Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางเดินทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางเดินทางเดินหายใจ
โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนบน
โรคคออักเสบ/ทอมซิลอักเสบ
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส ที่พบบ่อย ได้เเก่ adenovirus, influenza virus parainfluenzavirus, rhinovirus, respiratory syncytial virus (RSV)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ที่พบบ่อยที่สุด คือ group A beta-hemolytic streptococci (GABHS)รองลงมา group C, group G streptococci และanaerobe
อาการ
ที่สำคัญ มีไข้และเจ็บคอแต่ในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถบอกอาการได้จะมาพบด้วยอาการน้ำลายไหลผิดปกติ
อาการทางคลินิก
-ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง บวมแดงจัด ต่อมน้ำหลืองทที่คอส่วนหน้าบวมและกดเจ็บ ไข้สูง > 38 ไม่มีอาการไอ
การรักษา
การรักษาตามอาการ -ลดไข้ในกรณีมีไข้ให้ยาลดไข้และเช็ดตัว-บรรเทาอาการเจ็บคออาจให้เป็นน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งมะนาว
การให้ยาต้านจุลชีพ
crop syndrome
พยาธิสภาพ
เมื่อเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้นและกล่องเสียงเกิดการอักเสบ เกิดการบวมของทางเดินหายใจ มีสิ่งคัดหลั่ง มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนใหญ่พบบริเวณฝาปิดกล่องเสียง
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่หลายชนิดที่พบได้บ่อยสุด ได้แก่ ไวรัส parainfluenza นอกจากนี้อาจเกิดจาก
adenovirus อาร์เอสวี (respiratory syncytial virus/RSV) ไวรัสหัด เป็นต้น
ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (influenza A) จะทำให้เกิดอาการที่รุนแรงและพบบ่อยในเด็กอายุ 3-7 ปี โรคนี้ติดต่อผ่านทางเดินหายใจเช่นเดียวกับไข้หวัด
อาการ
แรกเริ่มมีอาการเหมือนกับไข้หวัด คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอเล็กน้อย น้ำมูกไหล 1 - 2 วัน ต่อมาจะมีอาการเสียงแหบและไอเสียงก้อง อาจได้ยินเสียง stridor ตอนหายใจเข้าเกิดตามหลังอาการไอ
อาการเหล่านี้มักเกิด ฉับพลันทันทีและจะเป็นมากในช่วงกลางคืน อาการจะทุเลาในช่วงกลางวัน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 3 - 7 วัน สิ่งตรวจพบ ไข้ 38 - 39 องศาเซลเซียส มีอาการไอเสียงก้องและอาจได้ยินเสียง stridor ในรายที่มีการอักเสบบริเวณหลอดลมร่วมด้วยอาจตรวจพบเสียง wheezing เสียงrhonchและเสียง crepitation
รายที่เป็นรุนแรงจะมีอาการไอถี่ ๆ มีเสียง Stridor ดังชัดเจนขณะพักหายใจลำบาก หน้าอกบุ้ม ฟังปอดได้ยินเสียงหายใจเข้าเบากว่าปกติ ปากเขียว เล็บเขียวและอาจมีอาการซึมไม่รู้ตัว
การรักษา
กลุ่มอาการความรุนแรงน้อย : แพทย์จะให้การรักษาตามอาการโดยให้ยาแก้ไอละลายเสมหะ หรือยาขยายหลอดลม ให้ดื่มน้ำมากๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถให้การรักษาตามอาการที่บ้านได้ โดยการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง
กลุ่มอาการความรุนแรงปานกลาง : แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ให้สารน้ำทางเส้นเลือด ฉีดยา และพ่นยาเพื่อลดอาการบวมของทางเดินหายใจ
กลุ่มอาการความรุนแรงมาก : รีบรักษาโดยการให้ออกซิเจน และพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจร่วมด้วยหากอาการไม่ดีขึ้น
โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนล่าง
หอบหืด
สาเหตุ
พันธุกรรม พบว่าเด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ มีโอกาส เกิดอาการของหอบหืดได้มากกว่าเด็กที่ครอบครัวไม่มีประวัติเป็น โรคภูมิแพ้
