Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Necrotizing enterocolitis, http://www.msdbangkok.go.th/dowload%20file/Pers…
Necrotizing enterocolitis
การวินิจฉัย
อุจจาระปนเลือด
อาเจียนอาจมีน้ำดีปน
ท้องอืด
ซึมไม่ค่อยดูดนม
หัวใจเต้นช้าหยุดหายใจ
การประเมินผลทางการพยาบาล
ประเมินสภาพทารกและบันทึกอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจนดูแล ให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอ ทําสรีรบำบัด ทรวงอกโดยการ สั่นผนังทรวงอกและดูดเสมหะ จัดท่า นอนหงายให้ศีรษะเงยขึ้นเล็กน้อย ใช้ผ้าหนุน ไหล่ คอเหยียดตรง เพื่อให้ทางเดิน หายใจเหยียดตรง
พยาธิสรีรวิทยา
การเน่าตาย (necrosis)และการอักเสบของส่วนของผนังลำไส้ซึ่งอาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อก็ได้โดยส่วนใหญ่พยาธิสภาพชนิดนี้จะเกิดกับทารกคลอดก่อนกำหนดและมักพบบริเวณ ileum ส่วนปลาย cecum และลำไส้ใหญ่ส่วนต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลำไส้ทะลุ
มีโอกาสเกิดภาวะพร่องสารน้ำสารอาหารelectrolyte
กิจกรรมการพยาบาล
งดน้ําและอาหารทางปาก และใส่สายสวนกระเพาะอาหารทางปาก เพื่อระบายลมและเพื่อดูดสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารออกเป็นระยะๆบันทึกปริมาณและลักษณะของสิ่งที่ดูดได้
ดูแลให้ได้รับสารน้ําและสารอาหารทางหลอดเลือดดํา รวมทั้งยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
3.ตรวจวัดและบันทึกสัญญาณชีพรวมทั้งสังเกตความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องอืด อาเจียน ถ่ายอุจจาระมีเลือดปนเป็นต้น
สังเกต และบันทึกอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ การติดเชื้อและภาวะช็อก เป็นต้น
ติดตามผลเลือดและภาพถ่ายรังสีเป็นระยะตามแผนการรักษา
เมื่อการทํางานของลําไส้ดีขึ้นและเริ่มได้รับนม สังเกต บันทึกจํานวนและลักษณะของนมที่เหลือค้างในกระเพาะอาหารก่อนให้นมทุกครั้ง
7.เมื่อทารกได้กลับบ้านให้คำแนะนําแก่บิดามารดาเรื่องการดูแลทารกและการสังเกตอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง เช่น อาการท้องอืด อาเจียน ถ่ายปนเลือด ซึ่งหากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์
การรักษา
งดน้ําและอาหารทางปาก เพื่อลดการทํางานของทางเดินอาหาร
ใส่สายสวนกระเพาะอาหารทางปาก เพื่อดูดสารที่เหลือค้างอยู่ในกระเพาะอาหารออกให้หมดเป็นระยะๆเพื่อลดอาการท้องอืด
ดูแลให้สารน้ําและเกลือแร่ รวมทั้งสารอาหารทางหลอดเลือดดําให้เพียงพอ
ให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมได้กว้าง โดยทั่วไป เจนตามันซิน(gentamicin)
ในกรณีที่มีการหยุดหายใจ ดูแลให้ออกซิเจนหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ
การเริ่มให้อาหารทางลําไส้ ควรให้นมแม่และเริ่มในปริมาณน้อยๆก่อน ให้ทารกสามารถรับนมได้ดีจึงค่อยๆเพิ่มปริมาณนมขึ้นวันละไม่เกิน 20 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน
7.ในกรณีที่มีอรการรุนแรงขึ้นขนาดของช่องท้องเพิ่มขึ้นต้องถ่ายภาพรังสีของช่องท้อง เป็นระยะๆ เพื่อ ติดตามดูว่ามีการทะลุของลําไส้หรือไม่ ถ้ามีลําไส้ทะลุต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อตัดส่วนที่เนื้อตายออก
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงมีทั้งอาการโดยทั่วไป และอาการแสดงจําเพาะของระบบ ทางเดินอาหาร อาจเริ่มจากอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ท้องอืด อาเจียน มีนมค้างในกระเพาะอาหาร และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วคล้ายการติดเชื้อในเลือด เช่น ซึม มีไข้ อุณหภูมิร่างงกายไม่คงที่ อาจมีอุณหภูมิต่ำ อาเจียน น้ำตาลในเลือดต่ำอาเจียนมี น้ำดีปน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด กดเจ็บที่หน้าท้องความดันโลหิตต่ำช็อกและอาจเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว
ความหมาย
ภาวะลำไส้เน่า(necrotizing enterocolitis)เป็นภาวะที่มีการอักเสบของลำไส้อย่างรุนแรงและมีการทำลายเยื่อบุลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้มีปัญหาในการดูดซึมอาหารและเป็นสาเหตุการตายของที่สำคัญของทารกแรกเกิด
เกณฑ์การประเมินผล
ภาพถ่ายรังสี
การเห็นส่วนของลำไส้ซึ่งพองอยู่ที่เดิมในการตรวจหลายครั้ง(fixed loops)
การเห็นเงาลมแทรกในผนังลำไส้(pneumatosis intestinalis)
การพบระดับน้ำ(air-fluid level)
การหายไปของลม(paucity of gas หรือ gasless abdomen)
ผลLAB
จำนวน neutrophilต่ำ
เกล็ดเลือดต่ำ
เม็ดเลือดขาวสูง
C-reactive สูง
http://www.msdbangkok.go.th/dowload%20file/Personal/Succeed/RN/L7/G4/Wipa_V2.pdf