Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น - Coggle Diagram
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
ด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมีลักษณะอย่างไร?
ในวงการการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้ศัพท์บัญญัติเกี่ยวกับความผิดปกติของสายตาอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพื่อใช้สำหรับแบ่งกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นตามลักษณะที่ปรากฏ ซึ่งได้แก่
กลุ่มที่มองเห็นได้บางส่วน (Partially Sighted) หมายถึง เด็กที่มีปัญหาทางการมองเห็นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เป็นคำที่นิยมใช้ในบริบททางการศึกษาเพื่อสื่อถึงภาวะการมองเห็นที่ไม่สมบูรณ์มากกว่าความพิการ เด็กบางส่วนในกลุ่มนี้อาจต้องได้รับการศึกษาพิเศษ
กลุ่มสายตาเลือนราง (Low Vision) หมายถึง กลุ่มที่มีปัญหาทางการมองเห็นที่รุนแรง คือไม่สามารถอ่านหนังสือพิมพ์ในระยะปกติได้แม้จะใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ในการเรียนรู้ เด็กกลุ่มนี้ต้องใช้การมองเห็นร่วมกับประสาทสัมผัสอื่นๆรวมถึงใช้การช่วยเหลืออื่นๆ เช่น การปรับแสง ขนาดตัวอักษร หรือแม้กระทั่งการใช้อักษรเบรลล์ ความผิดปกติส่วนใหญ่ของกลุ่มสายตาเลือนราง แบ่งเป็น ภาวะสายตาสั้น (Myopic) และภาวะสายตายาว (Hyperopic)
กลุ่มพิการทางสายตาตามกฎหมาย (Legally Blind) หมายถึงผู้ที่มีระดับการมองเห็นต่ำกว่า 20/200 หลังจากที่ใช้อุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นแล้ว รวมทั้งมีลานสายตา (Visual Field) สูงสุดไม่เกิน 20 องศา
กลุ่มตาบอดสนิท (Totally Blind) เป็นความบกพร่องทางการมองเห็นระดับรุนแรงที่สุด เด็กต้องเรียนรู้ผ่านอักษรเบรลล์ (Braille) หรือสื่อที่รับได้โดยไม่ต้องมองเห็น (Non-visual media)
เด็กขยี้ตาบ่อยเพราะรู้สึกคัน
ตาแพ้แสงอย่างรุนแรง
โฟกัสการมองเห็นได้ไม่ดี ทำให้เด็กต้องเพ่งสายตาหรือกระพริบตาบ่อย ซึ่งบางครั้งเด็กอาจปิดตาข้างที่ไม่ชัดเวลาดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือ
มองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ
มองตามวัตถุได้ไม่ดี
ตาแดงเรื้อรัง
น้ำตาไหล
ตาเป็นหนอง มีขี้ตา
มีจุดสีขาว สีขาวอมเทา หรือสีเหลืองในตาดำ
การจัดเรียงแนวของดวงตาและการเคลื่อนของตาทั้ง 2 ข้างไม่สัมพันธ์กัน (หลังจากอายุ 6 ปี)
ความบกพร่องทางการมองเห็นมีสาเหตุมาจากอะไร?
ปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็นในเด็กเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุและมักมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก ทั้งนี้สามารถจำแนกสาเหตุของปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็นออกเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะดังนี้
กรรมพันธุ์ (Heredity) โดยความผิดปกติจะสามารถถ่ายทอดมาถึงเด็กได้หากครอบครัวมีประวัติสุขภาพของครอบครัว (Family History) ที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อ (Familial Cataract) โรคกล้ามเนื้อจอตาเจริญผิดเพี้ยน (Retinal dystrophies) และมะเร็งจอตา (Retinoblastoma)
ระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน (Rubella) และโรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
ระหว่างคลอด เช่น โรคจอตาผิดปกติอันเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด (Retinopathy of prematurity) และอาการเยื่อบุตาอักเสบในเด็กแรกเกิด (Newborn Conjunctivitis)
ในวัยเด็ก เช่น การขาดแคลนวิตามินเอ (Vitamin A Deficiency) โรคหัด (Measles) ตาอักเสบ (Eye Infection) ยารักษาตาแผนโบราณ (Traditional eye medicines) และอุบัติเหตุ (Injuries)
ปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็นมีความสำคัญอย่างไร?
คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าดวงตาคือหนึ่งในอวัยวะของร่างกายที่มีความสำคัญมากหรืออาจจะสำคัญที่สุด โดยลักษณะสำคัญของปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็นคือ สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์มารดาหรือตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งแน่นอนว่าเด็กจะยังไม่สามารถบอกอาการผิดปกติให้พ่อแม่รับฟังได้ หรือต่อให้เด็กอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียนซึ่งเป็นวัยที่พูดได้ไม่หยุด หรือแม้กระทั่งเข้าสู่วัยเข้าเรียนแล้วก็ตาม เด็กก็อาจจะไม่สามารถอธิบายอาการได้ ทั้งนี้เพราะเด็กที่มีปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็นมักมองไม่เห็นปัญหาของตนเอง และจะสามารถปรับตัวจนยอมรับการมองโลกในแบบที่เขาเห็นได้โดยรู้สึกเป็นเรื่องปกติ
สังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของลูกตั้งแต่แรกเกิด หากมีความผิดปกติให้พบแพทย์ทันที
หากคนครอบครัวมีประวัติของโรคอันเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางการมองเห็น พ่อแม่ยิ่งจำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถถ่ายทอดกันได้ในครอบครัว
อย่างน้อยที่สุด พ่อแม่ควรพาลูกไปตรวจการมองเห็น (Vision Screening) ครั้งแรกเมื่อลูกอายุ 3 ขวบ
ยึดหลักการ “ยิ่งเร็ว ยิ่งดี” เพราะยิ่งเจอปัญหาไว ยิ่งเข้ารับการรักษาไว ก็ยิ่งหายได้ไว
เมื่อลูกโตพอที่จะสื่อสารได้ พ่อแม่ควรพูดคุยกับลูกบ่อยๆ และควรทดสอบสภาพการมองเห็นของลูกอยู่เสมอ
ไม่นิ่งนอนใจเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ขยี้ตา และควรห้ามลูกไม่ให้ไปสัมผัสดวงตา เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
หากลูกได้รับการวินิจฉัยว่ามีปัญหาความบกพร่องทางการมองเห็น พ่อแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ในกรณีที่ลูกตาบอดสนิทถือว่าเขาขาดโอกาสในการมองเห็นไปตลอดชีวิต จึงเป็นหน้าที่ที่พ่อแม่ต้องเติมเต็มลูกด้วยความรักและสอนทักษะการใช้ชีวิตให้กับเขา