Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
มาตรา 6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้อง รับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ มิได้
1.องประกอบการกระทำผิด
1.การกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่ไมใชการปฏิบัติหน้าที่ต่อหนวยงานของรัฐ
2.การกระทําของเจ้าหน้าที่ที่มิไดกระทําในการปฏิบัติหน้าที่
กรณีเหตุไม่ได้เกิดในขณะปฏิบัติหนาที่
การกระทําด้วยเรื่องสวนตัว
2.ฟ้องใครและใครต้องรับผิด
มาตรา 6 วางหลักว่าผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงแต่จะฟ้องหน่วยงานรัฐไม่ได้แปลว่าเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดนั้นเป็นการเฉพาะตัว
3.การฟ้องศาลตามมาตรา 6
มาตรา 6 วางหลักว่าผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงแต่จะฟ้องหน่วยงานรัฐไม่ได้แปลว่าเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดนั้นเป็นการเฉพาะตัว
การเรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเข้ามาเป็นคู่ความในคดี
มาตรา 7 ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของ รัฐต้องรับผิดหรือร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียก เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรับแล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
วรรค2 ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่ คำพิพากษานั้นถึงที่สุด
หมายความว่าถ้าศาลยกฟ้องคดีของหน่วยงานรัฐหรือคดีของเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิดให้ขยายอายุความออกไป 6 เดือน
มาตรา6+7
มาตรา 6 เมื่อฟ้องเจ้าหน้าที่แล้วหากเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิดเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิ์ขอให้ศาลที่พิจารณาคดีอยู่เรียกหน่วยงานของรัฐเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามมาตรา 7 วรรคหนึ่งได้ หรือกรณีที่บุคคลภายนอกฟ้องหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดกล่าวคือหน่วยงานของรัฐเห็นว่าฟ้องผิดตัวเมื่อเป็นการกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่ใช่การกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัวตามมาตรา 6 ในกรณีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐหน่วยงานของรัฐจึงมีสิทธิ์ขอให้ศาลพิจารณาคดีเรียกเจ้าหน้าที่เข้ามาเป็นคู่ความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง
มาตรา 10 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของ รัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจาก เจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.การฟ้องให้หน่วยงานของรัฐฟ้องเจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดนั้น
2.การฟ้องเจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรมเนื่องจากไม่ใช่การกระทำละเมิดอันเกิดจากอำนาจตามกฎหมาย กฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น
วรรค2 สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนด อายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึ่งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้อง รับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐ มีคำสั่งตาม ความเห็นของกระทรวงการคลัง
กำหนดอายุความฟ้องร้องและอายุ ความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่
1 เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานรัฐโดยมิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่กฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องและอายุความฟ้องให้ใช้ค่าเสียหายมีกำหนด 2 ปีนับตั้งแต่รู้
2 กรณี กรณีที่เจ้าหน้าที่กระท กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละ กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานรัฐจาก กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานรัฐจากการ กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานรัฐจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่โดยลงมติว่าเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดในการทำละเมิดกระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วต้องรับผิดให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมีกำหนดอายุความ 1 ปีนับตั้งแต่หน่วยงานรัฐมีคำสั่ง