Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 เทคโนโลยีแก้ปัญหา นาย อนุภาพลุมไธสง ม.3/1 เลขที่ 36,…
บทที่ 2 เทคโนโลยีแก้ปัญหา
นาย อนุภาพลุมไธสง ม.3/1 เลขที่ 36
2.2 การระบุปัญหา
เราทราบแล้วว่ากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเป็นกระบวนการทำงานเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานโดยใช้ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ทำให้การระบุปัญหาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ของการทำงานมีความชัดเจน การรวบรวมข้อมูลทำได้ครอบคลุม ตรงประเด็น มีการวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือก ที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา มีการออกแบบเพื่อช่วยสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานด้วยกันเข้าใจตรงกัน และยังมีการทดสอบ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
เราสามารถนำกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมไปใช้แก้ปัญหาในงานอาชีพได้ การที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือ พัฒนางานอาชีพนั้น นักเรียนจะต้องสำรวจ สังเกต และสัมภาษณ์หรือสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพนั้นก่อน เพื่อให้ได้มา ซึ่งปัญหาที่แท้จริง
2.2.1 แนวคิดแบบลีน(Lean Thinking)
เป็นแนวคิดที่เริ่มใช้ในระบบโรงงานอุตสาหกรรมและงานธุรกิจ โดยเน้นไปที่ การสร้างคุณค่า การขจัดความสูญเปล่า การสูญเสียในระหว่างการดำเนินการ หรือลดปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ จนสิ้นสุด โดยสรุปมีทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่
2.2.2 การสัมภาษณ์
การระบุปัญหาเกี่ยวกับอาชีพในชุมชนที่สนใจ จะต้องมีการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับอาชีพนั้น ทำให้ เข้าใจประสบการณ์ของผู้ถูกสัมภาษณ์ว่ามีสิ่งที่ทำให้ พึงพอใจ หรือมีปัญหาใด และต้องการสิ่งใดเพื่อขจัด ปัญหาหรือทำให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริง
การสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการนั้น จะต้องเตรียมการสัมภาษณ์ เพื่อให้การสัมภาษณ์จริงเป็นไปตาม จุดมุ่งหมายหรือประเด็นในการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีความรู้เบื้องต้น และเข้าใจสิ่งที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ต้องการจะสื่อสาร การเตรียมการสัมภาษณ์มีขั้นตอนดังนี้
2.1.1 บริการส่งหาร(Food Delivery)
ธุรกิจร้านอาหาร เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ถือว่ามีความจำเป็น ต่อมนุษย์ เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ขาดไม่ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้น กับร้านอาหารที่เป็นที่นิยมของลูกค้าและเป็นปัญหาแก่ผู้ใช้บริการ คือ การรอต่อคิวหลายชั่วโมง บางร้านอยู่ไกลหรือในบริเวณที่มีรถติดมาก การที่จะเดินทางเพื่อไปที่ร้านจึงเป็นเรื่องลำบากและเสียเวลา
จากปัญหาดังกล่าว จึงมีผู้ประกอบการได้คิดค้นธุรกิจ แบบใหม่ คือการให้บริการส่งอาหารถึงมือลูกค้าจากร้านอาหารต่าง ๆ ที่เป็นร้านยอดนิยม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ไม่ต้องการ เสียเวลาไปต่อคิวและขับรถไปในพื้นที่จราจรติดขัด ซึ่งหากมองธุรกิจ แบบใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ จะจัดอยู่ในกิจกรรมทางโลจิสติกส์ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการตลาดและการบริการลูกค้า
ลักษณะของธุรกิจบริการส่งหาร
ผู้ซื้อเลือกร้านอาหารและเมนูในแอปพลิเคชันแล้วชำระเงิน
