Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษ…
การวางแผนการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
1) วิธีการสอนพูด ต้องพูดกับเด็กให้มากๆ เพราะเป็นทักษะเกี่ยวข้องกับการอ่านริมฝีปากผู้พูด เช่น ฝึกพูดชื่อบุคคลในครอบครัวให้นำภาพพ่อแม่มาให้ดู แล้วชี้ที่ภาพดูภาพแล้วฟัง จึงให้พูดตาม
2) วิธีสอนแบบรวม ใช้ภาษาพูด ภาษามือ การอ่านริมฝีปาก การใช้เครื่องช่วยฟังและการเขียนกระดานดำประกบกันไปในขณะที่เขียน
3) การใช้วิธีสอนต่างวิธีพร้อมกันสลับกันไป คือ การใช้พูดมือสะกดหรือภาษามือ การใช้เครื่องมือช่วยฟังและการเขียนกระดานดำ
4) วิธีสอนแบบรวมหลายวิธี ใช้การสอนพูด ใช้เครื่องช่วยฟัง ภาษามือสะกดด้วยนิ้วมือและการเขียนกระดานดำ
5) วิธีการสอนแบบระบบรวม สอนฝึกฟัง ฝึกอ่านคำพูด ฝึกการอ่าน ฝึกการเขียน ภาษามือ การสะกดนิ้วและการสังเกตท่าทางมารวมกัน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ผู้สอนต้องสามารถประเมินความรุนแรงของความบกพร่องจากการมองเห็นเพื่อเป็นพื้นฐานวางแผนการช่วยเหลือ กำหนดเป้าหมายการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก พัฒนาระบบสัมผัสและระบบการเคลื่อนไหว จัดหาอุปกรณ์หรือเทคโนโลยี เช่น ภาพนูน กราฟนูน และต้องประสานกับครอบครัวเด็ก เพื่อวางแผนร่วมกัน
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ผู้สอนต้องเข้าใจและยอมรับในตัวเด็ก ครูต้องอดทนและใส่ใจมากกว่าเด็กปกติ โดยใช้หลักการสอนเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวไปหาสิ่งที่ไกลตัว สอนที่ละขั้นสอนด้วยการลงมือกระทำ คำนึงถึงความพร้อมของแต่ละบุคคลตามระดับสติปัญญาและสอนโดยการแบ่งหมู่ตามตารางสอน ฯลฯ เป็นต้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพใช้หลักสูตรเหมือนเด็กปกติ ปรับให้เหมาะกับเด็ก ปรับพฤติกรรมให้แสดงอย่างเหมาะสมและให้บริการเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ พิเศษ เป็นต้น ผู้สอนต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับช่วยหาสื่อเด็กที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว และควรโทรตามหรือไปเยี่ยมบ้านสม่ำเสมอ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะพบปัญหาในการเรียน เช่น ความบกพร่องการฟังและการพูด บกพร่องทางการอ่าน ทางการเขียน ทางคณิตศาสตร์ ทางกระบวนการคิด ครูผู้สอนต้องช่วยเหลือ โดยการให้ทำงานเป็นทีมระหว่างครูและครอบครัว ประสานกับครอบครัวของเด็กสม่ำเสมอ ควรให้เวลากับเด็กประเภทนี้ให้มากกว่าเด็กปกติทั่วไป ใช้กระบวนการเรียนที่บูรณาการกับประสบการณ์และใช้สื่อการสอนส่งเสริมให้ได้ใช้ประสาททั้ง 5 สัมผัส
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น เกเร ก้าวร้าว แยกตัวจากเพื่อน ฯลฯ เป็นต้น สามารถจำแนกกลุ่มปัญหาได้ดังนี้ คือ ปัญหาด้านความประพฤติ ด้านความตั้งใจและสมาธิ ผิดปกติในร่างกายและอารมณ์รุนแรง ซึ่งเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพและปัจจัยทางสังคม การจัดการเรียนการสอนและจัดห้องเรียนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ทางบวก ต้องตั้งกฎเกณฑ์ในห้องเรียนอย่างชัดเจนเพื่อให้ปฏิบัติตาม และส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของตนเอง ฝึกความรับผิดชอบและจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้
จุดเด่น/ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : รูปแบบการจัดการศึกษาของการศึกษาพิเศษมีหลายรูปแบบ อาทิเช่น
1) จัดการเรียนร่วมในชั้นปกติและรับบริการพิเศษ เช่น การสอนเสริมบางวิชา
2) จัดโรงเรียนพิเศษ เช่น จัดในโรงพยาบาลหรือสถานพักฟื้น
3) จัดแบบเต็มวันและมีครูเดินสอน ตามตารางสอน
4) จัดการศึกษาโดยครอบครัว โรงเรียนมีส่วนร่วม ในการดำเนินการยึดโรงเรียนเป็นศูนย์การศึกษาต่างๆ
5) จัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ยืดหยุ่นทั้งรูปแบบวิธี การวัดและประเมินหลักสูตร ระยะเวลา ฯลฯ เป็นต้น
ผู้สอนสามารถปรับปรุงการสอนและปรับสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนให้เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะความพิการของผู้เรียน โดยการใช้การพูดให้ช้าและมากขึ้น ใช้เหตุผลในแต่ละช่วงการสอน ปรับภาษาพูดให้เหมาะสมกับผู้เรียน ฟังผู้เรียนพูด อธิบายให้มาก ควรให้รางวัลด้วยวิธีการชมเชย เพื่อเพิ่มความพยายามและสำหรับการประเมินผลต้องสอดคล้องกับตัวผู้เรียนที่มีความพิการแตกต่างกัน เช่น เด็กออทิสติก เป็นโรคที่มีลักษณะแตกต่างกันมากและอาการมีหลายอย่างและความรุนแรงแตกต่างกัน เทคนิคการสอนในห้องเรียนมี 8 เทคนิค คือ
1) หลีกเลี่ยงการสอนที่เป็นนามธรรม
2) หลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำให้เข้าใจผิด
3) การมอบหมายงานต้องไม่ซ้ำซ้อน
4) เพิ่มศักยภาพการฟังและการมอง ด้วยวิธีการจัดองค์ประกอบ
5) มองผู้เรียนเชิงบวก สร้างสรรค์และยืดหยุ่น ฯลฯ เป็นต้น