Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Head and Spine and Skeleton Injury - Coggle Diagram
Head and Spine and Skeleton Injury
Head Injury หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ
การบาดเจ็บใดๆที่มีต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะและเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งอาจทำให้มีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว
สาเหตุ
เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะมีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง ทำร้ายร่างกาย กีฬาและนันทนาการ ถูกยิง แรงกระแทกอื่นๆ
กลไกการบาดเจ็บ แบ่งได้ 2 แบบ
การบาดเจ็บโดยตรง ( direct injury ) คือ บาดเจ็บที่เกิดบริเวณศีรษะโดยตรง มี 2 ชนิด คือ
บาดเจ็บที่เกิดขณะศีรษะอยู่นิ่ง ( static head injury ) คือ บาดเจ็บที่เกิดแก่ศีรษะขณะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวเล็กน้อย เช่น การถูกตี ถูกยิง เป็นต้น พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นจะเป็นพยาธิสภาพเฉพาะที่เท่านั้น แต่ถ้าถูกตีด้วยวัตถุใหญ่หรือวัตถุที่มีความเร็วสูง จะทำให้สมองเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง
บาดเจ็บที่เกิดขณะศีรษะเคลื่อนที่ ( dynamic head injury ) คือ บาดเจ็บที่เกิดแก่ ศีรษะขณะที่ศีรษะมีความเร็วไปกระทบกับวัตถุที่อยู่นิ่งหรือกำลังเคลื่อนที่ เช่น ขับรถไปชนต้นไม้ ขับรถไปชนกับรถที่วิ่งสวนทาง เป็นต้น เมื่อศีรษะกระทบของแข็ง จะทำให้เกิดบาดเจ็บหรือพยาธิสภาพแก่สมองส่วนนั้น ( coup lesion ) ซึ่งมักมีการแตกร้าวของกะโหลกศีรษะร่วมด้วย ส่วนสมองด้านตรงข้ามกับบริเวณที่กระทบวัตถุนั้นอาจมีการฉีกขาดและมีเลือดออกร่วมด้วย ( contracoup lesion )
การบาดเจ็บโดยอ้อม ( indirect injury ) คือ การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับส่วนอื่นของร่างกาย แล้วมีผลสะท้อน ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะขึ้น เช่น ตกจากที่สูงก้นกระแทกพื้น ทำให้ศีรษะกระแทกลงมาบนส่วนของกระดูกคอ เป็นผลทำให้เกิดอันตรายต่อแกนสมองส่วนเมดัลลาโดยตรงหรือการเคลื่อนไหวของลำตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ส่วนศีรษะขาดการรองรับ เป็นผลให้ศีรษะคว่ำไปข้างหน้าหรือหงายไปด้านหลังอย่างรวดเร็ว ชนิดนี้ไม่มีบาดแผลที่หนังศีรษะและกะโหลกศีรษะ
พยาธิสรีรภาพ สามารถอธิบายตามลักษณะปรากฏการณ์ที่เกิด 2 ระยะ คือ
บาดเจ็บที่ศีรษะระยะแรก ( primary head injury ) เป็นการบาดเจ็บที่เกิดทันทีที่มีแรงกระทบต่ออวัยวะชั้นต่างๆ ของศีรษะดังนี้
หนังศีรษะ ( scalp ) เป็นชั้นซี่งมีหน้าที่ช่วยป้องกันและลดอันตรายที่จะเกิดแก่กะโหลกศีรษะและสมอง ได้มีการทดลองในศพที่ปราศจากหนังศีรษะ พบว่าใช้แรงกระทำต่อกะโหลกนั้นเพียง 40 ปอนด์ต่อ ตารางนิ้ว ก็สามารถทำให้กะโหลกแตกร้าวได้ แต่ถ้ามีหนังศีรษะหุ้มอยู่ด้วยต้องใช้แรงถึง 400-900 ปอนด์ต่อ ตารางนิ้ว จึงจะทำให้กะโหลกศีรษะแตกได้ บาดแผลที่เกิดบริเวณหนังศีรษะ มีลักษณะต่างๆเช่น บวม ช้ำ หรือโน ( contusion ) เป็นการชอกช้ำของหนังศีรษะชั้นนอกจากแรงกระทบโดยตรงจากวัตถุที่ไม่มีคม ถลอก ( abrasion ) เป็นการหลุดของผิวหนังชั้นหนังกำพร้า เมื่อศีรษะครูดกับวัตถุ ฉีกขาด ( laceration ) เป็นบาดแผลที่เกิดจากวัตถุที่มีคม ทำให้เกิดบาดแผลที่มีขอบเรียบ แต่ถ้าเกิดจากวัตถุที่ไม่มีคมจะทำให้บาดแผลชอกช้ำ ขอบแผลไม่เรียบ หรือหนังศีรษะขาดหาย ( avulsion )
กะโหลกศีรษะ ( skull ) ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นเชื่อมติดกันสนิทในผู้ใหญ่จึงไม่สามารถยืดขยายได้ ยกเว้นเด็กที่รอยต่อระหว่างกระดูกยังไม่เชื่อมติดกัน ภายในโพรงกะโหลกศีรษะมีช่องเปิดที่สำคัญ บริเวณกระดูกท้ายทอย ( occipital bone ) ชื่อ foramen magnum ซึ่งเป็นทางที่ประสาทไขสันหลังติดต่อกับแกนสมอง บริเวณกะโหลกศีรษะที่มีความบอบบางที่สุดคือ บริเวณกระดูกด้านข้าง ( temporal bone ) และมีผิวที่ขรุขระทั้งด้านนอกและด้านใน ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมองส่วนข้างใต้นี้ได้บ่อย
กะโหลกแตกร้าวเป็นแนว ( linear skull fracture ) พบประมาณร้อยละ 80 ของกะโหลกแตกทุกชนิด สาเหตุจากการกระทบอย่างแรงเป็นบริเวณกว้างของกะโหลก ( middle fossa ) ชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 50
การแตกชนิดนี้ทำให้หลอดเลือดของเยื่อดูราและเนื้อสมองส่วนนั้นฉีกขาดเกิด epidural hematoma , acute subdural hematoma และ brain contusion
กะโหลกแตกร้าวบริเวณฐาน ( basilar skull fracture ) ชนิดนี้มักเกิดร่วมกับกะโหลกแตกร้าว
เป็นแนวตามขวางของกระดูกด้านข้าง หรืออาจแตกเฉพาะบริเวณฐานกะโหลกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดช่องทางติดต่อระหว่างโพรงอากาศ ( sinuses ) กับช่องว่างใต้เยื่ออแรคนอยด์ และอาจขัดขวางการส่งกระแสประสาทของสมองส่วนนี้ได้ การแตกแบบนี้มักไม่พบจากการถ่ายภาพรังสีแพทย์ สามารถวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดง เช่น รอยเขียวคล้ำ บริเวณหลังหู ( Battle ’ s sign ) แก้วหูฉีกขาด เลือดออกหลังแก้วหู มีน้ำหรือเลือดไหลทางจมูก ( rhinorrhea ) และ/หรือทางรูหู ( otorrhea ) ผิวหนังบริเวณรอบเบ้าตาเขียวคล้ำ ( raccoon ’ s eyes ) เป็นต้น
กะโหลกแตกยุบ ( depressed skull fracture ) ชนิดนี้เกิดเนื่องจากแรงกระทบบนบริเวณที่แคบกว่าชนิดกะโหลกแตกร้าว แรงกดที่กระทำต่อกะโหลกต้องแรงกว่าหรือเท่ากับ ความหนาของกะโหลกส่วนนั้น พบว่าเกิดร่วมกับการฉีกขาดของเยื่อดูราหรือเนื้อสมองร้อยละ 60 และร่วมกับการฉีกขาดของหนังศีรษะร้อยละ 90
เนื้อสมองช้ำ ( brain contusion ) เป็นภาวะที่มีเลือดแทรกอยู่ระหว่างเซลล์สมองใต้เยื่อเพีย ( subpial space ) โดยไม่มีการฉีกขาดของเยื่ออแรคนอยด์และเพียทำให้ผิวของสมองมี สีคล้ำ sulcus และ gyrus หายไป ตำแหน่งที่มีการช้ำได้บ่อยคือ บริเวณสมองส่วนหน้าโดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของสมองกลีบหน้าและกลีบข้าง ( frontotemporal ) พบว่า การช้ำของสมองส่วนนี้สัมพันธ์กับลักษณะผิวด้านในแอ่งกะโหลกที่รองรับที่มีความขรุขระมากการที่เนื้อสมองช้ำและมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ (patechialhemorrhage ) หลังจากที่ศีรษะถูกกระแทก
