Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 ทฤษฎีการสูงอายุ - Coggle Diagram
บทที่ 2 ทฤษฎีการสูงอายุ
ทฤษฎีการสูงอายุด้านชีววิทยา(Biologic theory of aging)
เป็นการอธิบายถึงการสูงอายุเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
1.กลุ่มทฤษฎีสโตคาสติก(Stochastic theory) เป็นกลุ่มที่กล่าวถึงความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะที่เกิดจากการสุ่มและการสะสมไว้ตามกาลเวลา
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม(Wear and Tear Theory)
เชื่อว่า ความชราเป็นผลมาจากการเสื่อมของเซลล์ในร่างกายที่ไม่สามารถซ่อมแซมหรือทดแทนได้
ความเสื่อมโทรมอาจถูกกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกได้ เช่นการรับประทานอาหารหวานจัด อาหารไขมันสูงหรือเครื่องดื่มประเภทกาแฟและแอลกอฮอล์มาก หรือการได้รับแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน
ทฤษฎีการสะสม(Accumulation Theory)
เชื่อว่า การสูงอายุมีผลมาจากการสะสมสารที่เป็นอันตรายต่อการทำหน้าที่ของเซลล์ คือ สารไลโปฟัสซิน
ไลโปฟัสซิน ทำให้เกิดกระบวนการเผาผลาญที่ผิดปกติ ขัดขวางการทำงานขององค์ประกอบของเซลล์ โดยจะสะสมเพิ่มขึ้นตามอายุ
วิธีลดการสะสมของไลโปฟัสซิน คือ ให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ เนยถั่ว และซอสมะเขือเทศ
ทฤษฎีตามขวาง(Cross-Link Theory)
เชื่อว่า เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความผิดปกติของการเชื่อมไขว้ของโมเลกุลขนาดใหญ่
กระบวนการไกลเคชั่น เกิดจากโมเลกุลของglucose+protein=advanced glycosylation and product;AGE
การเชื่อมตามขวางของเส้นใยคอลลาเจน ทำให้แข็ง แห้ง แตก การเชื่อมตามขวางที่อีลาสติน ทำให้ฉีกขาดและเปื่อยยุ่ย ผิวหนังเหี่ยวย่น การเชื่อมตามขวางของโปรตีนในเลนส์ตา ทำให้เกิดต้อกระจก
การป้องกันไม่ให้เร่งการเกิดกระบวนการไกลเคชั่น ทานอาหารข้าว แป้ง น้ำตาล ให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการประกอบอาหารแบบ (dry heat) การปิ้ง ย่าง คั่วหรือทอด เน้นการประกอบอาหาร แบบต้ม นึ่ง แกง ตุ๋น เป็นต้น
ทฤษฎีภูมิคุ้มกัน(Immunologic Theory)
เชื่อว่า การสูงอายุเป็นผลจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันลดสมรรถภาพลงทีละน้อยจนร่างกายไม่สามารถป้องกันตัวเองจากโรคหรือสิ่งแปลกปลอมได้เพียงพอ
B cell และ T cell เมื่ออายุมากขึ้นจะทำงานได้ไม่ดี สูญเสียความสามารถในการจับและทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ(Free Radical Theory)
เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการชราภาพเกิดจากการถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ
อนุมูลอิสระถูกสร้างขึ้นจากกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย เมื่อมีการใช้ออกซิเจนและกรรับเข้ามา เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารทอด รับแสงแดดนานเกินไป เป็นต้น
อนุมูลอิสระที่เป็นของเสียจากการเผาผลาญ เช่น Lipofuscins จะไปรบกวนการสร้างDNA และ RNA ทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำลง ทำให้เกิดการซ่อมแซมตัวเองช้า
ในร่างกายมีการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ(antioxidants)เพื่อป้องกันตนเอง แต่ผลิตได้น้อยกว่าอนุมูลอิสระ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการแก่และรุนแรงไปถึงการเป็นโรคภัยไข้เจ็บได้
2.กลุ่มทฤษฎีนอนสโตคาสติก(Non stochastic theory) เป็นที่เชื่อว่าความชราเกิดจากการกำหนดอายุไว้ล่วงหน้าแล้วโดยยีนส์(genes)
Programmed theory
กล่าวถึงยีนส์เป็นตัวกำหนดการคาดอายุเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด(Life expectancy)
เชื่อว่าความชราภาพเกิดจาก
พันธุกรรมถึงร้อยละ 25 ที่
เหลือเกิดจากสิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม
Geneticหรือ biological clock theory
เชื่อว่าพันธุกรรมเป็นตัว
กำหนดอายุขัยของมนุษย์ โดยมีโปรแกรมทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดอายุขัย
ร่างกายจะถูกตั้งโปรแกรมกำหนดจำนวนครั้งของการแบ่งตัวไว้แล้ว โดยคนที่มีเซลล์อายุยืนกว่าจะมีการแบ่งตัวมากกว่าคนที่มีเซลล์อายุที่สั้นกว่า
มนุษย์มีเซลล์ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เซลล์ร่างกายและเซลล์สืบพันธ์ โดยทั่วไปเซลล์ร่างกายจะชราและตายไป แต่ข้อมูลจะเก็บไว้ในเซลล์สืบพันธ์ถูกถ่ายทอดผ่านการสืบพันธ์ โดยเมื่อไข่ผสมกับสเปิร์มและจะถูกตั้งกลับไปที่ 0 ใหม่
ทฤษฎีการสูงอายุด้านจิตสังคมวิทยา(Phychosocial theory of aging)
ทฤษฎีกิจกรรม(Activity theory)
เป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับทฤษฎีการถดถอย โดยจะเน้นหากิจกรรมที่สอดคล้องกับผู้สูงอายุ
ไม่ควรให้ผู้สูงอายุลดกิจกรรม ควรให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกับวัยกลางคน
ทฤษฎีความต่อเนื่อง(Continuity theory)
กล่าวถึงพัฒนาการเข้าสู่วัยสูงอายุของแต่ละบุคคล เชื่อว่าบุคลิกพื้นฐานและแบบแผนพฤติกรรมของผู้สูงอายุ จะไม่เปลี่ยนไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น
ทฤษฎีการถดถอย
เป็นการถอนตัวจากสังคมโดยเกิดจากการยอมรับจากตัวผู้สูงอายุและสังคม ทำให้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
เมื่อถอนตัวจากสังคมแล้ว ทำให้ผู้สูงอายุมีอิสระ เป็นตัวของตัวเองได้เต็มที่
เมื่อเกิดการถอนตัวจากสังคมแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านหรือการถ่ายทอดอำนาจหน้าที่ให้คนรุ่นหลังได้ง่าย
ทฤษฎีบุคลิกภาพ(Personality Theory)
เชื่อว่า ผู้สูงอายุจะเป็นสุขหรือทุกข์ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิหลังและพัฒนาการทางจิตของผู้นั้น
ทฤษฎีของอิริกสัน(Erikson's Theory)
เชื่อว่าการพัฒนาด้านจิตวิทยาสังคมของผู้สูงอายุนั้น เป็นช่วงชีวิตที่ผู้สูงอายุรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า มั่นคง จะมีความรู้สึกพึงพอใจในผลของความสำเร็จจากช่วงชีวิตที่ผ่านมา เกิดความสงบสุขทางใจ และสามารถยอมรับได้ว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและไม่ต้องการให้มีชีวิตยืดยาวออกไปอีก
ทฤษฎีจิตสังคมการพัฒนาบุคลิกภาพ แบ่งได้ 8 ขั้น
ขั้นที่ 4 ระยะ6-12 ปี เป็นลักษณะของความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกด้อย(Industry and Inferiority)
ขั้นที่ 5 ระยะวัยรุ่น อายุระหว่าง 12-20 ปี เป็นลักษณะของการเข้าใจตนเองกับความสับสน ไม่เข้าใจตนเอง(Identity and identity diffusion)
ขั้นที่ 3 ระยะ 3-6ปี เป็นลักษณะของความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด(Initiative and guilt)
ขั้นที่ 6 ระยะเริ่มเป็นผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 20-40 ปี เป็นลักษณะของความใกล้ชิดสนิทสนมและความเป็นปึกแผ่นกับความโดดเดี่ยวอ้างว้าง(Intimacy and solidarity and Isolation)
ขั้นที่ 2 ระยะ 18 เดือนถึง 3 ปี เป็นลักษณะของความอิสระกับความละลายความสงสัยไม่แน่ใจ(Autonomy and Shame and doubt)
ขั้นที่ 7 ระยะผู้ใหญ่กลางคน อายุช่วง 40-60 ปี เป็นลักษณะของการให้กำเนิดและเลี้ยงดูบุตร(บำรุงส่งเสริม)กับการหมกมุ่น ใส่ใจแต่ตนเอง(Generativity and Self absorption)
ขั้นที่ 1 ระยะแรกเกิดถึง18เดือน เป็นลักษณะของความเชื่อถือไว้วางใจกับไม่มีความเชื่อถือไว้วางใจ(Trust and Mistrust)
ขั้นที่ 8 ระยะวัยชรา อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นลักษณะของความมั่นคงสมบูรณ์กับความหมดหวัง ทอดอาลัย
ในช่วงวัยขั้นที่7 และ 8 Golden Period ขั้นที่ 7 เป็นช่วงวัยที่มีความทะเยอทะยาน มีความคิดสร้างสรรค์ ต้องการสร้างความสำเร็จในชีวิต ถ้าช่วงวัยนี้ประสบความสำเร็จจะส่งผลให้มีความมั่นคงมีความภาคภูมิใจในตนเอง และสืบทอดต่อไปยังรุ่นลูกหลาน อีริกสันเรียกกลุ่มนี้ว่า Generativity แต่ถ้าในช่วงวัยขั้นที่ 7 ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ขั้นที่ 8 จะเงียบหงอยขาดความกระตือรือร้น กลุ่มนี้เรียกว่า Stagnation
ทฤษฎีความปราดเปรื่อง(Intelligence Theory)
เชื่อว่าผู้สูงอายุยังปราดเปรื่องและคงความเป็นนักปราชญ์ ด้วยความที่สนใจเรื่องราวต่างๆตลอดเเวลา มีการค้นคว้าและสนใจในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา