Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปรียบเทียบทฤษฎีกับกรณีศึกษา, มดลูกหดรัดตัว, ปากมดลูกเปิดขยาย,…
การเปรียบเทียบทฤษฎีกับกรณีศึกษา
การคลอดปกติ Normal labor
ทฤษฎี
อายุครรภ์ครบกำหนด คือ อายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึง 42 สัปดาห์ ถ้าการคลอดเกิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนด (premature labor) แต่ถ้าการคลอดเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์ ถือว่าเป็นการคลอดเกินกำหนด (postterm labor)
ทารกมียอดศีรษะเป็นส่วนนำ (vertex presentation) และขณะศีรษะคลอดออกมาท้ายทอยต้องอยู่ทางด้านหน้าของช่องเชิงกรานหรืออยู่ใต้กระดูกหัวเหน่า (occiput anterior)
ขบวนการคลอดทั้งหมดเป็นไปตามธรรมชาติ (spontaneous labor) ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรือวิธีการพิเศษไดๆ ช่วยในการทำคลอด เช่น การใช้คืม (forceps extraction)
ระยะเวลาดั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริงจนกระทั่งรถคลอดรวมกันไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ เกิดขึ้นในระยะคลอด เช่น การตกเลือดในระยะคลอด รกค้างและมดลูกปลิ้น เป็นต้น
กรณีศึกษา
อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
ทารกมีศีรษะเป็นส่วนนำ
ทารกคลอดทางช่องคลอดโดยไม่มีการใช้เครื่องมือในการช่วย
ระยะเวลาตั้งแต่เจ็บครรภ์จริงจนถึงคลอด 4 ชั่วโมง ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทั้งในระหว่างการคลอดและหลังคลอด ไม่มีภาวะตกเลือด Total blood loss 250 ml.
ระยะของการคลอด
ทฤษฎี
ระยะที่1 ของการคลอดหรือระยะปากมดลูกเปิด (First stage of labor)
เป็นระยะที่ปากมดลูกบางลงและเปิดขยายนับตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริง (onset of true labor) หรือปากมดลูกเริ่มเปิดขยายไปจนถึงปากมดลูกเปิดหมด 10 เซนติเมตร (full dilatation) และบาง 100% (Murray & McKinney, 2010)
1.1 ระยะปากมดลูกเปิดช้า (Latent phase)
นับตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริงจนถึงเปิด 3 เซนติเมตร (Cunningham, Leveno, Bloom, Hauth, Rouse, & Spong, 2010) มดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมอ ทุก 5 นาที ระยะนานสูงสุด 30 - 40 วินาที (Murray & McKinney, 2010)
1.2 ระยะปากมดลูกปิดเร็ว (Active phase)
เป็นระยะที่ปากมดลูกเปิดเร็วขึ้น อยู่ในช่วง 4-7 เซนติเมตรมดลูกจะหดรัดตัว ทุก 2-5 นาที นาน 40-60 วินาที ครรภ์แรกปากมดลูกจะเปิดขยาย 1.2 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ครรภ์หลังจะมีความก้าวหน้าของการคลอดเร็วกว่าครรภ์แรกปากมดลูกเปิดขยาย 1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
1.3 ระยะเปลี่ยนผ่าน (transitional phase)
เป็นระยะที่ปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตรหดรัดตัวทุก 1.5-2 นาที นานครั้งละ 60-90 วินาที
ระยะที่ 2 การคลอดหรือระยะเบ่ง (Second stage of labor)
