Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความวิตกกังวลจากการพรากจากในเด็ก - Coggle Diagram
ความวิตกกังวลจากการพรากจากในเด็ก
พฤติกรรมความวิตกกังวลจากการพรากจาก แบ่งเป็น 3 ระยะ (Bowlby)
ระยะประท้วง (Protest)
• แสดงพฤติกรรมรุนแรงทันที เช่น ร้องไห้ กรีดร้อง ดินรน ดื้อ กินนอนไม่ปกติ
ระยะสิ้นหวัง (Despair)
• เงียบ ซึมเศร้า ถอนตัว แยกตัว ติดตุ๊กตาหรือผ้าห่ม มีพฤติกรรมถดถอย
ระยะปฏิเสธ (Denial/Detachment)
• ดูเหมือนปรับตัวได้ดี เป็นมิตร แต่จริงๆ ซ่อนความรู้สึก เก็บกด ไม่สร้างความผูกพันลึกซึ้ง
ความหมายของ “ความวิตกกังวลจากการพรากจาก
• เป็นพัฒนาการปกติในเด็กที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กต้องแยกจากผู้ดูแลที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะมารดา
• เด็กจะรู้สึกกังวล ไม่ปลอดภัย และแสดงพฤติกรรมทางลบ เช่น ร้องไห้ ดึงรั้ง ต่อต้าน
• มักเริ่มตั้งแต่อายุ 6-8 เดือน ชัดเจนเมื่ออายุ 18 เดือน และรุนแรงที่สุดในช่วง 2-3 ปี
มุมมองตามช่วงวัยพัฒนาการ
• วัยทารก: เริ่มสร้างความไว้วางใจ หากพรากจากจะเกิดความระแวง ไม่ไว้ใจผู้อื่น
• วัยเดิน: ต้องการควบคุมตนเองและผู้ดูแล เมื่อพรากจากจะรู้สึกไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ ทำให้เกิดพฤติกรรมถดถอย
• วัยก่อนเรียน: ต้องการควบคุมสิ่งแวดล้อม เมื่อไม่ได้ดั่งใจจะรู้สึกผิดและไม่มั่นใจ
สาเหตุหลักของความวิตกกังวลจากการพรากจาก
• เด็กมีพัฒนาการด้านความผูกพัน (Attachment) และความไว้วางใจ (Trust)
• ขาดความเข้าใจเรื่อง “การคงอยู่ของสิ่งของ” (Object permanence) และ “เวลา” (Time) จึงเข้าใจว่าผู้ดูแลหายไปถาวร
• มักเกิดในวัยที่ยังไม่เข้าใจว่า “คนที่หายไปจะก
ผลกระทบจากความวิตกกังวลจากการพรากจาก
ต่อเด็ก:
• ระยะสั้น: หงุดหงิด เครียด นอนไม่หลับ
• ระยะยาว: เสี่ยงเป็นโรควิตกกังวล, กลัวโรงเรียน, มีปัญหาทางสังคม
ต่อผู้ดูแล:
• เกิดความเครียด กังวล ไม่รู้จะรับมืออย่างไร
• หากผู้ดูแลเครียด จะส่งผลให้เด็กวิตกกังวลมากขึ้น
แนวทางการจัดการตามระยะพฤติกรรม
ระยะประท้วง:
• ยอมรับพฤติกรรมเด็ก เข้าใจว่าที่ร้องไห้เพราะกลัว ไม่ปลอดภัย
• ให้เล่นระบายพลังงาน เช่น ตีกลอง ทุบของ
• ให้ของที่คุ้นเคย เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา
ระยะสิ้นหวัง:
• ย้ำกับเด็กว่าผู้ดูแลจะกลับมาแน่นอน เช่น “แม่จะมาหลังหนูทานข้าวกลางวัน”
• ใช้การสัมผัสสื่อรัก เช่น กอด หอม
ระยะปฏิเสธ:
• ไม่เข้าใจผิดว่าเด็กปรับตัวได้ แต่ต้องสร้างความไว้วางใจใหม่
• แสดงความรักอย่างสม่ำเสมอ