Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นเมือง ๔ ภาค, ภาคใต้, ภาคเหนือ, ภาคอีสาน, ภาคกลาง, กลุ่ม ที่ 6 ม…
-
ภาคใต้
-
-
การแสดงพื้นเมือง
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจ แบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเจ๊ง ลิเกฮูลู มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา ทับโทน รำมะนา เป็นต้น
มโนราห์
มโนราห์มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับ ละครชาตรี บทร้องเป็น กลอนสด ผู้ขับร้องต้อง ใช้ปฏิภาณ ไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว โนรามีการแสดง ๒ รูปแบบ คือ โนราประกอบ พิธีกรรม (โนราโรงครู) และโนราเพื่อความบันเทิง
บุคคลสำคัญ
โนรายก ชูบัว
โนรายก ชูบัว เป็นมโนราห์ที่มีความรู้ความสามารถในการร่าโนราเป็นอย่างดียิ่ง ผลงานด้านโนราของท่านเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของคนทั่วไป ทั้งที่เป็นการแสดงโนรา การถ่ายทอด ศิลปะการแสดงโนราให้แก่ศิษย์ และการประพันธ์วรรณกรรมเพื่อการแสดงโนรา จนทำให้ท่านเป็นมโนราห์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของภาคใต้และท่านได้รับเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ
-
-
ภาคเหนือ
-
การแสดงพื้นเมือง
เป็นศิลปะการรำที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า "ฟ้อน" การฟ้อนเป็น วัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวโต ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังมีการรักษา เอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย มีการแต่งกายตามวัฒนธรรท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับ การบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน
ฟ้อนเล็บ
เป็นศิลปะการแสดงภาคเหนือที่มีความงดงาม อ่อนช้อยลีลาการฟ้อนเล็บ จะแสดงออกถึงความ พร้อมเพรียงของผู้แสดง เพราะการฟ้อนเล็บจะ แสดงเป็นหมู่ การฟ้อนเล็บมักแสดงในงานมงคล ต่างๆ
เครื่องแต่งกาย
เกล้าผมทัดดอกไม้และอุบะ นุ่งผ้าตามแบบชาวเหนือ สวมเสื้อทรงกระบอก แขนยาว คอกลมห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง และ สวมเล็บมือยาว ๘ นิ้ว
-
บุคคลสำคัญ
-
เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ในวัยเด็กได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ทำให้ได้เรียนรู้ฝึกฝน และ สืบสานเพลงพื้นเมือง และการฟ้อนรำพื้นเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เชี่ยวชาญเพลงพื้นเมืองภาคเหนือที่ยังจดจำคำร้อง ทำนอง ไว้อย่างครบถ้วน
เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินของกรมศิลปากร และได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคลากรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่
-
ภาคอีสาน
-
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึง พฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานจะมีทั้งการแสดงที่เป็น แบบดั้งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา และเกิดขึ้นในแต่ละ ท้องถิ่นเป็นไปตามความถนัดหรือความสามารถของ แต่ละคน โดยเน้นความสนุกสนานและความรื่นเริง
ฟ้อนภูไทเรณูนคร
เป็นการฟ้อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประจำเผ่าของ ภูไทเรณูนคร ถือว่าฟ้อนภูไทเป็นการฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม
บุคคลสำคัญ
นายเปลื้อง ฉายรัศมี
ศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ. ๒๕๒๙ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีอีสานพื้นบ้าน-โปงลาง) เกิดเมื่อ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๕ บ้านเลขที่ ๗ บ้านตา ต.ม่วงมา อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ นาย เปลื้อง ฉายรัศมี เป็นผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าปรับปรุงและพัฒนาโปงลางมาตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี และ ทำให้โปงลางเป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดกาฬสินธุ์อีกด้วย
-
-
-
ภาคกลาง
การแสดงพื้นเมือง
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาค กลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการ แสดงจึง มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือ เมื่อเสร็จจากเทศกาลฤดูเก็บเกี่ยว มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น
เพลงฉ่อย
เป็นเพลงพื้นเมืองที่มีการแสดงท่าทาง และการร้องคล้ายกับลำตัด เนื้อหาที่ร้อง ส่วนใหญ่มักจะมีถ้อยคำ ที่มีความหมายสองแง่สองง่าม
-
-
บุคคลสำคัญ
แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์
เกิดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๔๙๐ ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี เริ่มฝึกร้องเพลงพื้นบ้านตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปี ท่านเป็น ผู้ที่สนใจเพลงพื้นบ้านอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเพลงอีแซว ด้วยความ สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญในการร้องเพลงพื้นบ้าน ผนวกกับความ มีน้ำใจในการเผยแพร่ความรู้ และอนุรักษ์เพลงพื้นบ้าน จึงได้รับโล่เชิดชูให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสาขา ศิลปะพื้นบ้านภาคกลาง จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ท่านได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง(เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๙
-
-
-