Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Endometrial hyperplasia ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว - Coggle Diagram
Endometrial hyperplasia
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว
ข้อวินิจฉัยทางการ
พยาบาล
1.มีภาวะซีดเนื่องจากมีประจำเดือนออกมากผิดปกติ
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่า "รู้สึกอ่อนเพลียเล็กน้อย"
: จากการสังเกตผู้ป่วยมีใบหน้าและซีดตามตัว , จากการสอบถามผู้ป่วยมีประจำเดือนมากกว่าผิดปกติรอบละ 20 ครั้ง/เดือน ปริมาณ5/6 แผ่น/วันจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hb 9.3 ต่ำกว่าปกติ (ปกติ12.0-15.0 d/dl) , Hct 30.7 ต่ำกว่าปกติ (ปกติ 36.0-45.0%)
A : เกิดจากการเพิ่มปริมาณของต่อมเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เกิดต่อมมีขนาดและรูปร่างผิดปกติไป มีการเพิ่มของอัตราส่วนของต่อมในโพรงมดลูกต่อสโตรมา (stroma) ซึ่งการได้รับเอสโตรเจนพียงอย่างเดียวและเป็นเวลานานส่งผลทำให้เกิดการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติได้จากกรณีศึกษา พบว่าผู้ป่วยมีประจำเดือนออกมากรอบละ20 วัน ปริมาณ5/6 แผ่น/วัน ระยะเวลา1 เดือน จึงส่งผลให้เกิดการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกได้และเกิดอาการและแสดงาการแสดงโดยการมีอาการตัวซีด อ่อนเพลีย
วัตถุประสงค์
เพื่อลดภาวะซีดให้กลับมาเป็นปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินระดับความรู้สึกตัวและอาการเจ็บปวดโดยการซักถามและสังเกตอาการใบหน้า เปลือกตาซีด หน้ามืด เวียนศีรษะ
วัดและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินอาการเปลี่ยแปลงของผู้ป่วย
แนะนำใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตและประเมินปริมาณ ลักษณะ สี กลิ่นของเลือดที่ออกทางช่องคลอด
4.ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่นเครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
5.ดูแลการได้รับการพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
6.ดูแลการได้รับเลือดและตามแผนการรักษาของแพทย์
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น Hct
เกณฑ์การประเมิน :
ผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยว กับโรคและการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่า "เป็นครั้งแรกของการผ่าตัดกลัวและกังวลไม่รู้ว่าควรปฏิบัติตัวยังไง"
O: จากการสังเกต ผู้ป่วยสีหน้าไม่สดชื่น มีความกังวล
A : เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดที่มีประโยชน์ในบางสถานการณ์เพราะช่วยให้เราตื่นตัวและพร้อมรับมือกับปัญหาหรือเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นความไม่สบายใจ กลัว กระวนกระวายใจ ตื่นตระหนก สงสัย คับข้องใจ หรือมีความเครียดจากกรณีศึกษา มีความกลัว กังวลเกิดความไม่สบายใจขึ้นเนื่องเป็นจากการผ่าตัดเป็นครั้งแรกยังไม่พร้อมที่จะรับกับเหตุการณ์และะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด
วัตถุประสงค์
พื่อให้ผู้ป่วยคลายความกลัวและกังวล มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด ด้านร่างกายและร่างกายเเละจิตใจ การให้ผู้ป่วยลงนามในใบยินยอมรับการรักษาโดยการผ่าตัด (Consent form)พร้อมตรวจสอบรายชื่อพยานให้ครบถ้วนถูกต้อง
1.การงดน้ำ งดอาหารทุกชนิดเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าดัด
2.เตรียมชุดไปห้องผ่าตัด และตรวจสอบไม่ให้นำของมีค่า เครื่องประดับ ฟัน ปลอม แว่นตา คอนแทคเลนส์ และอื่นๆ ไปห้องผ่าตัดการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจก่อนการผ่าตัด
การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจก่อนการผ่าตัด
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย โดยการใช้คำพูดที่สุภาพ อ่อนโยน โดยการแนะนำตนเอง และบุคลากรในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก การซักถามข้อสงสัข รับฟังด้วยความเข้าใจ พร้อมทั้งพูดคุยปลอบโยนให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยคลายความกังวลใจ และยอมรับ พร้อมให้ความ ร่วมมือในการวางแผนการรักษา
