Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล - Coggle Diagram
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
วินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาเคมีบำบัด
S: ผู้ป่วยบอกว่า “มีอาการคลื่นไส้”
O: ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด 5-FU 800 mg, ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
WBC= 3310 cell/uL
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเคมีบำบัด
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไม่มีอาการสับสนหรือซึมลง
ไม่มีอาการแน่นจุกอก
ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ไม่ปวดศีรษะ
WBC=5000-10000 cells/uL.
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของอาการแพ้ยา (Anaphylactic reaction)
วัดสัญญาณชีพและประเมินสภาวะจิตใจของผู้ป่วยก่อนให้ยา
วัดสัญญาณชีพหลังให้ยาทุก 15 นาทีจนกว่าจะคงที่
ประมินอาการและสังเกตอาการแสดงภาวะการแพ้ยาได้แก่ ผื่นคัน จุกแน่นคอ และหายใจหอบถี่
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะมีการรัวซึมของยาเคมีบำบัดชนิดที่ทำให้มีอาการปวด เนื้อเยื่ออักเสบเป็นแผลพุพองบริเวณที่ฉีดยา ทำให้เกิดเนื้อตาย (Extravasation of vesicant drugs)โดยสังกตอาการบวม แดง การรั่วซึม อาการเจ็บและการอักเสบบริเวณให้ยาเคมีบำบัดทุก 30 นาที เมื่อมีอาการวัวซึมของยาต้องหยุดให้ยาทันทีแล้วพยายามดูดเอายาหรือเลือดออกมาเท่าที่จะทำได้ หากเป็นยากลุ่ม Plant alkalold รั่วซึม ให้ประคบน้ำอุ่น 15-20 นาที วันละ 4 ครั้ง
เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หากเป็นยากลุ่ม Anthaoyglhe รั่วซึม ให้ประคบเย็น 15-20 นาที
ทุก 3-4 ชั่วโมงเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงไม่ควรใช้ยาทางเส้นเลือดเดิมเกิน 24 ชั่วโมง
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะไขกระดูกถูกกด (Bone marrow depressicn)โดยติดตามผล Lab: WBC, REC และ Platelet count
อาจเกิดแผลในช่องปาก จากผลข้างเคียงของยา แนะนำให้ใช้แปรงขนอ่อนหรือไม้พันสำลีในการทำความสะอาดช่องปาก, บ้วนปากด้วย NSS 4-6 ครั้งต่อวัน
ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับอาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การรู้สึกตัว ภาวะอ่อนเพลีย ชักเกร็งคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ท้องเสีย เป็นต้น
แนะนำผู้ป่วยให้ปัสสาวะทุก 2 ชั่วโมง ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอต่อวัน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ข้อที่ 3
วิตกกังวล เนื่องจากภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลง
S: ผู้ป่วยบอกว่า “กังวล อยากกลับไปพูดได้ มีเสียงเหมือนเดิม”
O:ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด, ผู้ป่วยประกอบอาชีพ ข้าราชการตำรวจ
วัตถุประสงค์
เพื่อคลายความวิตกกังวล
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีความวิตกกังวล หรือวิตกกังวลลดลง
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น ไม่วิตกกังวล
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย ปลอบโยนและให้
กําลังใจเพื่อสร้างสัมพันธภาพและความไว้วางใจ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถามข้อสงสัย ระบายความรู้สึก เพื่อช่วยให้คลายความเครียดที่อยู่
ในใจและ ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงว่าสาเหตุที่มีผลทําให้วิตกกังวล เพื่อจะได้ให้การพยาบาลได้ตรงจุดและช่วยลด ความวิตกกังวลได้มากที่สุด
อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบเกี่ยวกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจและยอมรับการเจ็บป่วยที่เรื้อรัง
วินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังบริเวณลำคอ
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณ Tracheostomy
เกณฑ์การประเมินผล
บริเวณ Tracheostomy ไม่บวมแดง
บริเวณโดยรอบ Tracheostomy สะอาด
S: -
O: ผู้ป่วยมีทางเปิดของผิวหนังบริเวณคอ
กิจกรรมการพยาบาล
ควรใช้ผ้าบางๆ หรือผ้าเช็ดหน้าปิดคอ หรือพันคอไว้ เมื่อออกจากบ้าเพื่อป้องกันแมลง ฝุ่นละออง เศษอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าท่อหลอดลมคอ และควรหลีกเลี่ยงการใช้แป้งฝุ่น
ควรดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกประเภท รวมทั้งผักและผลไม้ (ครบ 5 หมู่)
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือชุมชนที่แออัด มีฝุ่นละออง ควัน สารเคมี มลพิษ ที่ซึ่งมีอากาศเย็น หรือแห้งจัด ควรดูแลร่างกายให้อบอุ่น หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว ควรอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอทุกวัน หรือเล่นกีฬาเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 - 8 ชั่วโมง อย่าอดนอน พยายามอยู่ห่างจากผู้ที่ไม่สบาย
ควรแปรงฟันหรือกลั้วคอ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร และพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสภาพฟัน และรับการรักษาทุก 6เดือน เนื่องจากการที่มีสุขภาพฟันที่ไม่ดีเช่น มีฟันผุ มีคราบหินปูน หรือโรคเหงือก อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคในช่องปาก ทำให้มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อย หรือ เป็นๆ หายๆ
ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำ สระผมได้ตามปกติ แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าหลอดลมคอ งดอาบน้ำด้วยฝักบัว งดการลงสระว่ายน้ำ หรือเล่นน้ำทุกชนิด (เช่นการสาดน้ำกัน) งดอาบน้ำในแม่น้ำลำคลอง และไม่ควรเดินทางทางน้ำ เช่นโดยสารเรือ หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านเวลาฝนตก เพราะถ้าน้ำเข้าหลอดลมคอ จะทำให้สำลักน้ำ เนื่องจากกลั้นหายใจไม่ได้ และอาจเกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิต และ ในเด็กเล็ก ถ้าจะอาบน้ำในอ่าง ควรใส่น้ำแต่น้อย และไม่เอนตัวเด็กลงไปจนน้ำท่วมเข้าหลอดลมคอ เพราะน้ำจะเข้าไปท่วมปอดและเสียชีวิต
ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เพราะท่อหลอดลมคอ และหลอดอาหารแยกกันคนละส่วน จึงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องระมัดระวังไม่ให้อาหาร หรือน้ำกระเด็นหลุดลงไป โดยใช้ผ้าบางๆ ที่อากาศสามารถผ่านได้ มาคลุมปิดปากท่อไว้ ในขณะรับประทานอาหาร ในเด็กเล็กขณะดูดนม ควรผูกผ้ากันเปื้อนไว้ใต้คาง เพื่อป้องกันการไหลของนมลงหลอดลมคอ