Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา หญิงไทยอายุ 83 ปี เตียง 6 DX:AGE c sepsis c pleural effusion …
กรณีศึกษา
หญิงไทยอายุ 83 ปี เตียง 6
DX:AGE c sepsis c pleural effusion
U/D: HT DLP CKD 3
ความดันโลหิตสูง
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพ
เชิงทฤษฎี
เกิดการรบกวนการควบคุมภาวะสมดุลเกลือแร่และน้ำของไต โดยเฉพาะความผิดปกติ
ของระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (renin-angiotensin system) การกระตุ้นระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (renin-angitensin ysten) จากการตอบสนองของไตเนื่องจากการมีปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง ไตจึงหลั่งสารเรนินเพิ่มขึ้น สารเรนินจะส่งผลทำให้แองจิโอเทนซิโนเจน (angiotensinogen) จากตับเปลี่ยนไปเป็นแองจิโอเทนซินวัน (angiotensin 1) และแองจิโอเทนซินทู (angiotensin I) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดเกิดการหดตัว เกิดแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้หลอดเลือดดำหดตัวทำให้ปริมาณ โลหิตที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณโลหิตที่จะถูกส่งออกจากหัวใจ ต่อ นาที เพิ่มขึ้น ความดันโลหิตจึงเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นแองจิโอเทนซินทู (angiotensin II) ยังสามารถกระตุ้นต่อมหมวกไตให้มีการหลั่งสารอัลโดสเตอโรน (aldosterone) ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาสมดุลของเกลือแร่และน้ำใน ร่างกาย โดยจะกระตุ้นการดูดกลับของน้ำและโซเดียมในไต ส่งผลให้เกิดการคั่งของน้ำในหลอดเลือดความดันโลหิตจึงเพิ่ม
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นhypertension,Chronic kidney disease stage 3จากการตอบสนองของไตเนื่องจากการมีปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง ไตจึงหลั่งสารเรนินเพิ่มขึ้น สารเรนินจะส่งผลทำให้แองจิโอเทนซิโนเจน (angiotensinogen) จากตับเปลี่ยนไปเป็นแองจิโอเทนซินวัน (angiotensin 1) และแองจิโอเทนซินทู (angiotensin I) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดเกิดการหดตัว เกิดแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้น BP:141/79 mmHg (11/04/67)
สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง
เชิงทฤษฎี
.โรคความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) ความดันโลหิตสูงชนิดนี้ พบจำนวนน้อยและสามารถรักษาให้หายขาดได้ มักเกิดจากสาเหตุการได้รับยา หรือฮอร์โมนบางชนิด และโรคต่างๆ ที่พบได้บ่อย คือ โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ และความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่
กรณีศึกษา
เกิดจากวัยผู้สูงอายุุ(ผู้ป่วยอายุ83ปี) BMI แรกรับ 24.5 เริ่มอ้วน
โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Primary Hypertension or Essentialon ) โดยมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องเช่น กรรมพันธุ์ การรับประทานเกลือมาก โรคอ้วน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และขาดการออกกำลังกาย โรคความต้นโลหิตสูงชนิดนี้ มักถึงวัยสูงอายุ และมักมีประวัติทางครอบครัว หรือกรรมพันธุ์ เช่น มีพ่อแม่พี่น้อง หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้อยู่มักเป็นกับคนอ้วน
อาการ
เชิงทฤษฎี
-อาการอื่นๆ ที่อาจพบ ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ใจสั่น -อาจชัก หมดสติ เป็นอัมพาต และอาจเสียชีวิตได้
-เลือดกาเดาไหล เป็นอาการที่พบไม่บ่อย ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
-ตาพร่ามัว
-ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะจากโรคความดันโลหิตสูงพบได้ไม่บ่อยนัก
-ปวดศีรษะแบบไมเกรน (migraine) หรือปวดศีรษะข้างเดียว อาการปวดศีรษะแบบไมเกรนกับโรคความดันโลหิตสูง
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ
การรักษา
เชิงทฤษฎี
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น
1.การควบคุมน้ำหนัก
2.การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.การลดอาหารเค็ม
4.เลิกสูบบุหรี่ แอลกอฮอลล์
การรักษาโดยใช้ยา
-ยาในกลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha-blockers) ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและขยายหลอดเลือดเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้อย่างสะดวก เช่น ด็อกซาโซซิน (Doxazosin)และยาพราโซซิน(Prazosin)
-ยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium Channel Blockers) เป็นยาที่ช่วยหลอดเลือดคลายตัวเช่น ยาแฮมโลดิปืน (Amlodipine) และยาติลไทอะเซม(Diltiazem)
-ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Centrally Acting Agents) เพื่อช่วยระงับสารสื่อประสาทที่ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ซึ่งจะลดความดันโลหิตลง เช่น ยาโคลนิดีน (Clonidineclonidine ) และเมทิลโดปา(Methyldopa)
-ยาในกลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (Angiotensin-ConvertingEnzyme Inhibitors: ACE Inhibitors) เป็นยาที่ช่วยยับยั้งการทำงานของแองจิโอเทนซิน 2 (Angiotensin II) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบต้นและเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น
-ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) เป็นยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า รีเซ็ปตอร์ที่ทำให้หัวใจเต้นช้าและมีแรงต้านน้อยลง ส่งผลให้หัวใจบีบตัวในการส่งเลือดน้อยลง จึงช่วยในการลดความดันโลหิตลงได้
-ยาขับปัสสาวะ Diuretics เป็นยาที่ส่งผลต่อการท่างานของไต โดยจะช่วยขับโซเดียมส่วนเกินและนำออกจากร่างกาย รวมไปถึงลดความดันโลหิตลง
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยงดน้ำงดอาหาร ได้รับยาbaclofen
ภาวะแทรกซ้อน
เชิงทฤษฎี หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด CVA โรคเมตาบอลิก หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงาน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 6.พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากการเคลื่อนไหวตัวน้อยลง
S:ผู้ป่วยมีอ่อนเพลีย ลงจากเตียงไม่ได้
0: motor power grade 5 แขน motor power grade 1 ขาทั้ง2ข้าง
กิจกรรมการพยาบาล
1ดูแลผู้ป่วยบนเตียง ช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน
2.ดูแลเรื่องโภชนาการของผู้ป่วยให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
3.ดูแลกิจวัตรประวันของผู้ป่วยเช่นการทำ complete bed bath เพื่อให้ร่างกายสะอาดและลดการหมักหมมของเชื้อโรค
4.จัดสภาพแวดล้อมรอบเตียงให้สะอาดเพื่อให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้อย่างสบาย
5.ยกไม้กั้นเตียงทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วย
6.ดูแลแบบแผนการขับถ่ายของผู้ป่วย สอนวิธีการควบคุมการขับถ่ายทั้ง ถ่ายปัสสาวะและ อุจจาระแนะนำญาติให้ดูแลความสะอาด ความสุขสบายหลังผู้ป่วยขับถ่าย ควรจัดหากระโถนไว้ใกล้ผู้ป่วย
7.ดูแลแบบแผนการคิดและการคัดสินใจ ของผู้ป่วยและญาติ โดยพูดคุยกระตุ้นให้ผู้ป่วย และญาติได้คิดและ ตัดสินใจในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน
8.ประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยใช้เครื่องมือ Bathel ADL Index เพื่อประเมินความสามารถในการทำ กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และจัดการพยาบาลอย่างเหมาะสม
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นChronic kidney disease stage 3
Chronic kidney disease stage 3 โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3
ความหมาย
ภาวะที่ไตทำงานได้ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติ (estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) หรือไตมีภาวะผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทางรังสีวิทยา เป็นต้น ในระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
ภาวะแทรกซ้อน
กรณ๊ศึกษา
ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง คือ ภาวะซีด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
2.เกิดภาวะซีดเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคไนไป Stage3
S:"ผู้ป่วยอ่อนเพลีย"
S:"ผู้ป่วยเป็นมา7เดือนไม่ได้รับประทานยาต่อเนื่อง"
O: เยื่อบุตาซีด อ่อนเพลีย ฝ่ามือฝ่าเท้าซีด
O: Capillary refill 3 วินาที
O: CBC 10/4/67 พบ - Hb = 9.4 g/dl - Hct = 28.7 %
จุดมุ่งหมาย ภาวะซีดลดลง
เกณฑ์การประเมิน
1.Capillary refill < 2 วินาที
2.เยื่อบุตาซีดลดลง
3.ผลLab ค่าปกติ Hb 12-15 g/dl Hct = 36-45 %
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้ผู้ป่วยรับสารอาหารอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา เช่น อาหารอ่อน จืดได้แก่ ข้าวต้ม โจ๊ก ปลานึง
2.ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียงเพราะผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย
3.ดูแลให้ได้รับยาFolic Acid 1 เม็ด 5mg ตามแผนการรักษาของแพทย์ พร้อมทั้งสังเกตอาการและอาการข้างเคียงเช่น เวียนศีรษะ ท้องอืด ซึม ภายหลังได้รับยาอย่างใกล้ชิด
4.ติดตามสังเกตอาการภาวะซีด เช่น เยื่อบุตา , ปลายมือปลายเท้า , ริมฝีปาก
5.แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงที่ไม่ขัดต่อแผนการรักษา เช่น ผัก ต่างๆ เนื้อปลา เป็นต้น พร้อมทั้งเน้นย้ำให้หลีกเลี่ยงอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่แดง หลังกลับบ้าน
เชิงทฤษฎี
ภาวะแทรกซ้อนAKI “ไตวายเฉียบพลัน”
คือ การที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือ 1-2 วัน หากได้รับการล้างไตและรักษาอย่างทันท่วงที ไตจะสามารถกลับมาฟื้นเป็นปกติได้ แต่ต้องระวังปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดไตวายซ้ำได้ และไตจะค่อยๆ เสื่อมลงจนกลายเป็นไตวายเรื้อรัง
ภาวะแทรกซ้อนไม่รุนแรง เช่น ภาวะฟอตเฟสในเลือดสูง, ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง หรือภาวะซีดเนื่องจากขาดฮอร์โมนอีริโทรพอยเอทิน ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำในกระแสเลือด ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงและอาจเกิดภาวะหัวใจวายตามมาได้, ภาวะเลือดเป็นกรดที่ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้เช่นกัน ภาวะแทรกซ้อนทางสมอง ทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ, ภาวะติดเชื้อง่ายและรุนแรงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันต่ำ หรือไตถูกทำลายถาวรจากการรักษาล่าช้าและอาจกลายเป็นไตวายเรื้อรังในที่สุด
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วย “ไตวายเรื้อรัง”
เป็นภาวะที่ไตถูกทำลายต่อเนื่องมาแล้วหลายเดือนหรือหลายปี ส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติ ซึ่งสาเหตุของการเกิดไตวายเรื้อรังที่พบได้บ่อย คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ โดยมักพบในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
นอกจากอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนเช่นเดียวกันกับไตวายเฉียบพลันแล้ว ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ปอดอักเสบ, เยื่อหุ้มปอดอักเสบ, ปลายประสาทอักเสบ, ภาวะต่อพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป, ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้ , ภาวะกระดูกพรุน ภาวะกระดูกอ่อน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่าย รวมไปถึงภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยเพศชาย
-Respiratory Acidosis เป็นภาวะที่ร่างกายมีความผิดปกติของระบบหายใจ ทำให้มีการคั่งของกรดคาร์บอนิกเนื่องจากการขับ CO2 ออกไม่ทัน หรือการระบายอากาศในถุงลมลดลง เลือดจึงมีฤทธิ์เป็นกรด
การรักษา
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยรักษาโดยNPOตามแผนการรักษาและให้สารน้ำทดแทน0.9nss 1000 ml. rate 80/hr
เชิงทฤษฎี
1.การควบคุมอาหาร เพื่อชะลอไตเสื่อม ลดทานอาหารเค็ม รับประทานอาหารโปรตีนให้เหมาะสม ได้รับพลังงานที่เพียงพอ การควบคุมระดับโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารให้ไม่มากเกินไป อาจมีการจำกัดปริมาณสารอาหารบางชนิด ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์โรคไตที่ดูแลเพราะผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีการจำกัดอาหารบางชนิดที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสาเหตุและระยะของโรคไตเรื้อรัง
2.รักษาเฉียบพลัน เช่น การหยุดยาที่เป็นสาเหตุ การให้สารน้ำในรายที่ขาดน้ำ แก้ไขภาวะช็อค เป็นต้น
3.การรักษาเรื้อรัง คือ การรักษาแบบประดับประคอง เพื่อป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งชะลอความก้าวหน้าของโรค ต้องดูแลทั้งในต้านปริมาณสารน้ำในร่างกายความเป็นกรด-ด่ง และสมดุลเกลือแร่ ให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมรวมทั้งดูแลการให้อาหารและโภชนาการที่ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
4.การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต มีอยู๋3วิธี
1)การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
2)การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)
3)การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) คือ การผ่าตัดนำไตที่ดีจากผู้บริจาคใส่ไปในผู้รับไต โดยผู้รับไตต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะปฏิเสธไตที่ปลูกถ่าย ปัจจุบันการปลูกถ่ายไตจัดเป็นวิธีบำบัดทดแทนไตที่มีประสิทธิภาพดีสุด และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีอัตราการอยู่รอดของไตที่ปลูกถ่ายมากกว่าร้อยละ 90 ในช่วงปีแรก
อาการ
เชิงทฤษฎี
หายใจเร็วลึกเกิดจากการมีน้ำคั่งในปอดเเละมีภาวะเป็นกรดในร่างกาย
ผิวหน้าเเห้ง
มีการฝ่อของไขมันเเละมีการสะสมของเเคลเซียมเเละยูเรียส่งผลให้เกิดผื่นคันที่ผิวหนัง
ระบบเลือดจะพบผู้ป่วยมีอาการซีด อ่อนเพลีย
เกิดจากการที่มีการลดลงของฮอร์โมนอิริโทรพอยอิทินซึ่งกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดเเดงที่ไขกระดูกกเเละในระยะต่อมาก็จะมีอาการซีดมากขึ้นจากการเสียเลือดในระบบทางเดินอาหาร
เกิดภาวะขาดสารอาหารพวกเหล็กเเละโฟเลต
ภาวะที่มีการสูญเสียหน้าที่ของไตอย่างช้าเเละเกิดการทำลายเนื้อของไตทำให้ไม่สามารถรักษาความสมดุลของน้ำได้ - อิเล็คโทรไลต์ภาวะกรดด่างในร่างกายเป็นผลให้มีการคั่งของยูเรียทำให้ปัสสาวะออกน้อย
แขนขาบวมกดบุ๋ม
เกิดจากมีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย หรือมีโปรตีนรั่วมากในปัสสาวะ หากบวมมากจะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อย
กรณ๊ศึกษา
ผู้ป่วยU/D Chronic kidney disease stage 3
มีลักษณะขาบวมกดบุ๋ม2+ มีผิวพันธู์ที่เเห้ง มีภาวะซีดเปลือกตาซีด ปัสสาวะออกน้อย
4.มีภาวะข้อเสียคั่งเนื่องจากไตเสื่อม
ข้อมูลสนับสนุน
S:”ผู้ป่วยบอกว่าขณะอยู่โรงพยาบาลไม่ได้ปัสสาวะ อุจจาระ"
O: eGFR= 49.23 ml/min
O: Sodium= 135 mmol/L
O. ขาบวม (pitting edema 2+)
จุดมุ่งหมาย
ไม่เกิดภาวะของเสียคั่ง
เกณฑ์การประเมิน
1.ไม่เกิดอาการและแสดงของภาวะ ของเสียคั่งได้แก่ ซึมลง ไม่มีสมาธิ พูดช้าลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยหอบ กระหายน้ำ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้รับประทานอาหารครบตามแผนการรักษาและควบคุมปริมาณอาหารประเภทโปรตีน
2.กระตุ้นให้รับประทานอาหารโปรตีนดีเช่นเนื้อปลา ไข่ขาว อกไก่
3.บันทึกสารน้ำเข้า-ออกทุก8 ชั่วโมง และชั่งน้ำหนักวันละครั้ง
4.ดูแลจำกัดน้ำดื่มไม่ควรเกินวันละ 1,000 ซีซี
5.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการล้างไตตามแผนการรักษ
6.ดูแลส่งเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการตามแผนการรักษาและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
7.ตรวจบันทึกสัญญาณชีพทุก2 - 4 ชั่วโมง
8.สังเกตและประเมินระดับความรู้สึกตัว จากของเสียคั่ง เช่น สับสน ชักเกร็ง หมดสติ คลื่นไส้อาเจียน
สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง
กรณีศึกษา
มีอายุที่เยอะ U/D โรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง
เชิงทฤษฎี
-สาเหตุก่อนไต (Pre – renal causes)เกิดเนื่องจากการลดจำนวนเลือดไปเลี้ยงที่ไตหรือ มีพยาธิสภาพที่อยู่ก่อนถึงเนื้อไต ได้แก่ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำหรือเลือดลดลงทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง
-สาเหตุที่ไต (Intra - renal causes)เกิดเนื่องจากมีพยาธิสภาพที่เนื้อไต อาจเป็นหลอดเลือด Glomerulus หรือหลอดเลือดฝอยที่ไต การได้รับสารที่ทำลายไตImmune process, Autoimmune, Hypersensitivity
-สาเหตุนอกไต (Post – renal causes)เกิดเนื่องจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กรวยไตถึงท่อปัสสาวะ มักมีสาเหตุมาจากนิ่ว เนื้องอก ลิ่มเลือด
พยาธิสภาพ
ระยะของโรค
เคสกรณีศึกษา
อยู่ในระยะที่ 3 คือค่า eGFR 3 มี 49.23 มล./นาที ยังไม่แสดงอาการผิดปกติผู้ป่วยส่วนใหญ่พบภาวะความดันโลหิตสูง
ระยะที่ 3 ผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไตมากกว่า 30 - 60 มล./นาที/พื้นที่ผิวกาย 1.73 เมตร หมายถึงการมีความผิดปกติของต ค่าอัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง มักยังไม่แสดงอาการผิดปกติโดยส่วนใหญ่พบภาวะความดัน โลหิตสูง และอาจตรวจพบภาวะซีดแคลเชียมในเลือดต่ำ และฟอสเฟตในเลือดสูงได้ในระยะนี้ ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังและให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ระยะที่ 5 ผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 15 มล./นาที/พื้นที่ผิวกาย 1.73 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะไตวาย ทำให้มีความผิดปกติเกือบทุกระบบของร่างกาย ร่างกายเสียสมดุล น้ำและอิเล็กโตรไลต์ ผู้ป่วยมีอาการยูรีเมีย เช่น อ่อนเพลี่ย เบื่ออาหาร ผิวแห้ง คัน คลื่นไส้ อาเจียน สะอึก เป็นตะคริว นอนไม่หลับ อาจเกิดภาวะหัวใจวายเนื่องจากนำเกินและภาวะความดันโลหิตสูงได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต โดยเฉพาะในรายที่มีอาการยูรีเมีย
ระยะที่ 4 ผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไตมากกว่า 15 - 30 มล./นาที/พื้นที่ผิวกาย 1.73 เมตร หมายถึง การมีความผิดปกติของไต และค่าอัตราการกรองของไตลดลงอย่างมากผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร บวม ความจำแย่ลง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆผิดปกติ พบภาวะกรดจากการเผาผลาญ (metabolicacidosis) และไขมันในเลือดผิดปกติ (dislipidemia) ควรมีการเตรียมพร้อมเพื่อให้การบำบัดรักษาทดแทนไตต่อไป
ระยะที่ 2 ผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไตมากกว่า 60 - 90 มล./นาที/พื้นที่ผิวกาย 1.73 เมตร หมายถึงการมีความผิดปกติของตเมื่อค่าอัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อยโดยทั่วไปผู้ป่วยจะยังคงมีอาการปกติความดัน โลหิตอาจเริ่มสูงขึ้นในระยะนี้ จะเริ่มพบความผิดปกติในผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ
ระยะที่ 1 ผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไตมากกว่า 90 มล./นาที/พื้นที่ผิวกาย 1.73 เมตร หมายถึงการมีความผิดปกติของไต แต่ค่าอัตราการกรองของไตยังอยู่ในกณฑ์ปกติ หรืออาจต่ำลงเล็กน้อย ในระยะนี้ยังไม่พบอาการแสดงที่ผิดปกติ แต่บางรายอาจตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะได้
กรณีศึกษา
เกิดจากการเสื่อมของไตและการถูกทำลายของหน่วยไต มีผลทำให้การ
กรองทั้งหมดลดลงและการขับถ่ายของเสียลดลง ปริมาณ BUN ในเลือดสูงขึ้นหน่วยไตที่เหลืออยู่จะเจริญมาก ผิดปกติเพื่อกรองของเสียที่มีมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้ไตเสียความสามารถในการปรับความเข้มข้นของปัสสาวะ ปัสสาวะถูกขับออกไปต่อเนื่อง หน่วยไตไม่สามารถดูดกลับเกลือแร่ต่างๆ ทำให้สูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกาย เมื่ออัตราการกรองของไต 49.23 มล./นาทีส่งผลให้เกิดการคั่งของยูเรียในร่างกายเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยขาบวมทั้งสองข้าง ปัสสาวะออกน้อย
Chronic kidney disease stage 3
เชิงทฤษฎี
เกิดจากการเสื่อมของไตและการถูกทำลายของหน่วยไต มีผลทำให้การ
กรองทั้งหมดลดลงและการขับถ่ายของเสียลดลง ปริมาณ Creatinine และ BUN ในเลือดสูงขึ้นหน่วยไตที่เหลืออยู่จะเจริญมาก ผิดปกติเพื่อกรองของเสียที่มีมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้ไตเสียความสามารถในการปรับความเข้มข้นของปัสสาวะ ปัสสาวะถูกขับออกไปต่อเนื่อง หน่วยไตไม่สามารถดูดกลับเกลือแร่ต่างๆ ทำให้สูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกาย เมื่ออัตราการกรองของไตน้อยกว่า 10-20 มล./นาทีส่งผลให้เกิดการคั่งของยูเรียในร่างกายเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสีย ชวิตในที่สุด ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ระยะดังกล่าวผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาด้วยการบำบัดแทนไต
Acute gastroenteritis โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
พยาธิสภาพ
เชิงทฤษฎี
มักเกิดจากร่างกายได้รับเชื้อโรค ซึ่งอาจจะเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ปนเปื้อนมากับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด อาการท้องเสียเฉียบพลันนี้ หากได้รับยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อโรคจนครบตามกำหนด อาการจะหายได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีอาการนานกว่านั้นหรือเป็นๆ หายๆ อาจเข้าข่ายเป็นโรคท้องเสียเรื้อรัง
กรณีศึกษา
เกิดจากผู้ป่วยรับประทานหน่อไม้
สาเหตุ
ทฤษฎี
พันธุกรรม ประมาณร้อยละ 15-20 ของผู้ป่วยโรคนี้จะมีญาติพี่น้องที่เป็นด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมและ ปัจจัยกระตุ้นอื่นๆด้วย
2.อาหาร เชื่อว่าเป็นปัจจัยกระตุ้นอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะนม เช่น การแพ้นมวัว อาหารรสจัด
3.ปัจจัยทางจิตวิทยา ความเครียดหรืออารมณ์ที่แปรปรวนทำให้ลำไส้ทำงานมากกว่าปกติ
4.การอุดกั้นของลำไส้ใหญ่ในโรคHirsch sprung disease ซึ่ง มีความผิดปกติของระบบประสาตลำไส้ใหญ่ตั้งแต่กำเนิด
5.ภูมิต้านทานของร่างกายผิดปกติหรือภูมิต่ำ
การติดเชื้อซึ่งเป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตชัว หรือพยาธิสภาพ โดยส่วนใหญ่เชื้อRota virus จะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุจจาระร่วงแบบเฉียบพลัน
กรณีศึกษา
การติดเชื้อซึ่งเป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตชัว
จากการรับประทานหน่อไม้แล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
อาการ
ทฤษฎี
ทั่วไปถ่ายอุจจาระผิดปกติโดยถ่ายเป็นน้ำ หรือน้ำ
ปนมูกเลือดอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้
คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด น้ำหนักลด ตัวบวมจากการสูญเสียโปรตีน ในลำไส้ โลหิตจางจากการสูญเสียเลือดทางลำไส้
1.Acute watery diarrhea ได้แก่การถ่ายอุจจาระเป็นน้ำไม่มีเลือดปน อาจมีอาเจียนและไข้ร่วมด้วย
2.Dysentery ได้แก่ การถ่ายอุจจาระที่เหลวมีเลือดปนเห็นได้ด้วยตาเปล่า ปัญหาสำคัญคือ อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดและเยื่อบุลำไส้ถูกทำลาย โดยเชื้อรุกล้ำผ่านทางลำไส้ สาเหตุในกลุ่มที่เป็นเฉียบพลันมักมาจากเชื่อShigella
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยเป็นAcute watery diarrhea ได้แก่มีอุจจาระ3ครั้งอุจจาระเหลวเป็นน้ำ มีสีเหลืองอาเจียน3ครั้ง มีไข้ ปวดท้องPain score 5 คะแนน skin turgor 1 วินาที
WBC.COUNT 11080 Cells/mm.3
NEUTROPHILS 80 %
EOSINOPHILS 0 %
LYMPHOCYTES 13 %
MONOCYTES 7 %
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงเกิดภาวะขาดสารน้ำและสารอาหาร เนื่องจากมีภาวะอุจร่วงเฉียบพลัน
S:"ผู้ป่วยบอกว่ารับประทานหน่อไม้ ถ่ายเหลว3ครั้ง อาเจียน3ครั้ง"
O:มีท้องอืดฟังbowel sound 5 ครั้ง/นาที
O:ท้องpain score 5 คะแนน
O:Lab 10/04/67 WBC 11080 cell/mm.3
O: T: 38 °C
จุมุ่งหมาย
ได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประมาณ
1.รับประทานอาหารได้เยอะขึ้น
2.ถ่ายอุุจจาระลดลงไม่เกินวันละ1 ครั้ง
3.ไข้ลดลงอยู่ในช่วง36.5-37.4°C
กิจกรรมการพยาบาล
1..ดูแลให้สารน้ำทางปากORS ทางปาก สารน้ำทางปาก
2.ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ0.9 %NSS rate 80/hr คำตามแผนการรักษา
.บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออกทุก 8 ชั่วโมง
4.สังเกตท้อง เช่น ท้องอืด ตึง ฟังBowel sound อุจจาระ สี ลักษณะ และปริมาณติดตามการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ
ดูแลให้ยา Ceftriaxone 2 g ทางหลอดเลือดดำ ผลข้างเคียง หายใจเร็ว เวียนศรีษะ
6 พร้อมบันทึกตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 15 - 30 นาที จนกว่าจะคงที่
7.สังเกตอาการขาดสารน้ำสารอาหารจากผิวหนังแห้ง ริมฝีปากแห้ง อ่อนเพลีย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 5. เสี่ยงเกิดโรคอุจจาระร่วงซ้ำ เนื่องจากพร่องความรู้เรื่องโรค
S:"ผู้ป่วยบอกว่าไม่ตอบวิธีการปฎิบัติตัวเมื่อกลับบ้านไปได้"
จุดมุ่งหมาย
ผู้ป่วยมีความรู้การป้องกันโรคอุจจาระร่วง
เกณฑ์การประเมิน
บอกอาการอาการของโรคอุจจาระร่วงได้2ข้อ
2.บอกยาที่ใช้ในโรคอุจจาระร่วงได้2ตัวจาก3ตัว
การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมถูกต้องอย่างน้อย 2 ข้อ จาก 3 ข้อ
4.สามารถปรับการปฎิบัติตนได้2จาก4ข้อ
5.การส่งเสริมสุขภาพของโรคอุจจาระร่วง
ผู้เรียนตอบการถูกทั้งหมดครบทุกข้อ
6.การมาตรวจตามแพทย์นัดของโรคอุจจาระร่วง
ผู้เรียนตอบการถูกทั้งหมด
7.ผู้เรียนตอบอาหารที่ควรรับประทานโรคอุจจาระร่วงถูกอย่างน้อย 5 ข้อ จาก 7 ข้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ความรู้โรคอุจจาระร่วง ความหมาย สาเหตุ อาการ การรักษา
ไม่ควรลดหรือเพิ่มยา หรือหยุดรับประทานยาเอง โดยต้องให้ผู้ป่วยกลืนยาต่อหน้า ตรวจเช็คยาในช่องปากของผู้ป่วยทุกครั้งหลังรับประทานยา และเฝ้าระวังการทิ้งยา หรือการล้วงคออาเจียนหลังรับประทานยา
3.การจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมเช่นทำความสะอาดห้องครัวพื้นที่ทำอาหารและรับประทานอาหารอยู่เสมอ
4.อธิบายการปฏิบัติตัวคือการรักษาความสะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารและอาการผิดปกติ เช่น ถ่ายเหลวมากกว่า3ครั้ง มีอาเจียนและไข้ร่วมด้วย ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
5.อธิบายการส่งเสริมสุขภาพของโรคอุจจาระร่วง เช่น รับประทานอาหารที่สะอาด ล้างผัก ผลไม้ ทุกครั้งก่อนทำอาหาร มีอาหารอยู่ในภาชนะควรมีฝาปิด
6.ดูแลให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ อาการผิดปกติ เช่น ถ่ายเหลวมากกว่า3ครั้ง มีอาเจียนและไข้ร่วมด้วย ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
7.บอกถึงการรับประทานอาหารที่เกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วง เช่น อาหารอ่อน ๆ อาหารไขมันต่ำ น้ำมะพร้าว อาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำเกลือแร่ ors นมถั่วเหลือง อาหารปรุงสุก
การรักษา
ทฤษฎี
ในปัจจุบันไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคGastroenteritis โดยทั่วไปร่างกายของผู้ป่วยมักฟื้นตัวจากอาการต่างๆและหายดีได้เองภายใน
1 สัปดาห์อาจเบาเทาอาการได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น
1.ดื่มน้ำมากๆหรือดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำและแร่ธาตุที่สูญเสียจากอาการท้องเสียและ ป้องกันภาวะขาดน้ำ
2.ดูแลให้ได้รับยาปฎิชีวะ
3.รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่นกล้วย ข้าวต้ม ซุปและโจ๊ก
4.พักผ่อน ให้เพียงพอ
กรณีศึกษา
ผู็ป่วยมีแผนการรักษาโดยให้สารน้ำทดแทนให้0.9% NSS rate 80/hr ให้ยาceftriaxone 2g IV O.D clindamycin 900 mg IV q 8 hr ผู้ป่วยNPOตามแผนการรักษา ให้นอนหลับพักผ่อน
ภาวะแทรกซ้อน
เชิงทฤษฎี
1.ภาวะขาดน้ำและระดับเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
2.ภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยนมหรือแพ้น้ำตาลแล็กโทส
3.ลำไส้แปรปรวนทำให้มีอาการ เช่น แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือปวดท้องมาก
4.การติดเชื้อแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย
กรณีศึกษา
DX. AGE c sepsis
ความหมายของโรค
เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ พบได้ทุกเพศทุกวัย นิยามของท้องเสียโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ การถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมงหรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอาการท้องเสียเฉียบพลันซึ่งอาการท้องเสียจะเกิดขึ้นระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ หากปล่อยให้เกิดอาการท้องเสียโดยที่ไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียเกลือแร่ สารน้ำ และช็อค ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้
ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion)
สาเหตุ
เชิงทฤษฎ๊
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดของเหลวแบบใส
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่ส่งผลให้เกิดความดันต้านกลับในหลอดเลือดดำ มักทำให้เกิดอาการบวมจากของเหลวบริเวณขาและอาจมีภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดจากอวัยวะต่าง ๆ (ส่วนใหญ่มักมาจากบริเวณขา) ไหลมาอุดกั้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดเข้าสู่ปอด (Pulmonary Artery) ทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอก ไอ หายใจถี่ บางครั้งมีภาวะ Pleural Effusion และอาจรุนแรงถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งนอกจากภาวะนี้จะก่อให้เกิดของเหลวแบบใสแล้ว ยังก่อให้เกิดของเหลวแบบขุ่นได้เช่นกัน
โรคตับแข็ง โรคที่เนื้อเยื่อตับปกติค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยพังผืดแผลเป็น (Scar Tissue) จากการอักเสบ โดยพังผืดนี้จะไปขัดขวางการทำงานของตับในการกรองของเสียหรือขับสารพิษ รวมถึงการผลิตสารอาหาร ฮอร์โมน และโปรตีนในเลือด ซึ่งระดับโปรตีนในเลือดที่ต่ำนั้นจะส่งผลให้มีของเหลวซึมออกมานอกหลอดเลือดและอาจทำให้เกิดภาวะ Pleural Effusion ตามมา
หลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด หลังการเปิดช่องอกเพื่อผ่าตัดกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือหลอดเลือดแดงภายในหัวใจ ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบทางเดินหายใจหรือไตล้มเหลว เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีภาวะ Pleural Effusion เป็นต้น
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดของเหลวแบบขุ่น
ไตวาย เกิดจากหน่วยไตได้รับความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถกรองเลือดและขับน้ำปัสสาวะได้ตามปกติ ซึ่งอาจเป็นภาวะไตวายเฉียบพลันจากการบาดเจ็บ ได้รับสารพิษ หรือภาวะไตวายเรื้อรังจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ผู้ป่วยไตวายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยมีอาการเจ็บหน้าอก มีภาวะ Pleural Effusion กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือไตถูกทำลายอย่างถาวรได้
โรคปอดบวมหรือโรคมะเร็ง อาจส่งผลให้ปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ จนเกิดของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอดตามมา
อาการอักเสบ อาจเป็นการอักเสบที่ปอดตั้งแต่แรกหรือการอักเสบจากอวัยวะอื่นแล้วส่งผลให้ปอดอักเสบ จนเกิดของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอดตามมา เช่น การอักเสบจากโรคข้ออักเสบ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นต้น
สาเหตุอื่น ๆ โรคหรือภาวะที่นอกเหนือจากข้างต้นอาจก่อให้เกิด Pleural Effusion ได้เช่นกัน แต่พบไม่มากนัก เช่น วัณโรค โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เลือดคั่งในทรวงอก ภาวะน้ำเหลืองคั่งในช่องปอด (Chylothorax) รวมถึงผู้ที่ต้องสูดดมแร่ใยหินเป็นประจำ
กรณีศึกษา
ผูู้ป่วยเกิดของเหลวแบบขุ่นจากการเจาะปอดน้ำที่ออกมาเป็นสีกะปิ
พยาธิสภาพ
เชิงทฤษฏี
-ปริมาณน้ำหรือของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดจะถูกควบคุมด้วย 2 กลไลสำคัญ คือ 1.จากความดันในหลอดเลือดของเยื่อหุ้มปอดทั้ง 2 ชั้น ซึ่งจะส่งผลให้มีน้ำหรือของเหลวซึมผ่านผนังหลอดเลือดเข้าสู่ในโพรงเยื่อหุ้มปอดและ2.จากการดูดซึมน้ำหรือของเหลวของระบบน้ำเหลืองกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำของเยื่อหุ้มปอดและเข้าสู่ร่างกาย ตามลำดับซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้ต้องอยู่ในสมดุล ปริมาณน้ำหรือของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดจึงจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ถ้ามีการเสียสมดุลของปัจจัยทั้ง 2 นี้ด้วยสาเหตุ เช่น มีน้ำหรือของเหลวซึมผ่านหลอดเลือดเยื่อหุ้มปอดมากขึ้น หรือระบบน้ำเหลืองไม่สามารถดูดซึมน้ำหรือของเหลวกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำหรือร่างกายได้ ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะมีน้ำหรือของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอด
-โดยทั่วไป การมีน้ำหรือของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอดที่จะตรวจพบได้จากการถ่ายภาพปอดด้วยเอกซเรย์เทคนิคเฉพาะ คือ ถ่ายภาพในท่านนอนตะแคงด้านที่สงสัยมีความผิดปกติ (Lateral decubitus) ปริมาณน้ำหรือของเหลวต้องมีปริมาณตั้งแต่ 50 มิลลิลิตรขึ้นไปทั้งนี้การถ่ายภาพเอกซเรย์เทคนิคปกติจะสามารถตรวจได้ว่ามีน้ำหรือของเหลวในโพรงเยื่อหุ้มปอด มักจะต้องมีปริมาณน้ำอย่างน้อยประมาณ 200 – 300 มิลลิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นปริมาณที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการผิดปกติด้วย เช่น เหนื่อยง่ายขึ้นเมื่อต้องออกแรง เป็นต้น