Extrinsic asthma เกิดจากการแพ้สารภายนอก เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง ตัวไรในฝุ่น ขนสัตว์ ยา อาหาร เหล็กในของต่อ ผึ้ง ควันบุหรี่ หรือบางครั้งพบว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงขอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม เช่นอากาศที่เย็นลง
Intrinsic asthma เกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจทำให้เกิดการระคายเคืองของหลอดลมทำให้หลอดลมหดเกร็ง การออกกำลังกายมากเกินไป ความผันแปรของอารมณ์และจิตใจ มีอารมณ์ตึงเครียด
อาการ
มีอาการหอบ แน่นหน้าอก หายใจลำบากโดยเฉพาะช่วงหายใจออก
หายใจมีเสียงฮีด หรือจิ๊ดในทรวงอก ไอมาก มีเสมหะเหนียว
ผู้ป่วยมีอาการกำเริบเมื่อมีการสัมผัสสิ่งที่แพ้
ถ้าอาการมากขึ้น ใบหน้าเป็นสีเทาคล้ำ ริมฝีปาก เล็บ เขียวคล้ำ มือเท้าเย็น ใจเต้น เหงื่อออก กระสับกระส่าย ไอ มีเสมหะเป็นฟอง หายใจลำบาก
ส่วนใหญ่มักไม่มีไข้
การรักษา
รักษาขณะมีอาการหอบ
ให้ออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม ให้ยา corticosteroid ควรให้ทันที่ขณะที่หอบมาก รักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ปอดแฟบ
รักษาโรคหืดระยะยาว
ควบคุมสิ่งกระตุ้นให้เกิดการแพ้ ให้ยาเพื่อรักษาภาวะหลอดลมหดเกร็งกายภาพบำบัดทรวงอก เช่น การฝึกการหายใจ การไออย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกาย
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)
สาเหตุ
เชื้อไวรัส respiratory syncytial virus (RSV) และ parainfluenza virus
type สาเหตุส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) เกิดจากไวรัส ได้แก่ influenza A,influenza B
บางครั้งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะมีอาการไอ เสมหะสีเหลืองหรือเขียว
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากถูกสารระคายเคือง เช่น บุหรี่ ฝุ่นละออง สารเคมี หรือเกิดจากภาวะภูมิแพ้ การมีปฏิกิริยาไวเกินของเยื่อบุหลอดลม ทำให้เยื่อบุบวม และหดรั้งได้
อาการ
มีไข้ หรืออาจไม่มีไข้ก็ได้ มีน้ำมูก คัดจมูกนำมาก่อนในช่วง 3-5 วัน โดยมีอาการ ไอเป็นอาการที่สำคัญที่สุด
อาการระยะแรกจะไอแห้งๆ ผู้ป่วยบางรายมีโอเสียงก้อง ต่อมาไอมากขี่นและ มีเสมหะ โดยเสมหะมีลักษณะสีขาว หรือใสเหนียว
มีเสมหะมีลักษณะสีขาว หรือใสเหนียว แล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่น ในเด็กเล็กที่มีการกลืนเสมหะอาจมา ด้วยอาการไอจนอาเจียน เด็กโตสามารถไอขับเสมหะได้แต่อาจไอมากจนมีอาการเจ็บหน้าอก ระยะนี้นานประมาณ 1-2 สัปดาห์และมักมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์
การรักษา
การรักษาตามอาการ
ดื่มน้ำมากๆ อาจให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว เพื่อทำให้ชุ่มคอและ บรรเทาอาการไอ ไม่แนะนำให้ใช้ยากด อาการไอในผู้ป่วยเด็กการรักษาประดับประคอง
การทำกายภาพบำบัดทรวงอกเพื่อระบายเสมหะ
การรักษาจำเพาะ
ในรายที่มีลักษณะบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรให้ยาต้าน
Bronchiolitis
สาเหตุ
โรคภูมิแพ้
การติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อไวรัส มักเป็นสาเหตุของโรคหลอคลมอักเสบเฉียบพลัน
เชื้อส่วนใหญ่ที่พบได้แก่ Rhinovirus, Respiratory Syncytial virus, Influenza,Parainfluenaza, Adenovirus เป็นต้น
เชื้อแบคที่เรีย ส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ Hemophilus influenza type B, Streptococcus pneumoniae
การระคายเคืองจากสารเคมี
พยาธิสภาพ
