Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มัทนะพาธา - Coggle Diagram
มัทนะพาธา
-
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์สุรางคนางค์ 28
กาพย์ฉบัง 16
อินทรวิเชียรฉันท์ 11
วสันตดิลกฉันท์ 14
วิชชุมมาลมฉันท์ 8
อินทรวงศ์ฉันท์ 12
กมลฉันท์ 12
สาลินีฉันท์ 11
จิตระปทาฉันท์ 8
-
เรื่องย่อ
สุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางฟ้าชื่อมัทนา แต่นางไม่ได้รักตอบ เพราะอดีตชาติสุเทษณ์ได้เคยยกกองทัพไปทำลายบ้านเมืองของนางมัทนา และจับพระบิดาประหาร เมื่อนางมัทนาปฏิเสธความรัก สุเทษณ์จึงสาปให้เกิด เป็นดอกกุพชะกะ (ดอกกุหลาบ)
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
ให้ข้อคิดในการครองตน หญิงใดอยู่ในฐานะอย่างนางมัทนาจะต้องมีความระมัดระวังตัว หลีกหนีจาก ผู้ชายมาราคะให้ไกล
คุณค่าด้านเนื้อหา
๑. โครงเรื่อง เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดโครงเรื่องเอง ไม่ได้ตัดตอนมาจากวรรณคดีเรื่องใด แก่นสำคัญของเรื่องมีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑) ทรงปราถนาจะกล่าวถึงตำนานดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่สวยงาม แต่ไม่เคยมีตำนานในเทพนิยาย จึงพระราชนิพนธ์ให้ดอกกุหลาบมีกำเนิดมาจากนางฟ้าที่ถูกสาปให้จุติลงมาเกิดเป็นดอกไม้ชื่อว่า "ดอกกุพฺชกะ" คือ "ดอกกุหลาบ"
๒) เพื่อแสดงความเจ็บปวดอันเกิดจากความรัก ทรงแสดงให่เห็นว่าความรักมีอนุภาพอย่างยิ่ง ผู้ใดมีความรักก็อาจเกิดความหลงขึ้นตามมาด้วย ทรงใช้ชื่อเรื่องว่า "มัทนะพาธา" อันเป็นชื่อของตัวละครเอกของเรื่อง ซึ่งมีความหมายว่า "ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนอันเกิดจากความรัก" มีการผูกเรื่องให้มีความขัดแย้งซึ่งเป็นปม
-
ด้านวรรศิลป์
เรื่องมัทนะพาธาเป็นหนังสือที่แต่งดี ใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ซึ่งแปลกและแต่งได้ยาก มีการเลือกใช้คำเหมาะสมกับเนื้อความและบทบาทของตัวละคร รวมทั้งการพรรรณนาให้มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมภารตะโบราณและเข้ากับเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นยอดแห่งบทละครพูดคำฉันท์
-