เป็นระยะที่ทารกถูกขับออกมาภายนอก นับตั้งแต่ปากมดลูกเปิดหมดจนถึงทารกคลอดพ้นออกมาทั้งตัว มดลูกหดรัดตัวทุก 2-3 นาที นานครั้งละ 40-60 วินาที ครรภ์แรก ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ครรภ์หลัง ใช้เวลาประมาณ 1/2-1 ชั่วโมงไม่เกิน 1 ชั่วโมง
ระยะที่ 3 ของการคลอดหรือระยะรก (third stage of labor)
เป็นระยะที่รกถูกขับออกมาภายหลังทารกคลอดแล้ว นับตั้งแต่ทารกคลอดพ้นตัวจนถึงรกและเยื่อหุ้มทารกคลอดครบ โดยครรภ์แรกและครรภ์หลังใช้เวลาเท่ากัน ประมาณ 5-15 นาที ไม่ควรเกิน 30 นาที
ระยะที่ 4 ของการคลอด (fourth stage of labor)
เป็นระยะตั้งแต่รกคลอดครบไปจนถึง2 ชั่วโมงหลังรกคลอดครบ
องค์ประกอบการคลอด
แรงผลักดันในการคลอด (power)
1.1 แรงจากการหดรัดตัวของมดลูก (uterine contraction)
1.1.1 ระยะเวลาของการหดรัดตัวของมดลูก (duration) หมายถึง ระยะตั้งแต่มดลูกเริ่มหดรัดตัวไปจนถึงมดลูกเริ่มคลายตัว ระยะ latent phase จะหดรัดตัวนาน 20-30 วินาที active phase จะหดรัดตัวนานขึ้นเป็น 45-60 วินาที
1.1.2 ระยะห่างของการหดรัดตัวของมดลูก (interval) หมายถึง ระยะที่มดลูกเริ่มหดรัดตัวไปจนถึงมดลูกหดรัดตัวครั้งต่อไป ในระยะ latent phase มดลูกจะหดรัดตัวทุก 5-10 นาที ระยะ active phase มดลูกจะหดรัดตัวทุก 2-3 นาที และหดรัดตัวถี่ในลักษณะนี้ต่อเนื่อง
1.1.3 ความแรงของการหดรัดตัวของมดลูก (intensity)
ในระยะ latent phaseความแรงในการหดรัดตัวของมดลูกจะน้อย ระยะเริ่มต้นของ active phase มดลูกจะหดรัดตัวแรงปานกลาง มื่อเข้าสู่ปลายระยะที่หนึ่งจนถึงระยะที่สองของการคลอด มดลูกจะหดรัดตัวแรงมาก
1.1.4 ระยะพัก (resting period) หมายถึงช่วงเวลาที่มดลูกคลายตัวจนถึงมดลูกหดรัดตัวครั้งต่อไป ในระยะ latent phase ระยะพักจะนานมากกว่า 2 นาที เมื่อเข้าสู่ระยะ active phase ระยะพักจะอยู่ระหว่าง 1 ถึง 2 นาที
1.1.5 ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนครั้งของการหดรัดตัวของมดลูกในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น มดลูกหดรัดตัว 1 ครั้งใน 10 นาที
1.2 แรงเบ่งของผู้คลอด (bearing down effort or secondary power or maternal voluntary pushing effort) มักเกิดในระยะที่สองของการคลอด เนื่องจากส่วนนำของทารกเคลื่อนต่ำลงไปกดบริเวณพื้นเชิงกรานและทวารหนักทำให้ผู้คลอดรู้สึกอยากเบ่ง แรงนี้มีความสำคัญเพราะจะทำให้แรงดันภายในโพรงมดลูกเพิ่มขึ้นจากแรงหดรัดตัวของมดลูกเพียงอย่างเดียวถึง 3 เท่าส่งผลให้ทารกเคลื่อนต่ำและคลอดออกมา
ช่องทางคลอด (passage)
2.1 ช่องเชิงกราน (bony passage or hard part)
ความแข็งและยึดขยายได้น้อย หากช่องเชิงกรานมีขนาด หรือมีรูปร่างผิดปกติไม่ได้สัดส่วนกับทารกจะเป็นสาเหตุให้การคลอดล่าช้าหรือหยุดชะงักได้ ส่วนของช่องเชิงกรานที่มีความสำคัญต่อกระบวนการคลอดคือ true pelvic
2.1.1 ช่องเข้าเชิงกราน (pelvic inlet)
จะมีลักษณะรูปรีตามขวาง ส้นผ่าศูนย์กลางที่กว้างที่สุดอยู่ในแนวขวาง (transverse diameter) ซึ่งจะยาวประมาณ 12.5-13.5 เซนติเมตร ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางตามแนวหน้าหลัง (antero-posterior diameter) ยาวประมาณ 10เซนติเมตร หากช่องทางเข้าเชิงกรานมีรูปร่าง หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางผิดปกติ จะทำให้ทารกไม่สามารถ ผ่านเข้าสู่ช่องทางเข้าเชิงกรานได้ (unengagement) จะส่งผลให้เกิดการคลอดติดขัด
