Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Lymphoma - Coggle Diagram
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Lymphoma
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อในร่างกายเนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยไม่มีการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมิน
ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ Neutrophil 40-70.9 % Lymphocyte 22.2-43.6 %
ข้อมูลสนับสนุน
ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ Neutrophil สูง 74 % Lymphocyte ต่ำ 20 %
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการและคันหาแหล่งของการติดเชื้อ ถ้ามีรายงานแพทย์
ให้การพยาบาลผู้ป่วยโดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้ออย่างเข้มงวด เช่น ล้างมือ ทุกครั้งก่อนและหลังให้การพยาบาล
3.ดูแลให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
4.หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง และผลไม้ทั้งเปลือก ผักสด
ดื่มน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วหรือน้ำสะอาด
ดูแลและกระตุ้นการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เช้าและก่อนนอน) บ้วนปากหรือทำความสะอาดในช่องปากทุกครั้ง หลังรับประทานอาหาร อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทำความสะอาดหลัง การขับถ่ายทุกครั้ง
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
เก็บและส่ง สิ่งส่งตรวจ (specimen) ตามแผนการรักษา และติดตาม
พร่องออกซิเจนเนื่องจากมีเสมหะอุดกลั้นทางเดินหายใจ
ข้อมูลสนับสนุน
มีเสมหะสีขุ่นมาก, ค่าความเข้มข้นออกซิเจน 91 %, อัตราการหายใจ 26 ครั้ง/นาที
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยมีการหายใจที่สะดวก
เกณฑ์การประเมิน
ค่าความเข้มข้นออกซิเจนมากกว่า 95 %, อัตราการหายใจปกติ 18-22 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้สึกของผู้ป่วยต่ออาการหายใจลำบาก โดยการสอบถามถึงอาการหายใจขัด หายใจไม่อิ่ม หรือรู้สึกหายใจไม่สะดวก โดยใช้แบบประเมินอาการรบกวน ESAS รวมทั้งติดตาม บันทึกสัญญาณชีพ วัดอัตราการหายใจ วัดค่าความเข้มข้นออกซิเจน เป็นต้น
ประเมินความรู้สึกตัว สังเกตอาการกระสับกระส่าย สับสนของผู้ป่วย เนื่องจากภาวะพร่อง ออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยสับสน และระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงได้
ประเมินผิวหนังและเล็บ เพื่อสังเกตอาการเขียวตามปลายมือ-เท้า จากภาวะพร่องออกซิเจน
ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา ในผู้ป่วยที่มีค่าความเข้มข้นออกซิเจนน้อยกว่า 90% ร่วมกับมีภาวะ Hypoxia
จัดท่านอนหงายศีรษะสูง (High Fowler) เพื่อให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้ดีขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วย ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ เพื่อลดการใช้ออกซิเจน ลดกิจกรรมการพยาบาล ที่รบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วย
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อม และของใช้ที่จำเป็นไว้ใกล้มือผู้ป่วยได้หยิบใช้สะดวก เพื่อเป็นการลด การใช้ออกซิเจนที่อาจเป็นสาเหตุกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก
ดูแลให้ยาขยายหลอดลมตามแผนการรักษา ในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบากจากหลอดลม หดเกร็ง
สอนและฝึกให้ผู้ป่วยใช้เทคนิคการหายใจแบบห่อปาก (Pursed-lip breathing) โดยให้ผู้ป่วย หายใจเข้าผ่านทางจมูกช้าๆพร้อมทั้งปิดปากนับ 1 2 3 ในขณะที่หายใจเข้าจนกระทั่งมีลมเต็มปอด จากนั้นให้หายใจออกช้าๆทางปาก โดยห่อปากและเป่าลมออกให้เหมือนการเป่าเทียนเบาๆและช้าๆ จากนั้นกลับมาหายใจเข้า ทางจมูกและหายใจออกทางปาก วิธีนี้จะช่วยให้อากาศที่ค้างอยู่ในปอดระบายออกได้ดีขึ้น ทำให้มีช่องว่างสำหรับสูดอากาศ ที่มีออกซิเจนเข้ามาในปอดมากขึ้น
