Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 52 ปี
Dx : sepsis with pneumonia with infected…
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 52 ปี
Dx : sepsis with pneumonia with infected bedsore with UTI
UD : DM with HT with DLP
-
Pneumonia
1.ความหมาย
การที่ปอดได้รับอันตรายจากการติดเชื้อหรือจากสาเหตุอื่น ส่งผลให้เนื้อปอดซึ่งประกอบด้วยหลอดลมฝอยส่วยปลายสุดเเละถุงลมเกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลันและบวม ทำให้ของเหลวซึ่งประกอบด้วยพลาสมา เม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่าหนอง เข้าไปอยู่ในถุงลม ปอดจึงเกิดการเเข็งตัว
2.สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฎี
การสูบบุหรี่หรือสัมผัสควันบุหรี่ ควันไฟ ทำให้เกิดการระคายเคืองเเละทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ กระตุ้นทำให้ทางเดินหายใจหดเกร็ง กลไกการต้านทานของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจลดประสิทธิภาพลง
การมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเศบเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับยาหลายชนิดในเวลาเดียวกันเเละยาบางตัวเป็นยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดอักเสบ
อาศัยอยู่ในที่ที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศ มีมลภาวะ การไปอยู่ในที่มีการระบาดของการติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้ได้รับเชื้อเข้าสู่งร่างกาย โดยการสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่เเพร่กระจากยอยู่ใยอากาศ จากการไอ จามหรือจากการใช้มือสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ
-
กรณีศึกษา
เกิดจากที่อยู่อาศัยไม่มีการถ่ายเทอากาศ ทำให้ได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเนื่องจากนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
-มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน
4.อากการเเละอาการเเสดง
ทฤษฎี
มีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน ตัวร้อน หน้าแดงหนาวสั่น หายใจหอบ ไอมีเสมหะเป็นหนอง เจ็บหน้าอก มีเสียงเสมหะในปอด ผิวหนังอาจเขียวคล้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ
-
3.พยาธิสภาพ
ทฤษฎี
เชื้อที่อยู่ในเสหมะหรือเมือกในทางเดินหายใจส่วนต้นเเพร่เข้าสู่ถุงลมโดยถุงลมมีกลไกการป้องกัน โดยการโบกปัดของซิเลียเเละไอเพื่อขจัดเชื้อในเสมหะหรือเมือกออกมาในขณะเดียวกันเเมกโครฟาจจะทำลายเชื้อโรคที่อยู่ในถุงลมเเละซิเลียจะโบกปัดออกโดยการไอ เพื่อขับเชื้อออกทางเสมหะหรือกลืนลงกระเพาะอาหาร เเต่ถ้าร่างกายไม่มีกลไกดังกล่าว ปอดจะมีการอักเสบ โดยการสร้างน้ำเเลน้ำเมือกเพิ่มขึ้น บริเวณถุงเเละไหลเข้าสู่หลอดลมฝอยทำให้เนื้อที่ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ทำให้เม็ดเลือดเเดงรวมตัวบริเวณที่มีการอักเสบมากขึ้น ส่งผลทำให้บริเวณถุงลมเเคบลงเเละมีลักษณะเเข็ง น้ำเเละเมือกที่ติดเชื้อจะเเพร่ไปยังปอดส่วนอื่น ทำให้ผู้ป่วยมีไข้ไอ อาจจะมีเสมหะร่วมด้วย
-
6.การรักษา
ทฤษฎี
1.ให้ยาปฏิชีวนะเช่น Erythromycin 500 mg วันละ 4 ครั้ง หรือAmoxicillin 250-500 mg วันละ 3 ครั้ง นาน 7-10 วัน ให้ยาลดไข้ ยาเเก้ปวด ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2.การรักษาเเบบประคับประคองตามอาการ
-ดูเเลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจหรือเขียวบริเวณปลายมือปลายเท้า
-ดูเเลให้ได้สารน้ำอย่างเพียงพอ วันละ 8-10เเก้วเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
-ดูเเลให้ได้รับยาการระบายการคั่งค้างของเสมหะในปอด โดยเฉพาะผู้สูงอายุไม่สามารถไอเพื่อขับเสมหะออกได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกับผู้ป่วยนอน
กรณีศึกษา
ให้ยาMeropenem 1 gm IV ทุก 8 ชั่วโมง ใช้รักษาหรือป้องกันโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก และยา Amoxicillin 500mg 1 tab ใช้รักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อมาจากเเบคทีเรีย เช่น การติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ ผลข้างเคียง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง ปวดหัว
-
infected bedsore
1.ความหมาย
การถูกทาลายเฉพาะทขี่องผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณเหนือปุ่มกระดูก การบาดเจ็บนี้รวมถึงผิวหนังที่เกิดการฉีกขาดหคือเกิดเป็นแผลการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเป็น ผลมาจากความรุนแรงของแรงกดและระยะเวลานานของการถกูกดทับ
2.สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
ขาดการเคลื่อนไหว เช่น นอนติดเตียงตลอดเวลา เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำ ขาดอาหาร โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อมขณะนอนหลับ
กรณีศึกษา
ขาดการเคลื่อนไหว เช่น นอนติดเตียงตลอดเวลา เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำ ขาดอาหาร โรคเบาหวาน
3.พยาธิสภาพ
-
กรณีศึกษา
เป็นระดับที่3 มีการสูญเสียของผิวหนังทั้งหมดคือชั้น epidermisและdermis และอาจถึงขั้นsubcutaneous fat เเต่ไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อเส้นเอ็นเเละกระดูก พื้นผิวบางส่วนจะมีเนื้อตาย เเต่เนื้อตายไม่ปิดบังความลึกของชั้นเนื้อเยื่อที่สูญเสียไปอาจจะมีโพรงเเผลเป็นหลุมเเผลเกิดขึ้น
-
5.การวินิจฉัยโรค
การตรวจวินิจฉัยแผลกดทับ แพทย์จะพิจารณาจากข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ได้แก่ ปัญหาสุขภาพ สมรรถภาพการเคลื่อนไหว ประวัติการเกิดแผลกดทับ ตำแหน่งที่เกิดแผลกดทับ การกลั้นปัสสาวะและอุจจาระ ระบบไหลเวียนเลือด
6.การรักษา
ทฤษฎี
- ลดแรงกดทับ โดยจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล
2.ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาสารหลั่งจากแผล ถ้าน้ำสารหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
3.การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
กรณีศึกษา
. ลดแรงกดทับ โดยจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล
2.ดูแลแผล โดยการทำความสะอาดบริเวณรอบเเผลด้วยเเอลกอฮอร์ 70% หลังจากนั้นทำความสะอาดบริเวณเเผลด้วน 0.9 %NSS หลั่งจากนั้นปิกเเผลด้วยผ้าก๊อต
-