Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ, นส.สุดารัตน์ พิมพ์สมาน เลขที่25 ม.5/6 - Coggle…
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
หลังจากที่ได้เก็บหรือรวบรวมข้อมูลและด าเนินการจัดระเบียบข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่
เรียบร้อยพร้อมที่จะน าไปวิเคราะห์ได้แล้ว งานในขั้นต่อไปของผู้วิจัยคือการตัดสินใจว่าจะน าสถิติอะไร
มาใช้ ซึ่งในการนี้ผู้วิจัยจะต้องทราบตั้งแต่แรกว่าข้อมูลที่มีอยู่ในลักษณะใดและต้องการเสนอผลการ
วิเคราะห์อะไร
แนวความคิดพื้นฐานทางสถิติอ้างอิง
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยสิ่งแรกที่นักวิจัยจะต้องก าหนดคือ ประชากรที่ต้องการ
ศึกษา จากนั้นนักวิจัยต้องพิจารณาต่อไปว่าสามารถรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมดหรือไม่ ถ้า
ไม่ได้ก็ต้องท าการศึกษาเพียงบางส่วนของประชากรเท่านั้น การที่ประชากรที่นักวิจัยสนใจมีขนาดใหญ่
คือมีจ านวนมากไม่สามารถศึกษาทุกหน่วยของประชากรได้และจะต้องเป็นเหตุให้ต้องเลือกกลุ่ม
ตัวแทนของประชากรมาใช้ในการศึกษา ซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไปว่า กลุ่มตัวอย่าง โดยที่ค่าต่างๆ ที่
ค านวณได้จึงมีชื่อเรียกตามกลุ่มตัวอย่างและประชากรที่ใช้ในการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
พารามิเตอร์ (Parameter) คือ ค่าต่างๆ ที่รวบรวมมาจากประชากรหรือค านวณได้จาก
ประชากร ใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ
ค่าสถิติ (Statistic) คือค่าต่างๆ ที่รวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่างหรือค านวณได้จากกลุ่ม
ตัวอย่าง ใช้ตัวภาษาอังกฤษเป็นสัญลักษณ
ความหมายของสถิติ
ค าว่าสถิติ (Statistics) มาจากภาษาเยอรมันว่า Statistics มีรากศัพท์มาจาก Stat หมายถึง
ข้อมูลหรือสารสนเทศ ซึ่งจะอ านวยประโยชน์ต่อการบริหารประเทศในด้านต่างๆ เช่น การท า
ส ามะโนครัวเพื่อจะทราบจ านวนพลเมืองในประเทศทั้งหมด ในสมัยต่อมา ค าว่า สถิติ ได้หมายถึง
ตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม เช่น จ านวนผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน อัตราการเกิด
ของเด็กทารก ปริมาณน้ าฝนในแต่ละปี เป็นต้น สถิติในความหมายที่กล่าวมานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ข้อมูลทางสถิติ(Statistical data)
ประเภทของสถิติ
สถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)
เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่สามารถ
อ้างอิงไปยังกลุ่มอื่นๆ ได้ สถิติที่อยู่ในประเภทนี้ เช่น ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย ฯลฯ
สถิติอ้างอิง (Inferential statistics)
เป็นสถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม
แล้วสามารถอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรได้ โดยกลุ่มที่น ามาศึกษาจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
ตัวแทนที่ดีของประชากรได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง และตัวแทนที่ดีของประชากรเรียกว่า กลุ่ม
ตัวอย่าง สถิติอ้างอิงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 สถิติพารามิเตอร์ (Parametric Statistics ) เป็นวิธีการทางสถิติที่จะต้องเป็นไป
ตามข้อตกลงเบื้องต้น 3 ประการ ดังนี้
(1) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะต้องอยู่ในระดับช่วงขึ้นไป (Interval Scale)
(2) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ
(3) กลุ่มประชากรแต่ละกลุ่มที่น ามาศึกษาจะต้องมีความแปรปรวนเท่ากัน
2.2 สถิตไร้พารามิเตอร์ (Nonparametric Statistics) เป็นวิธีการทางสถิติที่
สามารถน ามาใช้ได้โดยปราศจากข้อตกลงเบื้องต้นทั้ง 3 ประการข้างต้น สถิติที่อยู่ในประเภทนี้ เช่น
ไคสแควร์, Median Test, Sign test ฯลฯ
นส.สุดารัตน์ พิมพ์สมาน เลขที่25 ม.5/6