Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลวิธีเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั้งยืน - Coggle Diagram
กลวิธีเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั้งยืน
วิวัฒนาการการศึกษา 1.0-4.0
การศึกษา 1.0
คือ การจัดการศึกษาที่การสอนแบบครูเป็นผู้ให้นักเรียนเป็นผู้รับเน้นการท่องจำตำราและทำ แบบฝึกหัดตามตำรา โดยไม่ได้เน้นกระบวนการเรียนรู้ตามความสามารถนักเรียนแต่ละคน
บทบาทของครู 1.0
นักเรียนจะ “รู้และเข้าใจ” เนื้อหา ทฤษฎีหลักการ แนวปฏิบัติและอธิบาย ปฏิบัติตาม และใช้เครื่องมือที่ครูสอนได้เป็นอย่างดีทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าและเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง เกิดจาก จำนวนนักเรียนทั้งประเทศมีจำกัด
Education 3.0
คือ การจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้ กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความ สะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน
Education 2.0 คือ
การจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ ความถนัด ความสนใจและแตกต่างระหว่างบุคคล ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตวิญญาณแห่งเรียนรู้และแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง จากแห่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน ครูคือผู้สนับสนุน และเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน
การศึกษาแบบ 3.0
มีความเชื่อที่ว่าเนื้อหาเป็นสิ่งอิสระ และหาได้เมื่อต้องการ มันจะ เป็นการเรียนรู้ตามความ สนใจ และเรียนด้วยตนเอง สำหรับวิธีการสอนก็จะเป็นการแก่ ปัญหา, นวัตกรรม, และความสร้างสรรค์สิ่ง เหล่านี้จะขับเคลื่อนการศึกษา
Education 4.0
คือ การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมและการวิจัยด้วย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ
การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนา หมายถึง
การทำให้เจริญงอกงามเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งดีกว่าเดิมอย่างเป็นระบบ เช่น การพัฒนาของสังคมหรือประเทศต้องมีแผนหรือแนวทางของการพัฒนาเพื่อกำหนดทิศทางและควบคุมการดำเนินการพัฒนาให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ การพัฒนาในบริบทของสังคมไทยจำเป็นต้องมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มี 2 แนวทาง
คือ แนวอนุรักษ์นิยม พัฒนามนุษย์ให้มีความรู้คู่คุณธรรมและแนวเสรีนิยม พัฒนามนุษย์ให้เป็นผู้มีประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติ กระบวนการพัฒนามี 4 ด้าน คือ ด้านกาย ศีล จิตและปัญญา
สหประชาชาติว่าด้วยการศึกษา
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คือการเรียนรู้เพื่อเสริมพลังผู้เรียนให้สามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลและมีการกระทำที่มีความรับผิดชอบต่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมทางสังคม เพื่อมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม
การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการศึกษาแแบบองค์รวม
และเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะพูดถึงประเด็นด้านเนื้อหาและผลลัพธ์การเรียนรู้ วิธีการเรียนการสอน และสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดคือ การเปลี่ยนแปลงสังคม
วิธีการเรียนการสอน และสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
: การออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบที่มีการปฏิสัมพันธ์ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้เชิงค้นคว้า การเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำ และการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
: เสริมพลังผู้เรียนทุกช่วงวัยที่ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบการศึกษาใด ให้สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคมที่ตนอยู่ได้
สาระสำคัญของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศต่างๆ ของโลกให้มีมาตรฐานและมีความสุขในการดำรงชีวิตการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยทั่วไปจะกำหนดองค์ประกอบของการพัฒนาออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.การพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนของสิ่งแวดล้อม
2.การพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนของสังคม
3.การพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนของสิ่งเศรษฐกิจ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนที่ ๓ : การประเมินสถานะของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนที่ ๔ : ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา
ส่วนที่ ๒ กรอบหลักการของแผนพัฒนาการศึกษาฯ
ส่วนที่ ๕ : การนาแผนพัฒนาการศึกษาฯ ไปสู่การปฏิบัติ
ส่วนที่ ๑ เหตุผลความจำเป็นในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา
ส่วนที่ ๖ : การประเมินแผนพัฒนาการศึกษา
การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในบริบทประเทศไทย
แนวความคิดในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยการศึกษาจะต้องสร้างขึ้นบนพื้นฐานจริยธรรมและวัฒนธรรมของผู้เรียนอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ทำลายความสำนึกในความเป็นชาติ เอกลักษณ์และรากฐานเดิมของผู้เรียนอาจจะทำให้ผู้เรียนเป็นบุคคลต่อต้านสังคมประเทศไทยเป็นประเทศเอกราชมีบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นรัฐที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
แนวความคิดในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงมีพระดำรัสตอนหนึ่งในพิธีเปิดการประชุม THE THIRD UNESCO-ACEID INTERNA-TIONAL CONFERENCE ON EDUCATIONAL INNOVATION FOR SUSTAINABLE DEVELOPMENT ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2540
แนวความคิดในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรีอดีตอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา มีคติพจน์ในการจัดการศึกษาว่า ผู้เรียนควรมีความรู้ประดุจนักปราชญ์ และมีความประพฤติประดุจผู้ทรงศีลนั่นคือให้ผู้เรียนมีความรู้และคุณธรรมด้วยควรคู่กันไปเมื่อใช้ความรู้ก็จะมีเครื่องมือควบคุม
การจัดการศึกษาของประเทศที่ถูกจัดลำดับ 1-5
อันดับ 1 ประเทศฟินแลนด์
เป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบการศึกษาที่ดี ที่สุดในโลก การจัดการศึกษาของฟินแลนด์นั้นยึด หลักเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child - Centred) ที่ มุ่งเน้นให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตและความสมดุลย์ ทั้งกับโรงเรียน บ้าน และเวลาส่วนตัว มีความเท่า เทียมกันทางการศึกษา ส่งผลให้เด็กเกิดการ เรียนรู้ ส่งเสริมคุณลักษณะ และทัศนคติของการ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม คุณสมบัติเด่นของระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์
อันดับ 2 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
การจัดการศึกษาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้รับความสนใจและคำปรึกษาจากระบบศึกษาระดับสูงของโลกเนื่องจากมีคุณภาพที่สูงและมีการจัดการที่เป็นระบบอย่างดีทั้งด้านการศึกษาประถมศึกษา, มัธยมศึกษา, และการศึกษาปริญญา (Higher Education) การศึกษาในประเทศนี้ยังเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีแนวทางการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะทั้งทางด้านความคิด, การแก้ปัญหา, การสื่อสาร, และการทำงานเป็นทีม
อันดับ 3 ประเทศเบลเยียม
เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีการจัดการศึกษาที่มีการรวมการศึกษาขั้นต่ำ ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระบบการศึกษาของเบลเยียมได้รับการปรับปรุงและพัฒนาตลอดเวลาเพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้สะดวกสบาย นี่คือบางประการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในประเทศเบลเยียม
อันดับ 4 ประเทศสิงคโปร์
เป็นประเทศที่มีสถาบันการศึกษาเฉพาะทางมากมาย เพื่อสนับสนุนความสามารถของนักเรียน นักศึกษาอย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ในสายอาชีพที่สนใจเตรียมความพร้อมก่อนก้าวเข้าสู่วัยทำงาน
อันดับ 5 ประเทศเนเธอร์แลนด์
หลักสูตรเนเธอร์แลนด์จะเน้นสอนโดยให้ความสำคัญกับการวิจัยเป็นหลัก ไม่เน้นประเมินผลจากการสอบ เพราะต้องการให้นักศึกษารู้จักประยุกต์ใช้ความรู้มากกว่าท่องจำ ซึ่งนอกจากการวิจัยแล้วก็ยังมีให้คะแนนจากงานเดี่ยว งานกลุ่ม การสัมมนา และงานที่ได้รับมอบหมายอื่นๆแล้ว ยังมีการเน้นการสอนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอีกด้วย เพื่อแก้ไขในเรื่องของความเขินอาย และในเรื่องของการทำงานเป็นทีม