Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 STEMI, Acute Heart failure, สมาชิกในกลุ่ม
A6480136…
กรณีศึกษาที่ 2 STEMI, Acute Heart failure
พยาธิสรีรเกี่ยวกับเคส
สาเหตุ
- มีประวัติโรคความดันโลหิตสูง มา 7 ปี
- สูบบุหรี่ มา 20 ปี วันละ 2 ซอง (40 ตัว)
- สูบบุหรี่ มา 20 ปี วันละ 2 ซอง (40 ตัว)
ความดันโลหิต
เมื่อไหร่ที่ระดับความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้หัวใจต้องบีบตัวมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัว และถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต หลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข็งตัวขึ้น ส่งผลให้มีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดและหัวใจวายได้ในที่สุด นอกจากนี้อาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตัน หรือแตก ทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้เช่นกัน
-
หากปล่อยให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงนาน ๆ แล้วไม่รักษา อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งสาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา กว่า 90% เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ความดันในหลอดเลือดแดงสูงขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานหนักและหนาตัวขึ้น เลือดดีจากปอดและหัวใจห้องบนซ้ายไม่สามารถไหลลงหัวใจห้องล่างซ้ายได้ ส่งผลทำให้หัวใจโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด
-
-
แผนการรักษาที่ได้รับ
- Isordril SL-5 mg (รูปแบบอมใต้ลิ้น)
- แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีประวัติแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยา Isosorbide Dinitrate ยา Isosorbide Mononitrate หรือยา Nitroglycerin รวมถึงยาและสารอื่น ๆ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
- แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยา วิตามิน หรือสมุนไพรทุกชนิดที่ผู้ป่วยกำลังใช้อยู่ เพราะยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยานี้จนส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือทำให้ยามีประสิทธิภาพลดลง โดยเฉพาะยารักษาหย่อนสมรรถภาพทางเพศและภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
- แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการใช้ยา หากผู้ป่วยเคยมีประวัติทางสุขภาพ เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะขาดน้ำ โรคหัวใจอย่างหัวใจวายหรือหัวใจขาดเลือด โรคไต ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น
- ผู้ป่วยที่มีสัญญาณของภาวะหัวใจขาดเลือด แต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ อาทิ เจ็บหรือแน่นหน้าอก อาการปวดร้าวไปยังกรามหรือหัวไหล่ คลื่นไส้ และมีเหงื่อออกมาก ไม่ควรรับประทานยานี้
- แจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังใช้ยา Isosorbide Dinitrate หากต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือทันตกรรมใด ๆ
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้ยานี้ เพราะตัวยาอาจไปเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงได้ เช่น เวียนศีรษะ ง่วงซึม หน้ามืด หมดสติ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการลุกจากท่านั่งหรือท่านอนเร็วเกินไป เพราะอาจรู้สึกเวียนศีรษะ
- หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ การใช้เครื่องจักร หรือการทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาขณะใช้ยานี้ เพราะตัวยาอาจทำให้เวียนศีรษะและเสี่ยงเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุได้
- ผู้ป่วยสูงอายุอาจไวต่อผลข้างเคียงจากตัวยามากกว่าผู้ป่วยในช่วงวัยอื่น โดยเฉพาะอาการเวียนศีรษะและหน้ามืด ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการหกล้มหรือพลัดตกจากที่สูง
- ผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ถึงผลดีผลเสียและความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ก่อนใช้ยานี้
- ผู้ป่วยที่ต้องให้นมบุตรในขณะที่ใช้ยานี้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงต่อทารกก่อนให้นมบุตร เพราะยาอาจซึมผ่านน้ำนมมารดาไปสู่ทารกได้
- APS (300 mg) เคี้ยวแล้วกลืน 1 tab
- ระวังการใช้ยาในเด็กหรือวัยรุ่นที่มีการติดเชื้อไวรัส โดยจะทำให้เกิดอาการของตับอักเสบ
