Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยสูงอายุ อายุ 73 ปี
Dx : Congestive Heart Failure c…
ผู้ป่วยหญิงไทย วัยสูงอายุ อายุ 73 ปี
Dx : Congestive Heart Failure c Urinary Tract Infection c Acute Kidney Injury
U/D : Hypertension c Dyslipidemia c Ischemic Heart Disease c Gout
Urinary trac infection
ความหมาย
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection) คือการตอบสนองของการอักเสบของเยื่อบผิวระบบทางเดินปัสสาวะต่อเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเยื่อบุผิวระบบปัสสาวะทั้งหมดเชื่อมต่อกัน ทำให้ทั้งระบบของทางเดินปัสสาวะทั้งหมดมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อและมีอาการของการติดเชื้อระบบปัสสาวะได้หลายแบบ
สาเหตุ
ทฤษฎี
สาเหตุของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สำคัญคือแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนเรา โดยกลไกการติดเชื้อคือแบคทีเรียดังกล่าวมีการปนเปื้อนบริเวณส่วนนอกเข้าสู่บริเวณช่องเปิดของท่อปัสสาวะและเคลื่อนขึ้นไปตามท่อปัสสาวะ เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และไต ทำให้เกิดการติดเชื้อ หากมีความผิดปกติใดๆของการไหลออกของปัสสาวะ เช่น การกลั้นปัสสาวะ มีนิ่วหรือเนื้องอกอุดตัน ในทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของโครงสร้างของไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย เชื้อแบคทีเรียจะเคลื่อนเขาสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้และบุคคลที่มีความผิดปกติของภูมิคุ้มกันโรคมีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น
-
อาการและการแสดง
ทฤษฎี
อาการต่างๆ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการติดเชื้อ หากการติดเชื้ออยู่เฉพาะที่กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะผู้ติดเชื้อจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด กลั้น ปัสสาวะไม่อยู่ น้ำปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีเลือดปน และปวดท้องน้อย แต่ถ้าการติดเชื้อนั้นลามขึ้นไปจนถึงไต ผู้ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้แก่ มีไข้เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลังบริเวณสีข้าง และถ้าเป็นรุนแรงมาก อาจมีความดันโลหิตต่ำ ซึมลงและหมดสติได้
-
พยาธิสภาพ
เป็นอการตอบสนองของการอักเสบของเยื่อบุผิวระบบทางเดินปัสสาวะต่อการบุกเข้าของแบคทีเรีย เนื่องจากเยื่อบุผิวระบบปัสสาวะทั้งหมดเชื่อมต่อกันทั้งหมด ทำให้ทั้งระบบของทางเดินปัสสาวะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อทั้งหมดและมีอาการของการติดเชื้อระบบปัสสาวะได้หลายแบบ ซึ่งมักสัมพันธ์กับการมีแบคทีเรียในปัสสาวะ (bacteriuria) และปัสสาวะเป็นหนอง (pyuria)
-
การรักษา
ทฤษฎี
ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่ไม่รุนแรงและมีอาการน้อย แพทย์จะให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก สามารถกลับบ้านได้และให้ยาปฏิชีวนะในรูปกิน ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาคือประมาณ 3-7 วันขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรงของการติดเชื้อ และการตอบสนองต่อการรักษา
-
Hypertension
ภาวะแทรกซ้อน
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นเส้นเลือดขนาดใหญ่ คือ เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไต เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน และภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ คือ หัวใจขาดเลือด และหัวใจล้มเหลว
Acute Kidney Injury
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
เฉียบพลัน
ภาวะฟอตเฟสในเลือดสูง, ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง หรือภาวะซีดเนื่องจากขาดฮอร์โมนอีริโทรพอยเอทิน ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้ไม่ดีเท่าที่ควร
เรื้อรัง
เนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำได้ ทำให้เกิดการคั่งของน้ำในกระแสเลือด ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงและอาจเกิดภาวะหัวใจวายตามมาได้, ภาวะเลือดเป็นกรดที่ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้เช่นกัน ภาวะแทรกซ้อนทางสมอง ทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ, ภาวะติดเชื้อง่ายและรุนแรงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันต่ำ หรือไตถูกทำลายถาวรจากการรักษาล่าช้าและอาจกลายเป็นไตวายเรื้อรังในที่สุด
-
ความหมาย
