Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Abdominal injury, IMG_3607 - Coggle Diagram
Abdominal injury
Left upper quadrant : LUQ
Body of pancreas
Left kidney
Spleen
ม้ามเป็นอวัยวะแคปซูล รูปรีคล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดเท่ากำปั้น อยู่ใต้กระบังลมและตับด้านซ้าย โดยส่วนที่อยู่ใต้ต่อม้ามจะเป็นตับอ่อน ในผู้ใหญ่จะหนักประมาณ 100-200 กรัม มีหน้าที่ขจัดเชื้อโรคและกำจัดเม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือด ในภาวะปกติจะคลำม้ามไม่ได้ การบาดเจ็บอาจเกิดขึ้นที่ตัวแคปซูลหรือที่ตัวม้าม
ประวัติและอาการแสดง
มักพบเกิดจากแรงกระแทก ซักประวัติ ได้รับอุบัติเหตุทางจราจร การเล่นกีฬา หรือ พลัดตกจากที่สูง กระแทกบริเวณช่องท้องบนซ้าย อาจบาดเจ็บร่วมกับซี่โครงซ้ายด้านล่างหัก การบาดเจ็บกระบังลมด้านซ้าย ตับอ่อน และลำไส้ใหญ่
ปวดท้องด้านซ้ายบนร้าวไปไหล่เนื่องจากมีการระคายเคือง ต่อเส้นประสาทที่เลี้ยง กดเจ็๋บ กระบังลม กล้ามเนื้อท้องเกร็งเมื่อถูกกด ท้องโป่งจากเลือดออก ทำให้มีโอกาสช็อคจากการเสียเลือด
มีประวัติได้รับการบาดเจ็บและตึงที่ท้องด้านซ้ายส่วนบน
ท้องตึง กดเจ็บ อาจปวดท้องร้าวไปที่ไหล่ซ้าย(Kehr's sign)
ความดันเลือดต่ำจากการเสียเลือดมาก
ระดับความรุนแรง
ระดับที่ 1
เลือดออก
ฉีกขาด
แคปซูลฉีกขาด ( capsular tear ) ลึกไม่เกิน 1 ซม. และไม่มีเลือดออก
เลือดออกใต้ แคปซูล(subcapsular) น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นผิว และก้อนเลือดไม่ขยาย
ระดับที่ 2
เลือดออก
ฉีกขาด
แคปซูลฉีกขาดร่วมกับเลือดไหลไม่หยุด หรือเนื้อม้ามฉีกลึก 1-3 ซม.
เลือดออกใต้แคปซูลร้อยละ 10-50 ของพื้นผิว และก้อนเลือดไม่โตขึ้น หรือมีเลือดออกในเนื้อม้าม (intraparenchymal)
ระดับที่ 3
เลือดออก
ฉีกขาด
เนื้อม้ามฉีก ( parenchymal tear) ลึกมากกว่า 3ซม. หรือมีการฉีกขาดของหลอดเลือด
เลือดออกใต้แคปซูลมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นผิว หรือก้อนเลือดโตขึ้น หรือมีเลือดออกในเนื้อม้ามกว้างมากกว่า 5ซม. หรือแคปซูลฉีกขาดร่วมกับเลือดไหลไม่หยุด
ระดับที่ 4
ฉีกขาด
บางส่วนของม้ามหรือหลอดเลือดในม้ามฉีกขาด มากกว่าร้อยละ 25 ของม้าม ไม่มีเลือดไปเลี้ยง
ระดับที่ 5
ฉีกขาด
หลอดเลือดบาดเจ็บ
ไม่มีเลือดไปเลี้ยงม้ามเลย (devascularized spleen)
ม้ามแตกเละ (completely shatters spleen)
การรักษา
แบบผ่าตัด
ผ่าตัดอาจเอาออกบางส่วนหรือเอาออกทั้งหมด(total splenectomy) จะทำในรายที่บาดเจ็บรุนแรงและการไหลเวียนเลือดไม่ปกติ
Systolic ต่ำกว่า 90 mmHg ร่วมกับมีอาการหลอดเลือดหดตัว (ผิวหนังเย็นชื้น การไหลเวียนหลอดเลือดฝอยบริเวณเล็บนานผิดปกติ) ระดับความรู้สึกตัวลดลง หายใจตื้น
Systolic มากกว่า 90 mmHg แต่ต้องให้เลือดหรือยาเพิ่มความดันเลือดร่วมกับพารามิเตอร์อื่นที่ผิดปกติ เช่น ค่าความด่างเกิน (base excess) มากกว่า 5mmol/L ดัชนีช็อค มากกว่า 1 ให้เลือดอย่างน้อย 4-6 ยูนิต ภายใน 24 ชม.แรก หรืออายุ 55 ปีขึ้นไปร่วมกับคะแนนการบาดเจ็บสูง
แพทย์อาจพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การบาดเจ็บหลายระบบ มีประวัติได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด(โดยเฉพาะผู้สูงอายุ)หญิงตั้งครรภ์ซึ่งทารกในครรภ์อาจะไม่ทนต่อความเครียดจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดที่ไม่มีผลได้
แบบไม่ผ่าตัด
1.ให้นอนพักบนเตียงนาน 48 -72 ชั่วโมง หลังจากนั้นลุกลงเตียงจากเตียงได้ และแแนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ หลังจำหน่าย รายที่บาดเจ็บที่ไม่รุนแรง ห้ามทำงานหนักเป็นเวลาอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ ส่วนรายที่บาดเจ็บต้องงด 2-4 เดือน
2.อุดด้วยสารห้ามเลือด (Angioembolization) ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อน ม้ามขาดเลือด เป็นหนอง ปอดแฟบและมีสารเหลวในเยื่อหุ้มปอดด้านซ้าย (Left pleural effusion)
3.ติดตามค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ประเมินและตรวจร่างกายซ้ำๆเป็นระยะ
4.ตรวจพิเศษเพิ่มหรือซ้ำในรายที่ไม่แน่ใจ หากไม่พบความผิดปกติแพทย์จะอนุญาตให้ลงจากเตียงได้เมื่อครบ 48 ชม. หลังจากบาดเจ็บ และเริ่ม step diet
Splenic flexure of colon
Stomach
กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะกลวงและขยายตัวง่าย ถ้าไม่มีอาหารอยู่ภายในจะสามารถทนแรงกระแทกได้ดี ดังนั้นการบาดเจ็บที่กระเพาะอาหารจึงเกิดร่วมกับการบาดเจ็บของหลอดอาหารและการบาดเจ็บหลายระบบ ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากวัตถุที่มีอำนาจทะลุทะลวงเนื่องจาก กระเพาะอาหารมีขนาดใหญ่และอยู่ด้านหน้าสุดของห้อง
อาการแสดง
ปวดที่ท้องด้านซ้ายบน ตึงท้อง ดูดสารน้ำจากกระเพาะอาหารได้เป็นเลือด ภาพถ่ายรังสีท้องพบลมในช่องท้อง หรือเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์พบกระเพาะอาหาร
ประวัติ อาการและอาการแสดง
สิ่งคัดหลั่งจากสายยางที่ใส่เข้าไปในกระเพาะอาหาร(NG tube) เป็นเลือดสด
ภาพถ่ายรังสีช่องท้องจะเห็นลม (Free air) อยู่ใต้กระบังลม
การรักษา
ผู้ป่วยที่บาดเจ็บที่กระเพาะอาหารทุกรายต้องรักษาโดยการผ่าตัด
Transverse and descending Colon
กลไกการบาดเจ็บ MOI (Mechanism of injuries)
Blunt
การกระทบกระแทกพื้นบริเวณท้อง สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ทั้ง solid organ เช่น ตับ ม้าม และไต มาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตกจากที่สูง(Fall), การทำร้ายร่างกาย (Body assault)
Penetrating
มีบาดแผลแบบทะลุเข้าช่องท้อง เช่น ถูกยิง ถูกแทง อวัยวะที่มักเกิดการบาดเจ็บ ได้แก่ Tear of spleen/ Liver/ Intestine
Blast
เป็นการบาดเจ็บในช่องท้องเนื่องจากแรงอัด/อุบัติเหตุระเบิด
กลไกการบาดเจ็บที่ท้อง พบได้จากแรงกระแทกและจากวัตถุที่อำนาจทะลุทะลวง ถ้าเกิดจากกระแทกจะมีความรุนแรงกว่าและมีอันตรายต่อชีวิตเนื่องจากวินิจฉัยยาก อวัยวะที่บาดเจ็บบ่อยได้แก่ ตับและม้าม ทำให้เลือดออกมาก ส่วนอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บจากวัตถุที่มีอำนาจทะลุทะลวงบ่อย ได้แก่ ตับ ลำไส้เล็ก กระบังลม ลำไส้และหลอดเลือด
Left lower quadrant : LLQ
ลำไส้ใหญ่
bowel injuries
อาการ
ปวดท้อง ท้องแข็งเกร็ง ลำไส้โผล่ออกมานอกช่องท้อง
หากลำไส้ทะลุจะมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในช่องท้องเกิดการอักเสบ
เสียงลำไส้เคลื่อนไหวลดลง
การรักษา
หากมีลำไส้ทะลุต้องเข้ารับการผ่าตัด หากมีแผลเปิดต้องทำแผล
ให้สารน้ำให้เพียงพอ เตรียมผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการผ่าตัด
ท่อไตซ้าย
Dscending colon
กระเพาะปัสสาวะ
อาการแสดง
ปวดหัวหน่าว หรือเชิงกรานด้สนล่าง ท้องตึง
ปัสสาวะไม่ออก ตรวจวินิจฉัยจากการฉีดสารทึบรังสีเข้ากระเพาะปัสสาวะจะพบการฉีกขาดของกระเพาะปัสสาวะ
การประเมินการบาดเจ็บที่ท้อง
Secondary survey
การซักประวัติ
ได้แก่ ได้รับแรงกระแทกบริเวณลำตัว เอว ชายโครงหรือสีข้างอย่างรุนแรง หยุดรถกะทันหัน
การตรวจดูร่างกาย
การดู ดูความผิดปกติของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณหน้าท้องเอวและหลัง ได้แก่ อาการบวม ตุ่ม เลือดออก รอยถลอก แผลฟกช้ำรอบสะดือหรือชายโครง(flank)
การฟัง ฟังเสียงลำไส้เคลื่อนไหว ถ้าไม่ได้ยินอาจไม่ใช่แค่การบาดเจ็บ อาจจะช็อก หรือลำไส้ไม่ทำงาน (bowel ileus)
การคลำ ถ้าคลำได้เสียงกรอบแกรบหรือคลำแล้วรู้สึกผิวหนังไม่สม่ำเสมอที่ทรวงอกด้านล่าง บ่งชี้ถึงการบาดเจ็บที่ม้ามหรือตับร่วมกับซี่โครงซี่ล่างหัก
การเคาะ เคาะได้ยินเสียงโปร่ง (tympanic sound) = มีลมในช่องท้อง ได้เสียงทึบ (diffuse dullness) = มีเลือดออกในช่องท้อง
ลักษณะเฉพาะที่สัมพันธ์กับการบาดเจ็บที่ท้อง
Primary survey
D : Disability ประเมินระดับความรู้สึกตัว AVPU method, Glasgow Coma Scale
C : Circulation ประเมินชีพจร สีผิว capillary refill ระดับความรู้สึกตัว
E : Exposure& Environment control สำรวจร่องรอยการบาดเจ็บทั่วร่างกาย Keep warmป้องกัน Hypothermia
B : Breathing ประเมินการหายใจ สังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอก ฟังเสียง Breath sound ทั้ง2 ข้าง
A : Airway with C-spine protection Clear Airway เปิดทางเดินหายใจ Chin lift, Jaw thrust
การตรวจพิเศษ
Plain film abdomen บอกถึงความผิดปกติในช่องท้อง จะเห็นสิ่งแปลกปลอม อาวุธ ถ้าเจอ free air บ่งบอกว่ามีการแตกหรือทะลุของอวัยวะกลวงในท้อง
Chest x-ray
CT whole abdomen ระบุอวัยวะที่บาดเจ็บ การมีเลือดออกของอวัยวะได้
การถ่ายภาพรังสีอื่นๆ Retrograde urethrography, Cystography
เพื่อการวินิจฉัย สวนล้างช่องท้อง Diagnostic peritoneal lavage, The focused assessment with sonography for trauma
Right lower quadrant : RLQ
Right Kidney
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะเป็นเลือด มีรอยฟกช้ำที่ชายโครง หรือปวดชายโครงหรือท้อง
จำแนกตามความรุนแรง
เล็กน้อย
เกรด I ไตช้ำ มีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มไต โดยไม่มีเนื้อไตฉีกขาด
เกรด II มีเลือดออกในเนื้อไตชั้นนอก หรือเนื้อไตฉีกขาดไม่เกิน 1 cm
รุนแรง
เกรด III เนื้อไตฉีกขาดเกิน 1 cm เข้าไปใน cortex
เกรด IV พบรอยฉีกขาดของเนื้อไตจาก cortex ไป medulla รวมกับพบการบาดเจ็บของ collecting system พบการบาดเจ็บของเส้นเสือดที่มาเลี้ยงไต main renal arteryและ vein ร่วมกับพบก้อนเลือดหรือพบการขาดเลือดบางส่วนของเนื้อไต โดยไม่พบการฉีกขาดของเส้นเลือด
เกรด V มีการฉีกขาดของเนื้อไตหลายตำแหน่ง (ไตแตก)
การรักษา
แบ่งตามความรุนแรงของการบาดเจ็บ
มีบาดแผลแบบทะลุเข้าช่องท้อง ต้องผ่าตัดทุกราย อาจซ่อมแซมไตหรือตัดทิ้งทั้งหมด
รักษาแบบประคับประคอง
การตรวจพิเศษ
CT scan
Plain KUB
Ultrasonography
IVP
สาเหตุ
มักมีความรุนแรงและใต้เป็นอวัยวะที่มีเลือดมาเลี้ยงมากทำให้อาจเสียเลือดจนเสียชีวิต
Blunt Kidney injuries พบได้ 80-85% ของการบาดเจ็บทั้งหมด
การกระทบกระแทกพื้นบริเวณท้อง
Cecum
Appendix
Right upper quadrant : RUQ
Hepatic flexure of colon
Liver
ตับ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหรือลิ่ม มีขนาดประมาณ 21-22.5 x 15.17.5 ซม. หนาประมาณ10 -12.5 ซม. ในผู้ชายตับมีน้ำหนักประมาณ 1,800 กรัม ส่วนผู้หญิงตับจะหนักประมาณ 1,400 กรัม"4 ตับมีแคปซูลหุ้ม อยู่ใต้กระบังลมขวา ด้านล่างเป็นถุงน้ำดีและลำไส้ใหญ่ส่วนกลาง มีหน้าที่กำจัดสิ่งที่เป็นพิษจากเลือด ผลิตน้ำดีสร้างอัลบูมิน สะสมธาตุเหล็กที่เกิดจากการสลายของฮีโมโกลบิน เปลี่ยนแอมโมเนียเป็นสารยูเรียเพื่อขับออกทางปัสสาวะ และสร้างสารที่เป็นปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด (coagulation factors)
Liver segment ตำแหน่งของตับ
ส่วนที่1
กลีบซ้ายด้านหลัง
ส่วนที่ 2 ,3
กลีบซ้ายด้านหน้าโดยส่วนที่ 2 จะอยู่เหนือส่วนที่ 3
ส่วนที่4
อยู่ตรงกลางใกล้กับหลอดเลือดที่มาเลี้ยงตับ (portal vein, portal artery) แบ่งอยู่ตรงกลางใกล้กับหลอดเลือดที่มาเลี้ยงตับ (portal vein, portal artery) แบ่ง(ศัลยแพทย์ชาวญี่ปุ่นจะเรียกสลับกัน คือ segment IVa อยู่ด้านล่าง segment IVbอยู่ด้านบน)
