Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
AKI ontop CKD - Coggle Diagram
AKI ontop CKD
ระยะต่างๆ ของไตวายเรื้อรัง
ระยะที่ 1 eGFR >90 mL/min/1.73 m มีภาวะไตผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ แต่อัตราการกรองยังปกติ
ระยะที่ 2 eGFR 60-90 mL/min/1.73 m มีภาวะไตผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ อัตราการกรองลดลงเล็กน้อย
ระยะที่ 3a 45-59 mL/min/1.73 m อัตราการกรองลดลงเล็กน้อยถึงปานกลาง
ระยะที่ 3b eGFR 30-44 mL/min/1.73 m อัตราการกรองลดลงปานกลางถึงมาก
ระยะที่ 4 eGFR 15-29 mL/min/1.73 m อัตราการกรองลดลงมาก
ระยะที่ 5 eGFR <15 mL/min/1.73 m ไตวายระยะสุดท้าย
การประเมินผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ประเมินค่า eGFR อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้วยการตรวจ SCr วิธี emzymatic method และรายงานค่า eGFR ใน รายงานผลทางห้องปฏิบัติการ คำนวณด้วยสมการ CKD-EPI (Chronic Kidney Disease Epidemiology Collaboration) equation
ส่งตรวจ Urinalysis (hematuria proteinuria)
ประเมินลักษณะทางคลินิก เพื่อหาสาเหตุของโรคไตที่รักษาให้หายได้ เช่น Urinary tract abnormalities, Heart failure, Sepsis, Dehydration, วัด BP และตรวจร่างกายด้วยวิธีการคลำกระเพาะปัสสาวะ
ไม่เคยมีประวัติโรคไตมาก่อน ควรส่ง SCr และ eGFR ซ้้าภายใน 7 วัน เพื่อค้นหาโรคที่อาจท้าให้เกิด acute
kidney injury
แนะนำให้เข้ารับการดูแลผู้ป่วย CKD ณ สถานพยาบาลนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง
การประเมินผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
ผิวหนัง ตรวจดูสีผิว ความยืดหยุ่นของผิวหนัง ผื่นคัน เพราะผู้ป่วยที่มีการคั่งของยูเรีย ครีเอทีนิน และของเสียอื่นๆ มักจะมีอาการคันตามลำตัวหรือมีอาการบวม
ทรวงอกและทางเดินหายใจ ดูลักษณะทั่วไปของทรวงอก ลักษณะการหายใจผู้ป่วยที่มีการคั่งของยูเรียในเลือดมาก กลิ่นลมหายใจจะมีกลิ่นยูเรีย
หัวใจและหลอดเลือด อาจพบความดันโลหิตต่ำในระยะแรกต่อมาจะมีความดันโลหิตสูง ร่วมกับภาวะ arrhythmia
ทางเดินอาหารอาจพบปากอักเสบ รับประทานอาหารได้น้อย คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด อุจจาระร่วง หรือ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆ
ทางเดินปัสสาวะ อาจตรวจพบจำนวนปัสสาวะใน 24 ชม. พบว่าน้อยกว่า 400 มล.
ระบบประสาท ตรวจดูระดับความรู้สึกผู้ป่วยอาจมีระดับความรู้สึกสับสนซึม ชัก หรือ หมดสติได้
การรวบรวมผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจปัสสาวะผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันจะมีอาการขาดน้ำ จะพบว่าค่า sp-qr.สูง มากกว่า 1.025
การตรวจเลือด มักพบโซเดียม โปตัสเซียมสูงมากในเลือด ซึ่งมักมีสาเหตุจากภาวะขาดน้ำ ร่วมกับค่า BUN,Cr. สูงขึ้นจากภาวะหลอดฝอยของไตเสื่อมหน้าที่
การตรวจทางรังสีวิทยา อาจจำเป็นกรณีที่มีปัญหาการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ การถ่าย Plain KUB ทำให้ทราบว่ามีการอุดกั้นที่ตำแหน่งใดและมีเท่าไหร่
เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง AKI กับ CKD
อาการไตวายเฉียบพลัน
ปัสสาวะออกน้อยกว่า 400 cc/วัน น้อยกว่าคนปกติ 3 เท่า
มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เพราะมียูเรียและสารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบคั่งค้างในเลือด
แขนขาบวมน้ำ เหนื่อยหอบ หรือมีอาการขาดน้ำ อย่างใดอย่างหนึ่ง
รู้สึกวูบหวิว เหนื่อยง่าย หรืออ่อนเพลีย เนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ
มีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากข้างต้น เช่น ปวดชายโครง ผื่นขึ้น เป็นต้น
อาการไตวายเรื้อรัง
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน พบได้เมื่อการทำงานของไตเริ่มเสื่องลงในระยะแรก
ขาบวมและกดบุ๋ม เกิดจากมีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย หรือมีโปรตียรั่วมาในปัสสาวะมาก หากบวมจะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยจากการมีน้ำคั่งในปอด ซึ่งอาจเป็นอันตรสยต่อชีวิต
ความดันโลหิตสูง
คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร คันตามรางกาย อ่อนเพลีย
การพยาบาล
การพยาบาลก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ควรรับประทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการฟอดเลือด
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ออาการความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด แพทย์จะงดยาลดความดันในบางตัวก่อนการฟอกเลือด ส่วนยาอื่นๆ ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้ตามปกติ และควรจัดยา ในมื้อที่ตรงกับเวลาฟอกเลือดไปด้วย เพื่อรับประทานให้ตรงเวลา
