินไม่เซ กระดูกสันหลังมีการโค้งงอ (lordosis) หลังจึงแอ่นศีรษะมาข้างหน้า สุขภาพร่างกายโดยทั่วไปสมบูรณ์ดี มีการดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไปดี สะอาด หน้าตาสดชื่น ยิ้มแย้มแจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ให้ความร่วมมือในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจครรภ์เป็นอย่างดี
Mouth
ริมฝีปากไม่แห้งแตก ไม่มีแผลบริเวณมุมปาก ไม่มีเหงือกบวม ไม่มีการอักเสบ ไม่พบฟันผุ ลิ้นไม่มีแผล รับรสได้ปกติ ไม่มีน้ำลายออกมามากกว่าปกติ (Ptyalism) ต่อมทอนซิลไม่พบการอักเสบ ไม่มีปัญหาการกลืน
Chest and lung:
รูปร่างทรวงอกปกติ ทรวงอกสมมาตรกันทั้งสองข้าง การเคลื่อนไหวของทรวงอกสัมพันธ์กับการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ 80 bpm และอัตราการหายใจ 20 bpm
Axillary:
คลำไม่พบก้อนบริเวณรักแร้ทั้งสองข้าง ไม่พบต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โต กดไม่เจ็บ
Heart:
อัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ 88 bpm
Breast:
เต้านมทั้งสองข้างสมมาตรกัน ไม่พบลักษณะผิดปกติของหัวนม เช่น หัวนมสั้น (short nipple), หัวนมบอด (flat nipple), หัวนมบุ๋ม (Inverted nipple) มีเต้านมแข็งตึง ไม่พบก้อน ลานนมสีเข้ม หัวนมไม่มี discharge ซึม
Abdomen:
หน้าท้องมีลักษณะกลมโต เป็นทรงยาวตามแนวยาวของลำตัว(Longitude)ไม่พบเส้นสีน้ำตาลผ่านสะดือกลางท้อง (linea nigra) ไม่พบรอยแตกลายบริเวณหน้าท้อง (Strive gravidarum) ไม่พบรอยโรค จากการตรวจครรภ์ 4 ท่า ท่าที่ 1 Fundal grip พบระดับยอดมดลูก 3/4>o พบส่วนยอดมดลูกเป็นส่วนก้น,ท่าที่ 2 Umbilical grip พบ Large part OL และ Small part OR,ท่าที่ 3 Palwik grip พบ Head float,ท่าที่ 4 Bilateral inguinal grip ยังไม่มีการ Engagement ฟัง FHS = 155 bpm ทารกในครรภ์ดิ้นดี
Neurologic system:
หญิงตั้งครรภ์รู้สึกตัวดี E4V5M6 พูดคุยรู้เรื่อง ถามตอบตรงคำถาม ทำตามคำสั่งได้ ให้ความร่วมมือในการซักประวัติเป็นอย่างดี มองเห็นได้ชัดเจน ไม่มีตาพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน ไม่มีสายตาสั้น สายตายาว การได้ยินชัดเจน ไม่มีหูหนวกหูตึง จมูกสามารถรับกลิ่นได้ดี การรับรสได้ปกติ ผิวหนังรับความรู้สึกร้อนเย็นได้ตามปกติ รับรู้ถึงความรู้สึกปวดได้
แบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผน
การพักผ่อนนอนหลับ
ก่อนตั้งครรภ์ : หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่าเข้านอนเวลา 22.00 น้ำ.ถึง 6.00 น.ไม่มีการสะดุ้งตื่นตอนกลางคืน
ขณะตั้งคครภ์ : หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่าเข้านอนเวลา 22.00 น้ำ.ถึง 6.00 น.มีอาการหลับๆตื่นๆเนื่องจากมีอาการปวดจากท้องแข็ง3-4 ครั้ง/คืน
สติปัญญาและการรับรู้
6.1 การรับความรู้สึกทางประสาทสัมผัสและการตอบสนอง มีอาการปวดหลังมาก เมื่อนั่งเป็นเวลานานๆ จนจะมีการพิงผนัง และเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ
6.2 ความสามารถทางสติปัญญาและความรู้ความจำ จบการศึกษาประถมศึกษาตอนปลาย สื่อสารภาษามลายูเป็นหลัก สามารถสื่อสารภาษาไทยได้รับรู้วัน เวลา สถานที่ และสามารถตอบคำถามตอบคำถามรู้เรื่อง
กิจกรรมและการออกกำลังกาย
ก่อนการตั้งครรภ์ : ไม่ได้มีการออกกำลังกาย
ขณะตั้งครรภ์ : ชอบเดินรอบๆ บ้าน เวลาว่างก็จะแกว่งเเขนไปมา
เพศและการเจริญพันธ์
หญิงตั้งครรภ์สถานภาพสมรส มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปี ระยะเวลาประจำเดือนมา 7 วัน โดยมีรอบประจำเดือน 28 วัน มีอาการปวดท้อง2 วันแรกก่อนการมีประจำเดือน ไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ไม่มีความผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศ ปฏิเสธการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