Cavitation theory อาศัยหลักทางกลศาสตร์ กล่าวว่า สมองที่อยู่ภายในโพรงสมองซึ่งถือว่าเป็นช่องปิดเมื่อมีแรงมากระทบที่หนังศีรษะหรือกะโหลกศีรษะซีกใด ทำให้เกิดแรงดันบวก ( positive force ) เป็นผลทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมองตรงตำแหน่งที่ถูกกระแทก ส่วนบริเวณสมองซีกตรงข้ามที่ถูกกระแทกจะเกิดบาดเจ็บได้ เนื่องจากสมองมีแรงเฉื่อย ( inertia ) ไม่เคลื่อนตามกะโหลก เกิดการแยกตัวของเนื่อสมองและกะโหลกศีรษะในด้านตรงข้ามกับการกะแทก ทำให้มีแรงดันลบ ( negative pressure ) เกิดขึ้นซึ่งจะเกิดการทำลายของเนื่อสมองได้อย่างรุนแรง ถ้าเกิดแรงดันลบต่ำกว่า 1 บรรยากาศ
Rotational acceleration เป็นสาเหตุและกลไกที่ทำให้หลอดเลือดเล็กๆฉีกขาด เกิดจุดเลือดออกหรือก้อนเลือดเล็กๆ เนื่องจากแระกะแทกที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของเนื้อสมองแบบหมุน จนทำให้เกิดการเลื่อนของสมองส่วนหนึ่งบนอีกส่วนหนึ่งโดยไม่เป็นสัดส่วนกัน ( shearing stress ) ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณผิวของสมองฉีกขาด
Sudden positive pressure อาจเป็นสาเหตุและกลไกที่ทำให้เลือดออกบริเวณรอบๆ เวนตริเคิล ( periventricular hemorrhage ) และบาดเจ็บต่อสมองส่วนกลางและเมดัลลา เนื่องจากแรงที่มากระทบโดยตรงต่อกะโหลกศีรษะทันทีทันใดทำให้เกิดแรงดันบวก ของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังอย่างรวดเร็ว จึงอาจทำให้เกิดเลือดออกรอบๆเวนตริเคิลหรือเมื่อกะโหลกศีรษะยุบลงจะเกิดแรงดันบวก ทำให้สมองเคลื่อนที่ลงตามช่องเทนทอเรียม ( tentorial notch ) และ foramen magnum การเคลื่อนย้ายเนื้อสมองอย่างรุนแรงทำให้เกิดแรงกระทำต่อสมองส่วนกลาง และส่วนอื่นของแกนสมอง เป็นเหตุให้เกิดจุดเลือดออก
Skull distortion and head rotation hypothesis จากการทดลองของ Ommaya สังเกตพบว่า การบาดเจ็บของตำแหน่งที่ได้รับแรงกระทบ และด้านตรงข้าม จะเกิดจากการที่กะโหลกศีรษะผิดรูป และศีรษะหมุน บิดได้มากกว่าในรายที่ศีรษะหมุนบิดเพียงอย่างเดียว
การบาดเจ็บทั่วไปของเนื้อสมองส่วนสีขาว ( diffused white matter injury ) มักเกิดกับผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะอย่างรุนแรง ทำให้หมดสติทันทีที่ได้รับแรงกระทบและมีแขนขาบิดเกร็งทั้งสองข้าง ( bilateral decerebration ) จนกระทั่งถึงแก่กรรมโดยไม่มีระยะของการรู้สึกตัว ( lucid interval ) จากการตรวจพบว่ามีการฉีกขาดของเนื้อสมองส่วนสีขาวทั่วเนื้อสมอง มีสาเหตุจากการบาดเจ็บที่ศีรษะชนิดหมุน ตำแหน่งที่พบมากคือ บริเวณขม่อม และบริเวณรอบๆขม่อม เป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บกระจายสู่บริเวณทั้งสองซีกของสมองใหญ่และแกนสมอง
เนื้อสมองฉีกขาด ( brain laceration ) หมายถึงการฉีกขาดของเนื้อสมองร่วมกับการฉีกขาดของเยื่ออแรคนอยด์และเยื่อเพีย เนื่องจากการแตกของกะโหลกศีรษะเป็นแนวหรือมีการแตกยุบทำอันตรายต่อเนื่อสมอง และเยื่อหุ้มสมองโดยตรง มีกลไกการเกิดเช่นเดียวกับ coup และ contracoup lesion
บาดเจ็บที่ศีรษะระยะที่สอง ( secondary head injury ) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดหลังจากการบาดเจ็บที่ศีรษะระยะแรก โดยใช้ระยะเวลาเป็นนาที ชั่วโมง หรือเป็นวันการบาดเจ็บระยะที่สองมีดังนี้
Spine and Skeleton injury หรือการบาดเจ็บไขสันหลังและกระดูก
พยาธิสภาพ
การบาดเจ็บไขสันหลังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
2.การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
1.การบาดเจ็บของกระดูก
พยาธิสภาพการบาดเจ็บของกระดูก
กระดูกหักลักษณะต่างๆ เช่น กระดูกหักตำแหน่งเดียว กระดูกแตกยุบ หรือแตกกระจาย รวมถึงกระดูกไม่หักแต่เคลื่อนหรือหลุดออกจากตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลไกและความรุนแรงของการบาดเจ็บ
พยาธิสภาพของการบาดเจ็บไขสันหลัง
เกิดภายใน 5 นาทีหลังบาดเจ็บโดยจะมีการเปลี่ยนแปลงตรงกลางของพื้นที่สีเทาให้หลั่ง catecholamine ออกมาจากเซลล์ประสาท ทำให้มีเลือดออกมากขึ้น และขยายบริเวณกว้างขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 2 ชั่วโมง ส่วนบริเวณพื้นที่สีขาวจะมีการบวม เกิดการขาดเลือดและออกซิเจน ภายใน 4 ชั่วโมงเซลล์ที่อยู่รอบๆ บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บจะมีเลือดไปเลี้ยงลดลง ขณะเดียวกันจะมีการหลั่งสารสื่อประสาทออกมาจากเซลล์ ทำให้เซลล์ไขสันหลังถูกทำลายมากขึ้น ในภาพตัดขวางของไขสันหลังร้อยละ 40 ถูกทำลายภายใน 4 ชั่วโมงหลังได้รับบาดเจ็บ และภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับบาดเจ็บไขสันหลัง จะถูกทำลายไปประมาณร้อยละ 70 โดยไขสันหลังส่วนที่ถูกทำลายนี้เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยมีความพิการเกิดขึ้น
กลไกการบาดเจ็บไขสันหลัง
1.Flexion injury
เกิดจากการใช้ความเร็วสูงและหยุดกระทันหัน เช่น ขับรถมาด้วยความเร็วสูงแล้วชนกำแพงและรถหยุดกระทันหัน ทำให้ศีรษะเคลื่อนไปข้างหน้าชนกระจกหน้ารถแล้วหยุดอยู่กับที่ไม่มีแรง เหวี่ยงกลับ ผู้ป่วยจะอยู่ในท่าก้มหน้า คางชิดอก บาดเจ็บชนิดนี้จะมีการเคลื่อนของ vertebral body และหมอนรองกระดูก และมีการฉีกขาดของ posterior longitudinal ligament นอกจากนี้ไขสันหลังอาจมีเลือดออกหรือบวม พบบ่อยบริเวณกระดูกคอชิ้นที่ 5-6 ( C5,C6)
2.Hyperextension injury
เกิดจากหลายสาเหตุ พบบ่อยในผู้สูงอายุเนื่องจากการเสื่อมของกระดูก เช่น ตกบันได หกล้มคางกระแทกพื้น หรือขับรถแล้วถูกชนด้านหลังทำให้ศีรษะเคลื่อนไปชนกระจกรถเกิดแรงเหวี่ยงกลับ ศีรษะจึงแหงนไปด้านหลัง การบาดเจ็บชนิดนี้ทำให้มีการหักหรือหลุดของกระดูกสันหลังด้านหลัง และมีการฉีกขาดของ anteriot longitudinal ligament มักพบที่กระดูกคอชิ้นที่ 4-5 (C4,C5) ทำให้มีปัญหาในการหายใจ
3.Flexion with rotation injury
เกิดจากการหมุนหรือบิดของศีรษะและคออย่างรุนแรง ทำให้ posterior longitudina ligament ฉีกขาด ข้อต่อกระดูกสันหลัง (facer joint) หลุด กระดูกแตกยุบและอาจมี articular process หัก
Vertical Compression (Axial loading)
บาดเจ็บจากไขสันหลังถูกกด เกิดจากการได้รับบาดเจ็บในแนวดิ่ง เช่น อุบัติเหตุขณะดำน้ำ ตกจากที่สูงโดยเท้าหรือก้นกระแทกพื้นทำให้กระดูกสันหลังยุบลง
Penetrating injury
สาเหตุ อาจเกิดจากถูกแทง ถูกยิง ทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยไขสันหลังบวมและขาดเลือดและเนื้อเยื่อไขสันหลังตายจากการขาดเลือด
ประเภทของการบาดเจ็บไขสันหลัง
บาดเจ็บไขสันหลังชนิดสมบูรณ์ (Complete cord injury)
หมายถึง การบาดเจ็บที่ทำให้ไขสันหลังสูญเสียหน้าที่ทั้งหมด ผู้ป่วยจะสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อและความรู้สึกในส่วนที่ต่ำกว่าพยาธิ สภาพ ควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดรอบทวารหนักไม่ได้ เกิดอัมพาตอย่างถาวร ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ tetraplegia และparaplegia