2.เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา โดยเป็นสื่อกลางให้กับทีมแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ได้รับทราบถึงความต้องการการรักษาของ ผู้ป่วย เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
1) ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย และติดตามการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ
2) ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ โดยประเมิน ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตทุก 1 ชั่วโมง , อุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง จนครบ 24 ชั่วโมง
3) ประเมินการไหลเวียนของเลือด โดยสังเกตริมฝีปาก ผิวหนัง และสีเล็บ
4 ประเมินแผลผ่าตัด ดูตำแหน่งของแผลผ่าตัด ผ้าปิดแผล สังเกตว่ามีเลือดซึมมากน้อยเพียงใด หากมีเลือดซึมมากขึ้น ให้รายงานแพทย์ทันที
5) ประเมินและบันทึกระดับความเจ็บปวด (pain score) พร้อมดูแลบรรเทาอาการปวดโดยการให้ยาตามแผนการรักษาประเมินการติดเชื้อ เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น แผลผ่าตัดมีอาการบวมแดง ร้อนหากพบอาการผิดปกติดังกล่าวให้รายงานแพทย์
การให้คำแนะนำ เรื่องการปฏิบัติตน ภายหลังผ่าตัด เพื่อจำหน่ายกลับบ้าน
การดูแลแผลผ่าตัดปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ชนิดกันน้ำ และแพทย์อนุญาตให้อาบน้ำได้ แนะนำให้ผู้ป่ายอาบน้ำได้ตามปกติ ห้ามถูสมู่บริเวณขอบพลาสเตอร์ ภายหลังอาบน้ำให้เช็ดตัวให้แห้ง และใช้ผ้าขนหนูที่แห้งซับบริเวณขอบพลาสเตอร์ เพื่อป้องกันการอับชื้น และป้องกันการหลุดลอกของพลาสเตอร์ หลีกเลี่ยงการแช่น้ำในอ่างน้ำหรือลำคลองเนื่องจากอาจติดเชื้อจากสารปนเปื้อนมากับน้ำ ซึมเข้าสู่ร่างกายและทางช่องคลอดได้
สามารถรับประทานอาหาร ได้ตามปกติ เน้นย้ำว่าควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารหมักคอง เป็นต้น
พักผ่อนนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงทำจิตใจให้แจ่มใส ผ่อนคลายอยู่เสมอ
ควรทำงานเบาๆ เช่น กวาดบ้าน ล้างจาน เป็นต้น งดการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก หรือกิจกรรมที่เพิ่มแรงดันในช่องท้อง เพราะจะทำให้แผลผ่าตัดแยกได้ เช่น การยกของหนักเป็นต้น และหลีกเลี่ยงการนั่งยอง
สามารถออกกำลังกายเบาๆ เช่น ยืน เดิน เป็นเวลาอย่างน้อย 10-20 นาที งดการออกกำลังกายที่ต้องเกร็งหน้าท้อง เช่น sit up หรือสะพานโค้ง ภายใน 6 เดือนแรก
งดการมีเพศสัมพันธ์หลังผ่าตัดอย่างน้อย 1 เดือน
อาการผิดปกติต้องมาพบแพทย์ เช่น มีเลือดหรือหนองบริเวณแผลผ่าตัด มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติออกทางช่องคลอด มีอาการปวดท้องน้อยตลอดเวลา ร่วมกับการมีไข้และมีตกขาว ตกขาวมีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
มาตรวจติดตามอาการภายหลังผ่าตัดตามแพทย์นัด และควรตรวจติดตามต่อเนื่อง
ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดการรับประทานยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
เกณฑ์การประเมิน :
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ39 ปี 9 เดือน 29 วัน เตียง 18 ศาสนา พุทธ อาชีพ แม่บ้าน วันที่เข้ารับการรักษา 26 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น.
การวินิจฉัยโรคเมื่อเเรกรับ
Endometrial hyperplasia ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว
การผ่าตัด
C/S with TR เมื่อ2563 (Cecarean section with Tubal Resection) การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องร่วมกับการทำหมัน
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
4 ปีก่อนมาโรงพยาบาล หลังช่วงผ่าคลอดทำหมัน มีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ รอบละ20 วัน ปริมาณ5/6 แผ่น/วัน ระยะเวลา1 เดือนประจำเดือนออกเยอะและมีอาการปวดท้องร่วมด้วยจึงมาโรงพยาบาล พุทธชินราช
1 เดือนก่อน มาโรงพยาบาลตรวจพบชิ้นเนื้อที่เยื่อบุโพรงมดลูก 5 gm.