2.1.2 ช่องเชิงกรานส่วนกลาง (pelvic cavity หรือ mid pelvis) มีลักษณะเป็นท่อโค้งเกือบจะเป็นทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่สำคัญคือ เส้นผ่าศูนย์กลางในแนวขวาง (transverse diameter หรือ interspinouse diameter) โดยปกติจะยาวประมาณ 10 เซนติเมตรหรือมากกว่าเล็กน้อยแต่หากคลำพบ ischial spines ทั้ง 2 ข้างชัดเจนและยื่นแหลมออกมามาก แสดงว่า diameter อาจ น้อยกว่า 10 เซนติเมตร มีผลให้ศีรษะทารกเคลื่อนผ่านช้าหรือไม่ได้เลย นอกจากนี้อาจขัดขางการหมุนของศีรษะทารกภายในช่องเชิงกรานด้วย
2.1.3 ช่องออกเชิงกราน (pelvic outlet) มีรูปร่างรีตามยาวหน้า-หลัง ขอบเขตด้านหน้าเป็นขอบล่างของกระดูกหัวหน่าว (subpubic arch) ด้านหลังจรดปลายกระดูกก้นกบ ด้านข้างเป็น ischial tuberosity มีเส้นผ่าศูนย์กลางตามแนวหน้าหลังยาวที่สุด คือ ประมาณ 11.5 เซนติเมตร ซึ่ง pelvic outlet สามารถยึดขยายหรือเปลี่ยนรูปร่างได้บ้างเล็กน้อย โดยในระยะคลอดกระดูก coccyx จะเอนไปด้านหลังเล็กน้อย ทำให้ diameter กว้างขึ้นอีกประมาณ 1-2 เซนติเมตร แต่หากตรวจพบว่า subpubic arch น้อยกว่า 85 องศาอาจทำให้เกิดการคลอดติดขัดได้
2.2 ช่องทางคลอดที่ยืดขยายได้ (soft passage or soft part) คือ ช่องทางคลอดที่เป็นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ สามารถยึดขยายหรือตัดให้ขาดได้ ประกอบด้วย ปากมดลูก ช่องคลอด กล้ามเนื้อ พื้นเชิงกราน ปากช่องคลอด และฝีเย็บ หาก soft passage มีความผิดปกติ เช่น มีรอยแผลเป็นจากการอักเสบหรือจากการผ่าตัด ช่องคลอดมีเยื่อกั้น เนื้องอกของมดลูก ปากมดลูกแข็งหรือบวม จะส่งผลให้การยึดขยายของ soft passage ไม่ดี ทำให้การก้มและการเงยของศีรษะทารกไม่เป็นไปตามปกติอาจทำให้เกิดการคลอดล่าช้า หรือการคลอดยากได้
สิ่งที่คลอดออกมา (Passenger)
3.1 ทารก การคลอดจะดำเนินไปตามปกติได้ทารกจะต้องมีรูปร่าง ขนาด และลักษณะ ที่เหมาะสมกับช่องทางคลอด คือ ทารกต้องไม่มีขนาดโตจนเกินไป รูปร่างปกติไม่มีความพิการ ลำตัวอยู่ในแนวยาว มีศีรษะเป็นส่วนนำ อยู่ในทรงก้มและท่าปกติ และต้องมีการปรับสภาพให้เหมาะสม กับช่องเชิงกรานตามกลไกการคลอดปกติ
3.2 รกและเยื่อหุ้มทารก การคลอดจะสามารถดำเนินไปตามปกติได้รกจะต้องอยู่ในตำแหน่ง ที่ไม่ขวางช่องทางคลอด ผู้คลอดที่มีภาวะรถเกาะต่ำ (placenta previa) รกมีขนาดใหญ่ผิดปกติ หรือรกผังตัวแน่นผิดปกติ อาจทำให้ระยะเวลาและความก้าวหน้าของกระบวนการคลอดผิดปกติได้
3.3 น้ำคร่ำ การคลอดจะสามารถดำเนินไปตามปกติได้ น้ำคร่ำจะต้องมีปริมาณที่เหมาะสม มีสีใส หรือสีขาวขุ่นเหมือนน้ำมะพร้าว ไม่มีกลิ่น ไม่มีชี้เทาปนในน้ำคร่ำ (meconium stained)ในกรณีที่ทารกมีศีรษะเป็นส่วนนำแต่พบว่าน้ำคร่ำมีีขี้เทาปน แสดงถึงภาวะที่ทารกอาจขาดออกซิเจน
สรีรวิทยาหณิงตั้งครรภ์ระยะคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะที่หนึ่งของการคลอด
การเปลี่ยนแปลงของมดลูก