และสมองอักเสบ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในเด็ก อายุน้อยกว่า 16-19 ปี
- ผู้ป่วยที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดหรือถอนฟัน คนไข้ต้องหยุดยาแอสไพรินล่วงหน้า ประมาณ 7 วันก่อนทำหัตถการ และต้องปรึกษาแพทย์ทุก ครั้ง ห้ามหยุดยาเอง
- ไม่ควรหักแบ่งยา เพราะตัวยาที่ถูกเคลือบไว้จะถูกปลดปล่อยออกมาและระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานยาแอสไพริน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยง ของอาการเลือดออกผิดปกติ
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาแอสไพริน และแพ้ยาอื่น ๆ ในกลุ่ม NSAIDs
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคหืด เพราะยาจะไปหดหลอดลม ส่งผลให้โรคหืดกำเริบ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินในสตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากส่งผลต่อทารกในครรภ์
- ประเมินอาการบวมที่หลังมือซ้ายทุกเวร หากบวมมากขึ้น ผู้ป่วยไข้ บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย จัดมือซ้ายที่บวมให้สูงกว่าลำตัวผู้ป่วย โดยใช้หมอนรอง เพื่อลดอาการบวม
- เปลี่ยนบริเวณที่แทงเข็มให้สารน้ำใหม่
- ประเมินการขาดสารน้ำและอิเล็คโตรไลท์ โดยบันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกทุกเวร เพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ไขโดยเร็ว
- ลดภาวะเครียดโดยให้ความช่วยเหลือทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
- ประเมินอาการปวดของผู้ป่วย (โดยการสังเกตสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย และจาก Painscale) ผู้ป่วยสีหน้าสดชื่น ไม่บ่นปวดบริเวณหลังมือซ้าย
- ประเมินอาการหลอดเลือดดาอักเสบบริเวณหลังมือ (อาการบวมลดลง)
- ปริมาณสารน้ำเข้าและออกมีความสมดุล
- Streptokinase 1.5 mu in D5W 100 cc iv drip in 1 hr
- เริ่มให้ยา Streptokinase ทีผสมในสารน้ำ 100 ซีซี ด้วย infusion pump อัตราการไหล 100 ml/hr ชั่วโมง
- ควรหยุดยา Nitroglycerine ทุกชนิดในระหว่างที่ได้ยา Streptokinase เพราะจะเสริมฤทธิ์ทำให้ เพิ่มความรุนแรงในการเกิดความดันโลหิตต่ำ
- หมั่นสอบถามอาการเจ็บแน่นหน้าอก
- ประเมินระดับความรู้สึกตัวเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินภาวะ เลือดออกในสมอง
- ตรวจวัด บันทึก BP PR EKG O2 Sat อย่างน้อยทุก 5 นาที
- เฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากผลข้างเคียงของStreptokinase ได้แก่ มี ภาวะเลือดออกง่ายและหยุดยาก อาการการแพ้ร่วมกับความดันโลหิตต่ำลงให้ ปรับลดขนาดของยา Streptokinase พร้อมทังรายงานแพทย์เพื่อพิจารณา
ให้การช่วยเหลือโดยให้สารน้ำ ชนิด 0.9% NSS 100-200 ml
ทางหลอดเลือด ดำภายใน 15-20 นาทีถ้าความดันโลหิตยัง
ต่ำ แพทย์มักจะเริ่มให้ยา Dopamine หยดเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มความดันโลหิต
- เฝ้าระวังสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา เนื่องจากผล ของยา อาจทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่อันตราย เช่น VF, VT
- เตรียมเครื่อง Defibrillation เมื่อเกิด VF, VT และช่วย แพทย์ทํา Defibrillation และCPR
- กรณี IV push ให้ตรวจติดตามทุก 5 นาที 4 ครั้ง จากนั้นทุก 30 นาที 2 ครั้ง หลังจากนี้
ขึ้นกับอาการผู้ป่วยและคำสั่งแพทย์ กรณี IV infusion ให้ตรวจ ติดตามทุก 1 ชั่วโมง รวม
4 ครั้ง จากนั้นตรวจติดตามทุก 4 ชั่วโมง กรณี IM/SC ตรวจ ติดตามทุก 15 นาที 4 ครั้ง จากนั้นทุก 30 นาที 2 ครั้ง
- ตรวจติดตามอาการกดการหายใจในช่วง 24-72 ชม. หลังเริ่มยา โดย เฉพาะในผู้ป่วย
สูงอายุ ผู้ป่วย COPD, ผู้ป่วยที่มี respiratory reserve ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ, ผู้ป่วยที่มี
ความดันในสมองสูง
- รายงานแพทย์เมื่อ RR<12/min, sedation score > 2, มี BP < 90/60 mmHg, pain score > 4
- ติดตาม HR, อัตราการหายใจ, ความดันโลหิต, pain score, sedation score
- บันทึกสัญญาณชีพ ความดันโลหิต ขณะให้ยา
- ระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องเพราะ อาจเกิดการสะสมของ
ยา morphineและM3Gทำให้เพิ่มความ เสี่ยงการกดการหายใจ
สมาชิกในกลุ่ม
A6480136 นางสาวปฏิภรณ์ คำสมศรี
A6480138 นางสาวชนิฏาภรณ์ บุญเชิด
A6480139 นางสาวรุ่งฤดี จูมครอง
A6480140 นางสาวอัญชลีพร ยืนมั่น
A6480141 นางพรทิพย์ จันทร์อร่าม
A6480142 นางสาวเกษฎาภรณ์ พันทา
A6480143 นางสาวณัฐสุดาสกาว ขาวสันเทียะ
A6480144 นางสาวปรามวลัย ใจเที่ยง