5 ชั่วโมงก่อน มาตามนัดเพื่อรอการผ่าตัดมดลูก ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี สื่อสารเข้าใจ มีอาการอ่อนเพลียเล็กน้อย
สาเหตุ
มาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไป ซึ่งมีความไม่สมดุลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ผู้หญิงที่มี EH มักจะไปพบแพทย์โดยมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด EH เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและสามารถอธิบายได้ว่าไม่มี atypia (เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดเป็น atypia และมะเร็ง) หรือมี atypia (ซึ่งเซลล์มีความผิดปกติทางโครงสร้างและมีความเสี่ยงสูงในการพัฒนาเป็นมะเร็ง) มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของสตรีทั่วโลกและได้รับการวินิจฉัยบ่อยที่สุดในสตรีหลังหมดประจำเดือนโดยเฉพาะในอายุประมาณ 60 และ 70 ปี เป้าหมายของการรักษา EH คือเพื่อป้องกันไม่ให้พัฒนาเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและขึ้นอยู่กับระดับของ atypia สถานภาพการหมดประจำเดือนและความต้องการเจริญพันธุ์ การรักษาอาจเป็นการให้ยา(ฮอร์โมน) หรือการผ่าตัด (การตัดมดลูก)
กรณีศึกษาได้มีการทำหมันหลังจากที่คลอดบุตรและะกินฮอร์โมนร่วมด้วยแล้ววเกิดการหนาตัวของโพรงมดลูกจึงทำให้เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดผิดปกติคือออกมา มากกว่าปกติรอบละ20 วัน ปริมาณ5/6 แผ่น/วัน ระยะเวลา1 เดือน
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
1.สตรีวัยหมดระดูที่มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด (postmenopausal bleeding)
2.สตรีอายุ 45 ปีขึ้นไปที่ยังไม่หมดประจำเดือน แต่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
3.สตรีอายุน้อยกว่า 45 ปีที่ยังไม่หมดประจำเดือนและมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด แต่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย เช่น ดัชนีมวลกาย (body mass index) มากกว่า 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร(8) , มีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง, ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน, เคยรักษาอาการเลือดออกผิดปกติด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น และมีกลุ่มโรคที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เช่น กลุ่มโรค Lynch syndrome หรือ Cowden syndrome
4.สตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติผลเป็น Atypical glandular cells (AGC)
5.สตรีกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เช่น กลุ่มโรค Lynch syndrome
ความหมาย
จากเยื่อบุมดลูกถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวเป็นระยะเวลานานๆ
ส่งผลทำให้เซลล์เยื่อบุมดลูกมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้เยื่อขุมดลูกหนาตัวมากขึ้น
อาจพบความผิดปกติของเซลล์เยื่อขุมดลูก เนื่องจากแบ่งตัวมากผิดปกติ
จนเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial cancer) ได้ในท้ายที่สุด
อาการแสดงของโรค
1.เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด โดยพบว่าร้อยละ 75-90 ของผู้ป่วยจะมีเลือดออกจากโพรงมดลูก จะมาด้วยเลือดออกในวัยหมดระดู (postmenopausal bleeding) หรือมีลักษณะที่ผิดปกติของรอบเดือน คือ ระยะเวลาระหว่างรอบสั้นเกินไปหรือระยะเวลาในแต่ละรอบมากเกินไป แต่จะไม่สัมพันธ์กับปริมาณประจำเดือนที่ผิดปกติ
ไม่มีอาการแต่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยความไวของการตรวจแบบ conventional Pap smear และ liquid-based cytology อยู่ที่ร้อยละ 40-50 และ 50-60 ตามลำดับ
กรณีศึกษา มีอาการประจำเดือนหลังจากการทำหมัน
มีเลือดออกมากกว่าปกติรอบละ20 วัน ปริมาณ5/6 แผ่น/วัน ระยะเวลา1 เดือน
การรักษา
1)การสังเกตอาการ (expectant management)
สามารถทำได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาแบบไม่มีเซลล์ผิดปกติ (nonatypical endometrial hyperplasia) ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ที่มีความเสี่ยงร่วมอื่น ๆ ในการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกต่ำและต้องมีรอบเดือนมาสม่ำเสมอ
2)การให้ยาฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสติน (progestin therapy)
เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ โดยรูปแบบของยาฮอร์โมน, ช่องทางการให้ยาและวิธีการบริหารยาสำหรับยาฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสติน
3) การตัดมดลูก (hysterectomy)
การผ่าตัดเอามดลูกออกเป็นการรักษาแบบถาวร โดยแนะนำให้ตัดมดลูกออกทั้งหมด วิธีการนี้แนะนำให้เป็นทางเลือกแรกสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวแบบมีเซลล์ผิดปกติหรือผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวแบบไม่มีเซลล์ผิดปกติแต่เข้าสู่วัยหมดระดูแล้ว และเป็นทางเลือกรองในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวแบบไม่มีเซลล์ผิดปกติแต่ไม่ต้องการธำรงค์ภาวะการเจริญพันธุ์
กรณีศึกษาได้รักษาได้ทำการสังเกตอาการร่วมกับการกินยาฮอร์โมนแต่ยังไม่ดีขึ้นจึงตัดสินใจรักษาโดยการตัดมดลูกออก เนื่องจากลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดมะเร็งตามมาและะกรณีศึกษาและะครอบครัวไม่ต้องการมีบุตรแล้ว