การที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว โดยเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่นภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ การได้รับสารพิษ ผลข้างเคียงจากยา การรับประทานยาเกินขนาด รวมถึงผู้ป่วยอาการหนักจากโรคต่างๆ ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็มีโอกาสที่ไตจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้
พยาธิสภาพ
การที่ท่อไตไม่สามารถเก็บกักโซเดียมได้อย่างปกติ เนื่องจากโซเดียมเป็นตัวกระตุ้นการเกิดระบบเรนนิน-แองจิโอเทนซิน-อัลโดสเตอโรน มีผลทำให้มีการลดการไหลเวียนกลับของเลือดบริเวณไตร่างกายจึงเพิ่มการหลั่งวาโซเพรสซิน ทำให้เซลล์บวม ยับยั้งการสังเคราะห์โพรสทาแกลนดิน และกระตุ้นระบบ เรนนิน-แองจิโอเทนซินให้หลั่งมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง ซึ่งมีผลลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณไตด้วย อัตราการกรองที่ท่อไตจึงลดลง และทำให้มีปัสสาวะน้อยกว่าปกติ การลดอัตราการไหลเวียนเลือดที่ไต นำไปสู่การลดการส่งออกซิเจนไปยังท่อไตส่วนต้น ดังนั้นจึงมีผลทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อและกลุ่มเซลล์ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เมมเบรนของหลอดเลือดที่ท่อไต การหดเกร็งของหลอดเลือดบริเวณไตทำให้ลดอัตราการกรองของไต หรืออาจเกิดการอุดตันในท่อไตจากเซลล์และเศษเซลล์ทำให้ความดันในท่อไตเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ไตถูกทำลาย
สาเหตุ
ทฤษฎี
- สาเหตุก่อนไต
มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของไตแต่ไม่ได้เกิดจากพยาธิสภาพที่ไต ได้แก่ การเสียเลือด แผลไฟไหม้ ภาวะช็อค การติดเชื้อ หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดที่ไตอุดตัน ภาวะขาดน้ำจากท้องร่วง อาเจียน หรือปัสสาวะมีน้ำตาลมากผิดปกติ โดยปกติไตได้รับเลือดร้อยละ 20 - 25 ของปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจหนึ่งนาที
- สาหตุที่เกิดภายในไต
ที่มีพยาธิสภาพเริ่มต้นที่ เนื้อไต โกลเมอรูลัส หลอดไต หรือเส้นเลือดมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการเน่าตายของหลอดไตอย่างเฉียบพลัน เกิดจากไตขาดเลือดไปเลี้ยง สาเหตุจากโรค เช่น การอักเสบของไตหรือกรวยไตจากเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส นิ่วกดเบียดเนื้อไต มาลาเรีย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือ ได้รับยาหรือสารที่มีพิษต่อเนื้อไต ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ เช่น ampicillin, sulfonamides ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น aspirin, indomethacin สารทึบรังสีที่ใช้ในการใส่สายสวนเพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ สารตะกั่วหรือปรอท เป็นต้น
- สาเหตุที่เกิดหลังไต
กลุ่มอาการที่มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กรวยไตถึงท่อปัสสาวะ โดยไม่มีพยาธิสภาพเริ่มต้นที่เนื้อไต อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ เนื้องอกต่อมลูกหมากโต นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เกิดลิ่มเลือด หรือการติดเชื้อ มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
-
การรักษา
ทฤษฎี
- การรักษาสาเหตุของไตวายเฉียบพลันที่สำคัญ คือ หาสาเหตุให้พบและหยุดสาเหตุนั้นเท่าที่ทำได้ เช่น แก้ไขภาวะช็อก หรือ หยุดให้ยาที่ทำให้ไตวาย
- ให้ยาแก้ไขไตวายเฉียบพลัน ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในกลุ่มของสารกระตุ้นหลอดเลือด (vasoactive agent) และยาขับปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่ และมีเพียงยาบางชนิดเท่านั้นที่ให้ผลในการรักษาเมื่อเกิดไตวายเฉียบพลัน แต่ผลการรักษายังไม่ดีเท่าที่ควร
- การรักษาแบบประกับประคองและรักษาภาวะแทรกซ้อน
- การล้างไตแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ การล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis) และการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไดเทียม (hemodialysis) ซึ่งการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นขบวนการที่เลือดถูกกรองแยกเอาสารที่เป็นของเสียที่เกิดจากเมตาโบลิซึ่ม (metabolism) ออกนอกร่างกายโดยการใช้ตัวกรองที่มีคุณสมบัติเป็นเยื่อที่ยอมให้สารบางชนิดผ่านได้และกำจัดออกนอกร่างกายโดยละลายไปกับน้ำยาฟอกเลือด
-
อาการและการแสดง
ทฤษฎี
- ระยะเริ่มแรก (initial phase) ร่างกายยังสามารถปรับตัวโดยหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลง
- ระยะที่มีปัสสาวะออกน้อย (oliguric phase) หรือไม่มีน้ำปัสสาวะออกจากร่างกาย เนื่องจากไตเริ่มมีการทำงานที่บกพร่อง ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ ในระยะนี้ไตไม่สามารถขับของเสียออกได้
- ระยะปัสสาวะออกมาก (diuretic phase)ปัสสาวะอาจจะออกถึงวันละ 1,000 - 2,000 มล.ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ ร้อยละ 25 จะตายจากภาวะไตวายเฉียบพลันในระยะนี้
- ระยะฟื้นสภาพ (recovery phase) เป็นระยะที่หน้าที่ของไตค่อยๆฟื้นสภาพอย่างช้าๆ อาจใช้เวลาฟื้นสภาพร้อยละ 70 - 80 ภายในเวลาระยะ 1 ปีในบางรายอาจมีการเสียหน้าที่บางส่วนอย่างถาวร
-
ทฤษฎี
เฉียบพลัน
- Hypertensive emergency ภาวะความดันโลหิตสูงที่มีอันตรายเฉียบพลัน
ต่ออวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยทั่วไปความดันโลหิตมักจะสูงกว่า 220/140 mmHg อาจทำให้เกิดภาวะต่างๆดังต่อไปนี้ เช่น ภาวะสมองทำงานผิดปกติจากภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายวายและน้ำท่วมปอด ภาวะแน่นหน้าอกจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด
- Hypertensiv eurgency ภาวะที่ความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/110 mmHg ร่วมกับมีอาการของภาวะความดันโลหิตสูง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หอบเหนื่อย แต่ความดันโลหิตยังไม่มีอันตรายต่ออวัยวะของร่างกาย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย หรือมีประวัติได้รับอันตรายต่ออวัยวะต่างๆมาก่อน เช่น มีหลอดเลือดหัวใจตีบมาก่อน น้ำท่วมปอดมาก่อน หลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว โรคไตวาย
- Severe asymptomatichypertension ภาวะความดันโลหิตสูงที่มากกว่า 180/110 mmHg โดยไม่มีอาการของภาวะความดันโลหิตสูง และไม่มีอันตรายเฉียบพลันต่ออวัยวะต่าง ๆ
-
-
ความหมาย
ระดับความดันโลหิตซิสโตลิค (systolic blood pressure,SBP) มากกว่า หรือเท่ากับ 140 มม.ปรอท และ/หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิค(diastolic blood pressure, DBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มม.ปรอท
พยาธิสภาพ
ความดันโลหิตของบุคคลจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจและแรงต้าน
การไหลเวียนของหลอดเลือดส่วนปลายโดยความดันโลหิตคือปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที
(cardiac output) และความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายการมีระดับความดัน โลหิตสูงเกิดจากการ
เพิ่มขึ้นของปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือทั้งสองปัจจัยหรือจากความล้มเหลวของกลไกการปรับชดเชยปัจจัย
หลักที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิต ได้แก่
1.การกระตุ้นประสาทซิมพาธิติกส่วนแอลฟาทำให้หลอดเลือดแดงหดตัวจึงมีความด้านทาน
ของหลอดเลือดเพิ่มขึ้นการกระตุ้นประสาทซิมพาธิติกจะมีผลต่อการทำงานของระบบเรนิน - แองจิ
โอเทนซินทำให้ผลิตแองจิโอเทนซินทู (angiotensin 2) ส่งผลให้หลอดเลือดแดงหดตัวซึ่งทำให้ความ
ต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นและการกระตุ้นประสาทชิมพาธิติกส่วนเบต้าทำให้อัตราการ
เต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้นแรงบีบตัวของหัวใจแรงขึ้นจึงเพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและทำให้ความ
ดันโลหิตเพิ่มขึ้น
2.การลดลงของสารเหลวในระบบไหลเวียนทำให้ปริมาตรเลือดที่ไหลผ่าน ไตน้อยลงซึ่งกระตุ้น
ระบบเรนิน -แองจิโอเทนซินทำให้หลอดเลือดหดตัวจึงเกิดแรงต้านของหลอดเลือดทั่วร่างกายและแองจิ
โอเทนซินทู (angiotensin 2) ในระบบไหลเวียนจะกระตุ้นให้มีการหลั่งของฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน
(aldosterone hormone) จากต่อมหมวกไตส่วนนอกซึ่งมีผลในการดูดซึมกลับของน้ำและโซเดียมที่ไต
ปริมาณของเลือดจึงเพิ่มขึ้นและความดันโลหิตสูงขึ้น'
3.ต่อมใต้สมองส่วนหลังมีการหลั่งฮอร์โมนแอนตี้ไดยูเรติกฮอร์โมน (antidiuretic hormone)
เพื่อตอบสนองต่อการลดลงของสารเหลวในระบบไหลเวียนและฮอร์โมนดังกล่าวมีผลต่อกล้ามเนื้อเรียบ
ของหลอดเลือดทำให้เลือดที่ไหลผ่านต้องถูกบีบให้ผ่านอย่างแรงจึงทำอันตรายต่อเยื่อบุภายในหลอด
เลือดซึ่งจะทำให้มีการหลั่งสาร ที่มีผลต่อหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดมีการหดตัวมากยิ่งขึ้น
สำหรับความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูงพบร่วมกับการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ
ที่สำคัญ ได้แก่ สมองหัวใจไตและตามีรายงานว่าในกลุ่มที่มีระดับความดัน โลหิตซีสโตลิคมากกว่า
