Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์, ด.ญ.ธนภรณ์ อิ้งจะนิล ม.2/7 เลขที่21 - Coggle…
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1.ฮาร์ดเเวร์
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
หน่วยรับข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล (input unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่คอมพิวเตอร์ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เป็นต้น โดยจะแปลงข้อมูลให้ไปอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยนำมาจัดเก็บที่หน่วยความจำหลัก และใช้ประมวลผลได้ อุปกรณ์หน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
หน่วยแสดงผล (Output Unit) คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการ แสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะแปลงผลลัพธ์ จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์ เข้าใจ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น
หน่วยเเสดงผล
หน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้เพื่อใช้งานในอนาคต เนื่องจากข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำงานจะอยู่ในแรมหรือหน่วยงานความจำที่ลบเลือนได้ ซึ่งเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลจะสูญหายไปหมด เมื่อต้องการใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมเดิมอีกครั้ง ซีพียูก็จะอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลเข้าสู่หน่วยหน่วยความจำที่สามารถลบเลือนได้เพื่อประมวลผลได้อีก หน่วยเก็บข้อมูลมีหลายประเภท เช่น แผนบันทึก ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และหน่วยความจำแบบเฟลช
หน่วยประมวลผลกลาง คือ หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ
2.ซอฟต์เเวร์
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่จะทำให้ตัวคอมพิวเตอร์นั้นทำงานได้ตามจุดประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการ เขียนขึ้นโดยการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์จากนักเขียนโปรแกรม เนื่องจากคอมพิวเตอร์นั้นมีการทำงานตามขั้นลำดับ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ก็จะมีลักษณะรูปแบบเฉพาะ ที่จะสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยเป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ซอฟต์แวร์ที่จัดอยู่ในประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟแวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่สร้างขึ้น เพื่อทำงานเฉพาะอย่างโดยประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์คำนวณเงินเดือนพนักงาน ซอฟต์แวร์ระบบบัญชี หรือซอฟต์แวร์ระบบคลังสินค้า เป็นต้น
3.บุคลากร
บุคลากร ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น
ความหมายหมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ หรือทำงานในศูนย์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ผู้จัดการ นักวิเคราะห์ระบบ วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ผู้ควบคุมเครื่อง พนักงานเตรียมข้อมูล ๆ บางทีเรียกรวม ๆ ว่า นักคอมพิวเตอร์
4.ข้อมูลสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีความหมาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือ ผลสรุปที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ก็ได้ เช่น เกรดเฉลี่ยของนักเรียน หรือรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในรอบปีที่ผ่านมา
5.กระบวนการ
กระบวนการ คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนินต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ด.ญ.ธนภรณ์ อิ้งจะนิล ม.2/7 เลขที่21