บาดเจ็บไขสันหลังชนิดไม่สมบูรณ์ (Incomplete spinal cord injury)
หมาย ถึงร่างกายส่วนที่อยู่ต่ำกว่าระดับพยาธิสภาพ มีบางส่วนของระบบประสาทที่ยังทำหน้าที่อยู่ เช่น ผู้ป่วยมีกำลังกล้ามเนื้อหรือมีการรับรู้ที่ผิวหนังในส่วนที่ถูกควบคุมด้วย ไขสันหลังที่อยู่ต่ำกว่าระดับที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถขมิบรอบๆ ทวารหนักได้ แบ่งตามกลุ่มอาการได้ดังนี้
Central spinal cord syndrome เป็นการบาดเจ็บเฉพาะบริเวณกลางของไขสันหลัง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบปวกเปียก เนื่องจากมีการบาดเจ็บหรือการบวมของเซลล์ประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อมือ ซึ่งอยู่ใกล้แกนกลางของ
Anterior spinal cord syndrome พยาธิ สภาพเกิดจากไขสันหลังส่วนหน้าถูกทำลาย ผลของการบาดเจ็บทำให้ร่างกายในระดับที่ต่ำกว่าพยาธิสภาพเป็นอัมพาตและสูญ เสียการรับรู้ความเจ็บปวดและความรู้สึกร้อนเย็น เนื่องจากมีพยาธิสภาพบริเวณ corticospinal tract และ lateral spinothalamic tract แต่การรับรู้การเคลื่อนไหวของข้อ (Proprioception) และการสั่น (Vibration) ปกติ บาดเจ็บลักษณะนี้จะมีการฟื้นตัวของระบบประสาทภายใน 48 ชั่วโมงหลังการกลับคืนมาของ bulbocarvernous reflex แต่ถ้าไม่พบ reflex ดังกล่าวการพยากรณ์โรคจะไม่ดี
function recovery ประมาณ 10%
Brown-Sequard syndrome (Hemicord lesion) พยาธิสภาพเกิดจากการได้รับบาดเจ็บแบบบิด หรือหมุนอย่างรุนแรง ทำให้มีการเคลื่อนของกระดูก pedicle และ lamina ที่ หักในข้างเดียวกัน ทำให้ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บในซีกเดียว ในระดับที่ต่ำกว่าพยาธิสภาพนั้นจะเกิดอาการอ่อนแรงอย่างสมบูรณ์ และในซีกตรงกันข้ามจะมีการสูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด อุณหภูมิ และการสัมผัส อย่างสมบูรณ์ บาดเจ็บชนิดนี้ผู้ป่วยสามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะได้และฟื้น ตัวดีจนสามารถเดินได้ function recovery ประมาณ 90%
Posterior cord syndrome หมายถึง มีการบาดเจ็บบริเวณส่วนหลังของไขสันหลัง ทำให้สูญเสียการรับความรู้สึกการเคลื่อนไหวของข้อ การสั่น ในขณะที่การรับรู้ pain , temperature ยังดีอยู่ การบาดเจ็บชนิดนี้พบได้น้อยมาก
Conus medullaris syndrome (sacral cord injury) หมายถึง มีการบาดเจ็บของไขสันหลังระดับกระเบนเหน็บและรากประสาทระดับเอว ทำให้กระเพาะปัสสาวะเป็นอัมพาตชนิดอ่อนปวกเปียกขณะที่กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เพียงเล็กน้อย
Cauda equina syndrome หมาย ถึง รากประสาทระดับเอวและกระเบนเหน็บได้รับบาดเจ็บ ทำให้กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ หูรูดและลำไส้ใหญ่อ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตชนิดอ่อนปวกเปียก (flaccid paralysis) รีเฟล็กซ์ลดลงหรือหายไป
หมายถึง กลุ่มอาการที่มีการทำลายของไขสันหลังเป็นบริเวณกว้าง แต่แขนงของหลอดเลือดบริเวณไขสันหลังยังดีอยู่ ดังนั้นการทำงานของไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บยังดีทั้งหมดหรือดีบางส่วน ทำให้การทำงานของกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่ฟื้นกลับมาทำหน้าที่ได้ปกติเหมือนเดิมได้
หมายถึงภาวะที่ไขสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน ทำให้เกิดการหยุดทำงานไปชั่วคราว เกิดจากแรงกดที่กระทำบนไขสันหลังซึ่งไม่ทำให้ลักษณะทางกายวิภาคเปลี่ยนแปลง จึงสามารถทำให้กลับมาทำหน้าที่ได้ปกติ
Spinal cord injury without radiographic abnormality (SCIWORA) หมายถึง การพบความผิดปกติทางระบบประสาทหลังได้รับบาดเจ็บ แต่จากภาพถ่ายทางรังสีไม่พบความผิดปกติของกระดูกสันหลัง รักษาโดยการให้ส่วนที่หักอยู่นิ่ง (immobilization) โดยการใส่กายอุปกรณ์นานประมาณ 1-3 สัปดาห์
การแบ่งระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บไขสันหลัง
ระดับ A (complete) หมายถึง อัมพาตอย่างสมบูรณ์ไม่มีการเคลื่อนไหวและไม่มีความรู้สึก
ระดับ B (incomplete) หมายถึง มีความรู้สึกในระดับ S4-5 แต่เคลื่อนไหวไม่ได้เลย
ระดับ C (incomplete) หมายถึง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออยู่ต่ำกว่าระดับ 3
ระดับ E (normal) หมายถึง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึกปกติ
ระดับ D (incomplete) หมายถึง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
เป้าหมายของการพยาบาล
การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภยันตรายต่อไขสันหลังโดยการนอนให้อยู่ในแนวไขสันหลังและให้อยู่นิ่งๆ
การพยาบาลซึ่งดำรงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของระบบหายใจ ต้องประเมินสภาพการหายใจของผู้ป่วย
วัดอัตราการหายใจ สังเกตจังหวะและความลึกของการหายใจฟังเสียงปอด สังเกตลักษณะและจำนวนของเสมหะ ภาวะการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ สอนและกระตุ้นให้ฝึกการหายใจ และไออย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
การพยาบาลเพื่อดำรงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของการไหลเวียนโลหิตโดยลดการคั่งเลือดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการปวด Skull traction โดยดูแลให้มีประสิทธิภาพเสมอ
การพยาบาลเพื่อดำรงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของระบบทางเดินอาหาร
การพยาบาลซึ่งดำรงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของระบบขับถ่าย
การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
การพยาบาลเพื่อช่วยเหลือปัญหาทางด้านจิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม
การพยาบาลเพื่อดำรงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของสภาพร่างกาย
การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital phase)
การดูแลระบบทางเดินหายใจให้โล่งขณะเดียวกันต้องระวังไม่ให้กระดูกคอเคลื่อน โดยการใส่ Philadelphia collar ที่มีขนาดพอดีไม่หลวมหรือแน่นเกินไป ในการปฏิบัติอาจพบปัญหาว่าผู้บาดเจ็บมีหมวกนิรภัยติดอยู่ที่ศีรษะหรือผู้บาดเจ็บติดอยู่ในเบาะรถยนต์ กรณีนี้การป้องกันการเคลื่อนของกระดูกสันหลังขณะเข้าไปช่วยในที่เกิดเหตุ ถ้าติดอยู่ในเบาะรถยนต์ควรใช้กระดานแข็งสอดเข้าข้างหลังและใส่ collar ก่อนจึงเคลื่อนย้าย กรณีที่ผู้บาดเจ็บมีหมวกนิรภัยติดอยู่กับผู้บาดเจ็บควรถอดหมวกนิรภัยออก แต่ต้องมีคนช่วยกัน 2 คนห้ามทำคนเดียว โดยคนแรกใช้มือข้างหนึ่งประคองที่คางและมืออีกข้างประคองที่ท้ายทอย (occipital bone) แล้วให้ผู้ช่วยอีกคนที่นั่งอยู่ด้านศีรษะผู้ป่วยค่อยๆ เลื่อนหมวกนิรภัยออก หลังจากนั้นจึงใส่ Philadelphia collar