ระบบรับคำสั่งซื้อแล้วแจ้งพนักงานไปรับอาหารที่ร้าน
พนักงานจัดส่งอาหารถึงมือผู้ซื้อ
2.3 การรวบรวมข้อมูลและคัดเลือกแนวคิด
หลังจากได้กรอบของปัญหาแล้ว จะต้องกำหนดประเด็นในการรวบรวมข้อมูล โดยอาจใช้การตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็น ต้องรู้ในการหาแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อให้รวบรวมข้อมูลได้ตรงประเด็นปัญหาและลดเวลาการหาข้อมูลที่ไม่จำเป็น เมื่อกำหนดประเด็นเสร็จแล้ว จึงทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี นอกจาก การสอบถามผู้รู้ ค้นหาจากอินเทอร์เน็ต หรือแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ แล้ว อีกวิธีการหนึ่ง คือ การระดมความคิด (brainstorming) การระดมความคิดจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์แนวคิดต่าง ๆ อย่างมากมาย หลากหลาย การคิดแปลกใหม่หรือคิดแตกต่าง จากแนวคิดเดิมที่มีอยู่ อาจเป็นการคิดตัดแปลง ปรับปรุง หรือต่อยอดจากแนวคิดเดิมก็ได้
หลักของการระดมความคิด มีดังนี้
รับฟังทุกแนวคิด ไม่ตัดสินว่าแนวคิดนั้นดีหรือไม่ดี ไม่สรุปโดยทันที
สนับสนุนแนวคิดแปลกใหม่
ต่อยอดแนวคิดผู้อื่น หากเห็นว่าแนวคิดนั้นดี
ไม่ออกนอกเรื่อง ให้ยึดหัวข้อหรือประเด็นที่ตั้งไว้เป็นหลัก
เน้นจำนวนแนวคิดที่หลากหลาย คิดออกมาให้ได้มากที่สุด
2.4 การออกแบบแนวคิด
เมื่อได้แนวทางการแก้ปัญหาแล้ว จะนำแนวทางนั้นมาออกแบบเป็นภาพร่าง ผังงาน หรือ แผนภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างแบบจำลอง
การออกแบบเป็นภาพร่าง สามารถทำได้ทั้งแบบ 2 มิติ คือ มีค้านกว้างและด้านยาว และแบบ 3 มิติ คือ มีทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านสูง การออกแบบโดยการร่างภาพ 3 มิติ จะทำให้มองเห็นภาพได้ทุกด้าน มีความสมจริงมากกว่าภาพ 2 มิติ ทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้มากขึ้น
2.5 การทดสอบและประเมินผล
การทดสอบและประเมินผลเป็นการตรวจสอบการทำงานของชิ้นงานหรือวิธีการที่พัฒนาขึ้นเพื่อประเมินว่าสามารถ แก้ปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ การกำหนดวิธีการทดสอบจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาขึ้นงานหรือวิธีการ ว่าต้องการแก้ปัญหาในเรื่องใด แล้วเลือกวิธีการทดสอบให้เหมาะสมและสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุดได้ ซึ่งวิธีการทดสอบ สามารถทำได้หลายวิธี
2.5.1 การทดสอบหน่วยย่อย
การทดสอบวิธีนี้มุ่งเน้นทดสอบในบางระบบย่อยหรือบางส่วนที่สนใจเพื่อตรวจสอบและแก้ไข หรือพัฒนาส่วนนั้นให้ดีขึ้น ตัวอย่างการทดสอบเฉพาะจุดที่เป็นปัญหา เช่น การทดสอบ ความปลอดภัยจากการชนของรถยนต์
การทดสอบความปลอดภัยจากการชนของรถยนต์ จะนำหุ่นจำลองที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์เข้าไปนั่ง ในตำแหน่งคนขับและติดเซ็นเซอร์เพื่อวัดแรงกระแทก ตามจุดต่าง ๆ เช่น ศีรษะ หน้าอก ท้อง แล้วนำรถไปทดสอบ การชนด้วยความเร็วและสภาพที่เหมือนกับการเกิด อุบัติเหตุจริง จากนั้นจะนำผลการทดสอบมาประเมินระบบ ความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น ถุงลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ระยะเบรก กันชน ว่าสามารถรักษาความปลอดภัย ของผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้มากน้อยเพียงใด
2.5.2 การทดสอบทั้งระบบ
