Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คุณพิกุล อายุ 90 ปี เตียง 24 - Coggle Diagram
คุณพิกุล อายุ 90 ปี
เตียง 24
Dx.BCC at scalp
มะเร็งผิวหนังชนิด
Basal Cell Carcinoma
ที่หนังศีรษะ
อาการและอาการแสดง
ลักษณะเป็นตุ่มผิวเรียบ ขอบมันวาว ขอบอาจมีขนาดเล็กเท่าเส้นด้าย และมีหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ตุ่มมักมีสีดำหรือสีน้ำตาลปะปน ลักษณะเด่นของมะเร็งผิวหนังชนิดนี้มักมีสีน้ำตาลหรือดำ ล้อมรอบด้วยขอบมันวาว ยกและม้วนเข้า
(รังสิมา วณิชภักดีเดชา, 2556)
การรักษา
1. การผ่าตัดตามวิธีมาตรฐาน
กรณีที่มะเร็งผิวหนังขนาดเล็กกว่า 6 mm จะทำการผ่าตัดเพื่อเอามะเร็งผิวหนัง และผิวหนังปกติที่อยู่รอบเนื้อมะเร็งผิวหนังอีกอย่างน้อย 4 mm
2. การผ่าตัดด้วยวิธี Mohs Micrographic Surgery
วิธีการผ่าตัดแบบนี้จะมีอัตราการหายจากมะเร็งผิวหนังสูงถึง 97-99.8% ใช้เวลานานกว่าการผ่าตัดปกติ
3. การให้ยาเคมีบำบัด
สำหรับมะเร็งผิวหนังชนิดนี้จะเป็นการทายา 5-fluorouracil หรือ 5% Imiquimod
4. การให้รังสีรักษา
กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้
5. การรักษาวิธีอื่น ๆ
เช่น การพ่นความเย็น การจี้ไฟฟ้า และ photodynamic therapy
(รังสิมา วณิชภักดีเดชา, 2556)
โรคปมไฟฟ้าหัวใจเสื่อม (Sick Sinus Syndrome)
อาการและอาการแสดง
การสร้างสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ สัญญาณไฟฟ้าช้าลงมาก หรือหยุดส่งสัญญาณเป็นเวลานาน ทำให้หัวใจเต้นช้าหรือหยุดเต้นเป็นระยะเวลานาน การไหลเวียนเลือดลดลง ทำให้เหนื่อยไม่มีแรง หรือหน้ามืด หมดสติเป็นครั้งคราว ในบางรายสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติ ผิดจังหวะ เต้นเร็วสั่นพลิ้ว (fibrillation) ทำให้มีอาการใจสั่น เหนื่อย สลับกับอาการหน้ามืดหมดสติในช่วงที่หัวใจเต้นช้าหรือหยุดเต้น
(ไพศาล บุญศิริคำชัย, 2563)
วิธีรักษา
รักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจถาวร (Permanent Pacemaker Implant) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เล็ก ๆ ที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีสายต่อจากเครื่องไปที่หัวใจ ทำหน้าที่ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยตรงและส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นควบคุมจังหวะเต้นของหัวใจในอัตราที่เหมาะสมไม่ให้ช้าเกินจนเกิดอาการ
(ไพศาล บุญศิริคำชัย, 2563)
Atrial Fibrillation
อาการ
• ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
• เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
• เหนื่อยขณะออกกำลังกาย
• ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
• เจ็บหรือแน่นหน้าอก
• เวียนศีรษะ
• เป็นลมหมดสติ
• หายใจลำบาก
(โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, 2564)
การรักษา
• การใช้ยา เพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหัวใจห้องบนเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันในอวัยวะสำคัญส่วนอื่นของร่างกาย
• การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion) ให้กลับเต้นปกติ
• การใช้สายสวนหัวใจเพื่อตัดวงจรไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (radiofrequency ablation) หรือความเย็นจัด (cryoablation) ทำให้หัวใจกลับเต้นปกติ
(โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, 2564)
โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis)
อาการ
• อาการปวด (Pain) อาการปวดแบบตื้อๆ บริเวณข้อ
• ข้อฝืด (Stiffness) มักเป็นตอนเช้าหลังตื่นนอน
• ข้อบวม ผิดรูป (Swelling/deformity)
• มีเสียงดังกรอบแกรบ (Crepitus) ในข้อเข่า
• สูญเสียการเคลื่อนไหวและการทำงาน
(โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, 2565)
การรักษา
1. การรักษาแบบไม่ใช้ยา
• การออกกำลังกาย
• การลดน้ำหนัก
• การใช้ผ้ารัดเข่า
• การใช้ไม้เท้า
• การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
2. การรักษาแบบใช้ยา
• กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NONSTEROIDAL ANTI-INFLAMMATORY DRUGS; NSAIDS)
• กลุ่มยาทาเฉพาะที่ Capsicin Diclofenac
• กลุ่มยาฉีดเข้าข้อ Methylprednisolone
• กลุ่มยาชะลอการเสื่อมของข้อ (SYMPTOMATIC SLOW-ACTING DRUG OF OSTEOARTHRITIS; SYSADOA)
(โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, 2565)
ยาที่ได้รับ
Amlodipine 5 mg
I
: Hypertension, Chronic stable angina
AR
: hypotension, nausea, dyspepsia
(MIMS, ม.ป.ป)
Bisoprolol 5 mg
I
: chronic heart failure, Angina pectoris, Hypertension
AR
: bradycardia, nausea, vomiting
(MIMS, ม.ป.ป)
Pitavastatin 2 mg
I
: mixed dyslipidaemia, primary hypercholesterolaemia
AR
: diarrhea, dyspepsia, nausea
(MIMS, ม.ป.ป)
Metformin 500 mg
I
: type 2 diabetes mellitus
AR
: nausea, vomiting, abdominal pain
(MIMS, ม.ป.ป)
Lorazepam 0.5 mg
I
: anxiety, insomnia associated with anxiety
AR
: dizziness, confusion
(MIMS, ม.ป.ป)
Cefazolin 1 g
I
: prophylaxis of surgical injection
AR
: diarrhea, nausea, vomiting
(MIMS, ม.ป.ป)