140 มิลลิเมตรปรอท เมื่ออายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดมากขึ้น
และความดัน
สาเหตุ
ทฤษฎี
ความดัน โลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (primary or essential hypertension)
พบได้ประมาณร้อยละ 95 ของจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมดส่วนใหญ่พบในผู้
ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่อย่างไรก็
ตามคณะกรรมการร่วมแห่งชาติด้านการประเมินและ รักษาโรคความดันโลหิตสูงของสหรัฐอเมริกา
พบว่า มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ กรรมพันธุ์ ความอ้วน
การมีไขมันในเลือดสูงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดการ ไม่ออกกำลังกายการดื่มเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์การสูบบุหรี่ความเครียดอายุและมีประวัติครอบครัวเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุนี้เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องให้การวินิจฉัยรักษาและ
ควบคุมโรคให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความดัน โลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ (secondary hypertension) ได้น้อยประมาณร้อยละ 5-10 ส่วนใหญ่เกิดจากการมีพยาธิสภาพของอวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยจะส่งผลทำให้เกิดแรงดันเลือดสูงส่วนใหญ่อาจเกิดพยาธิสภาพที่ไตต่อมหมวกไตโรคหรือความผิดปกติของระบบประสาท ความผิดปกติของฮอร์โมน โรคของต่อมไร้ท่อร่วมโรคครรภ์เป็นพิษการบาดเจ็บของศีรษะยาและสารเคมี เป็นต้น ดังนั้น เมื่อได้รับการรักษาที่สาเหตุระดับความดันโลหิตจะลดลงเป็นปกติและสามารถรักษาให้หายได้
กรณีศึกษา
กรณีศึกษาเป็นความดันโลหิตชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Primary hypertension) และมีปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ คือ กรณีศึกษาอายุ 73 ปี เพศหญิง มีพี่สาวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ คือ มีโรคประจำตัวเป็นไขมันในเลือดสูง การรับประทานอาหารรสเค็ม และความอ้วน
อาการและการแสดง
ทฤษฎี
- อาการปวดศีรษะมักปวดที่บริเวณท้ายทอยโดยเฉพาะเวลาตื่นนอนในช่วงเช้าต่อมาอาการจะค่อยๆดีขึ้นจนหายไปเองภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงและอาจพบมีอาการคลื่นไส้อาเจียนตาพร่ามัวร่วมด้วย
- เวียนศีรษะ พบร่วมกับอาการปวดศีรษะ
- เลือดกำเดาไหล
- เหนื่อยหอบขณะทำงานหรืออาการเหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้แสดงถึงการมีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว
- อาการอื่น ๆ ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกสัมพันธ์กับภาวะหัวใจขาดเลือด
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการของภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง คือ Microvascular เกิดขึ้นที่หลอดเลือด ทำให้ ความดันโลหิตสูง, Macrovascular เกิดขึ้นที่ หัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและหัวใจล้มเหลวและที่ไต ทำให้ผู้ป่วย มีภาวะไตวายเฉียบพลัน
การรักษา
กรณีศึกษา
กรณีศึกษา มีการรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยการใช้ยา Furosemide 40 mg iv q 15 hr, Amlodipine 10 mg 1 tab OD pc และ Carvedilol 6.25 mg 1/2 tab bid pc
ทฤษฎี
รักษาโดยใช้ยา
- ยาขับปัสสาวะ (diuretics) ยาออกฤทธิ์ในการลดปริมาณเลือดและเกลือในร่างกายทำให้ความดันโลหิตลดลง
- ยาต้านเบด้า (beta adrenergic receptor blockers) ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยรวมกับเบต้าอดรีเนอร์จิกรีเซฟเตอร์ ยับยั้งการตอบสนองต่อประสาทซิมพาธิติกลดอัตราการเต้นของหัวใจทำให้หัวใจเต้นช้าลงและความดันโลหิต
- ยาที่ออกฤทธิ์ปีดกั้นตัวรับแองจิโอเทนซินทู blockers ( ARBS) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโดยไม่ทำให้ระดับของเบรคดีไดนินเพิ่มขึ้นยา ได้แก่ candesartan, losatan เป็นต้น
- ยาต้านแคลเซียม (calcium antagonists) ยากลุ่มนี้ยับยั้งการเคลื่อนเข้าของประจุแคลเซียมในเซลล์ทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดคลายตัวอาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
- ยาต้านอัลฟาวันอดรีเนอร์จิก (alpha I-adrenergic blockers) ยามีฤทธิ์ต้าน โพสไซแนปติกอัลฟาวันรีเซฟเตอร์ (postsynaptic alpha 1-receptors) และออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดส่วนปลายทำให้เส้นเลือดขยายตัว