สอนผู้ป่วยให้บริหารร่างกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อการหายใจ เพื่อป้องกัน อาการหายใจลำบาก
รายงานอาการให้แพทย์ทราบ เพื่อร่วมกันวางแผนการดูแลรักษา
ปวดเนื่องจากมีก้อนที่บริเวณคอด้านซ้าย
ข้อมูลสนับสนุน
สังเกตเห็นสีหน้าไม่สดใส ขมวดคิ้ว ผู้ป่วยบอกเจ็บบริเวณที่คอด้านซ้าย pain score 4 คะแนน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบาย บรรเทาอาการปวดแผลบริเวณคอด้านซ้าย
เกณฑ์การประเมิน
สีหน้า ท่าทางดีขึ้น ไม่บ่นปวดแผล คะแนน Pain Score ลดลงจาก 4 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพทุกๆ 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามความผิดปกติของสัญญาณชีพ
2.ประเมินอาการปวดของแผลของผู้ป่วย โดยมีเกณฑ์ดังนี้ โดยวัดจากค่าการประเมิน pain score จากเครื่องมือวัดความปวด Numeric pain rating scale โดยระดับความเจ็บปวดมี 4 ระดับ ดังนี้
คะแนนความปวด 0 คะแนน คือ ไม่ปวด
คะแนนความปวด 1 - 3 คะแนน คือ ปวดน้อย
คะแนนความปวด 4 - 6 คะแนน คือ ปวดป่านกลาง
คะแนนความปวด 7 - 10 คะแนน คือ ปวดรุนแรง ให้การรักษาตามระดับความเจ็บปวดดังนี้
ระดับ 1 - 3 คะแนน ปวดน้อยให้การพยาบาลโดยการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยเพื่อลดอาการเจ็บปวด
ระดับ 4 - 6 คะแนน ปวดป่านกลาง ให้การพยาบาโดยการให้ยา ชนิด non-opioid เช่น paracetamol 500 mg หรือตามการรักษาของแพทย์
ระดับ - 10 คะแนน ปวดรุนแรง ผู้ป่วยไม่สามารถทนความเจ็บปวดได้ ให้การพยาบาลโดยการให้ยาผู้ป่วยชนิดOpioid เช่น มอร์ฟิน หรือตามการรักษาของแพทย์
3.การจัดการความเจ็บปวด ด้วยวิธีที่ใช้ยาและไม่ใช้ยา ดังนี้
3.1) การจัดการด้วยยาแก้ปวด (Pharmaco- logical pain management) เนื่องจากการเจาะคอให้ผู้ป่วยหายใจได้ดีขึ้นโดยการเจาะคอมักจะเจ็บปวดหลังเจาะ ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักเผชิญกับความปวด การจัดการความปวดด้วยยาเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมความปวด
3.2) การจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological pain management) ได้แก่ การฝึกการ
หายใจลึก Deep breathing ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
เช่น ถ้าเกิดจากแผลไม่สะอาดควรดูแลทำแผลให้สะอาดปราศจากเชื้อ หรือจากความวิตกกังวล การคิดวนเวียนเกี่ยวกับบาดแผล โดยให้การพยาบาลโดยใช้เทคนิคการผ่อนคลาย (Relaxationtechnique) หรือใช้การเบี่ยงเบนความสนใจ (Distraction) ด้วยวิธีการ ต่าง ๆ อาทิเช่น การฝึกหายใจ การใช้เพลงหรือดนตรีบำบัดความเจ็บปวด
4.สังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วย หากมีอะไรผิดปกติให้รีบแจ้งแพทย์
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
4.มีภาวะท้องผูกเนื่องจากไม่ได้รับกากใยอาหารที่เพียงพอ
ข้อมูลสนับสนุน
ญาติอบอกว่าผู้ป่วยไม่ได้ขับถ่ายตั้งแต่ 1 เดือนที่ผ่านมา
วัตถุประสงค์
เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยไม่มีอาการท้องผูก
เกณฑ์การประเมิน
Bowel sound 6-12 ครั้ง/นาที, ขับถ่ายทุกวันหรือทุก2-3วัน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการท้องผูก ดูลักษณะของอุจจาระ, Bowel sound, ความถี่ ของการขับถ่าย
แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายให้อุจจาระเวลาเดิมทุกเช้า หลังตื่นนอนทุกวัน
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว
4.แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้วต่อวัน
5.สาธิตการนวดลำไส้ โดยนวดวนตามเข็มนาฬิกา กดน้ำหนักลงรอบสะดือ 15-20 รอบ
