Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case conference เตียง1 การเปรียบเทียบทฤษฎีกับกรณีศึกษา โรค…
Case conference เตียง1
การเปรียบเทียบทฤษฎีกับกรณีศึกษา
โรค Epilepsy(ลมชัก)
กรณีศึกษา
พยาธิ
คลื่นไฟฟ้าของสมองถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก โดยอาจเกิดเป็นระยะๆ หรือเกิดทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ ไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ การรับรู้ พฤติกรรม อัตโนมัติ ภาวะรู้สติทำให้มีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน
อาการและอาการแสดง
ชักเกร็งทั้งตัว แต่ละครั้งประมาณ3-5นาที ความรู้สติเปลี่ยนแปลง พัฒนาการช้ากว่าวัย
การตรวจวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติหลังการคลองเด็กไม่มีประวัติการขาดออกซิเจนในสมอง มารดาให้ข้อมูลว่าเด็กมีอาการเกร็งแล้วกระตุกนานรวม 10-15 นาที หรือมีอาการเกร็งเหยียดแขนและขา 2-3 ครั้งต่อวันหลังจากชักแล้วจะนอนหลับ
การรักษา
ได้รับยาclaozam(5)1tab po bid pc
Topiramax(50) 1tab po bid pc,ปัจจุบันได้รับยาvaprocid 1 ml po เช้า/1.5ml กลางวัน/1.5ml เย็น
ทฤษฎี
พยาธิ
คลื่นไฟฟ้าของสมองถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก โดยอาจเกิดเป็นระยะๆ หรือเกิดทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ ไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ การรับรู้ พฤติกรรม อัตโนมัติ ภาวะรู้สติทำให้มีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน
อาการและอาการแสดง
เด็กจะมีอาการชักโดยลักษณะของการชัก อวัยวะที่แสดงอาการ และระยะเวลาการชักขึ้นอยู่กับชนิด
ลมชัก เช่น เกร็ง กระตุก หรือทั้งเกร็งและกระตุก เหม่อลอย ล้มลง ความรู้สติมีการเปลี่ยนแปลงน้อยจนถึงขั้นหมดสติ เป็นต้น
การวินิจฉัย
การซักประวัติ จะทำให้ทราบถึงชนิด สาเหตุของการชักได้ โดยถามประวัติการตั้งครรภ์ การเจริญเติบโต การได้รับอันตรายที่ศีรษะ หรือสารพิษต่างๆ อายที่เริ่มมีอาการชัก ปัจจัยที่กระต้นให้เกิด อาการชัก อาการนำ ลักษณะการชัก เวลาที่เริ่มมีอาการชัก ระมะเวลาของการชัก อาการภายหลังชัก เช่น มารดาให้ข้อมูลว่าเด็กมีอาการเกร็งแล้วกระตุกนานรวม 25 นาที หรือมีอาการเกร็งเหยียดแขนและขา 4-6 ครั้งต่อวันหลังจากชักแล้วจะนอนหลับ เป็นต้น รายละเอียดตั้งแต่เริ่มเกิด อาการชักสิ้นสุดลงทำให้แพทย์สามารถจำแนกอาการชักออกเป็นชนิดต่างๆได้ แต่ถ้าจำแนกไม่ได้ชัดเจนก็จะใช้ผลการอื่นๆ เช่น การตรวจคลื่นสมองไฟฟ้า การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง
ตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบประสาทจะช่วยบอกพยาธิสรีรภาพในสมองพัฒนาการด้านภาษา การเรียนรู้ พฤติกรรม การเคลื่อนไหวจะช่วยในการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยเด็กบางคนอาจพบ
มีอาการชัก เกร็ง กระตุกของแขนหรือขาขณะตรวจร่างกาย บางคนมีพัฒนาการช้าหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าปกติ เป็นต้น
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจหาอิเล็กโทรไลด์ น้ำตาลหรือแคลเซียมในเลือด จะช่วยในการวินิจฉัยแยกลาเหตุของการชักจากความผิดปกติทางชีวเดมีและความผิดปกติของสมอง การตรวจนับเม็ดเลือด (complete blood count) เพื่อช่วยหาร่องรอยการติดเชื้อในระบบอื่นๆ เป็นต้น
การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การบันทึกวิดีโอขณะที่มีอาการชัก จะช่วยในการวินิจฉัยเนื่องจากเห็นภาพของลักษณะ ระยะเวลาการชักได้อย่างชัดเจน -การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalography: EEG) ใช้เพื่อการวินิจฉัยที่สำคัญในการเกิดของโรคลมชัก และทำให้ทราบตำแหน่งของสมองที่มีความผิดปกติ นอกจากนี้การ ตรวจวัดการทำงานของสมอง ติดตามประเมินผลการรักษาโรคลมชัก และช่วยในการพิจารณาเพื่อเริ่มหรือหยุด ยากันชักในผู้ป่วยโรคลมชัก -การทำ CT scan หรือการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะช่วยวินิจฉัยแยกโรคจาก การบาดเจ็บหรือเนื้องอกในสมองได้
การรักษา
การให้ยารักษาอาการชัก
แพทย์จะพิจารณาการให้ยารักษาหรือป้องกันอาการชักจากลักษณะของโรคลมชัก
การให้อาหารที่มีไขมันสูง (ketogenic diet) เป็นการรักษาโรคลมชักที่รักษายากและไม่สามารถ
ควบคุมอาการชักด้วยการใช้ยาเพียงอย่างเดียว โดยให้อาหารที่มีไขมันสูงร้อยละ 80 จำกัดอาหารที่มีดาร์โบไฮเครตและโปรตีน ทำให้ร่างกายเกิดการสร้างหรือเปลี่ยนเป็น ketone bodies มีภาวะกรดคั่งในร่างกายจากการมีคีโดนมาก (ketosis) ซึ่งกลไกที่แท้จริงที่ทำให้หยุดชักยังไม่ทราบแน่ชัดและต้องใช้เวลารักษาอย่างน้อย 2 ปี การรักษาวิธีนี้จะได้ผลในเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี ที่มี myoclonic หรือ absence seizure
3.การผ่าตัดสมองเพื่อเอาส่วนที่เป็นรอยโรคหรือจุดที่ทำให้เกิดอาการชัก โดยแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ การรักษาให้หายจากอาการชัก โดยตัดเนื้อสมองส่วนที่ก่อให้เกิดการชักออก (resective surgeก)และการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ (paliative surgery) ในกรณีที่รอยโรคไมาชัดเจนหรือมีหลายตำแหน่งและไม่สามารถผ่าตัดออกได้
4.การฝังเครื่องมือกระตุ้นไฟฟ้าเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 เป็นการรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นไฟฟ้าผ่านทาง vagal nerve ที่เรียกว่า vagal nerve stimulation เพื่อลดอาการชัก แพทย์จะพิจารณาทำในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดเอารอยโรคในสมองออกได้เนื่องจากมีรอยโรคกว้างหรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถผาาตัดได้หรือใช้ยารักษาอาการชักแล้วไม่ได้ผล