ส่วนที่ 5,8
กลีบขวาด้านหน้าค่อนมาตรงกลางโดยส่วนที่ 5 อยู่ใต้ส่วนที่ 8
ส่วนที่ 6,7
กลีบขวาด้านหลังโดยส่วนที่ 6 อยู่ใต้ส่วนที่ 7
ประวัติ อาการของการบาดเจ็บที่ตับ
ประวัติได้รับการบาดเจ็บที่ทรวงอกด้านล่าง หรือท้องด้านบนตรงกลางบริเวณลิ้นปี่
ปวดท้องด้านขวาส่วนบน กดเจ็บ กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งเกร็ง ท้องตึง มีรอยช้ำบริเวณท้องด้านขวา หรือปวดร้าวไปหล่ขวาเนื่องจากมีการระคายเคืองต่อกระบัง
ลมขวา ประมาณร้อยละ 25 ของเลือดที่ออกในช่องท้องมาจากการบาดเจ็บของตับความดันเลือดต่ำทั้งที่ให้สารน้ำ
เพียงพอ เนื่องจากตับมีลักษณะเป็นแคปซูลเช่นเดียวกับม้าม
ระดับความรุนแรง
ระดับ 3
เลือดออก
เลือดออกใต้แคปซูลมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นผิว ก้อนเลือดโตขึ้น หรือมีเลือดออกไม่หยุด เนื้อตับมีเลือดออกเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 ชม. หรือแคปซูลฉีกขาดร่วมกับเลือดไหลไม่หยุด
การฉีกขาด
มีการฉีกขาดของตับลึกมากกว่า 3 ชม.
ระดับ 4
เลือดออก
มีเลือดออกในเนื้อตับ และเลือดไหลไม่หยุด
การฉีกขาด
ตับถูกทำลายร้อยละ 25-75 หรือตับกลีบเดียวถูกทำลาย 1-3 ส่วน
ระดับ 2
เลือดออก
เลือดออกใต้แคปซูลร้อยละ 10-50 ของพื้นผิว หรือเลือดออกในเนื้อตับเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 ชม.
การฉีกขาด
แคปซูลฉีกทะลุเนื้อตับลึก 1-3 ชม. ยาวไม่เกิน 10 ชม.
ระดับ 5
เลือดออก
ตับถูกทำลายร้อยละ 25-75 หรือตับกลีบเดียวถูกทำลาย 1-3 ส่วน
ถูกทำลายมากกว่า 3 ส่วน (3 Couinaud's segments within a single lobe)
หลอดเลือด
มีการบาดเจ็บของหลอดเลือดดำที่เลี้ยงตับ (uxtahepatic venous injuries)
ระดับ 1
เลือดออก
เลือดออกใต้แคปซูลน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นผิวตับและก้อนเลือดไม่ขยาย
การฉีกขาด
แคปซูลฉีกขาด capsular tear ลึกไม่เกิน1 cm
ระดับ 6
หลอดเลือด
เนื้อตับและหลอดเลือดฉีกขาด (hepatic avulsion)
การรักษา
การไม่ผ่าตัด
การบาดเจ็บที่ตับความรุนแรงระดับ 1-2 ที่มีสัญญาณชีพและการไหลเวียนเลือดปกติ ไม่มีการบาดเจ็บร่วมของอวัยวะอื่น ไม่มีอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบ" แพทย์จะไม่ผ่าตัด" โดยจะให้การรักษาตามอาการ ได้แก่ให้นอนพัก ให้สารน้ำ เฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด ติดตามคำความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในรายที่มีหนองหรือน้ำดีรั่วแพทย์อาจใส่ท่อระบายออกทางหน้าท้อง (percutaneousdrainage ) ในรายที่มีเลือดออกจากหลอดเลือดฉีกขาดแพทย์อาจฉีดสารเพื่ออุด ตันหลอดเลือด (angiogram embolization) ซึ่งการไม่ผ่าตัดอาจเกิดอาการ
แทรกซ้อน ได้แก่ เลือดออกในภายหลัง น้ำดีรั่วและสะสมในช่องท้อง (biloma)เยื่อนุช่องท้องอักเสบ ปวดท้องด้านขวาบนและมีไข้
การผ่าตัด
แพทย์จะผ่าตัดในรายได้รับบาดเจ็บที่ตับรุนแรงระดับ 4-5 ซึ่งเนื้อตับจะมีการฉีกขาดและขาดเลือดไปเลี้ยงหรือมีก้อนเลือดขนาดใหญ่กว่า 3 ชม. โดยกลุ่มนี้จะมีขาดและขาดเลือดไปเลี้ยงหรือมีก้อนเลือดขนาดใหญ่กว่า 3 ชม. โดยกลุ่มนี้จะมีของเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หรือความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงลดลง โดยแพทย์จะใช้หลักการผ่าตัดเพื่อควบคุมการสูญเสียร่วมกับแก้ไขภาวะเลือดออกโดยการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด อาการแทรกช้อนหลังผ่าตัดที่อาจพบ ได้แก่ การรั่วของทางเดินน้ำดี มีฝีในตับ ติดเชื้อในท้อง ลำไส้อุดตัน ไส้เลื่อนจากผนัง
หน้าท้องบาง
Head of pancreas
ประวัติและอาการแสดง
ส่วนใหญ่ในระยะแรกจะไม่สามารถทราบจากการตรวจร่างกายแต่จะทราบเมื่อนำผู้ป่วยไปผ่าตัดเปิดช่องท้อง หรือเมื่อรักษาไปแล้วมีอาการทรกซ้อน อาจปวดบริเวณลิ้นปี่หรือท้องตึง
ปวดท้อง บางรายอาจปวดหลัง มีรอยฟกช้ำรอบสะดือ วินิจฉัยได้จากอาการและการตรวจเลือดหาค่าเอนไซม์ตับอ่อน (ค่าอะไมเลสและไลเปส สูงขึ้น ร่วมกับการตรวจพิเศษอื่น ๆ ได้แก่ เอกชเรย์คอมพิวเตอร์ท้อง การตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีด้วยคลื่นแม่เหล็ก (magnetic resonance cholangiopancreatography)
และการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (endoscopic retrograde cholangiopancreatography)
การรักษา
การไม่ผ่าตัด โดยแพทย์จะรักษาตามอาการ แพทย์อาจใส่ท่อระบายน้ำดีออกภายนอก (externaldrainage) หรือใส่ขดลวด (stent) เข้าไปในท่อน้ำดีเพื่อป้องกันท่อน้ำดีตีบ สำหรับการให้ยา octreotide เพื่อลดการหลั่งของน้ำดีและรักษารอยรั่วนั้น จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่านอกจากยังไมได้ผลลัพธ์ที่น่พอใจแล้วยายังมีราคาแพง
การผ่าตัด ถ้าเป็นการบาดเจ็บบริเวณส่วนหัวของตับอ่อนแพทย์จะทำการผ่าตัดและใส่ท่อระบายน้ำดีแต่ถ้าเป็นการบาดเจ็บบริเวณส่วนหางของตับอ่อนแพทย์จะตัดตับอ่อนส่วนที่ได้รับบาดเจ็บออก
ตับอ่อนเป็นอวัยวะกึ่งกลวงกึ่งตัน (semisolid) รูปร่างคล้ายค้อน ตั้งอยู่ในช่องท้องด้านหลังในระดับกระดูกเอวท่อนที่ 1 และ 2 โดยมีกระเพาะอาหารและตับบังไว้ ตับอ่อนมีท่อน้ำดีซึ่งจะรับน้ำดีที่มาจากตับและขับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ระหว่างมีการย่อยอาหารในลำไส้การบาดเจ็บที่ตับอ่อนส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากวัตถุที่มีอำนาจทะลุทะลวง สาเหตุจากแรงกระแทกพบได้น้อยแต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เช่น ถูกแฮนด์จักรยานหรือต้ามไม้ถูพื้นกระแทกที่ท้อง
duodenum
Pylorus
Right kidney