Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (CA bladder) - Coggle Diagram
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (CA bladder)
ส่วนใหญ่เกิดจากการแบ่งตัวของเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้อ งอกส่วนใหญ่มักจะไม่ลุกลาม (Non-muscle invasive bladder cancer) แต่ในผู้ป่วยบางรายมีการลุกลาม ของมะเร็งไปยังชั้นกล้ามเนื้อชั้นกลาง เยื่อหุ้มชั้นนอก ชั้นไขมันรอบกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะข้างเคียง เช่น ต่อมลูกหมากในเพศชาย มดลูกในเพศหญิง ท่อปัสสาวะ หรือทวารหนักที่อยู่ด้านหลัง บางรายที่มีการ แพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ กระดูก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่1. กลุ่มที่ไม่ลุกลาม (Non-muscle invasive bladder cancer 2.กลุ่มที่มีการลุกลาม (Muscle invasive bladder cancer)
อาการและอาการแสดง
4.อาการแสดง และการตรวจร่างกาย มะเร็งในระยะแรกมักจะตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติ แต่ ในระยะที่มีการแพร่กระจายอาจจะตรวจพบว่ามีไตโตเนื่องจากการอุดตันท่อไตของมะเร็ง หรือมีตับโตจากการ แผ่กระจายเชื้อโรคไปยังตับ
1.ปัสสาวะมีเลือดปน พบว่า 70-80% ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมารับการรักษาด้วยอาการ ปัสสาวะมีเลือดปนมักจะเป็นๆ หายๆ และไม่มีอาการปวดร่วมด้วย
2.อาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ ประมาณ 20% ของผู้ป่วยมาด้วยอาการปัสสาวะบ่อย กลั้น ปัสสาวะไม่ได้ หรือปัสสาวะแสบขัด ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเหล่านี้ คือ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
3.อาการอันเนื่องจากการแพร่กระจายของมะเร็ง ได้แก่ ปวดกระดูกเนื่องจากการกระจายไปที่กระดูก ปวดเอวเนื่องจากการอุดตันของท่อไต เป็นต้น
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็ง ชนิดนี้ ดังนี้
1.การสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งที่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและขับออกมาทาง กระเพาะปัสสาวะ การสูบบุหรี่จึงทำให้กระเพาะปัสสาวะสัมผัสสารก่อมะเร็งโดยตรง
2.ผู้ที่สัมผัสสี และสารเคมีที่มีส่วนประกอบของสารอะนีลีน (anilline) หรือไฮโดรคาร์บอน เช่น สีย้อม ผ้า น้ำยาย้อมผม
3.ผู้ที่บริโภคขัณฑสกร
4.กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังหรือติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ เช่น นิ่ว การใส่สายระบายปัสสาวะ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องจะกระตุ้นให้เซลส์เยื่อบุภายในทางเดินปัสสาวะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลส์มะร็ง
5.มีประวัติเคยรักษามะเร็งอย่างอื่นด้วยวิธีการฉายแสง หรือการใช้ยาเคมีบำบัด
การรักษา
1.การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปตัดเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ (Transurethral resection of bladder tumor, TUR-BT)และอาจมีการใส่ยาฆ่าเซลล์มะเร็งเข้าไปใน กระเพาะปัสสาวะผ่านสายสวนปัสสาวะเป็นระยะเวลาประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง
4.การรักษาด้วยรังสีบำบัด
เป็นการฉายรังสีไปยังเนื้อเยื่อของเนื้องอกหรืออวัยวะ รังสีจะทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอ (DNA) ของ เซลล์เนื้องอกโดยตรงทำให้เกิดการตายและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสรีระวิทยาของเซลล์เนื้องอกนั้น
3.การให้การรักษาด้วยเคมีบำบัด แพทย์จะพิจารณาให้เมื่อไม่สามารถรักษาโดยการผ่าตัดซึ่งมีทั้งชนิดกิน และชนิดฉีด มักจะให้ทุก3-4 สัปดาห์ต่อครั้ง
2.การผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ(urinary reconstruction and diversion)
การพยาบาล
1.แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการข้างเคียงจากยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง เยื่อบุช่องปาก อักเสบ ถ่ายอุจจาระเหลว ปริมาณเม็ดเลือดและเกล็ดเลือดลดลง อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา
2.พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง หากรู้สึกอ่อนเพลียในเวลากลางวันอาจจะ พักผ่อนเป็นเวลาสั้น ๆ (น้อยกว่า 1 ชม.)
3.รับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่และจำนวนโปรตีนที่เพียงพอกับความต้องการของ ร่างกาย และควรรับประทานมื้อเล็ก ๆ 5-6 มื้อต่อวัน
4.ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
5.ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสและใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