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายและเจ็บปวดน้อยที่สุด รักษา alignment ให้มากที่สุด ปกติให้ผู้ป่วยนอนกระดานแข็งโดยบริเวณศีรษะและคออาจใช้ถุงทรายประคองไว้ หรือใส่ Philadelphia collar ไว้ (ถ้ามี) ส่วนบริเวณ อก ท้องและเข่า ควรรัดด้วยเทปยึดติดตัวกับไม้กระดาน เพื่อรักษาแนวโค้งของกระดูกให้เหมือนปกติและป้องกันการเคลื่อนที่ของกระดูก สันหลัง ในกรณีที่ไม่ได้รัดไว้กับกระดาน ควรเตือนผู้ป่วยไม่ให้ลุกนั่งหรือเคลื่อนย้ายตัวเอง ยกเว้นมีอันตรายที่ต้องรีบออกจากที่เกิดเหตุเพื่อความปลอดภัย
การเคลื่อนย้าย (transportation) ต้องใช้คนช่วยอย่างน้อย 3 คน ในการเคลื่อนย้าย ให้ใช้วิธี log roll และเคลื่อนย้ายโดยการใช้ Spinal board เป็นวิธีการที่ดีที่สุด
การดูแลห้ามเลือดในที่เกิดเหตุ
การประเมินการบาดเจ็บไขสันหลัง
การซักประวัติ ถ้าผู้ป่วยมีประวัติต่อไปนี้ให้สงสัยว่าน่าจะมีบาด เจ็บไขสันหลัง
1.5 ตกจากที่สูงมากกว่า 3 เท่าของความสูงของผู้ป่วยหรือสูงมากกว่า 6 เมตร
1.6 ตกจากที่สูงในแนวดิ่ง เช่น มีกระดูกส้นเท้าหักหรือก้นกระแทกพื้นหรืออุบัติเหตุขณะดำน้ำหรือว่ายน้ำ
1.7 กระเด็นออกนอกยานพาหนะ เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์หรือนั่งในรถยนต์โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
1.4 มีบาดเจ็บเหนือกระดูกไหปลาร้าหรือมีบาดเจ็บที่ใบหน้าอย่างรุนแรง
1.3 ความดันโลหิตต่ำร่วมกับชีพจรช้า
1.8 ได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่ทรวงอกและภายในช่องท้อง
1.2 ปวดหลังหรือปวดตามแนวกึ่งกลางหลัง จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว บางรายอาจบ่นรู้สึก เหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งตามลำตัวและแขนขา
1.9 ให้ประวัติควบคุมปัสสาวะไม่ได้หลังบาดเจ็บ
1.1 ปวดตึงต้นคอ หรือความรู้สึกที่แขน ขาลดลง
1.10 ได้รับบาดเจ็บจากการแขวนคอ (hanging)
การตรวจร่างกาย ใช้หลัก ABCDE เป็นแนวปฏิบัติในการประเมินผู้บาดเจ็บ คือ การตรวจทางเดินหายใจและป้องกันกระดูกคอเคลื่อน และการตรวจระบบการไหลเวียนโลหิต สำหรับการตรวจทางระบบประสาทให้ประเมินการเคลื่อนไหวและการประเมินการรับความ รู้สึกของผิวหนัง
2.2 การประเมินภาวะบวม หรือการมีเลือดออก ตรงตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บและส่วนอื่น เช่น ช่องท้อง ช่องอก หรือจากกระดูกหักส่วนอื่น ร่วมกับการวินิจฉัยภาวะ hypovolemic shock โดยมีลักษณะของความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว เป็นต้น
2.3 การประเมินระบบประสาทสมองโดยใช้คะแนนของกลาสโกว์ (Glasgow’s Coma Score) และประวัติการหมดสติชั่วครู่ในที่เกิดเหตุ
2.1. การประเมินการหายใจ รวมทั้งการทำทางเดินหายใจให้โล่ง
2.4 การประเมินระบบประสาท ซึ่งมีความสำคัญมากในการวินิจฉัย การพยากรณ์โรค และการดูแลรักษา
การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระยะเฉียบพลัน
Breathing หลังจากอุบัติเหตุประเมินลักษณะการหายใจ oxygen saturation, force vital capacity ทุกราย
Circulation การให้สารน้ำเริ่มต้นเป็น 0.9% NSS ในผู้ป่วยที่มีภาวะ shock ให้พิจารณาการให้ยา Vasopressin เพื่อให้ค่า mean arterial pressure (MAP ≥ 85 mmHg) เนื่องจากสามารถเพิ่มการได้รับเลือดไปเลี้ยงไขสันหลังได้อย่างเพียงพออย่าง น้อย 7 วันแรก) และไม่ควร load ในผู้ป่วยที่มีภาวะ spinal shock เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema ได้
การให้ยา
High-dose Methyprednisolone เป็น neuroprotective ในการป้องกัน secondary cord injury นั้น Matthew Spensor ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า Methylprednisolone สามารถ improved neurologic outcome (motor, pinprick, touch) ได้ เนื่องจากเชื่อว่ายานี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ไขสันหลังถูกทำลายมากขึ้น
การดูแลระบบทางเดินหายใจ
การดูแลระบบทางเดินอาหาร โดยการงดน้ำและอาหารก่อนจนกว่าจะเริ่มจิบน้ำ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ เริ่มเป็นอาหารอ่อน อาหารธรรมดา ตามลำดับ
การดูแลระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจะเกิดภาวะ neurogenic bladder มีการคั่งค้างของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ควรเริ่มการคาสายสวนปัสสาวะตั้งแต่รับผู้ป่วยเพื่อเป็นการป้องกันภาวะ over distension และ uretero reflux จนกระทั่งเข้าสู่การฝึกหัดขับถ่ายปัสสาวะ โดยการควบคุมน้ำดื่มและการสวนเป็นครั้ง Intermittent catheter
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความอบอุ่นเพียงพอ เช่น ห่มผ้าห่มหนาๆ หรือใช้เครื่องทำความอุ่น เป็นต้น
จัดหาเตียงที่เหมาะสม หลังจากดูแลและช่วยเหลือภาวะที่คุกคามชีวิตเรียบร้อยแล้ว ควรเลือกเตียงที่ออกแบบมาเพื่อสามารถรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยและกระดูก สันหลัง ลดอาการแทรกซ้อนในขณะที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวและรักษา body alignment ให้มากที่สุด
การดูแลกระดูกสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ
การดึงกระดูกให้เข้าที่ (Reduction/realignment) การ ดึงกระดูกให้เข้าที่ในกรณีที่กระดูกคอเคลื่อนโดยการใช้เครื่องดึงกะโหลก ศีรษะ (Skull traction) ใช้ในรายที่มีกระดูกคอส่วนต้นหักชนิดไม่คงที่ (unstable) หรือในรายที่กระดูกคอเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ในการดึงดังนี้
1.2 ดึงกระดูกที่เคลื่อนออกจากแนวเดิมให้กลับเข้าไปอยู่ในแนวเดิมหรือใกล้เคียงกับแนวเดิม (reduction) โดยให้กระดูกที่หักมีการเชื่อมติดได้เองอาจจะไม่ต้องผ่าตัด
1.3 ลดความเจ็บปวดบริเวณกระดูกที่หัก
จำกัดการเคลื่อนไหว (immobilization) ของกระดูกคอส่วนที่หักและป้องกัน ไขสันหลังและรากประสาทถูกกดทับหรือได้รับบาดเจ็บมากขึ้นกว่าเดิม (Neurological worsening)
หลักการรักษากระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ
หากไม่พบกระดูกสันหลังมีการแตกหักหรือเคลื่อน แต่พบความผิดปกติของระบบประสาท (neurological deficit) จะได้รับการสวมปลอกคอชนิดแข็ง ทั้ง Philadelphia Collar หรือ hard collar
การรักษากระดูกสันหลังหัก จะอาศัยอาการแสดงทางระบบประสาท (neurological status) และดูความมั่นคงของกระดูกที่หัก (fracture stability) เพื่อมาประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจในการเลือกวิธีการรักษา ดังนี้