1.1 การหดรัดตัวของมดลูก
1.1.1 ระยะเวลาที่มดลูกหดรัดตัว (duration)
ระยะปากมดลูกเปิดช้า duration อาจนาน 20-30 วินาที และปลายระยะปากมดลูกเปิดช้ามดลูกจะหดรัดตัวนาน 30-45 วินาทีส่วนในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว duration ควรนาน 45-60 วินาทีและจะนานขึ้นจนถึงระยะที่สอง โดยจะนานถึง 60-70 วินาที แต่ต้องไม่นานเกิน 90 วินาที
1.1.2 ระยะห่างของการหดรัดตัว (interval)
นับตั้งแต่มดลูกเริ่มหดรัดตัวครั้งแรกจนถึงเริ่มมีการหดรัดตัวครั้งที่ 2 ในระยะ latent phase interval อาจนาน 3-5 นาที ส่วนในระยะ active phase interval ควรนาน 2-3 นาที
1.1.3 ความแรงของการหดรัดตัว (intensity) ประเมินได้จากความแข็งของมดลูกในช่วงหดรัดตัว มี 3 ระดับ คือ 1) mild (ระดับน้อย) เมื่อจับจะรู้สึกคล้ายจับแก้ม 2) moderate (ระดับกลาง) คล้ายการกดที่คาง 3) strong (ระดับมาก) คล้ายการกดที่หน้าผาก
1.1.4 ระยะพัก (resting period) คือช่วงเวลาของ interval ลบด้วย duration ในช่วงระยะเฉื่อยจะใช้เวลานาน พอเข้าระยะเร่ง ระยะพักจะสั้นลง มดลูกที่อยู่ในระยะพักจะพบว่ามดลูกยังคงมีแรงดันอยู่เล็กน้อย เนื่องจากแรงดึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูกตามปกติ
1.1.5 ความถี่ของการหดรัดตัว (frequency) คือ จำนวนครั้งของการหดรัดตัวของมดลูกใน 10 นาที เช่น ถ้าพบว่ามีการหดรัดตัว 3 ครั้งเรียกว่ามี frequency -3 ครั้งใน 10 นาที
กรณีศึกษา
การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
2.1 การบางตัวของปากมดลูก (effacement)
2.2 การถ่างขยายของปากมดลูก (dilatation) การถ่างขยายของปากมดลูก หมายถึงการเปิดกว้างขึ้นของปากมดลูกด้านนอก (external os) จนกระทั่งกว้างพอที่ส่วนที่กว้างที่สุดของส่วนนำสามารถผ่านได้
2.3 การปรากฏของมูกหรือมูกเลือด (mucous or mucous bloody show
การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับเอ็นที่ยึดมดลูก
3.2 การหดรัดตัวของ utero-sacral ligament (sacro-cervical ligament) และ cardinal ligament (transverse cervical ligament) จะช่วยยึดบริเวณคอมดลูกทางด้านหลังและด้านไม่ให้ถูกดึงยึดตามใยกล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่าง
Round ligament หดรัดตัว
ยอดมดลูกถูกดึงให้กระดกมาด้านหน้า
ความยาวของโพรงมดลูกอยู่ในแนวเดียวกับช่องเชิงกราน
ศีรษะทารกเคลื่อนต่ำ
มดลูกหดรัดตัว
ทารกเคลื่อนเข้าสู่ช่องเชิงกราน
การเปลี่ยนแปลงภายในถุงน้ำคร่ำ
hydrostatic pressure กดลงบนทุกจุดในโพรงมดลูกรวมทั้งบนตัวทารกด้วย ซึ่งน้ำคร่ำจะช่วยไม่ให้แรงดันนี้กดลงบนตัวทารกโดยตรงน้ำคร่ำจะพาให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมาตามกระแสของน้ำที่ไหลจากมดลูกส่วนบนลงสู่มดลูกส่วนล่าง ประกอบกับทารกยังถูกแรงดันจากยอดมดลูก โดยผ่านแรงจากก้นของทารถลงมาตามแนวกระดูกสันหลัง เรียกแรงนี้ว่า fetal axis pressure ทำให้ส่วนน้ำของทารกเคลื่อนลงมากดกับส่วนล่างของมดลูกและปากมดลูก
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์
5.1 การเปลี่ยนแปลงของศีรษะทารก