การทดสอบลักษณะนี้มักใช้กับงานที่มีหลายระบบหรือหลายองค์ประกอบ ทำงานร่วมกันเพื่อตรวจสอบว่าระบบย่อยต่าง ๆ นั้นทำงานสัมพันธ์กันหรือไม่ การทดสอบทั้งระบบนั้นต้องการความแม่นยำสูง จึงต้องมีการประเมินผลการ ทดสอบอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้อย่าง สมบูรณ์ก่อนนำไปใช้งานจริง ตัวอย่างการทดสอบทั้งระบบ เช่น ระบบรถไฟฟ้า การทดสอบระบบรถไฟฟ้าก่อนเริ่มเปิดการใช้งานจริง จะทดสอบทั้งระบบ ร่วมกัน เช่น ระบบอาณัติสัญญาณ (ทดสอบเส้นทางการเดินรถ การสลับราง) ระบบสื่อสาร ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า (ทดสอบการหยุดและขับเคลื่อนตัวของรถ) ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (ทดสอบการจัดเก็บตามระยะทางใข้จริง)
2.5.3 การทดสอบกันผู้ใช้จริง
เป็นกระบวนการทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถตอบสนองหรือแก้ปัญหาของผู้ใช้งานจริงได้ การทดสอบ ลักษณะนี้จะแตกต่างกับการทดสอบอื่น ๆ คือ ผู้ใช้งานจริงจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทดสอบและเป็นผู้ตัดสินใจ ในการยอมรับว่าผลของการทำงานนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง ในขณะที่การทดสอบลักษณะอื่น ๆ ผู้พัฒนางานจะเป็นผู้ทดสอบ และประเมินว่าสิ่งที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนี้ยังต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมในขณะทดสอบ ให้เหมือนกับการใช้งานจริงมากที่สุด ผลของการทดสอบจะถูกนำกลับไปใช้เพื่อปรับปรุงงานและมีการทดสอบซ้ำอีกครั้งจนกว่า จะได้รับการยอมรับจากผู้ใช้จริง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีการทดสอบกับผู้ใช้จริง เช่น ขอฟต์แวร์ เครื่องสำอาง
การทดสอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอีกหลายวิธีที่นำมาใช้ในการทดสอบ อย่างไรก็ตามผู้ทดสอบ ต้องพิจารณาและเลือกใช้วิธีการทดสอบให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการพัฒนาขึ้นงานหรือวิธีการเพื่อแก้ปัญหาเป็นสำคัญ นอกจากนี้อาจจะต้องมีการทดสอบซ้ำหลายครั้งเพื่อประเมินการทำงานจนมั่นใจว่าขึ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถนำมาใช้ ในการแก้ปัญหาได้จริง
การชนของรถยนต์
จะเริ่มต้นทดสอบอย่างไร
2.6 การเขียนรายงาน
เมื่อดำเนินการทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการเขียนรายงานเพื่อแสดงกระบวนการ ทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ และเพื่อเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดการต่อยอดของผลงาน การเขียนรายงานมีข้อดี คือ สามารถ นำเสนอรายละเอียดหรือข้อมูลของสิ่งที่ต้องการนำเสนอได้มาก ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านข้อมูลส่วนที่ต้องการได้ การเขียนรายงาน โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ส่วน คือ ส่วนน้า ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนอ้างอิง โดยรายงานในวิชาการออกแบบและ เทคโนโลยี มีรายละเอียดในแต่ละส่วนดังนี้
2.7 การนำเสนองาน
การนำเสนองานนอกจากจะใช้วิธีการเขียนรายงานแล้ว ยังสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การนำเสนอด้วยวาจา อาจพูดปากเปล่าหรือพูดโดยใช้สื่อประกอบการนำเสนอ เช่น โปสเตอร์ ฟลิปชาร์ท โปรแกรมนำเสนองาน การนำเสนอโดยการ จัดนิทรรศการ การนำเสนอผ่าน
สือออนไลน์
การนำเสนอด้วยวาจา เป็นการนำแสนอที่เป็นพื้นฐาน เราจึงควรศึกษาหลักการของการนำเสนอด้วยวาจา เพียให้ผู้ฟัง เข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสาร การนำเสนอด้วยวาจาโตกทั่วไป ควรคำนึงถึงองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ผู้นำเสนอ เนื้อหา และผู้ฟัง