การรักษาโดยการผ่าตัด (operative treatment) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีกระดูกหักไปกดทับไขสันหลัง หรือเส้นประสาท ทำการผ่าตัดโดยการยึดตรึงกระดูกแบบ decompression and stabilization เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้เร็วขึ้น
การรักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยม (conservative treatment) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความมั่นคงของกระดูกสันหลังที่หัก
กระดูกสันหลังระดับคอที่มีการแตกหัก (burst fracture) หรือมีการเคลื่อน (fracture dislocation) ให้ได้รับการถ่วงดึงน้ำหนักที่ศีรษะโดยการใส่ Skull tong traction และจัดกระดูกให้อยู่ในแนวที่ดี
การใช้เครื่องพยุงกระดูกสันหลังภายนอก (orthosis) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจำกัดการเคลื่อนไหวและเป็นการควบคุมแนวของกระดูกสันหลัง จนบริเวณที่กระดูกหักติดเข้าที่
SOMI brace (Sterno Occipito Mandible Immobilization brace) ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีการแตกหักหรือเคลื่อนของกระดูกสันหลังระดับคอ เป็นการจำกัดการเคลื่อนไหวของคอในท่า flexion แต่ผู้ป่วยสามารถ extension และ rotation คอได้เล็กน้อย
Collar ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีการแตกหักหรือเคลื่อนของกระดูกสันหลังระดับคอ หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด anterior disectomy และ interbody fusion โดยมีทั้ง soft collar และ hard collar
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
การเตรียมตัวการก่อนการผ่าตัด ได้แก่ การให้ข้อมูลทั่วไปก่อนการผ่าตัด การเตรียมผู้ป่วยเพื่อการผ่าตัด สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือแพทย์ควรแจ้งให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบถึงความคาด หวังหลังการผ่าตัด การอธิบายถึงการผ่าตัดสามารถแก้ไขซ่อมแซมของกระดูกที่หักได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขการบาดเจ็บไขสันหลังได้
เปรียบเทียบ neurological deficit ของ sensory และ motor function ก่อน ผ่าตัดและหลังผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวหรือการรับรู้ความรู้สึกลดลงจากเดิม มักเกิดจากไขสันหลังบวมหรือมีเลือดออกบริเวณผ่าตัด
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยทั่วไปควรพลิกตัวผู้ป่วยและจัดท่านอนให้เหมาะสม ในช่วง 4 ถึง 8 ชั่วโมง แรกหลังการผ่าตัด มีการจัดให้ผู้ป่วยนอนหงายเพื่อเพิ่มแรงกดบริเวณแผลผ่าตัดด้านหลังของร่าง ร่างกายและลดการไหลของเลือดออกจากแผลผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยผู้ป่วย tetraplegia ดูแล ทางเดินหายใจให้โล่งและป้องกันการสำลักของเสมหะในปอด ดูแลเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ในผู้ป่วยมีความเสี่ยงของเลือดออกบริเวณแผลผ่าตัดมากเกิน ควรพิจารณารักษาด้วย anticoagulant
การบรรเทาความเจ็บปวดโดยการประเมินความเจ็บปวดและความวิตกกังวลบ่อยครั้งเมื่อ พลิกตัวหรือเคลื่อนไหวผู้ป่วยบนเตียงการให้ยาบรรเทาอาการปวดทางหลอดเลือดดำ และยาลดอาการเกร็ง จะสามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้อย่างพอเพียง
การดูแลหลังผ่าตัด ประกอบด้วย การประเมินภาวะสูญเสียเลือด ปฏิกิริยาของร่างกายต่อยาสลบ ยาที่ใช้รักษา การให้สารน้ำและเลือดทดแทน การประเมินสัญญาณชีพ การประเมินการสูญเสียเลือดจากค่า hematocrit ในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับคอควรประเมินการหายใจอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจเกิดภาวะหายใจลำบากเนื่องจากคอบวมบริเวณผ่าตัด
ในระยะพักฟื้นเนื่องจากปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายมีความเกี่ยวข้องกับระบบ ประสาทส่วนกลางและประสาทอัตโนมัติ ปฏิกิริยาการตอบสนองดังกล่าวจึงมีความเด่นชัดมากกว่าผู้ป่วยปกติทั่วไป เมื่อมีปัญหาทางการหายใจและการไหลเวียนเลือดร่วมด้วย จึงมีโอกาสสูงที่ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจะฟื้นสภาพหลังผ่าตัดได้ช้ากว่าผู้ ป่วยทั่วไป อาจเคลื่อนไหวหรือลุกจากเตียงใน 2 ถึง 3 วันหรือ 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ร่วมกับการใส่ orthosis เพื่อ พยุงเนื้อเยื่อและเอ็นที่กระดูกสันหลังตลออดจนสามารถลดความเจ็บปวดและสามารถ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังได้
หลักการดูแลทั่วไป
ระบบทางเดินหายใจ
บาดเจ็บตั้งแต่กระดูกคอชิ้นที่ 5 ถึงกระดูกอกชิ้นที่ 6 (C5-T6) ขึ้นไป แม้ว่ากระบังลมสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่กล้ามเนื้อทรวงอกที่ช่วยในการหายใจ (intercostal muscle) อ่อนแรงทำให้หายใจไม่มีประสิทธิภาพดังนั้นจึงต้องให้ออกซิเจนให้เพียงพอ
บาดเจ็บในระดับที่ต่ำกว่า แม้ว่าจะสามารถหายใจได้เอง แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจเนื่องจากถูกจำกัดการเคลื่อนไหว เช่น ปอดแฟบ ปอดบวม
บาดเจ็บตั้งแต่ กระดูกคอชิ้นที่ 4 (C4) ขึ้นไปจะหายใจเองไม่ได้เลย เนื่องจาก phrenic nerve และ intercostal muscle เสียหน้าที่ จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใส่เครื่องช่วยหายใจไว้
ผู้ป่วยอาจมีบาดเจ็บอื่นร่วมซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการหายใจแย่ลง เช่น tension pneumothorax หรือ hemothorax
การพยาบาลระบบทางเดินหายใจ
เพิ่มปริมาตรปอดส่งเสริมการระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนกาซ
เพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อหายใจ
ระบายเสมหะทำทางเดินหายใจให้โล่ง
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (Mechanical ventilator weaning)
ผู้ป่วยมีสัญญาณชีพคงที่ (vital sign stable)
mode ที่ใช้ในผู้ป่วยก่อนการหย่าเครื่องเป็น Assisted mode, Assist controlled mode, SIMV, pressure support เป็นต้น
ABGs มีค่าปกติ
lung compliance อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ผู้ป่วยสามารถกระตุ้นเครื่องช่วยหายใจด้วยตนเอง (trigger) โดย flow trigger อยู่ที่มากกว่า 3 ลิตรต่อนาที หรือ pressure trigger มากกว่า -2 มิลลิเมตรปรอท หรือ Negative inspiratory force เท่ากับ -20 to –30 cmH2O
Rapid shallow breathing index (RSBI) หาได้จาก respiratory rate/tidalมีค่า 60-105
สามารถหายใจได้เอง โดยมีค่า tidal volume อยู่ที่ 4-6 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อัตราการหายใจไม่เกิน 30-38 ครั้งต่อนาที ค่า minute ventilation 10-15 ลิตรต่อนาที
ไม่มีไข้