5.1.1 การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของศีรษะทารก
5.1.2 การเปลี่ยนแปลงของหนังหุ้มกะโหลกศีรษะ (caput succedaneum)
5.1.3 การก้มของศีรษะทารก
5.2 การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรูปร่างและลำตัว
มดลูกหดรัดตัว
มีแรงดันไปกระทำต่อน้ำคร่ำ
ทุกจุดในโพรงมดลูก
ทารกได้รับแรงดันผ่านน้ำคร่ำ
ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ทารกถูกผลักให้เหยียดตรงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของมารดา
6.1 การเปลี่ยนแปลงในระบบไหลเวียนโลหิต
6.2 ระบบหายใจ
6.3 ระบบทางเดินอาหาร
6.4 ระบบโลหิต
6.5 ระบบทางเดินปัสสาวะ
6.6 ระบบการเผาผลาญและระบบต่อมไร้ท่อ
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะที่สองของการคลอด
การหดรัดตัวของมดลูก
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลม
การเคลื่อนขยายของพื้นเชิงกราน
การขับดันทารกผ่านช่องทางคลอด
4.1 Stage of descent เป็นระยะที่ทารกเคลื่อนต่ำลงมา นับเวลาตั้งแต่ปากมดลูกเปิดหมดจนถึงศีรษะทารกเคลื่อนลงมาปรากฏที่ฝีเย็บซึ่งในครรภ์แรกจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีส่วนครรภ์หลังจะขึ้นอยู่กับแรงจากการหดรัดตัวของมดลูก แรงเบ่งของผู้คลอด และแรงต้านที่ฝีเย็บแต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที
4.2 Stage of perineum ระยะนี้นับต่อจาก stage of descent คือตั้งแต่ศีรษะทารกปรากฏที่ฝีเย็บจนกระทั่งศีรษะคลอดออกมา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที และไม่ควรนานเกิน 45 นาทีหากศีรษะทารกกดที่ฝีเย็บเป็นเวลานาน จะทำให้ฝีเย็บบวม ยืดขยายได้ยากและเกิดการฉีกขาดมาก
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะที่สามของการคลอด
ปัจจัยที่ทำให้รกลอกตัว
อาการแสดงของรกลอกตัว
2.1 Uterine sign
2.2 Cord sign
2.3 Vulva sign
ชนิดของการลอกตัวของรก
3.1 Schulze's method
3.2 Matthews Duncan's method
การขับดันรกออกจากโพรงมดลูก (placental expulsion)
การเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบต่างๆ ด้านร่างกายในระยะคลอด
ระบบไหลเวียนโลหิต (cardiovascular system)
1.1 Cardiac output
1.2 ชีพจรโดยปกติจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของชีพจร หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ขณะที่มดลูกหดรัดตัว คือ ระยะ increment ชีพจรจะลดลง ระยะ acme และ decrement ชีพจรจะเพิ่มชั้นกว่าระยะพัก อัตราการเต้นของหัวใจอาจเพิ่มขึ้นจากค่าปกติประมาณ 10-15 ครั้งต่อนาที
1.3 ความดันโลหิต ในระยะที่หนึ่งของการคลอด ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก ความคัด Systolic จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10-20 มิลลิเมตรปรอท และความดัน diastolic เพิ่มขึ้นประมาณ 5- 10 มิลลิเมตร แต่เมื่อกลับสู่ระยะพัก ความดันโลหิตจะกลับสู่ภาวะปกติเท่ากับระยะก่อนคลอดเมื่อเข้าสู่ระยะที่สองของการคลอด ขณะที่ผู้คลอดเบ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นมากได้ถึง 55 มิลลิเมตรปรอท แต่การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นน้อยมากในระบบหลอดเลือดส่วนปลาย ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของเลือดที่ออกจากหัวใจในระยะเวลาอันสั้นในขณะมดลูกหดรัดตัว