การติดเชื้อที่เยื่อบุหลอดลมแยกทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต่อมาอาจลุกลามไปยังส่วนของทางเดินหายใจขนาคเล็ก ต่อมสร้างมูกมีขนาดโตและเพิ่มจำนวน มีการทำลายเซลล์ขนกวัด มีการแทรกซึมของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น Polymorphonuclear leukocyte เข้าไปในหลอดลม ส่งผลให้เกิดเสมหะเป็นหนอง
อาการ
เริ่มจากอาการคล้ายใข้หวัด (โรคหวัด หรือโรคไช้หวัดใหญ่) น้ำมูกไหล ไอเล็กน้อย และเมื่อ
2-3 วันผ่านไป เชื้อโรคจะลุกลามไปขังหลอดลม ทำให้มีอาการไอมากขึ้น ไอแห้ง ๆ ไม่ค่อยมีเสมหะ
หลังจากนั้นอาจถุกลามเป็นโรคปอคอักเสบ หรือโรคปอดบวมได้ (โรคปอคอักเสบ โรคปอดบวมในเด็ก)
อาการส่วนใหญ่ของหลอดลมอักเสบจะหายเป็นปกติดี ประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากมีอาการ
การติดต่อ
การติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลายและเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในละอองฝอยกระจายอยู่ในอากาศ จากการไอหรือหายใจรดกัน ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและหลังเกิดอาการ
pneumonia
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย
เกิดจากการสำลักอาหารและนมอย่างรุนแรง
พยาธิสภาพ
มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ เชื้อที่อยู่ในเสมหะหรือเมือกในทางเดินหายใจส่วนต้นจะแพร่เข้าสู่ถุงลมซึ่งภายในถุงลมจะมีกลไกการป้องกันตามปกติของร่างกาย
อาการ
1.มีไข้
ไอมาก ระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆ แต่ระยะต่อมาเสมหะเหนียวข้น และอาจมีเลือดปนเนื่องจากมีการคั่งของน้ำในปอด
หายใจเร็วหรือหายใจหอบ ในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 เดือน อาจไม่มีอาการไอ แต่มีไข้ หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ ถ้ามีอาการรุนแรงเด็กจะไม่ดูดนมหรือน้ำ
หายใจชายโครงบุ๋มขณะหายใจเข้า หายใจมีเสียงดังผิดปกติ
การติดต่อ
1.หายใจเอาเชื้อโรคที่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป เชื้อเหล่านี้อยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วยที่ไอ จาม ออกมาหรือติดต่อโดยการใช้ภาชนะและสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
2.ไอ จามรดกัน
คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นปอดบวม
สำลักเอาเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่โดยปกติในจมูกและคอเข้าไป ซึ่งมักพบในเด็กที่มีภูมิต้านทานบกพร่อง
การรักษา
ในระยะแรก หรือไม่รุนแรง
มีอาการไข้สูง ไอ หายใจเร็ว ควรพาไปรับการรักษาจากแพทย์ อาจให้ยาปฏิชีวนะติดต่อกัน 5 - 7 วัน เพื่อรักษาการอักเสบของปอด
ในภาวะป่วยหนัก หรือรุนแรง
จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ ไม่ยอมกินนมหรือน้ำ ซึมมาก ปลุกตื่นยาก หายใจมีเสียงดัง หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ควรได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
การพยาบาล
การทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว ไม่ใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไป
ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูงให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิ หากทำการเช็ดตัวแล้วไข้ยังไม่ลด ให้รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาลดไข้ร่วมด้วย
วัดสัญญาณชีพอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง
ติดตามค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอดเลือดส่วนปลาย
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
จัดสิ่งแวดล้อมรอบเตียงให้สะอาด เงียบ อากาศถ่ายเทสะดวก