ทางเดินหายใจโล่ง เสียง breath sound ไม่มี wheezing ที่บ่งบอกถึงภาวะถุงลมตีบ
CXR ผลปกติ
electrolyte balance
ไม่มีปัญหาทางด้านโภชนาการ
ไม่มีอาการท้องอืด เนื่องจากทำให้การหายใจลำบากมากขึ้น
ไม่มีภาวะโลหิตจาง
ให้ความร่วมมือในการหย่าเครื่องช่วยหายใจเป็นอย่างดี
ระบบไหลเวียนและหลอดเลือด
การบาดเจ็บไขสันหลังระดับสูงในระยะเฉียบพลัน ส่งผลให้การทำงานของประสาทอัตโนมัติซิมพาทติกสูญเสียหน้าที่ไป ทำให้ หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ และอุณหภูมิร่างกายต่ำ (neurogenic shock)
การพยาบาล
1.การประเมินการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
สภาพการทำงานของหัวใจ การประเมินหัวใจใช้เทคนิคการดู และคลำบริเวณผนังทรวงอกที่เรียกว่า precordium อยู่ระหว่างกึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้า และ midsternal line ซึ่งเป็นบริเวณเหนือหัวใจเพื่อดูขนาด และการสั่นสะเทือนที่ผิดปกติบริเวณนี้ นอกจากนี้ การฟังเสียงหัวใจเต้น สังเกตความแรง ความถี่ คุณภาพ และระยะเวลาในการเต้น
การประเมินหลอดเลือด ผลมาจากการบาดเจ็บไขสันหลัง ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง การประเมินหลอดเลือดประกอบด้วย การตรวจบริเวณปลายมือ ปลายเท้า ทั้งการดูและการคลำบริเวณแขน ขา เพื่อเปรียบเทียบชีพจรทั้ง 2 ข้าง
2.การดูแลภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติถูกตัดขาด
ปัญหาที่พบในระบบนี้ภายหลังจากพ้นระยะ spinal shock ได้แก่ Orthostatic hypotension, deep vein thrombosis และ autonomic dysreflexia
Deep vein thrombosis
ตรวจวัดสัญญาณชีพ
ช้ผ้ายืดพันรอบขา หรือใช้ Pneumatic compression device พันรอบขาขณะนอนบนเตียง
ให้ดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 3, 000 ซีซี/วัน
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น electrolyte, coagulogram
ถ้าสงสัยว่ามีอาการหลอดเลือดดาอุดตันต้องงดบริหารบริเวณนั้นไว้ก่อน เพราะการนวดจะทำให้เกิด pulmonary embolism
ในรายที่มีความเสี่ยงสูงอาจให้ยาต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด เช่น Low molecular weight heparin (LMWH) ภายใน 72 ชั่วโมงหลังบาดเจ็บ ตามแผนการรักษาและเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนจากยา เช่น ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด Hematocrit ลดลง เป็นต้น
Autonomic dysreflexia/hyperrelfexia
ให้ยาลดความดันโลหิต
ถอดเข็มขัดหรือคลายเสื้อผ้า ให้หลวม
แก้ไขสาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้น เช่น ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ปวด เล็บขบ เสื้อผ้าคับ
สอนผู้ป่วยเกี่ยวกับวิธีการดูแลตนเองทั้งการสังเกตอาการและจัดการกับภาวะ AD
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่ายกศีรษะสูงเพื่อลดความดันโลหิต ในรายที่ไม่มีข้อห้าม
Orthostatic hypotension
การใช้ผ้ายืดพันรอบท้องและขาเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดมาคั่งที่ท้องและขา
กระตุ้นให้ลุกนั่งบนเตียง โดยเริ่มที่ลุกนั่งรับประทานอาหารทุกมื้อ เป็นต้น
ปรับองศาของเตียงเพิ่มขึ้นทีละน้อย
ป้องกันแขนขาหรืออวัยวะส่วนปลายบวมโดยการยกส่วนนั้นให้สูง
hypothermia
การป้องกันผู้ป่วยจากอากาศเย็น การรักษาอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมให้คงที่ ที่ 21 องศาเซลเซียส จะช่วยให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วย tetraplegia อยู่ประมาณ 35 องศาเซลเซียส
ารดูแลเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังไม่สามารถผลิตเหงื่อได้
การดูแลให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วย โดยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือการห่มผ้าหนาๆ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น ไม่ใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าห่มไฟฟ้าเพราะอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้ จากการสูญเสียความรู้สึก
รักษาอาการไข้ โดยให้สืบหาสาเหตุของไข้ ร่วมกับอาการดังนี้ เช่น หนาวสั่น ไม่สบาย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร การติดเชื้อ drug fever, การแพ้ยา เป็นต้น การให้ยาลดไข้ มีปฏิกิริยาโดยตรงต่อศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ ทางหลอดเลือด (vasomotor temperature control center)
ระบบทางเดินอาหาร
ภาวะท้องอืด
จากการหยุดเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก การบาดเจ็บของไขสันหลังหลังระดับ T6 ขึ้นไปอาจเกิดภายใน 24 ชั่วโมง ในขณะที่พยาธิสภาพระดับคอเกิดได้ภายใน 48 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษา อาจทำให้เกิดการสูดสำลักเอาเศษอาหารเข้าหลอดลมเป็นสาเหตุการหยุดหายใจ
การพยาบาล
มื่อพบว่าผู้ป่วยมีภาวะท้องตึงแน่น ควรวัดรอบสะดือทุก 8 ชั่วโมง อาการท้องตึงแน่นที่มากขึ้นทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก จากไปจำกัดการเคลื่อนไหวของกระบังลม ถ้าไม่รักษาผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
ล้วงอุจจาระออกทุกวันเป็นเวลา 3 วันเพื่อลดแรงดันภายในลำไส้ ไม่ใช้วิธีสวนถ่ายใน 72 ชั่วโมงแรก เพราะทำให้น้ำคั่งค้างในลำไส้ใหญ่ บางรายอาจใส่ rectal tube 30 นาที เพื่อระบายลมในลำไส้
ประเมินเสียง bowel sound ปกติจะได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของสำไส้อย่างน้อย 5 ครั้งต่อนาที ส่วนในภาวะท้องอืดจะไม่มีเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (bowel sound absent)
NPO ดูแลให้ได้รับสารน้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำทดแทน
ประเมิน V/S ,Record I/O
ภาวะท้องอืดบรรเทาจากปริมาณ gastric content ที่ลดลง ฟังได้ยินเสียง bowel sound ที่เพิ่มขึ้น มีการขับถ่า อุจจาระ หรือผายลม เป็นต้น
ในผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัวแบบสมบูรณ์อาจพบภาวะท้องอืดยาวนานกว่า 72 ชั่วโมง แพทย์อาจพิจารณาให้สารอาหารทางหลอดเลือด ต้องสังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะเลือดออกในระบบทางเดิน อาหารร่วมด้วย
แผลในกระเพาะอาหาร
ให้การป้องกันเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ลดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในกระเพาะอาหาร จากการใส่ NG tube ต่อลงถุงหรือ low pressure intermittent suction
รักษาภาวะ hypoxia ในระยะแรก
มีความไวต่อภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
hematocrit และ hemoglobin ลดลง (น้อยกว่า 10 gm %)
