Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปอดอักเสบจากการสำลัก (Aspiration pneumonia) - Coggle Diagram
ปอดอักเสบจากการสำลัก
(Aspiration pneumonia)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบ
บุคคลมีภูมิคุ้มกันต่ำตามวัยเนื่องจากมีอายุ 65 ปีขึ้นไป
ผู้ป่วยอายุ 65 ปี
บุคคลที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพองและโรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมอง โรคไตวายและโรคคุ้มกันบกพร่อง
ปัจจัยอื่นๆ เช่น ดื่มสุราเรื้อรัง สูงบุหรี่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นมลภาวะ
อาการและอาการแสดง
อาการเฉพาะที่ในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่
ไอ เสมหะเยอะ เสมหะสีเหลืองหรือเป็นหนอง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจเร็ว
ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อย ไอ เสมหะเหนียว ขุ่น ขาวข้น ปริมาณมาก
อาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่
มีไข้ บางรายอาจหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ซึมลง
ลักษณะการติดเชื้อ
การสำลักเชื้อที่สะสมรวมกลุ่มอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน
ลงไปเนื้อปอด เช่น การสำลักน้ำลาย อาหารหรือสารคัดหลั่งในทางเดินอาหาร หากในระยะนี้ผู้ป่วยมีร่างกายอ่อนแอ หรือมีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนหรือมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย ก็จะทำให้เกิดปอดอักเสบได้
ผู้ป่วยเกิดการติดเขื้อจากการสำลักอาหาร
การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง การสูดหายใจเอาเชื้อละอองขนาดเล็กที่อยู่ในอากาศเกิดภาวะปอดอักเสบจากกลุ่มเชื้อไวรัส เชื้อวัณโรคและเชื้อรา
การแพร่กระจายของเชื้อตามกระแสเลือด
การลุกลามโดยตรงจากการติดเชื้ออวัยวะข้างเคียงปอด
เช่น เป็นฝีในตับแล้วแตกเข้าสู่เนื้อปอด
กลไก/พยาธิสภาพ
สำลักอาหาร
ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
เชื้อในเสมหะหรือเมือกในทางเดินหายใจส่วนต้นแพร่เข้าสู่ลม
ในถุงลมจะมีกลไกการป้องกันเพื่อขจัดในเสมหะหรือเมือกออกไปโดยการไอ
ถ้าร่างกายไม่มีกลไกนี้ ปอดจะมีการอักเสบ
มีน้ำและน้ำเมือกเพิ่มขึ้นบริเวณถุงลม และไหลเข้าสู่หลอดลมฝอย
ทำให้เนื้อที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส O2 และ CO2 ลดลงและขจัดเชื้อโรคออกไปยังต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดเพื่อขจัดออกนอกร่างกาย
จะมี WBC และ RBC รวมตัวบริเวณที่มีอาการอักเสบมากขึ้น ทำให้บริเวณถุงลมแคบและแข็ง
2 more items...
จากการตรวจร่างกายฟังปอดพบเสียง Crepitation
จากการตรวจร่างกายฟังปอดพบ Rhonchi
ผู้ป่วยมีอาการสำลัก
ระยะของโรค
ระยะบวมคั่ง (Stage of congestion or edema) เชื้อโรคเข้าสู่ปอดจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง มีเลือดมาคั่งบริเวณที่มีการอักเสบ หลอดเลือดขยายตัว มีแบคทีเรีย เม็ดเลือดแดง fibrin และ WBC ออกมากินแบคทีเรีย ระยะนี้กินเวลา 24 - 46 ชั่วโมงหลังเชื้อโรคเข้าสู่ปอด
ระยะเนื้อปอดแข็ง (Stage of consolidation) ระยะแรกจะพบว่ามีเม็ดเลือดแดงและ fibrin อยู่ในถุงลมเป็นส่วนใหญ่ หลอดเลือดที่ผนังถุงลมปอดขยายตัวมากขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อปอดสีแดงคล้ายตับสด (Red heptization)
ระยะเนื้อปอดฟื้นตัว (Stage of resolution) เมื่อร่างกายสามารถต้านทานโรคไว้ได้ WBC สามารถทำลายแบคทีเรียที่อยู่ในถุงลมปอดได้หมด จะมีเอนไซม์ออกมาละลาย fibrin WBC และหนองก็จะถูกขับออกมาเป็นเสมหะมีลักษณะเป็นสีสนิม
การรักษา
ยาปฏิชีวนะ
Meropenem
รักษาโรคที่เกิดจากการติดแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง : ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก มีอาการปวด บวม หรือแดงบริเวณที่ฉีดยา มีแผลในปากหรือลำคอ เป็นเหน็บ นอนยากหรือง่วงนอนตลอดเวลา
ให้สารน้ำให้เพียงพอ
ผู้ป่วยได้รับ NSS 1,000 ml 20 ml/hr
ใช้ยาขยายหลอดลม
Fenoteral
เพื่อป้องกันการเกิดอาการหอบหืดและหดเกร็งของหลอดลม
ผลข้างเคียง : กระสับกระส่าย มึนงงกลัว เหนื่อยล้า หัวใจเต้นเร็ว แสบอก กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
ให้ออกซิเจน
On ventilator ความเข้มข้น 100 % Mode VC-AC PEEP 8 cm H2O
การใช้เครื่องพยุงการหายใจ
On ventilator ความเข้มข้น 100 % Mode VC-AC PEEP 8 cm H2O
ทำกายภาพบำบัดทรวงอก