Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพัฒนาการ - Coggle Diagram
ทฤษฎีพัฒนาการ
ฟรอยด์
2.ระยะทวารหรือความสุขอยู่ที่อวัยวะขับถ่าย (Anal stage) - เกิดกับเด็ก 2 ถึง 3 ปี - การใช้ทวารหนักสร้างความสุข การปลดปล่อย และ การกลั่นไว้ - ติดตรึงหรือการติดชะงักกับระยะทวาร (Anal fixation) ทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ชดเชย
มีพฤติกรรม ชอบสะสมของ หวงของ เจ้าระเบียบ โกรธง่าย เรียกว่า Anal personality
3.ระยะความพึงพอใจในอวัยวะเพศ หรือ ขั้นความสุขอยู่ที่อวัยวะเพศ (Phallic stage) - เกิดกับเด็กอายุ 3 ถึง 5 ปี - เด็กจะมีอาการลูบคลำและจับต้องอวัยวะเพศอย่างเพลิดเพลิน ซักถามและให้ความสนใจกับอวัยวะเพศ - การติดตรึงหรือติดชะงักกับระยะอวัยวะเพศ (Phallic fixation) จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศ (Homosexual) เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะมีบุคลิกภาพชดเชย เช่น เป็นผู้ชายสำส่อน เป็นผู้หญิงเอาผู้ชายไม่เลือกหน้า เรียกว่า Phallic personality
1.ระยะปากหรือขั้นความสุขอยู่ที่ปาก (Oral stage) - เกิดกับเด็กแรกคลอดถึง 2 ปี - การใช้ปากเพื่อสร้างความสุข เช่น ดูด กัด อม
- ติดตรึงหรือติดชะงักกับระยะปาก (Oral fixation) เช่น ช่างพูด ชอบบ่น ชอบกินของจุกจิก เรียกว่า Oral personality
4.ระยะสงบหรือระยะแฝง (Latency stage) - เกิดกับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ปี - เริ่มเข้าโรงเรียน เริ่มปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เริ่มสนใจบทบาททางสังคม เลียนแบบเพื่อนร่วมวัยเพศเดียวกัน
5.ระยะสนใจเพศตรงข้าม หรือ ระยะวัยรุ่น (Genital stage)
- อายุ 12 ปีขึ้นไป
- วัยบรรลุวุฒิภาวะทางเพศสมบูรณ์ ทำงานอย่างเต็มที่ เช่น ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน ผู้ชายเริ่มมีอสุจิ
- วัยนี้ต้องการสรา้งความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม แสดงบทบาททางเพศของตัวเอง เห็นได้ชัดว่า บุคคลใดที่มีการแสดงบทบาททางเพศผิดปกติไปจากเพศของจนบ้าง
-
อีริกสัน
อีริก เอช.อีริกสัน(Erikson, 1902-1994) กล่าวถึง พัฒนาการที่เน้นสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและสังคมโดย อธิบายว่าในแต่ละขั้นตอนของพัฒนาการจะมีช่วงวิกฤติถ้าในช่วงชีวิตพัฒนาการเป็นไปด้วยดีหรือมีลักษณะทางบวกมากกว่าทางลบ บุคลิกภาพจะเป็นไปในทางที่ดี ตรงกันข้ามถ้าทางลบมากกว่าคนผู้นั่นก็จะมีบุคลิกภาพไม่สมบูรณ์ อีริกสันจึงแบ่งลำดับขั้นไว้ทั้งสิ้น 8ขั้น
- ความรู้สึกไว้วางใจและความรู้สึกไม่ไว้วางใจ(Trust Vs Mistrust) เด็กแรกเกิด 1ปี อยู่ในช่วงวัยทารก เป็นวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ต้องพึ่งพาผู้อื่นโดยเฉพาะพ่อแม่สัมพันธภาพที่ดีระหว่างพ่อแม่กับเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก การดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสมจากพ่อแม่ มีความรักใครผูกพันอย่างจริงใจเด็กจะมีความรู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัยน่าอยู่ ไว้วางใจได้ ทางตรงข้ามถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสมไม่มีความคงเส้นคงวา เด็กจะรับรู้ว่าโลกนี้มีอันตรายไม่น่าอยู่และหวาดระแวง