พยาธิสภาพ/กลไกการเกิด
Endometrial hyperplasia เกิดจากการเซลล์เยื่อบุมดลูกได้รับการ
กระตุ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่นานโดยที่ไม่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรมา ต้านฤทธิ์ หรือที่เรียกว่า unopposed estrogen ต่อมาเกิดเพิ่มปริมาณของต่อมเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เกิดต่อมมีขนาดและรูปร่างผิดปกติไป มีการเพิ่มของอัตราส่วนของต่อมในโพรงมดลูกต่อสโตรมา (stroma) ซึ่งการได้รับเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวและเป็นเวลานานส่งผลทำให้เกิดการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติได้ (Endometrial hyperplasia) ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจกลายเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก(endometrial cancer)
ความผิดปกติ
ความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุทั่วทั้งโพรงมดลูก Endometrial hyperplasia (EH)
1.1 Simple endometrial hyperplasia ทางพยาธิวิทยาจะตรวจพบเยื่อนุมดลูกหนาตัวเพิ่มขึ้น มีการเพิ่มจำนวนและขยายขนาดของเยื่อบุต่อม (gland) และชั้น stroma จะดูหนาแน่นเพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงต่ำต่อการกลายเป็นมะเร็ง
1.2 Complex (adenomatous) endometrial hyperplasia ยื่อบุต่อมเพิ่มจำนวนขึ้นอยู่กันอย่างหนาแน่นเรียก back-to-back glands มีการหนาตัวของ epithelium ประมาณ 2-4 ชั้น และมี mitotic activity ได้แตกต่างกันอาจมากถึง 10 เซลล์ต่อ high-power feld สิ่งที่ใช้แยกจาก simple hyperplasia คือ ตรวจพบ back-to-back glands และ intraluminal papillae
กรณีศึกษามีความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุทั่วโพรงมดลูกในระยะ Simple endometrial hyperplasia ตรวจพบเยื่อบุมดลูกหนาตัวเพิ่มขึ้น มีการเพิ่มจำนวนและขยายขนาดของเยื่อบุ
ชนิด
1.ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวแบบไม่มีเซลล์ผิดปกติ
atypical endometrial hyperplasia (AEH)
ลักษณะตรวจพบด้วยตาเปล่าจะมีลักษณะหนาตัวกว่าปกติ โดยอาจจะพบติ่งเนื้อ (polypoid apparance) ร่วมอยู่ด้วยได้ประมาณร้อยละ 40 หน้าตัดมีสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาจะมีความผิดปกติของต่อมเยื่อบุโพรงมดลูกส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยหมดระดู และสัมพันธ์กับกับการกลายพันธุ์ของยีน เช่น PAX2, PTEN, KRAS และ CTNNB1(3) ทั้งนี้ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวชนิดนี้มีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกสูงถึงร้อยละ 60
2) ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว แบบมีเซลล์ผิดปกติ
nonatypical endometrial
ลักษณะตรวจพบด้วยตาเปล่าจะมีการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกโดยทั่วๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยใกล้หมดระดู (perimenopause) และไม่ค่อยมีอาการหรืออาจจะมาด้วยเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ทั้งนี้ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวชนิดนี้จะไม่สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนและมีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว แบบมีเซลล์ผิดปกติ
เนื่องจาก ตรวจพบด้วยตาเปล่าจะมีการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกและมีการตรวจเพื่อความแม่นยำโดยการเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูกมีการขูดมดลูกร่วมกับ มีอาการเลือดออกผิดปกและะมีภาวะ
วิธีการตรวจเพื่อวินิจฉัย
1.การเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูกส่งตรวจ (endometrial sampling)
เป็นวิธีการหลักในการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว โดยการเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูกจะใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อดูดเอาเยื่อบุโพรงมดลูกส่งตรวจ
2) การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงทางช่องคลอด (transvaginal ultrasonography)
เพื่อแยกพยาธิสภาพที่ทำให้มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกจากสาเหตุอื่นออกไปก่อน หากไม่พบว่ามีพยาธิสภาพใด ๆ ถ้าตรวจพบว่าเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 มิลลิเมตรจะมีค่าทำนายผลลบถูกต้อง
3) การขูดมดลูก (dilatation and curettage)
วิธีนี้มีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยภาวะเทียบเท่ากับการเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูกส่งตรวจ สามารถใช้เป็นทางเลือกในการวินิจฉัยและวิธีนี้ยังมีประสิทธิภาพดีกว่าในการวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
4) การส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อวินิจฉัย (diagnostic hysteroscopy)
ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถมองเห็นและสามารถเลือกตัดชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกจากบริเวณที่สงสัยว่าจะมีพยาธิสภาพได้โดยตรง
กรณีศึกษาได้มีการเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูกส่งตรวจเมื่อ1 เดือนที่ผ่านมาและมีการขูดมดลูกร่วมด้วย