1.4 ปริมาณเลือดและองค์ประกอบของเลือด ในระยะคลอดมีการเปลี่ยนแปลงของเลือด คือ hemoglobin จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 gm% เนื่องจากเลือดมีความเข้มข้น ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ erythropoiesis เนื่องจากภาวะเครียด กล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัวเป็นระยะ ๆและจากภาวะขาดน้ำ (dehydration) จำนวนเม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขึ้นในระยะคลอดและระยะหลังคลอด ทันที ซึ่งอาจมากถึง 25,000-30,000 /ลูกบาศก์มิลลิเมตร เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ neutrophil และอาจเกิดจากผลกระทบของภาวะเครียด
ระบบหายใจ (respiratory system)
2.1 ภาวะ maternal acidosis
2.2 ภาวะ maternal alkalosis
ระบบทางเดินปัสสาวะ (renal system)
ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal system)
ระบบเผาผลาญ (metabolism)
ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system)
มดลูกหดรัดตัว
ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นในระบบไหลเวียนโลหิต
cardiac output เพิ่มขึ้น
ขณะเบ่ง
ความรู้สึกเจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์ ความวิตกกังวล
ปากมดลูกเปิดขยาย
มูกที่ปิดอยู่หลุด
Mucous show
เส้นเลือฝอยแตก
Mucous bloody show
มดลูกหดรัดตัว
มดลูกคลายตัว
ใยกล้ามเนื้อจะมีขนาดสั้นลง
brachystasis
พื้นที่ของมดลูกส่วนบนลดขนาดลง
ทารกมีการเคลื่อนต่ำลง
มดลูกคลายตัว
กล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างจะยืดยาว
mechystasis
เกิดรอยต่อระหว่างมดลูกส่วนบน
และมดลูกส่วนล่าง
physiological retraction ring หรือ Braun's ring
กล้ามเนื้อมดลูกส่วนบนหดรัดตัว
เส้นใยมดลูกมีขนาดสั้นลง
มดลูกส่วนล่างมีการยืดขยาย
ปากมดลูกบริเวณ internal os
ถูกดึงให้ยืดขยาย
ความหนาของปากมดลูกลดลง
ทารกเคลื่อนต่ำ
ศีรษะแนบกับหนทางคลอด
moulding
เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของศีรษะ
ศีรษะทารกกดกับปากมดลูก
เลือดที่มาเลี้ยงบริเวณหนังหุ้มกะโหลกศีรษะ
ไหลกลับไม่สะดวก
caput succedaneum
มดลูกหดรัดตัว
ทารกเหยียดลำตัวยาว
ยอดมดลูกจะกดลงบน
ส่วนของกันทารก
ผ่านข้อต่อ occipito-vertebral
เกิดการก้มศีรษะของทารก
มดลูกหดรัดตัวต่อเนื่อง
ช่องคลอดยืดขยาย
เกิด Ferguson reflex
มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น
ส่วนนำเคลื่อนต่ำมากดปมประสาทที่ปากมดลูก
และบริเวณช่องคลอด
กล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลม
หดรัดตัว
เกิดแรงดันในช่องท้อง
และแรงดันในโพรงมดลูก
bearing down
ช่วยขับดันทารกให้ผ่าน
ช่องทางคลอดออกมาได้
มดลูกหดรัดตัว
เกิด shearing force
ระหว่างรกกับผนังมดลูก
รกลอกตัว
Spongiosa ฉีกขาด
Retroplacental blood clot
เซาะแทรกชั้น decidua
