Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.หลักทรพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 - Coggle Diagram
พรบ.หลักทรพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
การกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (มาตรา 8 – มาตรา 31/7)
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หน้าที่ในการวางนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลในเรื่องหลักทรัพย์และการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการกำกับตลาดทุน
ทำหน้าที่ในการปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
มีหน้าที่ปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับบุคคลที่กระทำความผิด
การออกหลักทรัพย์ของบริษัท ( มาตรา 32- มาตรา 55/1 และมาตรา 63 - มาตรา 89 )
หลักเกณฑ์ทั่วไป
เสนอขายหลักทรัพย์ประเภทที่ได้รับยกเว้นมาตรา 63
เสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานและมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามมาตรา 65
เสนอขายหลักทรัพย์โดยบริษัทมหาชนจำกัดต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น
หุ้นกู้
กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์บางเรื่องที่ใช้บังคับกับหุ้นกู้ไว้โดยเฉพาะ
การเปิดเผยข้อมูลและผู้สอบบัญชี ( มาตรา 56 - มาตรา 62 )
บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เช่น
รายงานประจำปี
งบการเงินรายไตรมาส
การบริหารกิจการของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ( มาตรา 89/1 - มาตรา 89/32)
ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และ ความซื่อสัตย์สุจริต
เข้าทำรายงานกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันหรือการทำธุรกรรมที่มีนัยสำคัญต่อบริษัทต้องทำตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
จัดให้มีเลขานุการบริษัท
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เรื่องการประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทหลักทรัพย์ ( มาตรา 90 - มาตรา 152 )
การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์
การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
การจัดการกองทุนรวม
การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
กินการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ตลาดหลักทรัพย์ ( มาตรา 153 - มาตรา 203 )
เพื่อประกอบกิจการตลาดหลักทรัพย์โดยไม่นำผลกำไรมาแบ่งปัน หลักทรัพย์ที่จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์จึงเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับหลักทรัพย์จดทะเบียนในเรื่องต่างๆ
ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ( มาตรา 204 - มาตรา 217 )
บริหลักทรัพย์รวมกันไม่น้อยกว่า 15 รายอาจขอรับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์อื่นซึ่งมิได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ โดยในการกำกับดูแลศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ให้ใช้บทบัญญัติและบทกำหนดโทษบางมาตราที่ใช้กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์มาใช้ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์โดยอนุโลม
กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน ( มาตรา 218- มาตรา 218/21)
มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการพัฒนาองค์กร โครงสร้างพื้นฐานฐาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดทุน
องค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ( มาตรา 219 - มาตรา 237 )
สำนักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และนายทะเบียนหลักทรัพย์
สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ( มาตรา 238 - มาตรา 244/7 )
เพื่อปัองกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น
การบอกกล่าว เผยแพร่ หรือให้คำรับรองข้อความเท็จหรือที่ทำให้สำคัญผิด
การวิเครหรือคาดการณ์ที่ใช้ข้อมูลเท็จหรือบิดเบือนข้อมูล
การซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน
การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ ( มาตรา 245 - มาตรา 259 )
ผู้ที่ถือครองหลักทรัพย์ถึงหรือข้ามทุกร้อยละ 5 ของจานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (“กิจการ”) ต้องรายงานการเพิ่มขึ้นหรือ ลดลงของหลักทรัพย์ต่อสานักงาน ก.ล.ต. ทุกครั้ง
การกำหนดโทษทางอาญา และมาตรการลงโทษทางแพ่ง ( มาตรา 267/1 - มาตรา 317/14 )
มีโทษทางอาญาทั้งจำคุกและปรับ และในความผิดบางประเภทก็อาจเปรียบเทียบปรับ หรือ ใช้มาตราการลงโทษทางแพ่งได้