- ยาที่ยังยั้งไม่ให้มีการสร้างแองจิโอเทนซินทู (angiotensin II convertingenzyme[ACE inhibitors) ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ โดยการยับยั้งแองจิโอเทนชินในการเปลี่ยนแองจิโอเทนชินวันเป็นแองจิโอเทนชินทูซึ่งเป็นเอ็น ไซมัที่ทำให้หลอดเลือดหดตัวลดการดูดกลับของโซเดียมและปริมาณน้ำในระบบไหลเวียนลดลงทำให้ความดัน โลหิตลดลง
- ยาขยายหลอดเลือด (vasodilators) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบที่อยู่รอบๆเส้นเลือดแดงทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและลดแรงต้านทานในผนังหลอดเลือดส่วนปลาย
รักษาโดยการไม่ใช้ยา
- การควบคุมอาหารและควบคุมน้ำหนักตัว
- การจำกัดอาหารที่มีเกลือโซเดียมเป็นวิธีการที่จำเป็นเนื่องจากเกลือโซเดียม
- การออกกำลังกาย
- การงดสูบบุหรี่
- การลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การจัดการกับความเครียด
Gout
อาการและการแสดง
ทฤษฎี
ตำแหน่งที่ปวดเริ่มเป็นข้อใดแสดงถูกทำลายหากเป็นนานเค้าจะถูกทำลายมีอาการปวดบวมแดงร้อนเวลากดจะเจ็บโดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าอาการปวดมากเป็นเป็นหายหายหรือเรื้อรังข้อที่ปวดพบได้ทุกข้อแต่พบมากในข้อนิ้วหัวแม่เท้าข้อเท้าข้อเข่าข้อมือข้อนิ้วและข้อศอกเรียงตามลำดับอาการปวดมักเกิดขึ้นตอนกลางคืนอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยเรื่อยมักมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงการดื่มแอลกอฮอล์
-
สาเหตุ
ทฤษฎี
เกิดจากกระบวนการใช้และการขับถ่ายสารพวกพิวรีน ของร่างกายผิดปกติไป พิวรีนเป็นธาตุอาหารที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เป็นต้น ซึ่งจะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริกและขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริกจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่แต่จะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี สำหรับบางรายที่กรดยูริกถูกสร้างขึ้นแต่ไตทำหน้าที่ขับออกมาได้ช้าหรือเร็วก็ตาม จะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูก หรือรอบรอบข้อกระดูก โรคนี้สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมได้
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น กระถิน หน่อไม้ ขี้เหล็ก เครื่องในสัตว์ และมีภาวะแทรกซ้อนคือ จะมีอาการเจ็บและบวมเมื่อเก๊าท์กำเริบ
พยาธิสภาพ
การตกตะกอนของ monosodium urate เกาะอยู่ที่ synovail membrane ลักษณะเป็นผงสีขาว ทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวข้อ เกิดเป็น panus แผ่ปกคลุมที่กระดูกผิวอ่อนข้อ ทำให้กระดูกผิวข้อกร่อน และเสื่อมลง ที่ข้อจะมีก้องผลึกของ monosodium urate มาเกาะเป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียวเรียกว่า tophus ถ้ามีหลายก้อนเรียกว่า tophi ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่บริเวณที่มี ถ้าอยู่ในผิวหนังจะทำให้ผิวหนังตึง บางและเป็นมัน ถ้ามีการอักเสบมากๆ ผิวหนังอาจแตกทะลุเป็นแผลมีผงสีขาวคล้ายช็อคไหลออกมา ซึ่งเป็นผลึกหินปูนที่เกาะอยู่บริเวณข้อ
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
ผู้ป่วยอาจมีปัญหาที่รุนแรงตามมา เช่น โรคเก๊าท์ที่กำเริบซ้ำๆ แต่หากละเลยไม่รับการรักษา อาจจะทำให้ข้อต่อถูกกัดก่อนทำลายจนเกิดความเสียหายนอกจากนี้อาจจะมีการสะสมของผลึกยูเลตใต้ผิวหนังเป็นก้อนที่เรียกว่า Tophi สามารถพบได้ที่ นิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อศอก แต่มักไม่มีอาการเจ็บอาจจะบวมและเจ็บขึ้นเมื่อเก๊าท์กำเริบ
-
ความหมาย
โรคข้ออักเสบจำเพาะที่เกิดเนื่องจากมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ ทำให้มีการตกผลึกยูเรต (Monosodium Urate, MSU) ในข้อ ก่อให้เกิดอาการข้ออักเสบขึ้น หากมีการตกตะกอนในเนื้อเยื่อต่างๆ และใต้ผิวหนัง จะเกิดเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำตามตำแหน่งต่างๆ เรียกว่า โทฟัส (tophus)
การรักษา
ทฤษฎี
ในระยะที่มีข้ออักเสบ เมื่อมีอาการปวดอาจรับประทานยา Paracetamol หรือในช่วงที่มีการอักเสบของข้อให้ใช้ยา Colchicines ขนาด 0.5 หรือ 0.6 mg 1 เม็ด ทุก 1-2 ชั่วโมง จนอาการปวดดีขึ้น หรือจนครบ 8-10 เม็ดและให้ยากลุ่มแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น indomethacin, ibuprofen, naproxyn, piroxicam ให้นอนพักพักยกเท้าสูงหลีกเลี่ยงการยืน หรือเดินป้องกันข้ออักเสบให้ Colchicines ในขนาดต่ำๆ วันละ 1 เม็ดครึ่ง หรือ 2 เม็ด/วัน หากมีอาการของข้ออักเสบ ให้เพิ่มได้อีกวันละ 1-2 เม็ด
-
Dyslipidemia
Ischemic Heart Disease
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฎี
- พันธุกรรม สำหรับบุคคลที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- อายุ พบในเพศชายอายุ ตั้งแต่ 40 ปี และเพศหญิงตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
- เพศ เพศชายมีโอกาสและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง
- การสูบบุหรี่สารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเล็กลง
- โรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- ขาดการออกกำลังกายทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เผาผลาญพลังงานน้อย และการสะสมของไขมัน
กรณีศึกษา
กรณีศึกษา อายุ 73 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง และอ้วน ในอดีตชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
อาการ
ทฤษฎี
ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกซึ่งเป็นผลจากการที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอซึ่งอาการนี้เรียกว่า angina pectoris ลักษณะของ angina pectoris อาจจำแนกองค์ประกอบได้เป็น 4 ลักษณะอันประกอบไปด้วย
- ตำแหน่ง บริเวณที่เจ็บแน่นมักจะอยู่ตรงกลาง ๆ หรือหน้าอกด้านซ้าย มักบอกตำแหน่งที่ชัดเจนไม่ได้ บางรายอาจมีความรู้สึกเจ็บร้าวไปที่บริเวณลิ้นปี่ ใต้คาง ฟัน ไหล่ หรือแขนได้โดยเฉพาะด้านในของแขน
- ลักษณะของการเจ็บ ลักษณะมักจะรู้สึกหนักๆ แน่นๆ บีบๆ หรืออาจเหมือนมีอะไรมากดทับหน้าอก โดยปกติจะค่อยๆเพิ่มความรุนแรงขึ้นจากนั้นจะค่อยๆลดลงในบางครั้งอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกเหนื่อย เหงื่อออก คลื่นไส้ มือเท้าเย็นคล้ายจะเป็นลม
- ระยะเวลาที่เจ็บอาการมักเป็นช่วงสั้นๆ มักไม่เกิน 10 นาที โดยมากจะเป็นนานประมาณ 2 – 5 นาที
- ปัจจัยกระตุ้นรวมถึงปัจจัยที่ท าให้อาการดีขึ้น อาการมักจะกระตุ้นด้วยการออกแรง อารมณ์เครียด โกรธ อากาศเย็นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก และ อาการมักทุเลาลงเมื่อได้พัก หรือ ได้ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ( nitrates )
-
พยาธิสภาพ
เป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ( Atherosclerosis ) การเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวเป็นภาวะที่เกิดจากหลากหลายปัจจัยที่มีผลเกี่ยวเนื่องกันไม่ว่าจะเป็นเซลล์ที่ผนังหลอดเลือดแดงเซลล์เม็ดเลือดขาวและขบวนการการอักเสบ ( inflammation ) ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันพบว่า เป็นขบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งตัว ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลกระตุ้นให้มีการสะสมของไขมัน ที่ผนังหลอดเลือดทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือดในที่สุด และเมื่อมีการตีบแคบตั้งแต่ร้อยละ70 ของความกว้างของหลอดเลือดขึ้นไปก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอเกิดอาการแน่นหน้าอกขึ้นมา
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) เป็นผลมาจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย หรือถูกทำลายเนื่องจากมีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่พอ ทำให้คลื่นหัวใจไฟฟ้าทำงานผิดปกติไปด้วย ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนคือ ใจสั่น เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก
หัวใจวาย (Heart Failure) เมื่อหัวใจขาดเลือดและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนจะเริ่มตาย และไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ โดยภาวะนี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการรักษาและฟื้นฟูความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ
ㆍ ภาวะความดันโลหิตต่ำที่มีสาเหตุจากหัวใจ (Cardiogenic Shock) อาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย
แต่เป็นอาการที่มีความรุนแรงมากกว่า เพราะจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้การรักษาเบื้องต้นแพทย์อาจใช้ยาเพื่อเพิ่มความดันโลหิตและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด แต่ในระยะยาวจะต้องผ่าตัดเพื่อทำการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยในการสูบฉีดเลือด เพื่อให้เลือดสามารถไปเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ได้อย่างเพียงพอ
ผนังกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด (Heart Rupture) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงมาก แต่มักพบได้ไม่บ่อยนัก เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจส่วนต่าง ๆ เช่น ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหรือลิ้นหัวใจเกิดการปริแตก ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายใน 1-5 วันหลังจากเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน 5 วัน
-
-
การรักษา
ทฤษฎี
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1.1 ทานอาหารที่มีไขมันต่ำ มีคอลเลสตอรอลและโซเดียมต่ำ
1.2 การออกกำลังกาย
1.3 เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการใช้ยาและลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การใช้ยารักษา ยาแอสไพริน (ยับยั้งการทำหน้าที่ของเกล็ดเลือด), ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ, ยาลดไขมันในเลือด, ยารักษาความดันโลหิตสูง
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และการใส่ขดลวด (PTCA)
- การผ่าตัด by pass หลอดเลือดหัวใจ โดยใช้หลอดเลือดแดงในช่องอก(Internal mammary artery) หรือหลอดเลือดดำที่ขา ของผู้ป่วยเอง
กรณีศึกษา
กรณีศึกษา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร โดยการทานอาหารที่มีไขมัน และโซเดียมต่ำ มีการรักษาโดยการใช้ยา ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ Isosorbide sublingual , ยาลดไขมันในเลือด Simvastatin , ยารักษาความดันโลหิตสูง Amlodipine และ Cardilol
ความหมาย
ไขมันในเลือดสูงคือภาวะที่มีไขมันในเลือดมากกว่าปกติโดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมันไขมันเค้าร่อและไขมันสลายซึ่งเป็นปัจจัยในการเกิดโรคต่างๆเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดเส้นเลือดตีบอุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะต่างๆได้ดีพอและโรคความดันโลหิตสูง
พยาธิสภาพ
- High-density Lipoprotein (HDL) เป็นไขมันชนิดดี มีหลายส่วนที่จับไขมันคอเลสเตอรอลออกไปทำลายที่ตับ อาจส่งผลให้หลอดเลือดลดลงได้ตามปกติ
- Low-density Lipoprotein (LDL) เป็นไขมันไม่ดี ที่มาจากไขมันสัตว์ไขมันชนิดนี้จะเกาะตามหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบ ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกและยังทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายอัมพฤกษ์-อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฎี
- จากกรรมพันธุ์
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ และโรคของต่อมหมวกไต
- โรคตับ โรคไตบางชนิด
- ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ(ยาคุมกำเนิด)
- การตั้งครรภ์
- การดื่มแอลกอฮอล์
- ภาวะขาดการออกกำลังกาย
-
อาการ
ทฤษฎี
- คลื่นไส้ อาเจียน
- มีเหงื่อออกตามร่างกาย
- ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด
- ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด
- หายใจถี่ ชีพจรเต้นเร็ว ใจสั่น
- มีอาการอ่อนแรง
-
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
- โรคหัวใจขาดเลือด
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- ไตวาย
- ตามัว หรือตาบอด
- ตับอ่อนอักเสบ ตับ ม้ามโต
-
การรักษา
ทฤษฎี
- การปรับพฤติกรรม
1.1 ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
1.2 รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
1.3 หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวสูง และมีน้ำตาลสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย เค้ก เครื่องในสัตว์
1.4 เลิกสูบบุหรี่
1.5 จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การใช้ยา
2.1 ยากลุ่มสแตติน (Statins) ยับยั้งเอนไซม์ที่ช่วยในการสังเคราะห์คอเรสเตอรอลในร่างกาย
2.2 ยากลุ่มเรซิน (Resins) ออกฤทธิ์ลดไขมันโดยการจับกับน้ำดีในทางเดินอาหาร ป้องกันการดูดซึมกลับของน้ำดีเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลกระตุ้นให้ตับดึงคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ตับมากขึ้น
2.3 ยากลุ่มอิเซททิไมบ์ (Ezetimibe) ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลที่ลำไส้ ยาลดไขมันนี้มักจะใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสแตติน
2.4 ยากลุ่มไนอะซิน (Niacin) ออกฤทธิ์ลดไขมันโดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ตับและเนื้อเยื่อไขมัน
-
Congestive Heart Failure
อาการ
-
ทฤษฎี
หัวใจข้างซ้ายล้มเหลว
