Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รถยนต์ไฟฟ้า - Coggle Diagram
รถยนต์ไฟฟ้า
ไฮบริด
รถยนต์ไฮบริด (Hybird) คือ รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงาน ซึ่งส่วนประกอบของเครื่องยนต์และการดูแลรักษาก็จะแตกต่างกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับรถยนต์ไฮบริด คือ
หลักการทำงานของรถยนต์ไฮบริด
รถยนต์ไฮบริด เป็นรถยนต์ที่ยังคงต้องเติมน้ำมัน ขณะรถวิ่งจะมีอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานที่ต้องสูญเสียของเครื่องยนต์มาเป็นกระแสไฟฟ้า เก็บไว้ในแบตเตอรี่ เมื่อ ความต้องการใช้พลังงานของรถมากกว่าที่เครื่องยนต์ผลิตได้ รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เสริ
- ประหยัดพลังงาน
รถยนต์ไฮบริดใช้พลังงานไฟฟ้าร่วมด้วยขณะขับขี่ จึงเป็นรถยนต์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนอย่างดีเยี่ยม เมื่อลดความเร็วโดยการแตะเบรก เครื่องยนต์จะหยุดทำงาน เป็นการลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง และพลังงานความร้อนที่ปกติจะสูญเสียจะถูกเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเต
- ลดมลพิษ
รถยนต์ไฮบริดลดปริมาณการปล่อยแก๊สจากการสันดาป เนื่องจากการหยุดทำงานของเครื่องยนต์ในบางจังหวะของการขับขี
- อัตราเร่งราบรื่น
การทำงานร่วมกันของมอเตอร์ไฟฟ้าจะทำให้ระบบรถยนต์ไฮบริดมีสมรรถนะขับขี่ที่ดีกว่า
- ไร้เสียงรบกวนขณะขับขี่
รถยนต์ไฮบริดมีเสียงที่เงียบ เนื่องจากขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ เครื่องจะดับขณะจอด จึงไร้เสียงรบกวน
- เงียบ จนไม่รู้ว่าจอดหรือออกตัว
เนื่องจากเครื่องยนต์ของรถยนต์ไฮบริดมีเสียงเบากว่ารถยนต์ทั่วไป เมื่อออกตัวหรือจอดเครื่องยนต์จะเสียงเงียบ ทำให้สัตว์เลี้ยง และเด็ก ไม่ทันได้สังเกตว่ามีรถอยู่ใกล้ๆ จึงต้องอาศัยความระมัดระวังเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น
- แกะมาซ่อมเองไม่ได้ ต้องเข้าศูนย์ เมื่อเครื่องยนต์ส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหา ต้องนำรถยนต์ไฮบริดเข้าศูนย์ให้ช่างผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแล ไม่ควรเข้าอู่ทั่วไป ป้องกันอะไหล่ส่วนอื่นเสียหาย โดยช่างที่ศูนย์จะถูกฝึกมาให้จัดการกับปัญหาเครื่องยนต์ไฮบริดได้เฉพาะทางมากกว่า
-
แบตเตอร์รีี่
การชาร์จแบตเตอรี่ รถไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ใช้ทั้งระบบเครื่องยนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้าที่อาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อน การชาร์จไฟแบตเตอรี่ทำได้สะดวกและง่ายดายเพียงเสียบสายชาร์จเข้ากับปลั๊กไฟที่บ้าน ด้วยชุดอุปกรณ์โดยเฉพาะ หรือขับไปชาร์จที่สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ให้บริการนอกสถานที่ได้เช่นกัน
-
-
รถไฟฟ้าจะเก็บไฟฟ้าในแบตเตอรี่และนำมาใช้ในการขับเคลื่อนมอเตอร์เมื่อต้องการ โดยมีเครื่องควบคุมการทำงานของชุด แบตเตอรี่ นอกจากนยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น เซลล์เชื้อเพลิง “Fuel cell” ซึ่งได้รับการพัฒนาสำหรับรถไฟฟ้าซึ่งมีหน้าที่สร้างไฟฟ้าผ่านกระบวนการทางเคมี ขณะขับขี่ตามความต้องการของรถไฟฟ้าชนิดนั้นๆ
-
การไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าจากที่เก็บอยู่ในแบตเตอรี่ไปยังมอเตอร์จะถูกกำหนดโดยตัวควบคุมเครื่อง (motor controller) ซึ่งเป็นเสมือน “สมอง” ของรถและเป็นองค์ประกอบหลักของระบบพลังงาน ถ้ารถไฟฟ้ามีระบบมอเตอร์แบบกระแสสลับ ระบบพลังงานจะมีส่วนที่เป็นตัวแปลงกลับ (inverter) เพื่อเปลี่ยนกระแสไฟแบบ DC จากแบตเตอรี่เป็นกระแส AC สำหรับมอเตอร์
-
ส่วนนี้เป็นกล้ามเนื้อของรถไฟฟ้ามอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล ซึ่งถูกส่งไปยังล้อผ่านเพลาเพื่อขับเคลื่อนยานพาหนะ
-
