Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Cancer Glottis มะเร็งกล่องเสียง - Coggle Diagram
Cancer Glottis
มะเร็งกล่องเสียง
ข้อมูลผู้ป่วย
เพศ ชาย อายุ 63 ปี อาชีพ ข้าราชการตำรวจ
การวินิจฉัยโรค
: CA glottis (มะเร็งกล่องเสียง)
การผ่าตัด
: Total Laryngex with left thyroid
lobe Tommy and LN biopsy เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566
อาการสำคัญ
: มาตามนัดเพื่อให้ยาเคมีบำบัดครั้งที่ 3
ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน
: 3 ปีก่อนมาโรงพยาบาล มีก้อนที่คอ
มารักษาที่โรงพยาบาล ได้ Radiation therapy ครบปี63
3 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล มีไอเป็นเลือด และหายใจไม่สะดวก ทำCT พบ recurrent CA glottis
พยาธิสภาพ
กล่องเสียงจะมี cell พวก Squamous cell carcinoma
เมื่อได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบจนเซลล์
เยื่อบุเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งลุกลามแพร่กระจายจนอุดกล่องเสียง ทำให้หายใจไม่สะดวก หรือลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ได้แก่ หลอดเลือดแดงใหญ่ของลำคอทำให้เกิดเลือดออกมากผิดปกติ หรือกดหลอดอาหาร ทำให้ไม่สามารถกลืนอาหารได้ เป็นต้น หรือเกิดจากการแพร่กระจายจากมะเร็งตำแหน่งอื่น ๆ เช่น จากปอด เต้านม ต่อมลูกหมาก
สาเหตุ
การสูบบุหรี่ การเผาไหม้ของบุรี่สามารถทำให้เกิดสารก่อมะเร็งนอกจากนั้น ควันของบุหรี่จะทำให้ขนกวัดของเยื่อบุกล่องเสียง หยุดการเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวช้าลง มีสารคัดหลั่ง หรือสารระคายเคืองค้างอยู่ ทำให้เยื่อบุของกล่องเสียงหนาตัวขึ้นและเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพเซลล์ ( squamous metaplasia ) กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ พบว่าปัจจัยนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด
ดื่มสุรา แอลกอฮอล์สามารถไปกระตุ้นเยื่อบุของกล่องเสียง เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพเซลล์ กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
การอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุกล่องเสียง เช่น จากคอ หรือ หลอดลมที่อักเสบเรื้อรัง
มลพิษทางอากาศ การสูดดมอากาศที่เป็นพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่น ควัน สารเคมี จากโรงงานอุตสาหกรรม
การติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสสามารถทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงและแบ่งเซลล์ผิดปกติได้ ไวรัสยังสามารถถ่ายทอดยืนทางพันธุกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งในคนรุ่นต่อไปได้ ซึ่งการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV)-16 และ 18 มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเกิดมะเร็งกล่องเสียง
กรณีศึกษา
มีการสูดสมอาการที่เป็นพิษ เช่น ฝุ่น pm2.5
การรักษา
ระยะแรกเริ่ม (ระยะที่ 1 และระยะที่ 2) รักษาโดยการฉายรังสีส่วนการผ่าตัด ตัดกล่องเสียงออกบางส่วนเท่านั้น
ระยะลุกลาม (ระยะที่ 3 และระยะที่ 4) ทำการเจาะคอใส่ท่อหลอดลมคอในรายที่มีการ
อุดกั้นทางเดินหายใจ กลืนลำบากเกิดภาวะขาดสารอาหารต้องผ่าตัดใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง และใช้การผ่าตัดรักษาร่วมกับการฉายรัง บางรายอาจใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยได้รับการรักษา ดังนี้
ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษาครบเมื่อปี 2563
ปี 2566 ทำCT พบ recurrent CA glottis ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด Total Laryngex with left thyroid lobe Tommy and LN biopsy เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และได้รับยาเคมีบำบัด 5-Fluorouracil (1000 mg) IV infusion 800 มิลลิกรัม
การตรวจวินิจฉัย
การซักประวัติ ตรวจร่างกายทางระบบหู คอ จมูก
ตรวจทางรังสีวินิจฉัยและตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางจุลพยาธิวิทยา
การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น เอ็กชเรย์ปอด เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อให้ทราบว่าเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไร หรือมีการแพร่กระจายไปที่ใดบ้าง
กรณีศึกษา
ทำ CT neck (19/09/2023): -Recurrent CA glottis (1.2x1.4x2.2 cm)
T1aN0M0 stage l
อาการและอาการแสดง
เสียงแหบเรื้อรัง ซึ่งหากมะเร็งเกิดที่กล่องเสียง ส่วนสายเสียง จะแสดงอาการนี้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก แต่หากเป็นที่กล่องเสียงส่วนอื่นอาการเสียงแหบที่เกิดขึ้น มักจะแสดงว่ามะเร็งอยู่ในระยะที่ลุกลามแล้ว
หายใจไม่ออก หายใจติดขัด หายใจลำบาก
มีก้อนโตที่คอ (ก้อนมะเร็งที่ลุกลามออกมา หรือต่อมน้ำเหลือง ที่มะเร็งแพร่กระจายมา) อาจมีเพียงก้อนเดียว หรือ หลายๆก้อนได้พร้อมกัน
กลืนอาหารลำบาก กลืนติด กลืนแล้วเจ็บ หรือสำลัก
กรณีศึกษา
มีก้อนโตที่คอ และไม่มีเสียงในการพูด