มดลูกจะเปลี่ยนรูปร่าง
ลอยอยู่สูงกว่าระดับสะดือเล็กน้อย
และค่อนไปทางขวา
คลำส่วนยอดมดลูกทางหน้าท้องมารดา
ได้ลักษณะกลมแข็งสูงกว่าระดับสะดือ
ทารกคลอด
มดลูกส่วนล่างและผนังช่องคลอด
ยุบลง
มดลูกส่วนบนเคลื่อนต่ำ
มดลูกมีรูปร่าง discoid shape
รกลอกตัว
มดลูกส่วนล่างหรือผนังช่องคลอดโป่ง
มดลูกส่วนบนลอยสูงขึ้นจากเดิมและเอียงไปทางขวา
รกคลอด
มดลูกหดรัดตัวแข็งและเล็กกว่าเดิม
ยอดมดลูกอยู่ต่ำกว่าระดับสะดือ
สายสะดือเหี่ยว
เกลียวคลาย
คลำชีพจรไม่ได้
สายสะดือเลื่อนต่ำลงมาจาก
ตำแหน่งเดิมประมาณ 8-10 เซนติเมตร
เริ่มลอกที่ตรงกลางของรก
มี retroplacental clot คั่ง
ช่วยเซาะให้รกลอกตัวได้เร็วขึ้น
เริ่มลอกที่ริมรก
เลือดที่ออกจากบริเวณที่รกลอกตัวจึงเซาะชั้น spongiosa
ลอกตัวจึงช้ากว่าแบบ Schultze's method
เพราะไม่มี retroplacental clot ช่วยเซาะ
เสียเลือดภายหลังคลอดมากกว่า
นอนหงายนาน ๆ
มดลูกกดทับ inferior vena cava
Cardiac output ลดลง
มดลูกหดรัดตัวถี่ หดรัดตัวนาน หรือหดรัดตัวแรง
ขาดออกซิเจนในกล้ามเนื้อมดลูก
คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง
metabolic acidosis
หายใจเร็วในระหว่างที่มดลูกหดรัดตัว
คาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายลดลง
hyperventilation
ชาตามปลายมือปลายเท้าและวิงเวียนศีรษะ
cardiac output เพิ่มขึ้น
อัตราการกรองเพิ่มขึ้น
ปัสสาวะมาก
ความกลัว
กระเพาะอาหารและลำไส้มีการบีบตัวลดลง
แก๊สและน้ำย่อยมากขึ้น
gastric acidosis
เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด
ภาวะปอดบวมขณะสำลักในรายที่ได้รับยาสลบ
ความวิตกกังวล
ความเจ็บปวด
การได้รับยาแก้ปวดชนิดสารเสพติด
ฮอร์โมน estradiol
collagen จะถูกย่อยสลาย
และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
ปากมดลูกในระยะคลอด
มีความอ่อนนุ่มและบางลง
ฮอร์โมน prostaglandin
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland)
กระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน oxytocin
เกิดการหดรัดตัวของมดลูก
ลดการตกเลือดในระยะหลังคลอด
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary gland)
กระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน prolactin
กระตุ้นต่อมน้ำนมให้มีการผลิตน้ำนมในระยะหลังคลอด
ผู้คลอดมีความเครียด
มีการเกร็งของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อลายมากขึ้น
มีการเผาผลาญน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย ชีพจรเร็วขึ้น การหายใจเพิ่มขึ้น และอาจมีภาวะขาดน้ำได้
มคลูกมีการหดรัดตัว
เส้นเลือดถูกบีบรัด
เลือดไม่สามารถเข้าไปในมดลูกได้
เลือดส่วนนี้ประมาณ 300-500 มิลลิลิตร
กระจายไปอยู่ในเส้นเลือดส่วนอื่นทั่วร่างกาย
systolic และ diastolic
ขณะมดลูกหดรัดตัวเพิ่มสูงขึ้น
ทารกเคลื่อนต่ำ
กดเบียดให้ช่องคลอด
ช่องคลอดเปิดขยาย
ผนังช่องคลอดส่วนบนและพื้นเชิงกรานส่วนบน
(anterior segment of pelvic floor) ถูกดึงรั้งขึ้นด้านบน
ผนังช่องคลอดและพื้นเชิงกรานส่วนล่าง
(posterior segment of pelvic floor) ถูกดึงรั้งลงด้านล่าง