เครื่องชาร์จเปลี่ยนกระแสไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง เพื่อป้อนให้กับแบตเตอรี่ในการเก็บพลังงาน หลังจากได้ใช้ไปจนหมด รถไฟฟ้าบางประเภทมีเครื่องประจุแบตเตอรี่อยู่บนตัวรถ ขณะที่รถไฟฟ้าบางประเภทใช้เครื่องชาร์จติดตั้งภายนอกและทำการชาร์จในบริเวณที่จัดไว้ กระแสไฟฟ้าจะถูกส่งผ่านไปยังรถโดยผ่านเครื่องชาร์จ
**โดยในส่วนของตัว Charger ทาง ปตท.ได้นำเข้าเทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้า เพื่อมาศึกษาระบบ Charger โดยตรง ซึ่งเทคโนโลยี Charger สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบ่งเป็น
เซลล์เชื้อเพลิง
รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน ทดแทนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยใช้แหล่งพลังงานจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งน้ำมันดิบเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นับวันจะหมดไปเรื่อย ๆ
รถยนต์ไฟฟ้าจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าโดยใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่อาจเป็นแบตเตอรี่หรือแหล่งพลังงานอื่นโดยไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่ปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่เกิดฝุ่นและเสียงรบกวน ถือว่าเป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (low carbon society)
อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบันยังมีทั้งแบบอาศัยเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในมาใช้ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าทั้งในส่วนการขับเคลื่อนและผลิตพลังงานไฟฟ้าเก็บสะสมในแบตเตอรี่ หรือเป็นแบบที่ใช้เชื้อเพลิงอื่นอย่างแก๊สไฮโดรเจนมาผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงด้วยดังนั้น จึงแบ่งรถยนต์ไฟฟ้าออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1) รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% จากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า โดยต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอก และไม่มีเครื่องยนต์ที่ต้องเผาไหม้เชื้อเพลิงจึงไม่มีการปล่อยไอเสียออกมา
2) รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมประกอบไปด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนเป็นหลัก ร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่ารถยนต์ทั่วไป ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอก
3) รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนามาจากแบบไฮบริด แต่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานภายนอกได้สามารถวิ่งได้ระยะทางที่ไกลกว่าแบบไฮบริด
4) รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากการติดตั้งเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้โดยตรงจากการใช้แก๊สไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน
-
ปลั๊กอินไฮบริด
-
PHEV นี้ได้พัฒนาต่อยอดมาจากรถยนต์ไฮบริดนั่นเอง เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ โดยสามารถเติมพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งภายนอก (Plug-in) โดยการเสียบปลั๊กไฟฟ้าจากไฟบ้านโดยตรง หรือสถานีชาร์จไฟ ทำให้รถยนต์สามารถใช้พลังงานได้ถึง 2 แหล่งพร้อมกันซึ่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการขับให้มีระยะทางทางที่ไกลกว่าเดิมและมีความเร็วขึ้นกว่าเดิมและปล่อยมลพิษน้อยลง
รถไฮบริดทั่วไปมีมอเตอร์ไฟฟ้ากับแบตเตอรี่ แต่แปลงกำลังทั้งหมดจากเบนซินหรือดีเซล แต่ PHEV สามารถเดินทางอย่างน้อย 2 แบบ ไฟฟ้าอย่างเดียว หมายถึงมอเตอร์กับถ่านให้พลังงานรถ และ ไฮบริด ที่ใช้ทั้งไฟฟ้ากับน้ำมัน บางรุ่นเดินทางด้วยไฟฟ้าได้มากกว่า 70 ไมล์ PHEV ใช้น้ำมันน้อยกว่ารถทั่วไป 30-60%