กรณ๊ศึกษา
ผู้ป่วยเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคไต
อาการ
เชิงทฤษฏี
-หอบ หายใจถี่ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ หรือหายใจเข้าลึก ๆ ลำบาก เนื่องจากของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอดไปกดทับปอด ทำให้ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่
-ไอแห้งและมีไข้ เนื่องจากปอดติดเชื้อ
-สะอึกอย่างต่อเนื่อง
-เจ็บหน้าอก
กรณ๊ศึกษา
ผู้ป่วยหอบ หายใจถี่ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ หรือหายใจเข้าลึก ๆ ลำบากRR 26 ครั้ง/นาที
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.ภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากภาวะน้ำท่วมเยื่อหุ้มปอด
S:ผู้ป่วยบอกว่าหายใจเหนื่อย
O:On oxygenhigh flow nasal cannula
O: RR = 26/min
O:Dx massive pleural effusion
O:lung sounds Crepitation
จุดมุ่งหมาย ไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หน้าแดง กระสับกระส่าย หายใจติดขัด หายใจหอบ เหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเขียว
ฟังปอดไม่พบเสียงผิดปกติ เช่น เสียง wheezin
อัตราการหายใจ 16 - 20 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดท่านอนศรีษะสูง 15-30องศา
2.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ได้แก่ ดูแลดูดเสมหะและสอนการไอขับเสมหะอย่างมีประสิทธิภาพประเมินปริมาณ ลักษณะและสีของเสมหะ และประเมินเสียงปอดด้วยการฟังปอดจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง ทุก 2 ชั่วโมง
3.ดูแลให้HFNC 50 LPM , Fio2 0.4
4.ดูแลเครื่องออกซิเจน
4.1)ตรวจเช็กว่ามีเสมหะอุดตันบริเวณท่อช่วยหายใจของผู้ป่วยหรือไม่
4.2)ตรวจเช็กรอยต่อต่าง ๆ ของเครื่อง หรือจัดท่อให้ไม่ให้หักพับ รวมถึงการใส่เครื่องช่วยหายใจกับผู้ป่วยว่าแน่นหรือไม่
4.3ตรวจดูด้วยว่าผู้ป่วยได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เหมาะสม โดยไม่มากหรือน้อยเกินไป
5.สังเกตและประเมินอาการของภาวะพร่อง oxygen เช่น หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น กระสับกระส่าย หายใจติดขัด วัด o2 sat ทุก 4 ชม
6.ประเมินสัญญาณชีพและ O2 sat ทุก 2-4ชั่วโมง โดยเฉพาะการประเมินอัตราการหายใจทุก 4 ชั่วโมง
การพยาบาลหลังการเจาะปอด
1.การจัดท่าโดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทับด้านที่เจาะอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำหรือของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural fluid) จากนั้นจึงให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่ผู้ป่วยสบายที่สุด
2.ประเมินบริเวณที่ทำการเจาะบ่อย ๆ หากมีการรั่วซึมของน้ำหรือของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural fluid ) ให้รายงาน
3.ประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการเจาะปอด ได้แก่ สังเกตและประเมินลักษณะและอัตราการหายใจ การหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ลักษณะและสีของเสมหะว่ามีเลือดปนหรือไม่อาการไออย่างควบคุมไม่ได้ หรือไอปนเลือด
4.บันทึกและส่งสิ่งส่งตรวจ สำหรับการบันทึกควรบอกถึงวิธีการเจาะ วันและเวลาที่ทำการเจาะ ผู้ทำการเจาะ อาการทั่วไปของผู้ป่วย สี ลักษณะ ความขุ่น และจำนวนของ pleural fluid ที่เจาะได้
5.ส่งผู้ป่วยไปทำเอกซ์เรย์ปอด เพื่อเป็นการประเมินผลภายหลังการเจาะปอดว่าได้ผลดีหรือไม่
การรักษา
เชิงทฤษฎี
ท่อเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อระบายของเหลวออกภายนอกร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาซ้ำ หากพบว่ามีปริมาณของเหลวเพิ่มขึ้นอีก
การผ่าตัด วิธีนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยแพทย์จะสอดท่อเข้าไปในช่องอกเพื่อบังคับทิศทางให้ของเหลวไหลจากบริเวณปอดออกสู่ช่องท้อง ซึ่งเป็นจุดที่ร่างกายระบายของเหลวได้ง่ายกว่า หรือในกรณีที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจตัดเยื่อหุ้มปอดบางส่วนทิ้ง วิธีนี้เรียกว่า Pleurectomy
Pleurodesis คือวิธีการรักษาโดยใช้สารบางชนิดเชื่อมเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มช่องอกให้ติดกัน ซึ่งจะทำหลังจากระบายของเหลวออกนอกร่างกายเรียบร้อยแล้ว เพื่อลดช่องว่างและป้องกันการสะสมของของเหลวภายในปอด ส่วนใหญ่วิธีนี้มักนำมาใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะ Pleural Effusion ร่วมด้วย
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีเจาะระบายที่ปอดขวาRt thoracocentesis 2000 cc
ภาวะแทรกซ้อน
เชิงทฤษฎี
-มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ตับคั่งและบวม แขน ขา และท้องบวม
กรณ๊ศึกษา
ผู้ป่วยDX Pleural Effusion