Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.หลักทรพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2559 - Coggle Diagram
พรบ.หลักทรพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2559
การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนของการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลงทุน และตลาดทุน
ผู้ที่ออกมาวิเคราะหรือคาดการณ์ต้องรับผิดชอบและระมัดระวังต่อข้อมูล ที่ตนสื่อสารออกมามากยิ่งขึ้นเพราะอาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์หรือต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน และเมื่อได้ให้ความเห็นไปแล้ว ก็ควรเก็บหรือบันทึกข้อมูลที่ตนใช้ในการให้ความเห็นไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการอธิบายในภายหลัง
ความผิดเกี่ยวกับการเอาเปรียบผู้ลงทุนในตลาดทุนรายอื่นโดยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ตนล่วงรู้มา
การซื้อขายหลักทรัพย์ตัดหน้าลูกค้า หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นซึ่งอาจอาศัยข้อมูลที่ได้มานั้นไปซื้อขายหลักทรัพย์ตัดหน้าลูกค้า หรือที่เรียกว่า Front-running จะต้องมีความรับผิดตามกฎหมาย)
กำหนดให้ insider ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่ บุคคลอื่นที่อาจนาข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์เช่นเดียวกัน ซึ่งหากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ทั้งผู้ให้ข้อมูลและผู้รับข้อมูล ที่นำไปใช้ประโยชน์อาจต้องมีความรับผิด
ความผิดเกี่ยวกับการสร้างราคาหลักทรัพย์ให้ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด
แบ่งความผิดเกี่ยวกับการสร้างราคาหลักทรัพย์ออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ อันทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ และการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ในลักษณะต่อเนื่องเพื่อให้ราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด
ความผิดที่มีผลกระทบต่อระบบซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์
อาจทำให้ดัชนีหลักทรัพย์หรือราคาหลักทรัพย์ เกิดการผันผวนซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ลงทุนโดยรวมและความเชื่อมั่นของตลาดทุนไทย กฎหมายใหม่จึงกำหนด ให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด นอกจากนี้ กฎหมายใหม่ยังกำหนดความผิดฐานใหม่กรณีที่มีการใช้หรือยินยอมให้ใช้บัญชี nominee ไม่ว่าจะเป็นบัญชีธนาคารหรือบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อใช้ในการปกปิดตัวตนของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์
เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการลงโทษทางแพ่ง
เพื่อให้รัฐสามารถบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกเหนือจาก การบังคับใช้กฎหมายผ่านกระบวนการลงโทษทางอาญา
การกำหนดให้ผู้กระทำความผิดชำระค่าปรับทางแพ่ง
การกำหนดให้ผู้กระทำความผิดชดใช้เงินเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับ จากการกระทำความผิด
การห้ามผู้กระทำความผิดเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสูงสุดไม่เกิน 5 ปี
การห้ามผู้กระทำความผิดเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
การกำหนดให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคืนให้ กับสำนักงาน ก.ล.ต.
เป็นความผิดที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสาคัญต่อความน่าเชื่อถือและโปร่งใสของตลาดทุนไทย จึงเป็นบทบัญญัติที่ต้องการสัมฤทธิ์ผลของการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิด ในระดับสูง
ความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์
ความผิดเกี่ยวกับการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสาคัญในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (filing) ร่างหนังสือชี้ชวน รายงานฐานะทางการเงิน และเอกสารที่เปิดเผยต่อสาธารณชน
ความผิดเกี่ยวกับการที่กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนไม่ปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต
ความผิดเกี่ยวกับการใช้หรือยอมให้ใช้บัญชี Nominee ในการกระทำอัน ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
เมื่อสำนักงาน ก.ล.ต. พบว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ สำนักงาน ก.ล.ต. จะดำเนินการกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เพื่อพิจารณาดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิดต่อไป เว้นแต่ในกรณีที่เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงหรือมีโทษจาคุกไม่เกิน 2 ปี กฎหมายฉบับปัจจุบันกำหนดให้เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ หากผู้ถูกกล่าวหายินยอม เข้ารับการเปรียบเทียบ การดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหารายนั้นก็จะเป็นอันยุติ หากกฎหมายฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ รัฐจะมีเครื่องมือที่ใช้ในการลงโทษผู้กระทำความผิดเพิ่มขึ้น โดยสำนักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาว่าควรดำเนินมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิดหรือไม่