Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดทางละเมิดของหน่วยงานของรัฐเกิดขึ้นจากการกระทำนอกเหนือการปฏิบัติห…
ความรับผิดทางละเมิดของหน่วยงานของรัฐเกิดขึ้นจากการกระทำนอกเหนือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ มาตรา 6 7 10
มาตรา 6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
-
ฟ้องใครและใครต้องรับผิด
“เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
ฟ้องศาลใด
ในกรณีของการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่อันมิใช่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่บุคคลภายนอก
จะต้องฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลยุติธรรม
-
มาตรา 10 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของ
รัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจาก
เจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับ
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่งให้มีกำหนด
อายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึ่งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้อง
รับผิดให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตาม
ความเห็นของกระทรวงการคลัง
ฟ้องใคร
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดมิได้บัญญัติไว้ว่าจะให้หน่วยงานของรัฐฟ้องผู้ใด ย่อมเป็นที่
เข้าใจได้เองโดยไม่มีข้อสงสัยว่าต้องฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้กระทําละเมิดนั้น
-
มาตรา 7 “ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงาน
ของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้อง
เจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือ
เจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี เข้ามา
เป็นคู่ความในคดี”
-