คุณค่าและความเชื่อ
ความเชื่อในระยะคลอด ตนเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างอัลลอฮ์เป็นผู้กำหนด
การขับถ่าย
3.1 ปัสสาวะในระยะตั้งครรภ์ ปัสสาวะวันละ 4-5 ครั้ง/วัน ไม่มีปัสสาวะแสบขัด ไม่มีตะกอน ไม่มีปนเลือด
3.2 ขับถ่ายอุจจาระในระยะตั้งครรภ์ ขับถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง/วัน
อาหารและการเผาผลาญสารอาหาร
2.1 ชนิดและปริมาณอาหารที่รับประทานขณะคลอด ก่อนการตั้งครรภ์ : อาหารวันละ 3 มื้อ เช้า เที่ยง และเย็น ชอบรับประทานอาหารรสเค็ม เปรี้ยวและเผ็ดชอบรับประทานอาหารเมนู คือ แกงจืด ผัดเผ็ดไก่ ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว/วัน
ขณะตั้งครรภ์ : รับประทานอาหารตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์
2.2 อาการคลื่นไส้ อาเจียน หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่าไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนขณะตั้งครรภ์
การรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ
1.1 สุขภาพโดยทั่วไปในปัจจุบัน การตั้งครรภ์ครั้งที่ 6 หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่าวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย 23/09/66 สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน มีประวัติใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือน โดยรอบของประจำเดือน 28 วัน ระยะที่มีเลือดประจำเดือน 7 วัน
1.2 พฤติกรรมเสี่ยง จากการสอบถาม หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า “สามีสูบบุหรี่วันละ 4-5 มวน/วัน โดยสามีจะสูบบุหรี่บริเวณนอกบ้านให้ไกลภรรยามากที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะอันตรายต่อทารกในครรภ์
1.3 ประวัติการแพ้สารต่างๆ อาการ การแก้ไข ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหารและสารเคมีต่างๆ
1.4 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองหญิง ตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า ตนรับรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ รู้สึกดีใจและตื่นเต้น ตนได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตามนัดทุกครั้ง หากมีอาการเจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์จะไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ทันที
1.5 ความรู้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า ตนใช้สิทธิบัตรทอง
การรับรู้ ตนเองและอัตมโนทัศน์
ความรู้สึกนึกคิดต่อความสามารถในการคลอดของตนเอง หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า รับรู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย คือ ท้องมีขนาดใหญ่ร่างกายอ้วนขึ้น แต่ตนไม่ได้มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์
การปรับตัวบทบาทและสัมพันธภาพ
หญิงตั้งครรภ์ให้ข้อมูลว่า สัมพันธภาพในครอบครัวรักใคร่กันดี มีการพูดคุยเอาใจใส่ ช่วยเหลือกัน
การปรับตัวและความทนทานต่อความเครียด
10.1 สิ่งที่ทำให้สิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ/กังวล/กลัว ในปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์กังวลเรื่องทารก กลัวทารกคลอดออกมาไม่ครบ 32 เนื่องจากตนเคยมีประวัติมาแล้ว 2 ครั้ง
1.2 วิธีแก้ไขเมื่อไม่สบายใจ/กังวล/กลัว ปรึกษาระบายความกังวลกับสามี
บันทึกการตรวจครรภ์
วัน/เดือน/ปี (21/05/67)
น้ำหนัก(kg) : 60 kg. ส่วนสูง(cm) : 155 cm. BMI : 25.63 kg/m2
BP : 115/72 mmHg
PR : 88 bpm
ปัสสาวะ Alb : Neg Sug : Neg
ระดับยอดมดลูก 3/4>o
ท่าเด็ก OL
ส่วนนำการลง OL/HF
FSH 155 bpm
อายุครรภ์ 38+2 wks
การรักษาที่ให้ -