มีอาการผิดปกติต่างๆ ต้องแจ้งพยาบาลก่อน การฟอกเลือด เช่น มีไข้ เจ็บแน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ ท้องผูก ท้องเสีย นอนไม่หลับ การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกตัว สับสน หรือมีเลือดออกผิดปกติ
ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดที่แขน ต้องทำความสะอาดแขนบริเวณหลอดเลือดที่จะแทงเข็ม
ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาชาชนิดทาควรทาก่อนการลงเข็ม 30 นาทีตามคำแนะนำของพยาบาล
ชั่งน้ำหนักก่อนฟอกเลือดโดยต้องตรวจสอบว่าไม่มีกระเป๋าถือ รองเท้าที่หนา หรือของใช้ติดตัวเป็นจำนวนมาก ระหว่างชั่งน้ำหนัก
การพยาบาลหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ชั่งน้ำหนักหลังฟอกเลือดทุกครั้ง
ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดที่แขนเมื่อเสร็จสิ้นการฟอกเลือกด้วยเครื่งไตเทียม พยาบาลจะใช้ม้วนผ้ากอซเป็นก้อนกดบริเวณที่แทงเข็มและใช้ปิดปลาสเตอร์ไว้
ระวังการกระทบกระแทกแรงๆ อาจทำให้บริเวณที่ถูกกระแทกเขียวช้ำ ให้ประคบเย็นทันทีต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงแรกหลังจากนั้นประคบด้วยน้ำอุ่น
ถ้ามีแผลของมีคมบาด ใช้ผ้ากอซสะอาดกดจนเลือดหยุด นานประมาณ 15-30 นาที
หลังจากฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อกลับบ้าน
ผู้ป่วยควรประเมินร่างกายด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น วัดความดันโลหิตขณะอยู่ที่บ้านอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งในตอนเช้าหลังตื่นนอน ห้ามวัดความดันโลหิตข้างที่มีเส้นเลือดที่ใช้ฟอกเลือดทำไตเทียม
ผู้ป่วยต้องบริหารเส้นฟอกเลือดโดยการบีบและคลายเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
ไม่ควรงอแขนข้างที่มีเส้นฟอกเลือดในระยะเวลานาน
ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดหลังการฟอกเลือดควรดูแลบริเวณที่ปิดพลาสเตอร์ให้แห้งอยู่เสมอ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ระยะก่อนฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1 ระดับความรู้ตัวลดลงเนื่องจากมีภาวะของเสียคั่งในร่างกาย
ทักทายผู้ป่วยโดยการเรียกชื่อและนามสกุลพร้อมทั้งสังเกตสีหน้าท่าทางและการเคลื่อนไหว
วัด vital signs และประเมิน Early warning sign score ลงบันทึกใน Hemodialysis flow chart
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย จัดวางแขนข้างที่จะแทงเข็มให้เหมาะสม จัดท่านอนศรีษะสูงและให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยหายใจลำบาก
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป ลักษณะผิว การบวมของหนังตา หน้าท้อง แขนและขา กรณียืนได้ให้ชั่งน้ำหนักตัวก่อนฟอกเลือด
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ BUN Cr
ระยะหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 มีความกลัวและวิตกกังวลเนื่องจากในการฟอกเลือดแต่ละครั้งมีภาวะแทรกซ้อนและรักษาด้วยการฟอกเลือดเป็นเวลานาน
พูดคุยให้คำแนะนำถึงพยาธิสภาพของโรค แนวทางการรักษา การปฏิบัติตัวขณะฟอกเลือด หลังการฟอกเลือดเมื่อกลับไปอยู่บ้านรวมทั้งการดูแล vascular access
ให้เวลากับผู้ป่วยและญาติเพื่ออธิบายในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจพร้อมทั้งประเมินความพร้อมในการรับรู้ของผู้ป่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก ความไม่สบายใจ ให้เวลาในการปรับตัว
อธิบายให้ญาติเข้าใจกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของผู้ป่วย และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถช่วยเหลือให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยได้
ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้กรณีที่ไม่ต้องการฟอกเลือดอีกจะช่วยลดความวิตกกังวลและลดภาวะแทรกซ้อนจากการฟอกเลือดได้
นวัตกรรมของผู้ป่วยโรคไตวายวายเรื้อรัง
วงล้อดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังแบบ 2 in 1 ฉบับพกพา
การดูแลสุขภาพโรคไตวายเรื้อรังแบบพกพาให้กับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่ยังไม่เป็นโรค เพื่อมุ่งเน้นการเรียนรู้ การจดจำได้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้เกิดความรู้และตระหนักในการจัดการความเจ็บป่วยได้เหมาะสมตามระยะของโรค ทั้งยังเป็นการเพิ่มการจดจำเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่ถูกต้องได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ ทีมดูแลยังได้ประยุกต์นวัตกรรมวงล้อดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังแบบพกพา แบบ 2 in 1 ซึ่งรวมการดูแลสุขภาพในผู้ป่วย
เบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยอ้างอิงและพัฒนาจากกระบวนการของ “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” ทั้งยังสะดวกต่อการคัดกรองและการให้คำแนะนำสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังของอาสาสมัครประจำหมู่ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ป่วยที่จำเพาะขึ้น