ส่วนนำเคลื่อนลงมากดทวารหนัก
รูทวารหนักจะยื่นโป่งออกมาและเปิดขยายกว้าง
ศีรษะเคลื่อนต่ำลงมามากขึ้น
ฝีเย็บโป่งตึงและบาง
ศีรษะทารกโผล่ออกมาให้เห็นทางช่องทางคลอด
การหดรัดตัวของมดลูก
อัตราการเผาผลาญสูงขึ้น
ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
การใช้ insuin ลดลง
อุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มขึ้นในระยะคลอดแต่
จะไม่เกิน 0.5-1 องศาเซลเซียส
การใช้พลังงานในการเบ่งคลอด
cardiac output สูงขึ้น
อัตราการกรองเพิ่มขึ้น
ปัสสาวะบ่อยขึ้น
Fibrinogen เพิ่มในระยะรอคลอด
เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขึ้น
ในระยะที่หนึ่งของการคลอด ประมาณ 5,000 cell
ปริมาณเม็ดเลือดขาวทั้งหมดอยู่ที่ 15,000 cell เมื่อปากมดลูกเปิดหมด
การทำงานของลำไส้ลดลง
การดูดซีมสารอาหารลดลง
การหลั่งของ gastric juice ลดลง
อาหารคงค้างอยู่ใน
กระเพาะอาหารนาน
มีโอกาสเกิดการสำลัก (aspiration)
ได้ง่ายถ้ามีการใช้ยาสลบ
การหดรัดตัวของมดลูก
การใช้ออกซิเจนจะเพิ่มขึ้น
อัตราการหายใจเร็วขึ้น
มดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้น
การหายใจเร็วตื้น
hyperventlation
ทำให้มี CO2 ในเลือดต่ำ
เกิดภาวะ respiratoy alkalosis
วันที่ 23/04/67 10.35น. I = 5-10’ D = 45” Cervix dilation 2 cm. Effacement 100% station 0 MI Position LOA Fetal heart sound 150
วันที่ 23/04/67 13.00 น. I = 5’ D = 45” Cervix dilation 7 cm. Effacement 80% station 0 MI Position LOA Fetal heart sound 140
วันที่ 23/04/67 13.50 น. I = 3’ D = 50” Cervix dilation 8 cm. Effacement 100% station 0 MI Position LOA Fetal heart sound 128
วันที่ 23/04/67 14.00 น. I = 2-3’ D = 50” Cervix dilation 10 cm. Effacement 100% station 0 MI Position LOA Fetal heart sound 110
กรณีศึกษา
ตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร จนกระทั่งทารกคลอดใช้เวลา 22 นาที ซึ่งไม่เกิน 1 ชั่วโมง Child born date 23 เมษายน 2567 เวลา 14.22 น.
ตั้งแต่ทารกคลอดออกมาทั้งหมดจนกระทั่งรกและเยื่อหุ้มทารกคลอดใช้เวลา 13 นาที ซึ่งไม่เกิน 30 นาที Placenta delivery date 23 เมษายน 2567 เวลา 14.35 น.
สัญญาญชีพมารดาหลังคลอด เวลา 16.30 อุณหภูมิ 37.5 องศาเซลเซียส อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที
ชีพจร 84 ครั้ง/นาทีความดันโลหิต 110/66 มิลลิเมตรปรอท มดลูกหดรัดตัวดี ไม่มีการตกเลือดหลังคลอด
กรณีศึกษา
กรณีศึกษา
วันที่ 23/04/67 14.00 น. I = 2-3’ D = 50” Cervix dilation 10 cm. Effacement 100% station 0 MI Position LOA Fetal heart sound 110
กรณีศึกษา
กรณีศึกษา
แรกรับมี mucous bloody show
กรณีศึกษา
ทารกไม่มี caput succedaneum
กรณีศึกษา
Uterine sign: มดลูกกลมแข็ง อยู่ใต้สะดือเล็กน้อย
Cord sign: สายสะดือเหี่ยวเกลียวคลาย
Valva sign: รกลอกตัวแบบ schulze’s medthod
กรณีศึกษา
กรณีศึกษา
ไม่มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้าและวิงเวียนศีรษะ
กรณีศึกษา
ปัสสาวะ 3-4 ครั้ง
กรณีศึกษา
กรณีศึกษา