Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โลหิตจางจากการขาดสารอาหาร Nutritional anemia - Coggle Diagram
โลหิตจางจากการขาดสารอาหาร Nutritional anemia
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency anemia)
เป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจากที่พบมากในเด็กไทย ธาตุเหล็กเป็นธาตุที่มีอยู่ในเชลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย อยู่ในเม็ดเลือดแดงทุกเม็ด ร่างกายต้องใช้ธาตุเหล็กในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน ซึ่งฮีโมโกลบินเป็นสารสำคัญที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่จับออกซิเจนจากปอด แล้วลำเลียง
ส่งไปยังเชลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย การขาดธาตุเหล็กทำให้เม็ดเลือดแดงมีความผิดปกติทั้งจำนวนและรูปร่าง คือ เม็ดเลือดแดงขนาดเล็ก (Microcytosis) และติดสีซีด (Hypochromia)*
สาเหตุของโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
สูญเสียเลือดเรื้อรัง ได้แก่ มีพยาธิปากขอ ริดสีดวงทวาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร*
มีความต้องการธาตุเหล็กเพ็มขึ้น ได้แก่ ทารกแรกเกิดที่น้ำหนักตัวน้อย หรือทารกคลอด
ก่อนกำหนด มีธาตุเหล็กที่ได้รับจากมารดาน้อย และอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าทารกปกติในช่วง 6 เดือนแรก จึงต้องการธาตุเหล็กมาก และหญิงวัยรุ่นที่กำลังเจริญเติบโตและมีประจำเดือน*
ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ พบบ่อยในเด็กทุกวัย พบเด็กโลหิตจางในช่วงอายุ 1-2 ปีแรก
จากการดื่มนมอย่างเดียว หรือได้นมผสมที่ไม่ได้เสริมธาตุเหล็ก หรือได้รับอาหารเสริมช้า สำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป
กินอาหารปริมาณน้อย หรือกินอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย หรือนิสัยการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ไม่บริโภคเนื้อสัตว์และไข่
ทำให้ดูดซึมเหล็กได้น้อย หรือกินอาหารที่ยับยั้งการดูดซึมเหล็ก ได้แก่ แคลเซี่ยม หรืออาหารที่มีกากมากจะรวมกับ
เหล็กแล้วกลายเป็นโมเลกุลใหญ่ทำให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้ยาก และมีพยาธิสภาพในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ทำให้การ
ดูดซึมเหล็กลดลง เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้ส่วนต้น หลังได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น*
โลหิตจางจากขาดโฟเลต (Folate) และวิตามินบี 12 (vintamin- B12)
โฟเลต และวิตามินบี 12 เป็นสารที่ช่วยในขบวนการสังเคราะห์ DNA และ RNA ของ
เม็ดเลือดแดง การขาดโฟเลต และวิตามินบี 12 ทำให้การสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดแดงผิดปกติเม็ดเลือดแดงจะมีขนาดใหญ่ (Macrocyte) และมีอายุสั้น ทำให้เกิดโลหิตจางชนิด Megioblastic anemia คนที่ขาด intrinctsic factor ในลำไส้ทำให้ดูดซึมวิตามินบี 12 ไม่ได้ เรียกว่า Pernicious anemia*
สาเหตุของการขาดโฟเลต และวิตามินบี 12
การได้รับโฟเลต และวิตามินบี 12 น้อย
การประกอบอาหารที่สุกเกินไปทำให้สูญเสียโฟเลตและวิตามินบี 12 ไป
การมีพยาธิสภาพที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ ทำให้ขาด intrinctsic factor
โรคตับแข็ง หรือโรคตับเรื้อรัง ทำให้ดูดซึมวิตามินบี 12 ได้ไม่ดี
อาการและอาการแสดง
ผิวหนัง มีอาการซีดสังเกตเห็นได้จากบริเวณ เล็บ ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เหงือก เยื่อบุตา เป็นต้น ในรายที่ซีดไม่มากจะเห็นได้ไม่ชัด
ปาก มุมปากเปื่อย ลิ้นเลี่ยนและอักเสบ (ลิ้นสีแดงจัดเป็นมัน พบเฉพาะในภาวะขาดธาตุเหล็ก รุนแรง แต่ไม่พบในผู้ป่วยทุกราย)
ระบบกล้ามเนื้อ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย
4.เล็บ เล็บอ่อนบาง และแบนโค้งเป็นรูปช้อน (Koilonychia)
การรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดสารอาหาร (ธาตุเหล็ก โฟเลต และวิตามินบี 12)
การรักษาตามสาเหตุของภาวะโลหิตจาง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะแต่ละสาเหตุมีวิธีการรักษา
เฉพาะที่แตกต่างกัน การวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ*
2.การให้เลือดให้เฉพาะรายที่จำเป็น
การรักษาด้วยยา (WHO: Guideline for intermittent IS for children, 2011)
ผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก ให้ Ferrous sulfate หรือ Ferrous fumarate โดยให้ปริมาณ 4-6 mg.
of elemental iron/kg/day เป็นเวลา 6-8 wks. ในรูปของยาน้ำ (Pediron, Eurofer-Iron) หรือยาเม็ด (Eurofer,Fumarate, F-tab)*
ผู้ที่ขาดวิตามินบี 12 ให้ วิตามินบี 12 แต่ผู้ป่วยที่เป็น Pernicious anemia ต้องรักษา
ตลอดชีวิต โดยให้กิน Intrinsic factor ร่วมกับวิตามินบี 12*
การวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดสารอาหาร (ธาตุเหล็ก โฟเลต และวิตามินบี 12)
การซักประวัติ การวินิจฉัยภาวะซีดในเด็ก ควรซักตั้งแต่ประวัติการตั้งครรภ์ของมารดา ประวัติ
การคลอด ชนิดของนมและอาหารเสริม อายุที่เริ่มให้อาหารเสริม ประวัติโรคทางระบบทางเดินอาหาร ถิ่นที่อยู่อาศัย
สุขนิสัยส่วนบุคคล ซึ่งอาจนำไปสู่การหาสาเหตุ เช่น การมีพยาธิปากขอในลำไส้ การรับประทานยาที่ระคายเคืองต่อ
กระเพาะอาหาร สิ่งแวดล้อม ประวัติการมีประจำเดือนในเด็กวัยรุ่นหญิง อาการอ่อนเพลีย หายใจหอบเหนื่อย อาการ
ไม่สุขสบายต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง โรคประจำตัวอื่นๆ*
การตรวจร่างกาย ตรวจทุกระบบเพื่อสังเกตและหาสาเหตุของภาวะซีด ได้แก่ สีผิว
ฝ่ามือฝ่าเท้า ริมฝีปาก เยื่อบุตา เล็บบางหรือช้อนขึ้นหรือไม่ สิ้นเลี่ยน มีริดสีดวงทวารหนักหรือไม่ การทำงานของหัวใจ
อัตราชีพจร ความดันโลหิต เป็นต้น*
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจนับเม็ดเลือด (CBC ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด)
3.2 การเจาะเลือดหา
*
ระดับ serum ferritin < 10 ไมโครกรัม/ลิตร ถือว่ามีภาวะขาดธาตุเหล็ก
ระดับ serum folate< 3 นโนกรัม/ลบ.ซม. ถือว่ามีภาวะขาดโฟเลต
ระดับ serum vitamin B12 < 100 พิโดรกรัม/ลบ.ซม.ถือว่าขาดวิตามินบี 12
3.3 การตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระ*
3.4 การเจาะตรวจไขกระดูก ( bone marrow aspiration หรือ bone marrow
biopsy) จะทำเฉพาะในรายที่จำเป็นเท่านั้น คือในรายที่สงสัยว่ามีความผิดปกติในไขกระดูก*
ข้อวินิจฉัย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 มีภาวะเนื้อเยื่อในร่างกายพร่องออกซิเจนเนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2* มีโอกาสขาดสารอาหารเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเบื่ออาหาร
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3 มีโอกาสติดเชื้อง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ*
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 4
มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากอ่อนเพลีย/เม็ดเลือดแดงน้อย