- ความรู้สึกเชื่อมันในตนเอง และความไม่มันใจในตนเอง (Autonomy Vs Shame,Doubt) เด็กอายุระหว่าง 2-3ปีเป็นช่วงวัยแห่งการฝึกกล้ามเนื้อส่วนต่างๆเป็นช่วงวัยที่ควรมีความสมดุลระหว่างการเลี้ยงดูแบบทะนุถนอมปกป้องและการเลี้ยงดูแบบการให้ช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น ให้เด็กช่วยเหลือตนเองมากที่สุด เพราะจะทำให้เด็กมีความพัฒนาเป็นของตัวเอง ถ้าพ่อแม่ไม่มีความอดทนไม่ให้โอกาศเด็กหรือทำทุกอย่างแทนเด็ก ไม่ฝึกฝนให้เด็กพึ่งพาตัวเองเด็กจะขาดความมั่นใจในตัวเอง
- ความคิดริเริ่มและความรู้สึกผิด( Initiative Vs Guilt) ขั้นนี้เกิดกับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปี เป็นวัยที่มีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆตลอดจนการใช้ภาษาเด็กมีความคิดริเริ่มเป็นของตนเอง ถ้าพ่อแม่มีเวลาตอบคำถามในสิ่งที่เด็กอยากรู้ก็จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กมีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กชอบที่ศึษาคนคว้าหาความรู้ ถ้าเด็กรู้สึกว่า ผู้ใหญ่เข้มงวดกับการกระทำของเขาไม่เปิดโอกาศให้สอบถามในสิ่งที่อยากรู้ เด็กจะรู้สึกผิดในการคิดหรือการกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ความขยันหมั่นเพียรและความรู้สึกมีปมด้อย (Industry Vs Inferiority)เกิดกับเด็กที่มีอายุระหว่าง 6- 11ปี เป็นช่วงที่เด็กวัยนี้เริ่มเข้าเรียนมีความต้องการที่จะให้ผู้อื่นยอมรับโดยพยามคิดพัฒนาทักษะทุกด้าน การปรับตัวเข้ากับสังคมและการทำงานร่มกับเพื่อนจะทำให้เด็กประสบความสำเร็จ ตรงกันข้ามถ้าเกิดความรู้สึกต่ำต้อยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จะเกิดปมด้อยและมีความเจ็บปวดในตนเอง
- ความเป็นเอกลักษณ์และความสับสนในบทบาท (Ego Identity Vs Role Confusion ) เกิดกับเด็กอายุ 12-18 ปี ขึ้นเป็นช่วงวัยของการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง ตลอดจนมีเป้าหมายถ้าเด็กค้นพบจะแสดงบทบาทหน้าที่ของตัวเองได้ถูกต้อง ถ้าเด็กไม่สามมารถคนหาเอกลักษณ์ของตนเองได้เด็กจะไม่สามารถแสดงบทบาทของตัวเองได้ถูกต้อง
- ความใกล้ชิดสนิทสนมและความโดดเดี่ยวอ้างว้าง(Intimacy Vs Isolation) วัยผู้ใหญ่ระยะเริ่มต้นอายุระห่วาง 19-40 ปี ถ้าหากผ่านขั้นต่างๆมาได้ราบรื่นก็จะรู้ว่าตนเองคือใคร สามารถสร้างความสนิทสนมใกล้ชิด ความไว้เนื้อเชื่อใจ การนับถือซึ่งกันและกัน เกิดความสัมพันธที่แน่นแฟ้นกับเพื่อนที่คบอยู่ ตรงกันข้ามถ้าขั้นต้นๆประสบความล้มเหลวจะไม่มีความรู้สึกผูกพัน ไม่สามารถแบ่งปันหรือแลกเปลี่นกันได้
- การทำประโยชน์ให้แก่สังคมและความคิดถึงแก่ตนเอง ( Generativity Vs Stagnation) วัยกลางคนอายุระหว่าง 40- 60 ปี ถ้าผ่านขั้นที่5-6มาด้วยดี จะเป็นวัยที่พร้อมทำประโยชน์แก่สังคม ถ้าบุคคลใดไม่สามารถผ่านขั้นที่5-6 จะเกิดความรู้สึกท้อในการใช้ชีวิต ไม่สร้างประโยชน์แก่สังคม
- ความรู้สึกมั่นคงทางใจและท้อแท้สิ้นหวัง (Integrity Vs Despair) วัย ชรา อายุระหว่าง60 ปีขึ้น เป็นวัยสุกท้ายของชีวิตถ้าบุคคลใดผ่านมาได้ด้วยดี จะมีความพอใจในชีวิตของตนเอง รู้จักหาความสุข ตรงข้ามถ้าบุคคลใดมีปัญหาพัฒนาในวัยต้นๆและแก้ไม้ได้จะสะสมปัญหาถึงขั้น8 จะไม่สามารถยอมรับความเป็นอยู่ของตนได้
ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg; 1927-1987) เชื่อว่า พัฒนาการทางจริยธรรมมีลำดับขั้นเช่นเดียวกับพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงตรรกศาสตร์ โดยเหตุผลเชิงจริยธรรมมีความสัมพันธ์เซ็งบวกกับเหตุผลเชิงตรรกศาสตร์
-