Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม (Psychosocial theories of aging), A6480073…
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงจิตสังคม
(Psychosocial theories of aging)
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity theory)
Neugarten อธิบายว่าผู้สูงอายุจะมีความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและแผนการดำเนินชีวิตที่มีมาในอดีตแต่ละคนเคยปฏิบัติมาก่อน และบุคลิกภาพเป็นผลมาจากความพึงพอใจใน ชีวิตที่มีต่อบทบาท ในกิจกรรมนั้นๆ ในบางครั้งทฤษฎีถูกเรียกว่าทฤษฎีพัฒนาการ หรือทฤษฎีบุคลิกภาพ เมื่อบุคคลเข้าสู่วัยสูงอายุพยายามคุมความต่อเนื่องในด้านนิสัยความชอบ ความเชื่อ ค่านิยมและปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพของเขาในวัยต้นของชีวิตแค่นี้
แนวทางการพยาบาล
คอยให้กำลังใจและคอยให้การสนับสนุนในการทำกิจกรรมที่เขาชอบต่อไปและคงไว้ซึ่งกิจกรรมนั้น
ทฤษฎีของเพค(Peck's theory)
โรเบิร์ตเพค ได้แบ่งผู้สูงอายุเป็นสองกลุ่ม คือ ผู้สูงอายุวัยต้น อยู่ใน ช่วงอายุ 55-75 ปี และวัยปลายอยู่ ในช่วง 75 ปีขึ้นไป ซึ่งสองกลุ่มนี้จะมีความแตกต่างกันทั้งด้านกายภาพ และจิตสังคม ทฤษฎีนี้มีความ
เชื่อว่า ผู้สูงอายุมีพัฒนาการ 3 ประการคือ
ความรู้สึกของผู้สูงอายุอยู่กับงานที่ทำอยู่ขึ้นอยู่กับงานที่ทำอยู่ ผู้สูงอายุ
จะรู้สึกภูมิใจและเห็นว่าตัวเองมีคุณค่า แต่เมื่อเกษียณอายุแล้วความ รู้สึกลดลง
ผู้สูงอายุยอมรับว่าเมื่อมีอายุมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
ร่างกายมีความแข็งแรงลดลงชีวิตมีความสุขยอมรับและปรับตัวความ
รู้สึกนี้ได้
3.ผู้สูงอายุยอมรับว่าต้องเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติความรักเจ้าความตาย โดยไม่รู้สึกตัว
แนวทางการพยาบาล
สร้างความพึงพอใจต่อไปในการหางานทำเช่น การปลูกต้นไม้
การดูแลเอาใจใส่ให้การสนับสนุนในสิ่งที่เขาทำให้รู้สึกมีคุณค่ายอมรับและเคารพการตัดสินใจในตัวของเขา
ทฤษฎีการถดถอยจากสังคม
(Disengagement theory)
เชื่อวาบุคคลเมื่อถึงวัยสูงอายุจะสามารถยอมรับในบทบาทและหน้าที่ของตนที่ลดลง ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีลักษณะแยกตัวออกจากสังคมทีละน้อย หรือต้องการปล่อยวางเป็น อิสระ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสัมพันธภาพของผู้สูงอายุและบุคคลรอบข้างมีน้อยลง
พบมากใน
การแยกครอบครัวของบุตรหลาน
ทำกิจกรรมกับเพื่อนร่วมงานน้อยลง
การเกษียณอายุการทำงาน
แนวทางการพยาบาล
การดูแลเอาใจใส่ของคน ในครอบครัว
เปิดโอกาสและเคารพในตัวผู้สูงอายุจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขมากขึ้น
ทำให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่าต่อสังคมและบุคคลรอบข้าง
ทฤษฎีการมีกิจกรรมรวมกัน
(The Activity theory)
theory Havighurst อธิบายว่าการที่ผู้สูงอายุประสบความสำเร็จได้ผู้สูงอายุต้องมีการทำกิจกรรมอยู่เสมอไม่ถอนตัวออกจากสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุจะมีความพึงพอใจในชีวิตถ้ายังคงมีกิจกรรมใน สังคมซึ่งการทำกิจกรรมจะช่วยเสริมให้ผู้สูงอายุอัตโนมัติที่ดีทำให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข
พบมากใน
ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต
ผู้ที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว
ผู้ที่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง
แนวทางการพยาบาล
สนับสนุนให้ทำกิจกรรมในสิ่งที่ชอบ
แนะนำหรือจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
ให้ความเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นผู้สูงอายุ
A6480073 นางสาว อรัญญา การินทร์