คลื่นไส้อาเจียนออกมาเป็นเลือดสด
ความดันโลหิตลดลงโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ (systolic น้อยกว่า 85 mmHg )
ท้องแน่นตึง
gastric content มีลักษณะเป็น coffee ground
อุจจาระเป็น melena และตรวจพบ occult blood
แยกภาวะแผลในกระเพาะอาหารออกจากภาวะท้องอืด
เตรียมผู้ป่วยเพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษา เช่น การทำ gastroscopy หรือ การทำ gastric larvage
ภาวะทุโภชนาการ
จัดท่าในการรับประทานอาหารที่เหมาะสม เช่นการนอนศีรษะสูง (ในรายที่ไม่มีข้อห้าม) หรือนอนตะแคง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารในรายที่ได้รับน้อยกว่าความต้องการโดย อาศัยเจ้าหน้าที่หรือญาติในการกระตุ้น
ควบคุมปริมาณอาหารของผู้ป่วยในแต่ละมื้อในแต่ละวัน
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอโดยในระยะเฉียบพลันผู้ ป่วยจะได้รับสารอาหารจากสารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดแดง และบันทึกปริมาณน้ำเข้าออกจากร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยางอย่างเพียงพอทั้งปริมาณและคุณค่าอาหารตามความต้องการของร่างกาย
ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุโภชนาการในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ทุกราย จากแบบประเมินความเสี่ยง BNT
ประเมินลักษณะทั่วไปของผิวหนังและความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพื่อประเมินภาวะโภชนาการเป็นระยะ
ระบบทางเดินอุจจาระและภาวะลำไส้ใหญ่พิการ
Reflexic bowel เกิดจากไขสันหลังได้รับบาดเจ็บเหนือโคนัส เมดดูลารีส (conus medullaris)เป็นลำไส้ใหญ่พิการชนิด upper motor neuron มีลักษณะหดเกร็ง
Areflexic bowel เป็นการบาดเจ็บที่ศูนย์กลางของ รีเฟ็กซ์การขับถ่ายจากการได้รับบาดเจ็บของไขสันหลังระดับที่เกิดต่ำกว่าระดับกระดูกสันหลังที่ T12 ลำไส้ใหญ่พิการชนิด lower motor neuron
การพยาบาล
กระตุ้นผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใย กากใยไม่เพียงแต่ทำให้อุจจาระมีรูปร่างเป็นก้อน แต่ยังส่งเสริมการเคลื่อนไหวของลำไส้ตามปกติอีกด้วย ปกติผู้ป่วยควรได้รับประทานอาหารประเภทกากใยอย่างน้อย 25 กรัมต่อวัน
กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวเท่าที่เป็นไปได้ การออกกำลังกายอย่างเต็มที่ของร่างกายส่วนที่ปกติ เช่น การทำ Range of motion exercises (ROM) ของแขนขา ข้างที่เป็นอัมพาตจะช่วยให้ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ลดอาการท้องผูกลง
เลือกเวลาที่เหมาะสมในการขับถ่ายอุจจาระ โดยโปรแกรมการฝึกขับถ่ายอุจจาระจะประสบความสำเร็จ เมื่อวางแผนให้แต่ละวันมีการขับถ่ายตรงเวลา
ให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอ อุจจาระจะอ่อนตัวได้เมื่อร่างกายได้รับน้ำวันละ 2000 ถึง3000 มิลลิลิตร แต่ในผู้ป่วยที่กำลังฝึกหัดขับปัสสาวะควรควบคุมน้ำตามโปรแกรมด้วย
การให้ยาระบายเพื่อแก้ไขอาการท้องผูกเป็นแนวคิดที่ไม่ถูก ต้องนัก แต่ในระยะเฉียบพลันหลังการบาดเจ็บไขสันหลัง ยาระบายกลับเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ผู้ป่วยส่วนมากสามารถขับอุจจาระออกได้
ล้วงเอาอุจจาระออกจากลำไส้ใหญ่ ภายใน 2 – 3 วัน หลังบาดเจ็บไขสันหลังสามารถลดปัญหาท้องอืดได้
จัดให้ผู้ป่วยมีความเป็นส่วนตัวขณะขับถ่ายอุจจาระ ความเป็นส่วนตัวเป็นปัญหาสำคัญใน การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอ
จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายแล้วสวนอุจจาระเพื่อส่งเสริมให้ลำไส้มีการดูดซึม น้ำยาสวนอุจจาระได้ดีขึ้นและมีการขับถ่ายอุจจาระออกมาโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง
ระบบทางเดินปัสสาวะและภาวะกระเพาะปัสสาวะพิการ
การพยาบาล
การควบคุมจำนวนน้ำดื่ม การพิจารณาควบคุมปริมาณน้ำดื่มจำนวนเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ของผู้ป่วย ฤดูกาล รวมทั้งการประเมินจากค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะด้วย
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (intermittent catheterizations) ทุก 6 ชั่วโมง หรือ 4 ชั่วโมงตามความเหมาะสม จนปัสสาวะสามารถถูกขับออกมาจำนวนหนึ่ง
ระบบผิวหนัง
ในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังโดยเฉพาะผู้ป่วย TETRAPLEGIA กลไก การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติสูญเสียหน้าที่ไป มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการไหลเวียนโลหิตและการปรับสมดุลภายในร่างกาย เมื่อร่างกายสูญเสียการรับความรู้สึกก็จะทำให้ไม่สามารถรับรู้ถึงอันตรายที่ จะเกิดขึ้นกับผิวหนัง
การพยาบาลเพื่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับ
การเลือกที่นอนหรืออุปกรณ์รองรับผู้ป่วยที่เหมาะสม
ดูแลผิวหนังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อเกิดแผลกดทับให้สะอาดแห้ง ไม่เปียกชื้นจากปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่อ อาจจะใช้แป้งหรือครีมทาบางๆ
ในผู้ป่วยที่สามารถลุกนั่ง (ambulation) ได้ ให้พึงระวังการเกิดแรงเลื่อนไถล และแรงเสียดสีบริเวณก้นกบ โดยเฉพาะการนั่งศีรษะสูงกว่า 30 องศา
การส่งเสริมให้มีการไหลเวียนโลหิตโดยการทำ ROM ของข้อเท้า และ isometric exercise การหดเกร็งของขาเป็นสาเหตุให้เพิ่มแรงกดต่อผิวหนังมากขึ้น ควรรายงานแพทย์เพื่อให้ยาลดการหดเกร็ง
เมื่อเปลี่ยนท่านอนแล้วพบรอยแดง เกรด 1 ขึ้นไม่ควรจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนทับบริเวณนั้นอีก
ดูแลให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่เพียงพอ เกลือแร่ และน้ำ จะช่วยรักษาสุขภาพผิวหนัง ทำให้มีความตึงตัวและป้องกันการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพปากและฟันให้สะอาดยังช่วยส่งเสริมให้มีภาวะโภชนาการที่ดีได้ อีกด้วย
การจัดท่านอนตะแคงประมาณ 30 องศาจะช่วยให้ออกซิเจนมาเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณปุ่มกระดูก trochanter ได้ดีกว่าท่านอนตะแคง 60 หรือ 90 องศา การใช้หมอนพยุงไว้จะช่วยป้องกันไม่ให้ท่านอนเลื่อนจากเดิม
ไม่ใช้ความร้อนและความเย็นกับบริเวณที่ไม่รู้สึก
ในการเปลี่ยนท่านอนของผู้ป่วยควรใช้ผ้าขวางเตียงช่วยยกตัวผู้ป่วยขึ้น ไม่ใช้วิธีลากดึง
ในผู้ป่วยบางรายที่มีการบาดเจ็บไขสันหลังและมีการใส่เฝือกหรือ slab เพื่อImmobilization ถ้าสามารถถอดเพื่อประเมินและทำความสะอาดผิวหนังได้ควรทำอย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง
เปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการกดทับบริเวณปุ่มกระดูก และตำแหน่งที่มีความอ่อนแอของผิวหนัง ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากอาจต้องเปลี่ยนท่านอนเร็วกว่า 2 ชั่วโมง
ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน และดูแลผิวหนัง
อยู่ตลอดเวลา โดยการสอนผู้ป่วยคลำ หรือใช้กระจกส่องดูความผิดปกติของผิวหนังบริเวณสะโพก
ให้ความรู้กับผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล และบุคลากรพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย
การจัดสิ่งแวดล้อมให้มีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นเพียงพอ
ประเมินผิวหนังและแผลกดทับโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยง braden
ในผู้ป่วยที่ใส่อุปกรณ์เพื่อ immobilization ของส่วนคอ เช่น hard collar หรือ soft collarควรมีการถอดเพื่อประเมินผิวหนัง อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะ Philadelphia collar
ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังทุกราย ผู้ดูแลควรคำนึงถึงการป้องกันการเกิดแผลกดทับทันที
การดูแลด้านจิตใจ สังคม อารมณ์
ความรู้สึกต่อภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลง (body image disturbance) ทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด รู้สึกตนเองไร้ค่า และหมดความภาคภูมิใจในตัวเอง
การสูญเสียพลังอำนาจ (powerlessness) มีผลให้ผู้ป่วยรับรู้คุณค่าในตัวเองต่ำ ตอบสนองทางอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น โกรธ ก้าวร้าว ซึมเศร้า วิตกกังวล
การสูญเสีย (loss) ซึ่งเป็นการสูญเสียสภาพร่างกาย บทบาทในครอบครัว ด้านสังคมก่อให้เกิดความรู้สึกเศร้าโศก ไม่สามารถยอมรับสภาพที่เปลี่ยนแปลงได้
ความรู้สึกกลัว (fear) กลัวว่าตนเองจะกลายเป็นคนพิการไร้สมรรถภาพตลอดไป
ความวิตกกังวล (anxiety) เกิดจากการไม่ทราบพยาธิสภาพของโรค
ความสิ้นหวัง (hopeless) เป็นความรู้สึกหมดหนทางช่วยเหลือตนเอง ท้อแท้ ยอมแพ้ และหมดกำลังใจ
ผลกระทบด้านสังคม
การวางแผนจำหน่าย
การสอนด้านสุขภาพ ทักษะในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การเคลื่อนย้ายร่างกาย โปรแกรมการฝึกขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ การดูแลผิวหนัง การบริหารยา และความรู้เรื่องเพศศึกษา เป็นต้น
การเตรียมด้านจิตสังคม
การเตรียมการดูแลที่บ้าน (home care preparation) ทักษะในการดูแลตนเอง หรือทักษะในการดูแลของผู้ดูแล เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ การเคลื่อนย้ายตัว การรับประทานอาหาร การทำความสะอาดร่างกาย ตลอดจนมีการประเมินสภาพบ้านและปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วย
การเตรียมแหล่งประโยชน์ด้านสุขภาพ เช่นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือ หรือศูนย์การช่วยเหลือผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ร่วมกับการสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบาด เจ็บ
การส่งต่อ
การประเมินการดูแลในสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความมั่นใจในการดูแลตนเองที่บ้าน โดยมีระบบส่งต่อเพื่อประสานข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยไปยังสถานบริการสุขภาพใกล้บ้านเพื่อให้ครอบครัวพร้อมในการรับผู้ป่วยไปดูแลต่อที่บ้าน
การดูแลต่อเนื่อง
T teamwork
นอกจากทีมสุขภาพแล้ว ผู้ป่วย ครอบครัว ผู้ดูแลและชุมชน คือทีมดูแล สมาชิกทุกคนมีความสำคัญเท่ากัน เคารพการตัดสินใจของผู้ป่วยและครอบครัว
S simple
เป็นวิธีที่ง่าย ผู้ป่วยและชุมชนสามารถจัดการการดูแลเองได้
sincere
มีความจรืงใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
R relationship
สัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันในทีมดูแลจะช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวมั่นใจในการดูแล รู้สึกมีส่วนร่วม มีความรู้สึกที่ดีต่อกัน และมีการแลกเปลี่ยนกัน
T take care
มีการดูแลซึ่งกันและกันในทีม เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยอาจก่อให้เกิดความเครียด สมาชิกในทีมต้องพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีช่วงเวลาที่สมาชิกได้บอกเล่าประสบการณ์ ระบาย และบอกความรู้สึก ตลอดจนสามารถพักจากการดูแลเพื่อดูแลตนเอง
Themselves
การช่วยให้เขาสามารถจัดการการดูแลตนเองได้ เป็นเป้าหมายสูงสุดของทีมดูแล
U unity
มีเป้าหมายที่เป็นหนึ่งเดียวในการดูแลผู้ป่วย
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
แบบแผนการทำงานของลำไส้เปลี่ยนแปลง : ท้องอืด อาเจียน เนื่องจากระบบประสาทซิมพาเธติคไม่ทำงาน
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนแปลงเนื่องจากระบบประสาทซิมพาเธติคไม่ทำงาน
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน : แผลกดทับเนื่องจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง
อาจเกิดภาวะ autonomic hyperreflexia เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะโป่งพองหรือท้องผูก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน : ไขสันหลังถูกกดทับหรือทำลายมากขึ้นเนื่อง
จากกระดูกสันหลังหัก
ผู้ป่วยวิตกกังวลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและความเจ็บป่วยวิกฤติ
ผู้ป่วยวิตกกังวลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและความเจ็บป่วยฉุกเฉิน
ครอบครัววิตกกังวล/เครียดเนื่องจากความเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอเนื่องจากหลอดเลือด ขยายตัวจากการสูญเสียการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติค
เสี่ยงต่อภาวะปอดบวม ปอดแฟบ เนื่องจากนอนบนเตียงนาน
เสี่ยงต่อการขาดประสิทธิภาพการทำทางเดินหายใจให้โล่งเนื่องจากกล้ามเนื้อ หายใจอ่อนแรงจากสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อกระบังลม
เสี่ยงต่อภาวะผิวหนังถูกทำลายหรือเกิดแผลกดทับ ข้อติด กล้ามเนื้อลีบเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
เสี่ยงต่อการหาใจขาดประสิทธิภาพเนื่องจากการบาดเจ็บไขสันหลังระดับคอ
ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเนื่องจากอัมพาตครึ่งท่อน/อัมพาตทั้งตัว
เสียงต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเนื่องจากกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงจากการบาดเจ็บไขสันหลังในระดับคอ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอัมพาต
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อกระบังลม
แบบแผนการขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการบาดเจ็บไขสันหลังและการนอนบนเตียงเป็นเวลานาน