ผู้นำเสนอควรมีการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ โดยการวางแผนก่อนนำเสนอ ศึกษาข้อมูลที่จะนำเสนอ ให้พร้อม กำหนดรูปแบบการนำเสนอและอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับเนื้อหา ฝึกบริหารเวลา และฝึกซ้อมก่อนการนำเสนอ พูดเสียงดัง ขัดถ้อยชัดคำ ตรงประเด็น ใช้ภาษากายช่วยในการสื่อสาร ได้แก่ ควงตา ท่าทาง และการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม
เนื้อหา
ผู้นำเสนอควรเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอให้ชัดเจน เป็นลำดับ ตามโครงเรื่องที่วางแผนไว้ สามารถแสดงที่มาหรือ ความสำคัญของปัญหา หรือจุดประสงค์ของการพัฒนาผลงานใต้ขัดเจน แสดงหรืออธิบายการทำงานของผลงานหรือแนวทางการ แก้ปัญหาได้ตรงตามจุดประสงค์ มีการยกตัวอย่างหรือเปรียบเทียบข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้นำเสนอควรเตรียมรูปแบบของเนื้อหา ที่หลากหลายและเหมาะสม เช่น ภาพ วิดีโอ ตาราง กราฟ เพื่อให้สามารถตรึงความสนใจของผู้ฟังได้ตลอดเวลา
ผู้ฟังหรือกลุ่มเป้าหมาย
ผู้นำเสนอควรพิจารณาว่าผู้ฟังคือใคร เพื่อให้สามารถเตรียมเนื้อหา ตลอดจนใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ฟังและ ตรงวัตถุประสงค์ของการนำเทนอ เช่น ผู้ฟังเป็นเด็ก ก็ต้องใช้คำง่าย ๆ ไม่มีศัพท์เทคนิคมาก มีรูปประกอบที่หลากหลาย มีสีสัน หากผู้ฟังเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียน อาจใช้เรื่องราวที่มีประสบการณ์ร่วมกันมาดึงดูดความสนใจ หากผู้ฟังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำเสนอ ก็จะต้องมีความเข้าใจเนื้อหานั้น โดยแสดงความมั่นใจผ่านบุคลิกภาพที่ดี น่าเชื่อถือ และตอบคำถามด้วยเหตุผลและข้อมูลอ้างอิง โดยไม่คาดเดา
1 ผู้นำเสนอ
แนวคิดแบบลีน(Lean Thinking)
การผลิตสินค้า มากเกินความต้องการ
สินค้าที่เกินความต้องการ ของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน เกิดการ สูญเปล่าหรือทำให้เสียค่าใช้จ่าย ในการจัดเก็บและดูแลรักษา
การรอคอย
การรอคอยวัตถุดิบที่ได้ล่าช้า รอคอยกระบวนการทํางานก่อน หน้า หรือรอคอยผลผลิตสุดท้าย ทำให้เกิดต้นทุนแฝง กระบวนการ ติดขัดหรือหยุดชะงัก
การใช้คนไม่ตรงกับงาน
ารทำงานที่ไม่ถนัดหรือ ต้องแบ่งคนไปทำงานอื่น ทำให้ ไม่สามารถทำงานได้เต็ม ประสิทธิภาพ ไม่สามารถ สร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ได้
การขนย้าย
การขนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้า โดยไม่จําเป็น ตัวอย่างเช่น ที่ตั้ง ของคลังสินค้าและโรง
การมีปริมาณสินค้า คงคลังมากเกินไป
การมีสินค้าที่ต้องจัดเก็บและ รอจําหน่าย ทำให้พื้นที่การทำงาน ลองโดยไม่เกิดคุณล่า และยัง
การเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวของผู้ปฏิบัติ งานที่มากเกินไป เช่น การเดิน การเอื้อม ก่อให้เกิดการสูญเปล่า
ขั้นตอน การทํางานมากเกินไป
การทํางานที่ซ้ำกัน หรือ ข้อนทับกันทำให้ไม่เกิดมูลค่า เพิ่มกับผลิตภัณฑ์
งานที่ต้องแก้ไข
สินค้าไม่มีคุณภาพตามที่ กำหนดจึงต้องนำกลับมาปรับปรุง แก้ไข เกิดค่าใช้จ่ายและสูญเสีย ทรัพยากรเพิ่มเติม
2.7.1 การนำเสนอด้วยวาจา
2.7.2 การนำเสนอด้วยโปรเตอร์
การนำเสนอด้วยโปสเตอร์เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการจัดประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ การนำเสนอในลักษณะนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเบื้องต้นหรือข้อมูลโดยสรุปที่ผู้นำเสนอต้องการจะสื่อสาร โดยอาจมีผู้นำเสนออธิบายเพิ่มเติมหรือไม่มีก็ได้ การนำเสนอลักษณะนี้จึงต้องคัดเลือกข้อมูลที่จำเป็นและสรุปให้ได้สาระสำคัญ เนื่องจากพื้นที่นำเสนอมีจำกัด
2.1 การนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาในอาชิพ