ข้อมูลสนับสนุน
s: ชอบกินอาหารหวาน น้ำหวานจุดมุ่งหมาย
ไม่กลับมาเป็นซ้ำเกณฑ์การประเมิน
- ผู้ป่วยสามารถบอกเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้านได้ถูกต้อง
กิจกรรมการพยาบาล
D: Diagnosis
“โรคเบาหวาน” คือ โรคที่เซลล์ร่างกายมีความผิดปกติในขบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ
สาเหตุของโรคเบาหวาน
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม
- ความอ้วน
- ความเครียด
- ยาบางชนิด เช่น Steroid
อาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน
- อ่อนเพลีย
- ปัสสาวะบ่อย
- คอแห้ง กระหายน้ำ
- มีอาการคันตามผิวหนัง
- ตาพร่ามัว
- ชาปลายมือปลายเท้า
M:Medication
รับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ได้แก่
- Metformin ยารักษาเบาหวาน ปริมาณ 500 mg
รับประทาน 1เม็ด พร้อมอาหารเช้า
อาการข้างเคียงจากยา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
- Simvastatin ยาลดไขมันในเลือด 20 mg
รับประทาน 1 เม็ดเวลา 2 ทุ่มอาการข้างเคียงจากยา ปวดศรีษะคลื่นไส้ ปวดท้อง
- Cetirizine ยาแก้แพ้ 10 mg รับประทาน 1 เม็ด เวลา 2 ทุ่ม
อาการข้างเคียงจากยา เกิดอาการง่วง อ่อนเพลีย
- Omeprazole ยารักษาแผลในกระเพราะอาหารและกรดไหลย้อน
ปริมาณ 20 mg รับประทาน 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้า เย็น อาการข้างเคียงจากยา ปวดศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- Isosorbide Dinitrate ยารักษาและป้องกันการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ปริมาณ 10 mg รับประทาน 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น
อาการข้างเคียงจากยา ปวดศรีษะหน้ามืด
- .BUDEsonide MDI 200MCG/D
E:Environment
การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น
- ควรเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและบาดแผลกับผู้ป่วยได้
- ที่พักควนถ่ายเทสะดวกหลีกเลี่ยงชุมชนแออัดและบุคคลที่เป็นโรคติดต่อ
T:Treatment
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงเกณ์ปกติ เช่น
- รับประทานอาหารที่เหมาะสม
- การออกกำลังกาย
- การรับประทานยาให้ครบและตรงตามเวลา
H:Health
ส่งเสริมการดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายวันละ 30 นาที สำหรับผู้สูงอายุแนะนำการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่น การย้ำเท้าอยู่กับที่ การแกว่งแขน การรำมวยจีน เป็นต้นO:Out patient
การมาตรวจตามนัด และอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล เช่น
- อ่อนเพลียมาก
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- หายใจหอบเหนื่อย
- ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยน
D:Diet
เบาหวานควบคุมได้ด้วยการรู้จักควบคุมชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ การควบคุมน้ำตาลนั้นทำได้ด้วยการควบคุมอาหารเป็นหลัก
- หมวดข้าว-แป้ง ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้ง 1 ส่วน ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต 18 กรัม โปรตีน 3 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี่ เช่น ข้าวสวย 1 ทัพพี ขนมจีน 1 จับใหญ่ ผู้ป่วยที่อ้วนรับประทานข้าวได้มื้อละ 2 ทัพพี ถ้าไม่อ้วนรับประทานได้ มื้อละ 2-3 ทัพพี
- หมวดผลไม้ต่างๆ ผลไม้ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่ เส้นใยอาหาร ประมาณ 2 กรัมขึ้นไป ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้งหลังอาหารโดยงดเครื่องจิ้ม ผลไม้สด 1 ส่วนมีปริมาณต่างกัน ดังนี้ กล้วยน้ำหว้า/กล้วยไข่ 1 ผลกลาง เงาะหรือชมพู่ 4 ผลใหญ่ ทุเรียน 1 เม็ดกลาง มะละกอสุกหรือสับปะรด 8 ชิ้นคำ ส้มเขียวหวาน 2 ผลกลาง
- หมวดผักต่างๆ ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานผักวันละ 6 ทัพพี ทั้งผักสดและผักสุก แบ่ง
เป็น ประเภท ก ผัก 1 ส่วน คือ ผักสุก 1 ทัพพี หรือ 50-70 กรัม หรือ ผักดิบ 2 ทัพพี หรือ 70-100 กรัม ให้พลังงงานต่ำมาก คาร์โบไฮเดรตน้อยได้แก่ ผักกาดขาว ดอกกะหล่ำ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นต้น ประเภทที่ ข ผัก 1 ส่วน คือ ผักสุก 1 ทัพพี หรือ 50-70 กรัม หรือ ผักดิบ 2 ทัพพี หรือ 70-100 กรัม ให้โปรตีน 2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม และพลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ ได้แก่ ฟักทอง แครอท ใบ-ดอกขี้เหล็ก ผักหวาน
- หมวดเนื้อสัตว์ ควรเลือกโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำมาก เนื้อสัตว์ 1 ส่วน คือ เนื้อสัตว์สุกที่มีน้ำหนัก 30 กรัม ให้โปรตีน 7 กรัม ไขมัน 0-1 กรัมและให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี่ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ปลาทู ปลาช่อน ปลาดุกอุย สันในไก่หรือเนื้อ
- หมวดนม ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมไม่มีไขมัน และควรหลีกเลี่ยงนมที่มีการปรุงแต่งรสเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำตาล โดย นม 1 ส่วน หรือ 240 มล. ให้โปรตีน ไขมัน 0-8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม และพลังงาน 90-150 กิโลแคลอรี่
- หมวดไขมัน หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ไขมัน 1 ส่วน คือไขมันหรือน้ำมันที่มี 5 กรัม หรือ 1 ช้อนชา ให้