5.เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยกลืนเองไม่ได้ มีรูปร่างที่ผอม อ่อนเพลีย น้ำหนัก 45 กิโลกรัม สูง 165 เซนติเมตร BMI 16.53 อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยและผอม
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
ได้รับอาหารอย่างเพียงพอต่อร่างกาย, น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
1.กระเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่งโมง ดูแลติดตาม Intake output เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและดูสารน้ำเข้าออก
2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา ดูแลไม่ให้สายให้อาหารทางจมูกหลุดหรือเลื่อน
3.ดูแลให้สารน้ำและยาตามแผนการรักษา
4.ดูแลให้ได้รับ BL (1:1) 400 ml x 5 feed น้ำ 50 ml/feed
5.ชั่งน้ำหนักดูการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์
6.ญาติและครอบครัวมีความวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
ข้อมูลสนับสนุน
ญาติมีสีหน้าเศร้า เครียดและมีน้ำตาคลอขณะที่เล่า
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ญาติมีความเครียดลดลง
เกณฑ์การประเมิน
สีหน้าสดใส ไม่มีความเครียด
กิจกรรมการพยาบาล
1.เปิดโอกาสให้ญาติได้ระบายความคับข้องใจ รับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อลดความเครียด ความรู้สึกเป็นภาระจากการดูแลผู้ป่วย
2.ให้กำลังใจและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินไปของโรคและแนวทางในการจัดการ
3.แนะนำ ให้ญาติหาวิธีที่ทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย เช่น เดินเล่น ฟังเพลงหรือหาเพื่อนคุยเล่น
4.แนะนำ ให้ญาติหากมีปัญหาในการดูแลผู้ป่วยสามารถสอบถามพี่พยาบาลหรือหมอหาวิธีการดูแลผู้ป่วย
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 71 ปี อาชีพ รับจ้างทั่วไป
ประวัติเจ็บป่วยในอดีต
อาการสำคัญ
refer จากโรงพยาบาลหล่มสัก มีก้อนที่คอด้านซ้าย กลืนลำบาก
ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน
2 เดือนก่อน มีก้อนที่คอด้านซ้าย ปวด กลืนลำบาก ไปรักษาที่โรงพยาบาลหล่มสัก ทำการBiopsy (การผ่าตัดชิ้นเนื้อ) พบเป็น LN Metas SCCA จึงส่งต่อมาที่โรงพยาบาลพุทธ
เป็น Hypertension รับยาที่โรงพยาบาลหล่มสัก ได้รับยา Amlodipine 5 mg
อาการปัจจุบัน
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หายใจหอบ เหนื่อย อ่อนเพลีย มีเสมหะสีขุ่นมาก มีแผลที่คอข้างซ้าย ปิดก๊อสไว้ voidเองได้ มีอาการปวดบริเวณก้อน pain score 4 คะแนน on NG tube for feed BL (1:1) 400 ml x 5 feed, on Oxygen mask with bag flow meter 15 ลิตร/นาที ไม่ขับถ่ายมา 1 เดือน ปัสสาวะ 2 ครั้ง ลักษณะสีเหลืองใส
สัญญาณชีพ T =36.3 c, RR = 26 ครั้ง/นาที, HR = 114 ครั้ง/นาที, BP = 126/72 mmHg O2sat = 91 %
สบช. โมเดล สีแดง เนื่องจากมีโรคประจำตัวเป็นความดันและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
พยาธิโรค
พยาธิ
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกลุ่มเซลล์ระบบลิมฟาติกที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ซึ่งระบบนี้ประกอบด้วยเซลล์ใหญ่ๆ 2 จำพวก คือ ลิมฟอยด์ (Lymphoid) และฮีสติโอไซท์ (Histiocyte) อวัยวะที่เกิดพยาธิสภาพจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ มักจะเป็นพวกที่มีกำเนิดจากอวัยวะลิมฟอยด์ (Lymphoid cell) เช่น ต่อมน้ำเหลือง เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงเรียกมะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งผู้ป่วยมีการติดเชื้อหรือภูมิคุ้มกันลดลง และผู้ป่วยได้มีการดื่มสุรา สูบหรี่เป็นเวลานาน
การตรวพิเศษ
การตรวพิเศษ วันที่ 20/3/67 ที่โรงพยาบาลหล่มสัก
สิ่งที่ตรวจ CT SCAN, Biopsy วินิจฉัยเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
อาการและอาการแสดง
มีก้อนที่คอด้านซ้าย ไอเรื้องรัง หายใจไม่สะดวก