มีอาการใจสั่น หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกหายใจลำบากตอนกลางคืน (Paroxysmal nocturnaldyspanea/PND) ไอ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ (Orthopnea) และมักพบหายใจลำบากในตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อย ซีดเขียว คล้ำ ชีพจรเบา บางครั้งเสมหะเป็นฟองสีชมพู นอนราบไม่ได้หายใจมีเสียงวีด ฟังปอดพบ Crepitation ฟังหัวใจ พบ S3 Gallop ในรายที่มีการแทรกซ้อน คือ น้ำท่วมปอดฉับพลัน
-
หัวใจข้างขวาล้มเหลว
บวมที่ส่วนล่างของร่างกายทั้ง 2 ข้าง บวมกดบุ๋ม ที่ส่วนต่ำของร่างกาย เช่น แขนขา ข้อเท้า ก้นกบและอวัยวะเพศ การบวมทั้งตัวอาจมีได้ในระยะสุดท้ายของหัวใจวาย มีตับ ม้ามโตและปวดแน่นท้องหรือเจ็บแปลบที่ท้องด้านขวาส่วนบน จากการมีเลือดคั่งที่ตับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด น้ำหนักตัวเพิ่ม มือ และนิ้วบวม ความดันโลหิตสูง ความดันเลือดดำส่วนกลางสูง เนื่องจากประมาณน้ำคั่งในร่างกายมาก ตรวจ Hepatojugular reflux ได้ผลบวกตรวจร่างกายพบหลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง
-
การรักษา
ทฤษฎี
- การรักษาด้วยยา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ยากลุ่มลดการกระตุ้นระบบนิวโรฮอร์โมน ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
- การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวรชนิดที่ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาบีบตัวพร้อมกัน ร่วมหรือไม่ร่วมกับเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย
- การผ่าตัดใส่เครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใ
- การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว
กรณีศึกษา
กรณีศึกษาได้รับการรักษาโดยใช้ยาขับปัสสาวะ Furosemide 40 mg ยาลดความดันโลหิต Amlodipine 10 mg และยาขยายหลอดเลือด Isosorbide sublingual 5 mg ตามมแผนการรักษา
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ทฤษฎี
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง (Decreased myocardial contractity) มีสาเหตุจาก
ischemic heart disease, myocardial infarction จากหัวใจขาดเลือด pericardial tamponade
มีของเหลวในเยื่อหุ้มหัวใจ cardiomyopathy มีพยาธิสภาพที่กล้ามเนื้อหัวใจการติดเชื้อ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักมากเกินไป (Excess myocardial workload) มีสาเหตุจาก Afterload สูงขึ้น เป็นภาวะที่มีแรงต้านทานของหลอดเลือดสูงขึ้น (TPR สูง) เช่น หลอดเลือด aorta ตีบแข็ง การตีบของลิ้น aortic และ pulmonic ภาวะ COPD ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว Preload สูงขึ้น เป็นการเพิ่มปริมาตรเเลือดในหัวใจก่อนการบีบตัว (EDV สูง) ความดันโลหิตสูง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจยึดออกมากเกินไป เช่น ลิ้น mitral , tricuspid และ aortic รั่ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความต้องการของร่างกายสูงขึ้น เมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงานมากขึ้น ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เช่น ซีดอย่างรุนแรง (severe anemia) ตั้งครรภ์ ไทรอยด์เป็นพิษ ขาดสารอาหาร ปริมาตรในระบบไหลเวียนสูงขึ้น เป็นภาวะที่มีน้ำคั่งในระบบไหลเวียน เช่น ไตวายได้รับสารน้ำมากเกินไป
กรณีศึกษา
กรณีศึกษา มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักเกินไป ทำให้มีภาวะน้ำคั่งในระบบไหลเวียน และเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน จากการได้รับน้ำมากเกินไป
-
ความหมาย
ระบบไหลเวียนโลหิตมีหน้าที่ในการรักษาความดันโลหิตแดง (arterial blood pressure) เพื่อให้อวัยวะส่วนปลายได้รับเลื่อดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure หรือ congestive heart failure) คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
พยาธิสภาพ
เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง บีบเลือดไปเลี้ยงได้น้อย อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น Cardiac output เพิ่มขึ้นในการบีบตัวของหัวใจแต่ละครั้ง ทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว เพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้น้ำคั่งในร่างกาย และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา แข็ง และโตขึ้นโดยเฉพาะห้องล่างซ้าย
ภาวะแทรกซ้อน
ทฤษฎี
-
เรื้อรัง
ภาวะแทรกซ้อน ภาวะหัวใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะความดันในปอดสูง ภาวะน้ำเกิน
กรณีศึกษา
กรณีศึกษา มีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน คือ มีภาวะน้ำท่วมปอด และไตวายเฉียบพลัน ให้ให้เกิดภาวะน้ำเกิดจากการทำงานของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ
-