Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารความขัดแย้ง(Managing conflict) - Coggle Diagram
การบริหารความขัดแย้ง(Managing conflict)
มโนทัศน์ของความขัดแย้ง
ความขัดแย้งจะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อองค์กรขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของความขัดแย้งและความสามารถในการบริหารจัดการหากมีการจัดการกับความขัดแย้งที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
ความหมายของความขัดแย้ง
ความไม่เห็นด้วยในเรื่องต่างๆ ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยจนถึงเรื่องที่มีความสำคัญมาก
ประเภทของความขัดแย้ง แบ่งเป็น 6 ประเภท
ความขัดแย้งภายในตัวบุคคล (Intrapersonal Conflict)
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (Interpersonal Conflict)
ความขัดแย้งภายในกลุ่ม (Intergroup Conflict)
4 ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (Intergroup Conflict)
5 ความขัดแย้งในองค์กร (Intraoganizational Conflict)
6 ความขัดแย้งระหว่างองค์กร(Interoganizational Conflict)
ประโยชน์ของความขัดแย้ง จะมีลักษณะต่างๆดังนี้
ทำให้บุคคลในองค์การเกิดแรงจูงใจในการทำงานขึ้น
ทำให้เกิดความคิดริเริ่มใหม่ๆนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์
สมาชิกในองค์การได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
องค์กรได้มีการปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีขึ้น
ทำให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆที่เป็นประโยชน์กับองค์การและทำให้คุณภาพของชีวิตการทำงานของบุคลากรในองค์การดีขึ้น
ได้มีการลดความตึงเครียดด้วยการระบายข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม ซึ่งเก็บกดไว้เป็นเวลานาน หรือทำให้ความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การดีขึ้น
ผลเสียหรือโทษของความขัดแย้ง
ทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้น หรือมีผลต่อสุขภาพจิตของคนในองค์การมากขึ้น
มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกจนเกิดความไม่สงบสุขในองค์กร ขาดการประสานงานกันและไม่มีความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ซึ่งจะมีผลให้ประสิทธิภาพขององค์กรต่ำลง
มีการก้าวร้าว กดขี่และทำลายฝ่ายตรงกันข้าม
กลุ่มบุคคลหรือบุคคลฉวยโอกาสใช้ความขัดแย้งเป็นข้อเรียกร้องเพื่อสนองความต้องการของตน หรือเรียกร้องให้ผู้อื่นเกิดความสนใจ
มุ่งที่จะเอาชนะกันมากกว่าที่จะมองถึงผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์กรโดยส่วนรวม
ความขัดแย้งจะนำไปสู่ความยุ่งเหยิง และไร้ซึ่งเสถียรภาพขององค์กร
สาเหตุของความขัดแย้ง
ความไม่ชัดเจนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของงาน
ลักษณะงานที่ต้องพึ่งพากัน
อุปสรรคของการติดต่อสื่อสาร
การแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่มีจำกัด
การควบคุมพฤติกรรม
ความแตกต่างของบุคคลในองค์กร
รูปแบบพฤติกรรมเมื่อมีความขัดแย้ง มี 5 แบบ
การหลีกเลี่ยง (Avoiding)
การยินยอมให้ผู้อื่น (Accommodating)
การต่อสู้ หารแข่งขัน (Competing)
ความร่วมมือร่วมใจ (Collaborating)
การเจรจาต่อรอง หรือการประนีประนอม (Negotiating or Compromising)
วิธีการแก้ไขความขัดแย้งที่เกี่ยวกับบุคคล
การบังคับ (Force)
การหลบหนี (Withdrawal หรือ Avoidance)
การประนีประนอม (Compromise)
การปรองดอง (Accommodation)
การแก้ปัญหาหรือการร่วมมือกัน (Problem Solving)